สงสัยเลยไปหามา
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/para_norkhai/?transaction=post_view.php&cat_main=3&id_main=47&star=0
เอามาจากเว็บคนอีสาน เราก็เอามาหมดทั้งแบบนี้เลย
วรรณคดีของลาว ที่เป็นที่นิยมมานานกว่าสามร้อยปี เป็นนิทานสุภาษิตที่คนลาวให้ความสำคัญหลาย กะคือ วรรณคดีเรื่อง “ท้าวเสียวสวาด” หรือ “ศรีเสลียว เสียวสวาด” หรือแยกย่อยออกมาเป็น “ปัญหาเสียวสวาด” “ผญาเสียวสวาด”
ท้าวเสียวสวาด ฟังชื่อผิวเผิน อาจสิเข้าใจว่า เป็นนิทานตลกโปกฮาไปทางลามก สองแง่สามง่าม แต่จริงๆ แล้ว บ่ได้เกี่ยวกับเรื่องลามกทำนองนั้นเลย ท้าวเสียวสวาด เป็นคนมีปัญญาฉลาดหลักแหลม แล้วกะใช้ปัญญาอันฉลาดนั้นช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นที่ปรึกษาของพระราชา จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย.... ถ้าสิเอิ้นให้เข้าใจง่ายๆ กะคือท้าวเฉลียวฉลาด นั่นล่ะ ...
จากวรรณคดีเรื่อง ท้าวเสียวสวาด สิมีผญาสุภาษิตคำสอน ต่างๆ มากมาย ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งลาวและไทยอีสาน ได้นำมาเป็นคำสอนและหลักปฏิบัติสืบมาดนเท่าดน (แต่ปัจจุบัน คนที่ฮู้ผญาเสียวสวาด มีหน่อยเท่าหน่อย... บางเทื่อผญาที่เอามาเว้ากัน กะมาจากผญาเสียวสวาด แต่กะบ่ฮู้ว่ามาจากผญาเสียวสวาด กะมี)
ตัวอย่างผญาเสียวสวาด เช่น
"นกอีเอี้ยงกินหมากโพธิ์ไทร แซวแซว เสียง บ่มีโตฮ้อง แซวแซวฮ้อง โตเดียวเหมิดหมู่.."
"..คำปากพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี
ใผผู้ยำแยงนบ หากสิเฮืองเมื่อหน้า
ในให้เสมอน้ำ คุงคาสมุทรใหญ่
ให้เจ้าคึดถี่ถ้วน ดีแล้วจึงค่อยจา
อย่าได้เฮ็ดใจเพี้ยง เขาฮอขมขื่ม
ความคึดเจ้าอย่าตื้น เสมอหม้อปากแบน
สิบตำลึงอยู่ฟากน้ำ อย่าได้อ่าวคนิงหา
สองสะลึงแล่นมามือ ให้เจ้ากำเอาไว้
มีเงินล้นเต็มถง อย่าฟ้าวอ่งหลายเน้อ
ลางเทื่อ ทุกข์มอดไฮ้ เมื่อหน้าส่องบ่เห็น
เงินหากหมดเสียแล้ว ขวัญยังดอมไถ่
อันว่าผ้าขาดแล้ว แซงนั้นหากยัง
ฮักผัวให้ มีใจผายเผื่อ
ฮักผัวให้ฮักพี่น้อง แนวน้าแม่ผัว
ฟักเฮือไว้ หลายลำแฮท่า
หม่าข้าวไว้ หลายบ้านทั่วเมือง.."
นิทานเรื่องท้าวเสียวสวาดเป็นเรื่องยาว มีรายละเอียดมาก... นอกจากนั้นยังประกอบด้วยนิทานแยกย่อยออกไปอีกเป็นสี่สิบห้าสิบเรื่อง ซึ่งนิทานแยกย่อยนั้น กะคือนิทานที่เสียวสวาดนำมาเล่าประกอบคำอธิบาย นั่นเอง
เรื่องย่อประมาณว่า
สมัยแต่ดนแล้ว.. ในเมืองพาราณสี มีกุฎุมพีสองสามีภรรยาครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายอยู่สองคน ผู้พี่ ชื่อว่า ศรีเสลียว ผู้น้องชื่อว่า เสียวสวาด...
