คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
สมัยก่อนเรามีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้แก่
ด้านเทคโนโลยี
ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าภูมิภาคยุโรปมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก่อนเรานานมาก
สมัยสร้างวิหารแพนธีออนที่โรมเสร็จ ตอนนั้นอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้ก่อตั้งด้วยซ้ำ
และเนื่องจากระยะทางการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทำให้เรารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากภูมิภาคแถบใกล้เคียงเช่นอารยะธรรมจีน อินเดีย แทนเสียมากกว่า ซึ่งทั้งสองอารยธรรมก็ไม่ได้แข่งขันในเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่เหมือนในยุโรป
ด้านวัสดุศาสตร์
ไม้ เป็นวัสดุหลักเนื่องจากหาได้ง่าย คอนกรีตยังเป็นวัสดุหายากและราคาแพงเพราะยังไม่มีการพัฒนาแหล่งหินปูนเหมือนปัจจุบัน ต้องมานั่งเผานั่งบดเปลือกหอยทำผงซิเมนต์กันอะไรแบบนั้น ความชำนาญมีอยู่ในการใช้ไม้มากกว่าคอนกรีต และไม้มีคุณสมบัติความแข็งแรงน้อยกว่าคอนกรีต
ด้านเศรษฐกิจ
ประชากรสมัยนั้นเบาบางกว่า ขนาดเศรษฐกิจและทรัพยากรที่มียังไม่พร้อมหรืออำนวยที่จะพัฒนาทุกด้านไปพร้อมกัน
ลองนึกภาพว่าเหมือนวันนี้เราไม่รวยพอจะมีเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ รถไฟความเร็วสูง (ขออย่าออกทะเลไปการเมือง)
ด้านวัฒนธรรมและคตินิยม
มโนคติน่าเป็นปัจจัยหลักทีเดียวในด้านขนาด เพราะสถาปัตยกรรมด้านศาสนามักมีจุดมุ่งหมายให้มีรูปแบบเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
ขนาดที่สูงใหญ่สร้างความรู้สึกกดข่มให้มนุษย์รู้สึกตนเองมีขนาดต่ำต้อย จิตใจพร้อมยินยอมที่จะรับนับถือเทพเจ้าได้ง่ายขึ้น
ในสมัยกรีก โรมัน วิหารส่วนใหญ่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของทวยเทพตามลัทธิเทวนิยม ขนาดที่ใหญ่บ่งบอกถึงความศรัทธาขณะที่สร้างความยำเกรงต่อเทพเจ้า ต่อมาในยุโรปยุคกลางหรือที่เรียกว่ายุคมืดอันเนื่องจากศาสนจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักร แม้แต่กษัตริย์ยังต้องได้รับการสถาปนาและฟังคำสั่งจากวาติกัน ก็ยังรักษามรดกคตินิยมดังกล่าวได้พัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบโกธิคที่มีลักษณะหอคอยยอดแหลมสูงเสียดฟ้าประหนึ่งว่าจะเชื่อมไปถึงสรวงสวรรค์ และพื้นที่ภายในก็มีขนาดกว้างใหญ่เพื่อรองรับศาสนิกชนปริมาณมากๆมาร่วมประกอบพิธี (ไม่งั้นจะกลายเป็นนอกรีต) เพดานสูงมากๆกดข่มความรู้สึกให้ผู้อยู่ภายในต้องรู้สึกเป็นมนุษย์ผู้ต่ำต้อยเจียมเนื้อตัว ระงับความฟุ้งซ่านสร้างความสงบได้ดี หน้าต่างกระจกสีแปลงให้แสงอาทิตย์สอดส่องเข้ามาอย่างมลังเมเลืองราวแสงสวรรค์ นอกจากนี้พื้นที่ใต้มหาวิหารยังใช้เป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญชั้นนำต่างๆด้วย ข้อนี้มีคนบอกว่าเป็นสาเหตุที่มีมหาวิหารต้องขนาดใหญ่ แต่เรามองว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า
