โปรดใช้วิจารณญาณ เพราะเขียนจากประสบการณ์บางส่วน ข้อมูลที่เคยอ่าน และจากการคาดเดาครับ
อาการพวกนี้ หลักๆ น่าจะเกิดจากการใช้งานของผู้ใช้เองโดยส่วนใหญ่ เพราะชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์นั้นเปราะบางมาก (sensitive) ผมเห็นบางคนบอกใช้มาไม่ถึงเดือนก็เกิดอาการ ลองย้อนดูว่าท่านมีพฤติกรรมการใช้งานแบบนี้หรือเปล่า (ถ้าไม่มีก็อาจจะใช่) บางคนไปโทษยี่ห้อ ก็อาจจะมีส่วน แต่ผมไม่คิดว่าต่างกันมากจนชัดเจน มีบ้างที่เกิดจากการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งขาย แต่ผมคิดว่าน้อยมากๆ กรณีที่บอกว่าเสียทันทีเมื่อหมดประกัน ก็อาจจะเป็นเพราะสาเหตุชิ้นส่วนมันเกินจะทน หรือช้ำมากแล้วมากกว่า (ฟางเส้นสุดท้าย)
สาเหตุปัญหาทีวี LED จอติดๆ ดับๆ จากพฤติกรรมการใช้งานที่อาจเป็นไปได้
- เสียบ-ถอดสาย HDMI/USB/VGA D-SUB/DVI ในขณะที่ทีวีและอุปกรณ์ต่อพ่วงเปิดใช้งานอยู่ เนื่องจากปลั๊กพวกนี้ ขามีขนาดเล็กและอยู่ชิดกัน บางขามีไฟเลี้ยง เมื่อถอดโดยโยกปลั๊กเพื่อให้หลุดง่ายอาจทำให้เกิดการช็อตได้
- เปิดอุปกรณ์ที่ต่อกับทีวีทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน โดยเฉพาะทีวีรุ่นที่มีช่องเสียบ HDMI/USB/VGA D-SUB/DVI หลายช่อง และเปิดพร้อมกัน
- ต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ระบบจ่ายไฟไม่เสถียร
- ระบบไฟฟ้าในบ้านแยกสายดิน หรือไม่มีสายดิน (อันนี้ไม่แน่ใจ รบกวนผู้รู้อธิบาย)
การป้องกัน ง่ายๆ ก็หลีกเลี่ยงสาเหตุตามข้างบน
- เสียบสายต่อพ่วงที่ต้องการใช้งานทั้งหมดให้พร้อม "ก่อนเสียบปลั๊กไฟทีวี"
- เสียบปลั๊กไฟทีวีก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์อื่น เมื่อเสียบปลั๊กแล้วทีวีจะอยู่ในโหมด Standby ทันที พร้อมกดรีโมท (ทีวี LED ปัจจุบันน่าจะเป็นแบบนี้ทั้งหมด) จากนั้นค่อยเสียบปลั๊กไฟเครื่องต่อพ่วงอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม/ทีวีดิจิตอล เครื่องเล่น CD/DVD/BlueRay/HD Player ทั้งหลาย (วิธีนี้จำมาจากช่างครับ ไม่ยืนยัน)
- เปิดทีวีให้จอทีวีพร้อมแสดงภาพก่อนเปิดอุปกรณ์อย่างอื่น (อันนี้ก็จำมา)
- เปิดเฉพาะอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะเป็นตัวเลือกที่จะชมในขณะนั้น เมื่อเลือกอุปกรณ์ใดให้ทำงานแล้ว ควรปิดอุปกรณ์พ่วงอื่นๆ อย่าเปิดทิ้งไว้ โดยเฉพาะปลั๊ก USB ซึ่งมีไฟเลี้ยงอยู่ (อันนี้มีช่างบอกว่า เจอมากับตัวที่ชิ้นส่วนวงจรในส่วนที่ต่อนั้นมันไหม้)
- อย่าถอด-เสียบสายในขณะที่อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานอยู่ การถอดสายต่อพ่วงต่างๆ ควรปิดทีวี/ถอดปลั๊กอุปกรณ์ทั้งหมดก่อน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ Standby ทันทีหลังเสียบปลั๊ก (เสียเวลานิดหน่อย อย่ามักง่าย)
- พยายามดึงปลั๊กต่อพ่วงทั้งหลายออกตรงๆ อย่าโยก จะเกิดการหลวม โดยเฉพาะรุ่นที่เสียบหันสันในแนวตั้ง (น้ำหนักสายจะถ่วงให้ปลั๊กเอียง ควรใช้สายรัดที่ติดหลังเครื่องเพื่อลดน้ำหนักถ่วง) และการโยกบ่อยๆ ยังอาจทำให้รอยเชื่อมของแผงวงจรหลุดด้วย อาจเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเสียไปด้วย
- เมื่อไม่ใช้งานควรถอดปลั๊กไฟเพื่อรักษาอายุการใช้งานแผงจ่ายไฟและเมนบอร์ด (ถ้าไม่อยากถอดเสียบบ่อย ควรใช้ปลั๊กแบบมีสวิทช์แยกแต่ละอัน ที่คุณภาพดี มี 4-6 ช่องเสียบ รองรับไฟ 2000-2500W ราคาประมาณ 4-500 บาท รองรับมาตรฐานปลั๊กแบบต่างๆ ได้หมด ใครสนใจแหล่งซื้อหลังไมค์มาครับ)
ตอนนี้นึกออกเท่านี้ครับ ไว้จะมาเพิ่มเติมถ้ามีเพิ่ม
*ขออภัยครับ ข้อความเดี๋ยวบ้าน-เดี๋ยววิชาการ