พอท้าวเสียวสวาด ใหญ่ขึ้นกำลังเป็นบ่าวสำน้อย อายุประมาณสิบห้าหยกๆสิบหกหย่อนๆ พ่อแม่เห็นว่าเจ้าของกะแก่เฒ่าแล้ว อาจสิอยู่นำลูกได้อีกบ่ดน กะเลยเอิ้นลูกชายทั้งสองมาบอกสอน (สอนเป็นผญา) แล้วกะอยากทดสอบว่า ลูกชายเจ้าของสองคน ผู้ได๋ฉลาดกว่ากัน สิได้อยู่นำกันบ่ ..
พ่อกะถามปัญหาว่า
“มีเฮือนอยู่สองหลัง หลังหนึ่งสร้างเป็นเฮือนเสร็จเรียบร้อยเข้าอยู่ในเลย อีกหลังหนึ่ง ยังบ่ทันสร้าง แต่ว่ามีไม้มีอุปกรณ์ทั้งหลายครบเหมิดแล้ว เจ้าสองคน สิเลือกเอาเฮือนหลังได๋”
ท้าวศรีเสลียวกะตอบว่า
“ข้อยเลือกหลักแรก ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยพร้อมอยู่”
ส่วนท้าวเสียวสวาดกะตอบว่า
“ข้อยเลือกเฮือนหลังที่ยังบ่ทันสร้าง”
พอฟังคำตอบที่บ่คือกัน ผู้พ่อกะฮู้ทันทีว่า ลูกชายทั้งสอง สิบ่ได้อยู่นำกัน... ผู้พี่ สิอยู่กับที่ ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านหม่องนี้ เพราะชอบบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว.. ส่วนผู้น้อง สิร่อนเร่พเนจรไปตั้งหลักปักฐานอยู่หม่องอื่น เพราะชอบบ้านหลังที่ยังบ่ทันสร้าง สิเอาไปปลูกหม่องได๋กะได้ เพราะมีไม้มีอุปกรณ์ครบเหมิดแล้ว...
ต่อมาอีกบ่ดน พ่อแม่กะตายจาก ทิ้งมรดกไว้ให้สองพี่น้องดูแลครอบครอง
ที่มา : จากหนังสือเรื่องเสียวสวาด พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์
ท้าวเสียวสวาสดิ์ นิทานพื้นบ้านอีสาน : เกร็ดจากเรื่อง สะใภ้จ้าว
เอามาจากเว็บคนอีสาน เราก็เอามาหมดทั้งแบบนี้เลย
วรรณคดีของลาว ที่เป็นที่นิยมมานานกว่าสามร้อยปี เป็นนิทานสุภาษิตที่คนลาวให้ความสำคัญหลาย กะคือ วรรณคดีเรื่อง “ท้าวเสียวสวาด” หรือ “ศรีเสลียว เสียวสวาด” หรือแยกย่อยออกมาเป็น “ปัญหาเสียวสวาด” “ผญาเสียวสวาด”
ท้าวเสียวสวาด ฟังชื่อผิวเผิน อาจสิเข้าใจว่า เป็นนิทานตลกโปกฮาไปทางลามก สองแง่สามง่าม แต่จริงๆ แล้ว บ่ได้เกี่ยวกับเรื่องลามกทำนองนั้นเลย ท้าวเสียวสวาด เป็นคนมีปัญญาฉลาดหลักแหลม แล้วกะใช้ปัญญาอันฉลาดนั้นช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นที่ปรึกษาของพระราชา จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย.... ถ้าสิเอิ้นให้เข้าใจง่ายๆ กะคือท้าวเฉลียวฉลาด นั่นล่ะ ...
จากวรรณคดีเรื่อง ท้าวเสียวสวาด สิมีผญาสุภาษิตคำสอน ต่างๆ มากมาย ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งลาวและไทยอีสาน ได้นำมาเป็นคำสอนและหลักปฏิบัติสืบมาดนเท่าดน (แต่ปัจจุบัน คนที่ฮู้ผญาเสียวสวาด มีหน่อยเท่าหน่อย... บางเทื่อผญาที่เอามาเว้ากัน กะมาจากผญาเสียวสวาด แต่กะบ่ฮู้ว่ามาจากผญาเสียวสวาด กะมี)
ตัวอย่างผญาเสียวสวาด เช่น
"นกอีเอี้ยงกินหมากโพธิ์ไทร แซวแซว เสียง บ่มีโตฮ้อง แซวแซวฮ้อง โตเดียวเหมิดหมู่.."
