คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ความจริงถ้าสรุปสั้นๆ ความเห็นข้างบน สรุปได้ดี
แต่ผมก็เคยงง ตอนเพิ่งเริ่มเรียนรู้ใหม่ๆ งั้นก็จะช่วยอธิบายเพิ่มละกัน
เพราะภาษามันดิ้นได้นะครับขึ้นกับว่าใช้คำนี้ ในสภาพแวดล้อม ในบริบทไหน
ถ้าพูดถึงใช้ข้อปลีกย่อยแบบจำเพาะเจาะจง ก็แบบท่านข้างบนว่า
พอมา Debt ratio ถ้าเป็น D/E Ratio อันนี้ ถ้าส่วนใหญ่ไม่จำเพาะเจาะจง หมายถึงมูลค่าทั้งก้อนที่เป็น "เงินคนอื่นทั้งบริษัท" ที่ไม่ใช่เงินทุนเจ้าของเอามาลงและเงินที่ต้องจ่ายแน่ๆ แต่ยังไม่ได้จ่าย
ถ้าเอาส่วนใหญ่ ถ้าไม่ระบุ ใช้คำนี้จะหมายถึง Liabilities ทั้งก้อนเลย รวมถึงงบการเงินทุกบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นไทย ที่รายงานบน set.or.th/settrade.com
ก็มีฝรั่งบางที่ ต้องการจะระบุให้ชัดกว่า "Liabilities" แบบที่บอกว่าใช้คำนวณ D/E Ratio ก็จะระบุเลยว่า "Total Liabilities" แล้วก็บางแห่ง วัดต่างไปได้อีก http://accounting-simplified.com/financial/ratio-analysis/debt-to-equity.html ... อันนี้ แค่ให้รู้ความต่างว่ามีอยู่จริง ถ้าไม่มีใครระบุ เราไม่ต้องสนใจ เอาที่คนส่วนใหญ่ใช้ คือหมายถึง Total Liabilities ละกัน
เรื่องที่อาจต่างได้อีก ก็จะมีกรณี อย่างท่านข้างบนว่า ที่ต้องการรู้แยกเฉพาะเงินกู้ที่ต้องจ่ายดอก เพราะเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสกว่า เรื่องความเป็นความตายของบริษัทได้มากกว่าหนี้ประเภทอื่น ก่อนจะมาถึง shareholder เงินต้องแบ่งออกไปให้ debtholder ก่อน
แต่อีกแง่ เพราะถือว่าเรานำเงินก้อนใหญ่นี้มาขยายธุรกิจ หรือบางคนเรียกว่ามา leverage เป็นคานงัด เป็น gearing ใส่เกียร์เหยียบคันเร่งอัตราโต... จะคิดอัตราความต่าง เลยไม่อยากเน้นเรื่องอื่นที่เป็นปลีกย่อยเอามาคิดปน (เช่น ค้างจ่ายลูกจ้างที่เลิกจ้าง ก็รวมอยู่ในหนี้ด้วย) ก็อาจต้องอธิบาย ว่าไม่ได้หมายถึงหนี้อื่นๆ แต่มันความหมาย "หนี้" ดั้งเดิม ที่คนทั่วไปรู้จักกัน อยู่ในรายการเงินกู้ยืมอะไรที่เห็นชัดเจน ...