สาเหตุและการป้องกัน ปัญหาทีวี LED จอติดๆ ดับๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม
อาการพวกนี้ หลักๆ น่าจะเกิดจากการใช้งานของผู้ใช้เองโดยส่วนใหญ่ เพราะชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์นั้นเปราะบางมาก (sensitive) ผมเห็นบางคนบอกใช้มาไม่ถึงเดือนก็เกิดอาการ ลองย้อนดูว่าท่านมีพฤติกรรมการใช้งานแบบนี้หรือเปล่า (ถ้าไม่มีก็อาจจะใช่) บางคนไปโทษยี่ห้อ ก็อาจจะมีส่วน แต่ผมไม่คิดว่าต่างกันมากจนชัดเจน มีบ้างที่เกิดจากการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งขาย แต่ผมคิดว่าน้อยมากๆ กรณีที่บอกว่าเสียทันทีเมื่อหมดประกัน ก็อาจจะเป็นเพราะสาเหตุชิ้นส่วนมันเกินจะทน หรือช้ำมากแล้วมากกว่า (ฟางเส้นสุดท้าย)
สาเหตุปัญหาทีวี LED จอติดๆ ดับๆ จากพฤติกรรมการใช้งานที่อาจเป็นไปได้
- เสียบ-ถอดสาย HDMI/USB/VGA D-SUB/DVI ในขณะที่ทีวีและอุปกรณ์ต่อพ่วงเปิดใช้งานอยู่ เนื่องจากปลั๊กพวกนี้ ขามีขนาดเล็กและอยู่ชิดกัน บางขามีไฟเลี้ยง เมื่อถอดโดยโยกปลั๊กเพื่อให้หลุดง่ายอาจทำให้เกิดการช็อตได้
- เปิดอุปกรณ์ที่ต่อกับทีวีทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน โดยเฉพาะทีวีรุ่นที่มีช่องเสียบ HDMI/USB/VGA D-SUB/DVI หลายช่อง และเปิดพร้อมกัน
- ต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ระบบจ่ายไฟไม่เสถียร
- ระบบไฟฟ้าในบ้านแยกสายดิน หรือไม่มีสายดิน (อันนี้ไม่แน่ใจ รบกวนผู้รู้อธิบาย)
การป้องกัน ง่ายๆ ก็หลีกเลี่ยงสาเหตุตามข้างบน
- เสียบสายต่อพ่วงที่ต้องการใช้งานทั้งหมดให้พร้อม "ก่อนเสียบปลั๊กไฟทีวี"
- เสียบปลั๊กไฟทีวีก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์อื่น เมื่อเสียบปลั๊กแล้วทีวีจะอยู่ในโหมด Standby ทันที พร้อมกดรีโมท (ทีวี LED ปัจจุบันน่าจะเป็นแบบนี้ทั้งหมด) จากนั้นค่อยเสียบปลั๊กไฟเครื่องต่อพ่วงอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม/ทีวีดิจิตอล เครื่องเล่น CD/DVD/BlueRay/HD Player ทั้งหลาย (วิธีนี้จำมาจากช่างครับ ไม่ยืนยัน)
- เปิดทีวีให้จอทีวีพร้อมแสดงภาพก่อนเปิดอุปกรณ์อย่างอื่น (อันนี้ก็จำมา)
- เปิดเฉพาะอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะเป็นตัวเลือกที่จะชมในขณะนั้น เมื่อเลือกอุปกรณ์ใดให้ทำงานแล้ว ควรปิดอุปกรณ์พ่วงอื่นๆ อย่าเปิดทิ้งไว้ โดยเฉพาะปลั๊ก USB ซึ่งมีไฟเลี้ยงอยู่ (อันนี้มีช่างบอกว่า เจอมากับตัวที่ชิ้นส่วนวงจรในส่วนที่ต่อนั้นมันไหม้)
- อย่าถอด-เสียบสายในขณะที่อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานอยู่ การถอดสายต่อพ่วงต่างๆ ควรปิดทีวี/ถอดปลั๊กอุปกรณ์ทั้งหมดก่อน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ Standby ทันทีหลังเสียบปลั๊ก (เสียเวลานิดหน่อย อย่ามักง่าย)
- พยายามดึงปลั๊กต่อพ่วงทั้งหลายออกตรงๆ อย่าโยก จะเกิดการหลวม โดยเฉพาะรุ่นที่เสียบหันสันในแนวตั้ง (น้ำหนักสายจะถ่วงให้ปลั๊กเอียง ควรใช้สายรัดที่ติดหลังเครื่องเพื่อลดน้ำหนักถ่วง) และการโยกบ่อยๆ ยังอาจทำให้รอยเชื่อมของแผงวงจรหลุดด้วย อาจเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเสียไปด้วย
- เมื่อไม่ใช้งานควรถอดปลั๊กไฟเพื่อรักษาอายุการใช้งานแผงจ่ายไฟและเมนบอร์ด (ถ้าไม่อยากถอดเสียบบ่อย ควรใช้ปลั๊กแบบมีสวิทช์แยกแต่ละอัน ที่คุณภาพดี มี 4-6 ช่องเสียบ รองรับไฟ 2000-2500W ราคาประมาณ 4-500 บาท รองรับมาตรฐานปลั๊กแบบต่างๆ ได้หมด ใครสนใจแหล่งซื้อหลังไมค์มาครับ)
ตอนนี้นึกออกเท่านี้ครับ ไว้จะมาเพิ่มเติมถ้ามีเพิ่ม
*ขออภัยครับ ข้อความเดี๋ยวบ้าน-เดี๋ยววิชาการ