คตินิยมฟากฝั่งของเราก็ไม่ค่อยต่างกันในแง่มุ่งหมายต้องการให้เกิดความเลื่อมใส ผู้เข้าไปใช้อาคารเกิดความสงบเยือกเย็น เพียงแต่กรอบความคิดของฟากเราสมัยนั้นคิดว่าแค่นี้ก็มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมีความพิเศษแตกต่างจากบ้านเรือนทั่วๆไปแล้ว (ด้วยข้อจำกัด ๓ ข้อแรกข้างต้นด้วย) เพราะไม่เคยเห็นการประชันแข่งขันเรื่องขนาดของการสร้างแบบในฝั่งยุโรป ทั้งของเราอยากเห็นผลสำเร็จเร็วเพราะของเขาสร้างหลังหนึ่งไปเรื่อยๆสร้างกันเป็นร้อยๆปีก็มี
นอกจากนี้ เอกลักษณ์ของคนพื้นถิ่นนี้คือความถ่อมตน แต่มีทักษะในงานฝีมือหัตถกรรมผลงานสถาปัตยกรรมที่ได้จึงเน้นในเรื่องของความประณีตพิถีพิถันในการประดิษฐ์ลวดลายตกแต่ง เช่นทำช่อฟ้าใบระกาเพื่อสร้างความต่อเนื่องค่อยๆประสานกลมกลืนกับท้องฟ้าอากาศ แบ่งผืนหลังคาใหญ่ชิ้นเดียวให้กลายเป็นหลายๆชั้นๆเพื่อลดความรู้สึกหนัก สถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ทรงจอมแหเพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงแต่อ่อนช้อยสงบนิ่ง เป็นการถ่อมตนต่อธรรมชาติ ไม่แปลกแยกจากกันมากเกินไป และสันโดษตามคำสอนของพระพุทธองค์
ด้านอื่นๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ธรณีวิทยา ฯลฯ ก็คิดว่ามีส่วน ลองไปคิดต่อยอดดูเองนะ เหนื่อยแล้ว ๕๕๕๕
อ้อ สำหรับคำตอบที่ถาม
ปัจจุบันสมมติว่าจะมีการสร้างให้มีขนาดใหญ่โตเทียบเท่านั้น
อาจต้องเป็นแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ซึ่งคงต้องดูรูปลักษณ์จากแบบประกวด ฯลน ความคิดว่าจะออกมาหน้าตาอย่างไร
รูปแบบอาจไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณีนิยม เพราะมีสัดส่วนแบบแผนที่แน่นอน
การเพิ่มเสกลเป็นใหญ่ขนาดนั้น ดูแล้วอาจไม่สามารถรักษาสัดส่วนองค์ประกอบให้เกิดสุนทรียภาพและเหมาะกับประโยชน์การใช้สอยได้เท่า
ลองจินตนาการนึกถึงโบสถ์สูงขนาดตึกใบหยก ช่อฟ้าแต่ละชิ้นนี่คงมีขนาดใหญ่กว่าสถานีรถไฟ BTS มั้ง
อันนั้ขำขำนะ
ส่วนตัวเชื่อว่า หากปราศจากข้อจำกัดข้างต้น
และมีช่วงเวลาต่อเนื่องให้ไม่ขาดตอนด้านวิวัฒนาการ
เราว่าบรมครูช่างไทยคงแก้ปัญหา คลี่คลาย สร้างสรรค์รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ไทยได้ในรูปแบบที่เราเองทุกวันนี้ยังอาจนึกไม่ออก
สุดท้ายนี้มีของแถมให้ เป็นกราฟิกเปรียบเทียบขนาดสถาปัตยกรรมในอดีตที่มีชื่อเสียงต่างๆ
หน่วยเป็นฟุตนะ ภาพที่ลงถูกจำกัดขนาด ถ้าอยากได้ภาพใหญ่ ตามไปดูได้ที่นี่จ้ะ

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6f/Worlds_tallest_buildings,_1884.jpg