"..คำปากพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี
ใผผู้ยำแยงนบ หากสิเฮืองเมื่อหน้า
ในให้เสมอน้ำ คุงคาสมุทรใหญ่
ให้เจ้าคึดถี่ถ้วน ดีแล้วจึงค่อยจา
อย่าได้เฮ็ดใจเพี้ยง เขาฮอขมขื่ม
ความคึดเจ้าอย่าตื้น เสมอหม้อปากแบน
สิบตำลึงอยู่ฟากน้ำ อย่าได้อ่าวคนิงหา
สองสะลึงแล่นมามือ ให้เจ้ากำเอาไว้
มีเงินล้นเต็มถง อย่าฟ้าวอ่งหลายเน้อ
ลางเทื่อ ทุกข์มอดไฮ้ เมื่อหน้าส่องบ่เห็น
เงินหากหมดเสียแล้ว ขวัญยังดอมไถ่
อันว่าผ้าขาดแล้ว แซงนั้นหากยัง
ฮักผัวให้ มีใจผายเผื่อ
ฮักผัวให้ฮักพี่น้อง แนวน้าแม่ผัว
ฟักเฮือไว้ หลายลำแฮท่า
หม่าข้าวไว้ หลายบ้านทั่วเมือง.."
นิทานเรื่องท้าวเสียวสวาดเป็นเรื่องยาว มีรายละเอียดมาก... นอกจากนั้นยังประกอบด้วยนิทานแยกย่อยออกไปอีกเป็นสี่สิบห้าสิบเรื่อง ซึ่งนิทานแยกย่อยนั้น กะคือนิทานที่เสียวสวาดนำมาเล่าประกอบคำอธิบาย นั่นเอง
เรื่องย่อประมาณว่า
สมัยแต่ดนแล้ว.. ในเมืองพาราณสี มีกุฎุมพีสองสามีภรรยาครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายอยู่สองคน ผู้พี่ ชื่อว่า ศรีเสลียว ผู้น้องชื่อว่า เสียวสวาด...
พอท้าวเสียวสวาด ใหญ่ขึ้นกำลังเป็นบ่าวสำน้อย อายุประมาณสิบห้าหยกๆสิบหกหย่อนๆ พ่อแม่เห็นว่าเจ้าของกะแก่เฒ่าแล้ว อาจสิอยู่นำลูกได้อีกบ่ดน กะเลยเอิ้นลูกชายทั้งสองมาบอกสอน (สอนเป็นผญา) แล้วกะอยากทดสอบว่า ลูกชายเจ้าของสองคน ผู้ได๋ฉลาดกว่ากัน สิได้อยู่นำกันบ่ ..
พ่อกะถามปัญหาว่า
“มีเฮือนอยู่สองหลัง หลังหนึ่งสร้างเป็นเฮือนเสร็จเรียบร้อยเข้าอยู่ในเลย อีกหลังหนึ่ง ยังบ่ทันสร้าง แต่ว่ามีไม้มีอุปกรณ์ทั้งหลายครบเหมิดแล้ว เจ้าสองคน สิเลือกเอาเฮือนหลังได๋”
ท้าวศรีเสลียวกะตอบว่า
“ข้อยเลือกหลักแรก ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยพร้อมอยู่”
ส่วนท้าวเสียวสวาดกะตอบว่า
“ข้อยเลือกเฮือนหลังที่ยังบ่ทันสร้าง”
พอฟังคำตอบที่บ่คือกัน ผู้พ่อกะฮู้ทันทีว่า ลูกชายทั้งสอง สิบ่ได้อยู่นำกัน... ผู้พี่ สิอยู่กับที่ ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านหม่องนี้ เพราะชอบบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว.. ส่วนผู้น้อง สิร่อนเร่พเนจรไปตั้งหลักปักฐานอยู่หม่องอื่น เพราะชอบบ้านหลังที่ยังบ่ทันสร้าง สิเอาไปปลูกหม่องได๋กะได้ เพราะมีไม้มีอุปกรณ์ครบเหมิดแล้ว...
ต่อมาอีกบ่ดน พ่อแม่กะตายจาก ทิ้งมรดกไว้ให้สองพี่น้องดูแลครอบครอง
ที่มา : จากหนังสือเรื่องเสียวสวาด พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์