องค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า ในแต่ละปี มีการใช้เข็มฉีดยา 1 หมื่นหกพันล้านครั้ง และ 10% ของจำนวนนี้เป็นการฉีดวัคซีน การถ่ายเลือดและการฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งโดยทั่วไปปลอดภัย แต่อีก 90% เป็นการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง ซึ่งมักมีการใช้เข็มฉีดยาซ้ำ และมีโอกาสแพร่เชื้อโรคได้ง่าย
นอกจากนี้ การฉีดยาส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะมียาให้รับประทานแทนได้ นายแพทย์ Gundo Aurel Weiler ผู้ประสานงานฝ่ายเชื้อ HIV และโรค AIDS ขององค์การอนามัยโลก บอกว่าที่รู้แน่ๆ ก็คือทุกปีมีผู้ติดเชื้อโรคตับอักเสบ B ประมาณ 1 ล้าน 7 แสนคน และตับอักเสบ C อีกมากกว่าสามแสนคน เป็นเพราะการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ของ WHO ผู้นี้กล่าวว่า 10% ของผู้ติดเชื้อ HIV เมื่อ 15 ปีที่แล้ว มาจากการใช้เข็มฉีดยาสกปรก หรือใช้เข็มเดียวฉีดให้กับคนมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป และการรณรงค์ขององค์การอนามัยโลกที่ให้ระมัดระวังการใช้เข็มฉีดยา ช่วยลดการติดเชื้อ HIV ลงได้จนเหลือไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2010
ความเสี่ยงเช่นนี้มีทั่วโลก ส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา และ WHO เชื่อว่า การใช้ ‘smart syringe’ ซึ่งใช้ได้เพียงครั้งเดียว หรือใช้แล้วทิ้ง จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
‘smart syringe’ มีหลายแบบ แบบหนึ่งนั้น เมื่อฉีดเสร็จ ลูกสูบในหลอดยาจะแตก แบบอื่นๆ อาจมีชิ้นโลหะที่ไม่ปล่อยให้ดึงลูกสูบในหลอดยากลับมาได้อีก หรือมีเข็มที่หดตัวกลับเข้าหลอดยาเมื่อฉีดเสร็จ
Lisa Hedman เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก ฝาย Essential Medicines and Health Products บอกว่า จะใช้เข็มฉีดยาแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการ และว่าที่มีเข็มให้หลายแบบ เพราะต้องการเน้นเรื่องความปลอดภัย และทำให้แน่ใจว่า จะใช้เข็มซ้ำอีกไม่ได้
WHO รณรงค์เรื่องการใช้เข็มฉีดยาอย่างปลอดภัยครั้งแรกในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2010 และประสบความสำเร็จมากทีเดียว โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งลดการใช้เข็มซ้ำลงถึง 7 เท่าตัว
สำหรับการรณรงค์เรื่อง ‘smart syringe’ ครั้งนี้ WHO ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องการให้ทุกประเทศใช้เข็มใหม่นี้ภายในห้าปีข้างหน้า หรือ ค.ศ. 2020 ยกเว้นในกรณีพิเศษบางรายเท่านั้น WHO ยังเรียกร้องให้ผู้ผลิตเร่งรัดการผลิตเข็มฉีดยาแบบใหม่เหล่านี้ด้วย
ราคาของเข็มฉีดยาที่กำลังใช้กันทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาเวลานี้ ตกราวๆ 3-4 เซ็นต์หรือ 1 – 1.25 บาทต่อเข็ม ‘smart syringe’ จะมีราคาแพงกว่าสองเท่าตัวเป็นอย่างน้อย แต่องค์การอนามัยโลกเชื่อว่า เมื่อมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น ราคาจะลดลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report by LIV Capsule
องค์การอนามัยโลกเปิดฉากรณรงค์ให้ใช้ ‘smart syringe’ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
นอกจากนี้ การฉีดยาส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะมียาให้รับประทานแทนได้ นายแพทย์ Gundo Aurel Weiler ผู้ประสานงานฝ่ายเชื้อ HIV และโรค AIDS ขององค์การอนามัยโลก บอกว่าที่รู้แน่ๆ ก็คือทุกปีมีผู้ติดเชื้อโรคตับอักเสบ B ประมาณ 1 ล้าน 7 แสนคน และตับอักเสบ C อีกมากกว่าสามแสนคน เป็นเพราะการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ของ WHO ผู้นี้กล่าวว่า 10% ของผู้ติดเชื้อ HIV เมื่อ 15 ปีที่แล้ว มาจากการใช้เข็มฉีดยาสกปรก หรือใช้เข็มเดียวฉีดให้กับคนมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป และการรณรงค์ขององค์การอนามัยโลกที่ให้ระมัดระวังการใช้เข็มฉีดยา ช่วยลดการติดเชื้อ HIV ลงได้จนเหลือไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2010
ความเสี่ยงเช่นนี้มีทั่วโลก ส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา และ WHO เชื่อว่า การใช้ ‘smart syringe’ ซึ่งใช้ได้เพียงครั้งเดียว หรือใช้แล้วทิ้ง จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
‘smart syringe’ มีหลายแบบ แบบหนึ่งนั้น เมื่อฉีดเสร็จ ลูกสูบในหลอดยาจะแตก แบบอื่นๆ อาจมีชิ้นโลหะที่ไม่ปล่อยให้ดึงลูกสูบในหลอดยากลับมาได้อีก หรือมีเข็มที่หดตัวกลับเข้าหลอดยาเมื่อฉีดเสร็จ
Lisa Hedman เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก ฝาย Essential Medicines and Health Products บอกว่า จะใช้เข็มฉีดยาแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการ และว่าที่มีเข็มให้หลายแบบ เพราะต้องการเน้นเรื่องความปลอดภัย และทำให้แน่ใจว่า จะใช้เข็มซ้ำอีกไม่ได้
WHO รณรงค์เรื่องการใช้เข็มฉีดยาอย่างปลอดภัยครั้งแรกในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2010 และประสบความสำเร็จมากทีเดียว โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งลดการใช้เข็มซ้ำลงถึง 7 เท่าตัว
สำหรับการรณรงค์เรื่อง ‘smart syringe’ ครั้งนี้ WHO ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องการให้ทุกประเทศใช้เข็มใหม่นี้ภายในห้าปีข้างหน้า หรือ ค.ศ. 2020 ยกเว้นในกรณีพิเศษบางรายเท่านั้น WHO ยังเรียกร้องให้ผู้ผลิตเร่งรัดการผลิตเข็มฉีดยาแบบใหม่เหล่านี้ด้วย
ราคาของเข็มฉีดยาที่กำลังใช้กันทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาเวลานี้ ตกราวๆ 3-4 เซ็นต์หรือ 1 – 1.25 บาทต่อเข็ม ‘smart syringe’ จะมีราคาแพงกว่าสองเท่าตัวเป็นอย่างน้อย แต่องค์การอนามัยโลกเชื่อว่า เมื่อมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น ราคาจะลดลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report by LIV Capsule