ด้านเทคโนโลยี
ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าภูมิภาคยุโรปมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก่อนเรานานมาก
สมัยสร้างวิหารแพนธีออนที่โรมเสร็จ ตอนนั้นอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้ก่อตั้งด้วยซ้ำ
และเนื่องจากระยะทางการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทำให้เรารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากภูมิภาคแถบใกล้เคียงเช่นอารยะธรรมจีน อินเดีย แทนเสียมากกว่า ซึ่งทั้งสองอารยธรรมก็ไม่ได้แข่งขันในเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่เหมือนในยุโรป
ด้านวัสดุศาสตร์
ไม้ เป็นวัสดุหลักเนื่องจากหาได้ง่าย คอนกรีตยังเป็นวัสดุหายากและราคาแพงเพราะยังไม่มีการพัฒนาแหล่งหินปูนเหมือนปัจจุบัน ต้องมานั่งเผานั่งบดเปลือกหอยทำผงซิเมนต์กันอะไรแบบนั้น ความชำนาญมีอยู่ในการใช้ไม้มากกว่าคอนกรีต และไม้มีคุณสมบัติความแข็งแรงน้อยกว่าคอนกรีต
ด้านเศรษฐกิจ
ประชากรสมัยนั้นเบาบางกว่า ขนาดเศรษฐกิจและทรัพยากรที่มียังไม่พร้อมหรืออำนวยที่จะพัฒนาทุกด้านไปพร้อมกัน
ลองนึกภาพว่าเหมือนวันนี้เราไม่รวยพอจะมีเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ รถไฟความเร็วสูง (ขออย่าออกทะเลไปการเมือง)
ด้านวัฒนธรรมและคตินิยม
มโนคติน่าเป็นปัจจัยหลักทีเดียวในด้านขนาด เพราะสถาปัตยกรรมด้านศาสนามักมีจุดมุ่งหมายให้มีรูปแบบเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
ขนาดที่สูงใหญ่สร้างความรู้สึกกดข่มให้มนุษย์รู้สึกตนเองมีขนาดต่ำต้อย จิตใจพร้อมยินยอมที่จะรับนับถือเทพเจ้าได้ง่ายขึ้น
ในสมัยกรีก โรมัน วิหารส่วนใหญ่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของทวยเทพตามลัทธิเทวนิยม ขนาดที่ใหญ่บ่งบอกถึงความศรัทธาขณะที่สร้างความยำเกรงต่อเทพเจ้า ต่อมาในยุโรปยุคกลางหรือที่เรียกว่ายุคมืดอันเนื่องจากศาสนจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักร แม้แต่กษัตริย์ยังต้องได้รับการสถาปนาและฟังคำสั่งจากวาติกัน ก็ยังรักษามรดกคตินิยมดังกล่าวได้พัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบโกธิคที่มีลักษณะหอคอยยอดแหลมสูงเสียดฟ้าประหนึ่งว่าจะเชื่อมไปถึงสรวงสวรรค์ และพื้นที่ภายในก็มีขนาดกว้างใหญ่เพื่อรองรับศาสนิกชนปริมาณมากๆมาร่วมประกอบพิธี (ไม่งั้นจะกลายเป็นนอกรีต) เพดานสูงมากๆกดข่มความรู้สึกให้ผู้อยู่ภายในต้องรู้สึกเป็นมนุษย์ผู้ต่ำต้อยเจียมเนื้อตัว ระงับความฟุ้งซ่านสร้างความสงบได้ดี หน้าต่างกระจกสีแปลงให้แสงอาทิตย์สอดส่องเข้ามาอย่างมลังเมเลืองราวแสงสวรรค์ นอกจากนี้พื้นที่ใต้มหาวิหารยังใช้เป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญชั้นนำต่างๆด้วย ข้อนี้มีคนบอกว่าเป็นสาเหตุที่มีมหาวิหารต้องขนาดใหญ่ แต่เรามองว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า