อันนี้เป็นเรื่องความต่างในวิธีการวัดค่า ว่าอยากวัดจุดไหน
แต่ให้พูดถึงการใช้คำในภาพใหญ่ มักจะความหมายเดียวกัน
Assets = Debts + Equity
คือ Assets = Liabilities + Equity
คำว่า Debt = Liabilities ....ที่สองคำนี้มันกลายเป็นคำเดียวกันได้
เพราะ Debt ความหมาย "หนี้" ที่เป็น "ดั้งเดิม" ที่ใครๆ ก็รู้จักมันว่า่ ยืมเงินใครก็หนี้คนนั้น เน้นในแง่ว่า ตระหนักว่าเงินที่ได้ในกองนี้ บริษัทหรือองค์กรเจ้าของงบการเงินนี้ไปกู้เขาใช้ ถ้าบริษัทแบบห้างร้านเล็กๆ หรือองค์กรไม่ซับซ้อน ก็อาจเริ่มบัญชีที่ความเป็นหนี้แค่ยืมเงินก้อนเรื่องเดียวแค่นี้ก่อน
แต่แล้วกำเนิดเป็น "Liabilities" กลายเป็นคำนี้ได้ คือการวัดค่าทางบัญชี มองว่าการเป็นหนี้คนอื่น มันซับซ้อนกว่าการยืมเงินมากมายนัก แปลตรงตัวภาษาอังกฤษ คล้ายๆ responsibilities จะเน้นว่าเป็นส่วนที่บริษัทหรือองค์กรเจ้าของงบการเงินนี้ "มีภาระผูกพันหรือต้องรับผิดชอบ" ซึ่งในรายละเอียดจริงๆ ตัวเลขทางบัญชีที่ถูกบันทึกเป็นหนี้ ก็ไม่ได้เป็นตัวเงินที่ไปเซ็นสัญญากู้ชาวบ้านมาแล้วคอยส่งดอก ทั้งหมด
อย่างธนาคาร มีประชาชนมาฝากเงิน คนทั่วไปจะรู้สึกว่า "เงิน" มันคือ Asset มากองมันใช่ละ... แต่ทางบัญชีดุลย์ด้านขวา ส่วนนี้บันทึกเป็นลูกหนี้ประชาชน มองทั้งธนาคาร เป็น Asset มากองอยู่ในธนาคาร แต่ไม่ใช่เป็นของธนาคาร
ถ้ากลัวงงวิธีจำคือก็นึกง่ายๆ ว่าเป็นหนี้บุญคนพวกเราที่เราไว้ใจเอาเงินให้เงินยืม ให้ bank นี้มีเงินก้อนใหญ่ๆ รวบรวมเอาไปให้คนอื่นกู้ยืมต่อได้ เอาดอกงามกว่าที่ให้คืนประชาชนคนฝาก bank ไม่ใช่เจ้าของเงินนั้นจริง แต่ได้ดอกเบี้ยสุทธิมาเป็นกำไรแล้ว ถึงจะผลักลงมา เป็นส่วนของเจ้าของได้
อีกตัวอย่างที่คล้ายธนาคาร คือบริษัทมือถือ บริษัทเกม โรงหนัง รถไฟฟ้า คนมาเติมเงินแต่ยังไม่ได้ใช้ก็เหมือนคนฝากเงินเลย จริงๆ บัตรเติมเงินหลายรายก็โอนให้คนรู้จักกันเป็นแบบเงินได้จริงๆ ด้วยสิ
ถ้าเป็นบริษัททั่วไป อย่างที่ยกตัวอย่างแรก ค้างจ่ายลูกจ้างที่เลิกจ้าง ก็จัดรวมอยู่ในหนี้ด้วย
บริษัทใคร เลื่อนการจ่ายสรรพากร อันนี้ก็เป็นหนี้รัฐ
เลื่อนการชำระเงิน ทั้งที่บริษัทขอเอง และทั้งที่เขาให้เครดิตมาเพราะไว้ใจ อันนี้ก็ถือเป็นหนี้การค้า.... เอาที่เราเห็นห้างทุกห้างเลย คนขายของส่งให้เครดิตรายใหญ่อย่าง BIGC, Lotus, CPALL (7-11), Tops, Makro เพราะถูกใจหรือถูกบังคับก็เถอะ แต่ว่ายินยอมเพราะเป็นช่องทางการขาย ก็เอาของมาวางก่อน แล้วมาเก็บเงินทีหลัง ห้างใหญ่เหล่านี้ ก็บันทึกว่ามีหนี้การค้าหรือ Account Payable ต่อคนขายของ
