เมื่อหนังไรเดอร์ก้าวข้ามไปสู่หนังผู้ใหญ่ หากมองข้ามคำว่า 'ไรเดอร์'

หากเอ่ยคำว่า 'คาเมนไรเดอร์' หรือ 'ไอ้มดแดง' ในประเทศหนึ่งแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความคิดแรกที่มักจะถูกเข้ามาในสมองของกลุ่มคนส่วนใหญ่มักจะมีคำว่า 'ปัญญาอ่อน' หรือ 'เด็กน้อย' อยู่เสมอ นั่นอาจเป็นเพราะคนบางจำพวกยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ภายนอกที่คิดว่าดีไซน์ไว้ให้เด็กๆรับชมเท่านั้น แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว นี่คือหนังที่แบ่งแยกความดีกับความชั่วได้ชัดเจนที่สุด หนังที่สามารถสอนเด็กๆในอนาคตได้ดีที่สุด ตัวอย่างของการทำตัวเป็นคนดี เป็นคนเสียสละเพื่อผู้อื่น และที่สำคัญต้องมีจิตใจที่งดงามอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่หลายอย่างเหล่านี้ถูกปิดบังไว้ด้วยคำว่า 'ไอ้มดแดง' ทำให้ถูกมองว่าเป็นเด็กตั้งแต่แรกพบ
บทความนี้ขอเขียนถึงไรเดอร์ยุคใหม่หรือยุคเฮย์เซย์ตั้งแต่ Kuuga (2000) ถึงเรื่องล่าสุดที่ผู้เขียนได้รับชมจนจบคือ Fourze (2012) ในความคิดที่ว่าหากตัดคำว่าไอ้มดแดง หรือ ไรเดอร์ออกจากหนังเหล่านี้ เราจะมองเห็นสิ่งใดบ้าง



Kamen Rider Kuuga TV Series (2000-2001)

จุดเริ่มต้นทุกอย่างของไรเดอร์ยุดใหม่ที่ทางผู้สร้างอาจมองเห็นถึงการเข้าสู่ยุคใหม่แบบเต็มตัวทำให้การเขียนบทต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง จริงอยู่ว่าการออกมาสู้แล้วจบมันคลาสสิก แต่ทางผู้สร้างมองเห็นแล้วว่าคงจะขายไม่ออกหากยังไม่ถึงการเปลี่ยนแปลงคงได้แต่ย่ำอยู่ที่เดิมไม่มีการขยับไปข้างหน้า ทำให้เราได้เห็นความน่ากลัวของปีศาจและตำนานนักรบที่เล่าขาน ไซไฟในการต่อสู้ และการร่วมมือร่วมใจกัน รวมไปถึงการเปิดเผยเนื้อแท้ของตัวละครที่แสดงให้เห็นออกมาเรื่อยๆ ทั้งตัวพระเอกที่เป็นพระเอกโดยเนื้อแท้ที่จิตใจดี แต่เรายังคงเห็นบางตอนที่พระเอกเราทนไม่ไหวกับสิ่งที่ไม่ยุติธรรมทำให้เผยบางสิ่งที่น่ากลัวออกมานั่นคือร่างด้านมืดของพระเอกเอง ซึ่งถือว่าทำได้แหวกแนวของหนังไรเดอร์มากๆในช่วงนั้นแต่ถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญมากๆในการสานต่อตำนานบทนี้ไปเรื่อยๆ

สรุป : นี่คือหนังที่พูดถึงตำนานปีศาจและนักรบที่อยู่คู่กันมาตั้งแต่โบราณ รวมไปถึงการร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย และจิตใจที่งดงามของพระเอกได้อย่างลงตัวและประทับใจมากๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่