คตินิยมฟากฝั่งของเราก็ไม่ค่อยต่างกันในแง่มุ่งหมายต้องการให้เกิดความเลื่อมใส ผู้เข้าไปใช้อาคารเกิดความสงบเยือกเย็น เพียงแต่กรอบความคิดของฟากเราสมัยนั้นคิดว่าแค่นี้ก็มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมีความพิเศษแตกต่างจากบ้านเรือนทั่วๆไปแล้ว (ด้วยข้อจำกัด ๓ ข้อแรกข้างต้นด้วย) เพราะไม่เคยเห็นการประชันแข่งขันเรื่องขนาดของการสร้างแบบในฝั่งยุโรป ทั้งของเราอยากเห็นผลสำเร็จเร็วเพราะของเขาสร้างหลังหนึ่งไปเรื่อยๆสร้างกันเป็นร้อยๆปีก็มี
นอกจากนี้ เอกลักษณ์ของคนพื้นถิ่นนี้คือความถ่อมตน แต่มีทักษะในงานฝีมือหัตถกรรมผลงานสถาปัตยกรรมที่ได้จึงเน้นในเรื่องของความประณีตพิถีพิถันในการประดิษฐ์ลวดลายตกแต่ง เช่นทำช่อฟ้าใบระกาเพื่อสร้างความต่อเนื่องค่อยๆประสานกลมกลืนกับท้องฟ้าอากาศ แบ่งผืนหลังคาใหญ่ชิ้นเดียวให้กลายเป็นหลายๆชั้นๆเพื่อลดความรู้สึกหนัก สถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ทรงจอมแหเพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงแต่อ่อนช้อยสงบนิ่ง เป็นการถ่อมตนต่อธรรมชาติ ไม่แปลกแยกจากกันมากเกินไป และสันโดษตามคำสอนของพระพุทธองค์
ด้านอื่นๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ธรณีวิทยา ฯลฯ ก็คิดว่ามีส่วน ลองไปคิดต่อยอดดูเองนะ เหนื่อยแล้ว ๕๕๕๕
อ้อ สำหรับคำตอบที่ถาม
ปัจจุบันสมมติว่าจะมีการสร้างให้มีขนาดใหญ่โตเทียบเท่านั้น
อาจต้องเป็นแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ซึ่งคงต้องดูรูปลักษณ์จากแบบประกวด ฯลน ความคิดว่าจะออกมาหน้าตาอย่างไร
รูปแบบอาจไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณีนิยม เพราะมีสัดส่วนแบบแผนที่แน่นอน
การเพิ่มเสกลเป็นใหญ่ขนาดนั้น ดูแล้วอาจไม่สามารถรักษาสัดส่วนองค์ประกอบให้เกิดสุนทรียภาพและเหมาะกับประโยชน์การใช้สอยได้เท่า
ลองจินตนาการนึกถึงโบสถ์สูงขนาดตึกใบหยก ช่อฟ้าแต่ละชิ้นนี่คงมีขนาดใหญ่กว่าสถานีรถไฟ BTS มั้ง
อันนั้ขำขำนะ
ส่วนตัวเชื่อว่า หากปราศจากข้อจำกัดข้างต้น
และมีช่วงเวลาต่อเนื่องให้ไม่ขาดตอนด้านวิวัฒนาการ
เราว่าบรมครูช่างไทยคงแก้ปัญหา คลี่คลาย สร้างสรรค์รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ไทยได้ในรูปแบบที่เราเองทุกวันนี้ยังอาจนึกไม่ออก
สุดท้ายนี้มีของแถมให้ เป็นกราฟิกเปรียบเทียบขนาดสถาปัตยกรรมในอดีตที่มีชื่อเสียงต่างๆ
หน่วยเป็นฟุตนะ ภาพที่ลงถูกจำกัดขนาด ถ้าอยากได้ภาพใหญ่ ตามไปดูได้ที่นี่จ้ะ

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6f/Worlds_tallest_buildings,_1884.jpg
แสดงความคิดเห็น
วัดไทย หรือ สถาปัตยกรรม ไทย สามารถสร้างให้ใหญ่โต เท่ามหาวิหารของทางยุโรปได้ไหม