ในงบดุลของห้างที่ซื้อมา แต่ยังไม่จ่าย จึงยังถือว่าเป็นหนี้ไว้ก่อน ... งบยังสวย เพราะเงินสดไม่ได้ไหลออกทันที
(ในงบดุลของคนขายของ จะตรงข้าม บันทึกตัวเลขใน Account Receivable คือ รับเงินทางบัญชี ยังไม่มี Cash มาจริง เชื่อว่าจะได้... แต่อย่าไว้ใจไป อาจถูกเบี้ยวได้เช่นกัน หรือยังดีกว่าก็จ่ายช้าลงหรือถูกทยอยจ่าย ถ้าคนซื้ออยากหมุนเงินไปใช้เรื่องอื่น หรือเศรษฐกิจมาพังเอาตอนนี้)
แต่ผมก็เคยงง ตอนเพิ่งเริ่มเรียนรู้ใหม่ๆ งั้นก็จะช่วยอธิบายเพิ่มละกัน
เพราะภาษามันดิ้นได้นะครับขึ้นกับว่าใช้คำนี้ ในสภาพแวดล้อม ในบริบทไหน
ถ้าพูดถึงใช้ข้อปลีกย่อยแบบจำเพาะเจาะจง ก็แบบท่านข้างบนว่า
พอมา Debt ratio ถ้าเป็น D/E Ratio อันนี้ ถ้าส่วนใหญ่ไม่จำเพาะเจาะจง หมายถึงมูลค่าทั้งก้อนที่เป็น "เงินคนอื่นทั้งบริษัท" ที่ไม่ใช่เงินทุนเจ้าของเอามาลงและเงินที่ต้องจ่ายแน่ๆ แต่ยังไม่ได้จ่าย
ถ้าเอาส่วนใหญ่ ถ้าไม่ระบุ ใช้คำนี้จะหมายถึง Liabilities ทั้งก้อนเลย รวมถึงงบการเงินทุกบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นไทย ที่รายงานบน set.or.th/settrade.com
ก็มีฝรั่งบางที่ ต้องการจะระบุให้ชัดกว่า "Liabilities" แบบที่บอกว่าใช้คำนวณ D/E Ratio ก็จะระบุเลยว่า "Total Liabilities" แล้วก็บางแห่ง วัดต่างไปได้อีก http://accounting-simplified.com/financial/ratio-analysis/debt-to-equity.html ... อันนี้ แค่ให้รู้ความต่างว่ามีอยู่จริง ถ้าไม่มีใครระบุ เราไม่ต้องสนใจ เอาที่คนส่วนใหญ่ใช้ คือหมายถึง Total Liabilities ละกัน
เรื่องที่อาจต่างได้อีก ก็จะมีกรณี อย่างท่านข้างบนว่า ที่ต้องการรู้แยกเฉพาะเงินกู้ที่ต้องจ่ายดอก เพราะเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสกว่า เรื่องความเป็นความตายของบริษัทได้มากกว่าหนี้ประเภทอื่น ก่อนจะมาถึง shareholder เงินต้องแบ่งออกไปให้ debtholder ก่อน
แต่อีกแง่ เพราะถือว่าเรานำเงินก้อนใหญ่นี้มาขยายธุรกิจ หรือบางคนเรียกว่ามา leverage เป็นคานงัด เป็น gearing ใส่เกียร์เหยียบคันเร่งอัตราโต... จะคิดอัตราความต่าง เลยไม่อยากเน้นเรื่องอื่นที่เป็นปลีกย่อยเอามาคิดปน (เช่น ค้างจ่ายลูกจ้างที่เลิกจ้าง ก็รวมอยู่ในหนี้ด้วย) ก็อาจต้องอธิบาย ว่าไม่ได้หมายถึงหนี้อื่นๆ แต่มันความหมาย "หนี้" ดั้งเดิม ที่คนทั่วไปรู้จักกัน อยู่ในรายการเงินกู้ยืมอะไรที่เห็นชัดเจน ...
อันนี้เป็นเรื่องความต่างในวิธีการวัดค่า ว่าอยากวัดจุดไหน
แต่ให้พูดถึงการใช้คำในภาพใหญ่ มักจะความหมายเดียวกัน
Assets = Debts + Equity
คือ Assets = Liabilities + Equity
คำว่า Debt = Liabilities ....ที่สองคำนี้มันกลายเป็นคำเดียวกันได้
เพราะ Debt ความหมาย "หนี้" ที่เป็น "ดั้งเดิม" ที่ใครๆ ก็รู้จักมันว่า่ ยืมเงินใครก็หนี้คนนั้น เน้นในแง่ว่า ตระหนักว่าเงินที่ได้ในกองนี้ บริษัทหรือองค์กรเจ้าของงบการเงินนี้ไปกู้เขาใช้ ถ้าบริษัทแบบห้างร้านเล็กๆ หรือองค์กรไม่ซับซ้อน ก็อาจเริ่มบัญชีที่ความเป็นหนี้แค่ยืมเงินก้อนเรื่องเดียวแค่นี้ก่อน
แต่แล้วกำเนิดเป็น "Liabilities" กลายเป็นคำนี้ได้ คือการวัดค่าทางบัญชี มองว่าการเป็นหนี้คนอื่น มันซับซ้อนกว่าการยืมเงินมากมายนัก แปลตรงตัวภาษาอังกฤษ คล้ายๆ responsibilities จะเน้นว่าเป็นส่วนที่บริษัทหรือองค์กรเจ้าของงบการเงินนี้ "มีภาระผูกพันหรือต้องรับผิดชอบ" ซึ่งในรายละเอียดจริงๆ ตัวเลขทางบัญชีที่ถูกบันทึกเป็นหนี้ ก็ไม่ได้เป็นตัวเงินที่ไปเซ็นสัญญากู้ชาวบ้านมาแล้วคอยส่งดอก ทั้งหมด
อย่างธนาคาร มีประชาชนมาฝากเงิน คนทั่วไปจะรู้สึกว่า "เงิน" มันคือ Asset มากองมันใช่ละ... แต่ทางบัญชีดุลย์ด้านขวา ส่วนนี้บันทึกเป็นลูกหนี้ประชาชน มองทั้งธนาคาร เป็น Asset มากองอยู่ในธนาคาร แต่ไม่ใช่เป็นของธนาคาร
ถ้ากลัวงงวิธีจำคือก็นึกง่ายๆ ว่าเป็นหนี้บุญคนพวกเราที่เราไว้ใจเอาเงินให้เงินยืม ให้ bank นี้มีเงินก้อนใหญ่ๆ รวบรวมเอาไปให้คนอื่นกู้ยืมต่อได้ เอาดอกงามกว่าที่ให้คืนประชาชนคนฝาก bank ไม่ใช่เจ้าของเงินนั้นจริง แต่ได้ดอกเบี้ยสุทธิมาเป็นกำไรแล้ว ถึงจะผลักลงมา เป็นส่วนของเจ้าของได้
อีกตัวอย่างที่คล้ายธนาคาร คือบริษัทมือถือ บริษัทเกม โรงหนัง รถไฟฟ้า คนมาเติมเงินแต่ยังไม่ได้ใช้ก็เหมือนคนฝากเงินเลย จริงๆ บัตรเติมเงินหลายรายก็โอนให้คนรู้จักกันเป็นแบบเงินได้จริงๆ ด้วยสิ
ถ้าเป็นบริษัททั่วไป อย่างที่ยกตัวอย่างแรก ค้างจ่ายลูกจ้างที่เลิกจ้าง ก็จัดรวมอยู่ในหนี้ด้วย
บริษัทใคร เลื่อนการจ่ายสรรพากร อันนี้ก็เป็นหนี้รัฐ
เลื่อนการชำระเงิน ทั้งที่บริษัทขอเอง และทั้งที่เขาให้เครดิตมาเพราะไว้ใจ อันนี้ก็ถือเป็นหนี้การค้า.... เอาที่เราเห็นห้างทุกห้างเลย คนขายของส่งให้เครดิตรายใหญ่อย่าง BIGC, Lotus, CPALL (7-11), Tops, Makro เพราะถูกใจหรือถูกบังคับก็เถอะ แต่ว่ายินยอมเพราะเป็นช่องทางการขาย ก็เอาของมาวางก่อน แล้วมาเก็บเงินทีหลัง ห้างใหญ่เหล่านี้ ก็บันทึกว่ามีหนี้การค้าหรือ Account Payable ต่อคนขายของ
ในงบดุลของห้างที่ซื้อมา แต่ยังไม่จ่าย จึงยังถือว่าเป็นหนี้ไว้ก่อน ... งบยังสวย เพราะเงินสดไม่ได้ไหลออกทันที
(ในงบดุลของคนขายของ จะตรงข้าม บันทึกตัวเลขใน Account Receivable คือ รับเงินทางบัญชี ยังไม่มี Cash มาจริง เชื่อว่าจะได้... แต่อย่าไว้ใจไป อาจถูกเบี้ยวได้เช่นกัน หรือยังดีกว่าก็จ่ายช้าลงหรือถูกทยอยจ่าย ถ้าคนซื้ออยากหมุนเงินไปใช้เรื่องอื่น หรือเศรษฐกิจมาพังเอาตอนนี้)
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบความต่างของ Debt และ Liabilities ค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