ไม่เพียงบริษัทห้างร้านเอกชนเท่านั้นที่มาช่วยพยุง ช่วยออกทุน หรือเป็นสปอนเซอร์ให้กับภาพยนตร์ไทยหลายต่อหลายเรื่อง ยังมีหน่วยงานรัฐ ทั้งกระทรวง กรม องค์การ รัฐวิสาหกิจ ที่มาช่วยเป็นสปอนเซอร์ให้หนังไทยมีคุณค่าน่าติดตามอีกเช่นกัน มาดูกันสิว่ามีเรื่องไหน และหน่วยงานใดบ้าง...
เริ่มด้วยภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ เรื่ีอง "สุริโยไท" ผลงานของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ที่ฉายในปี 2544 ที่เคยทำสถิติหนังไทยที่มีรายได้การฉายสูงที่สุดตลอดกาล ก็มี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) สมัยที่ยังไม่แปรเป็นบริษัทมหาชน มาร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้
มาถึงหนังชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" (ในช่วงหลัง) ที่สร้างจากงบประมาณของโครงการไทยเข้มแข็ง โดยมี กระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มาช่วยหนุนให้
ยังมีหนังไทยอีกหลายเรื่องที่สร้างจากงบไทยเข้มแข็งอีกเช่นกัน เช่นเรื่อง "คนโขน", "ฝนตกขึ้นฟ้า", "ซามูไรอโยธยา", "อีนางเอ๊ย..เขยฝรั่ง" และ "ฮักนะสารคาม"




ทางด้านกระทรวงวัฒนธรรม ยังเป็นสปอนเซอร์ให้อีกหลายเรื่อง ส่วนมากมักเป็นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมไทย เช่นเรื่อง "เหลือแหล่"
นอกจากนี้ยังมีเรื่อง "ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่" ที่ฉายในปี 2553 โดยมี ธนาคารออมสิน ร่วมหนุนอีกแรง และเรื่อง "สามชุก (ขอเพียงโอกาสอีกสักครั้ง)" ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

ส่วนหน่วยงานที่แยกย่อยจากกระทรวงวัฒนธรรมอย่าง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังได้เป็นสปอนเซอร์ให้กับหนังน่ารักๆ อย่าง "แคท อ่ะ แว้บ! # แบบว่ารักอ่ะ" ของค่ายสหมงคลฟิล์ม และ เวิร์คพอยท์
ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง "ก้านกล้วย" จากค่ายกันตนา มี ทีโอที(เดิมคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) มาร่วมเป็นสปอนเซอร์ในภาคแรก พอถึงภาค 2 ก็เปลี่ยนเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

ซึ่ง ททท. ยังเป็นสปอนเซอร์ให้กับเรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย", "อุโมงค์ผาเมือง" ซึ่งกำกับภาพยนตร์โดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล, "หนึ่งใจ..เดียวกัน", "มายเบสท์บอดี้การ์ด", "อินวิซิเบิล เวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร" รวมถึงภาพยนตร์แอนิเมชันรักษ์โลกอย่าง "เอคโค่ จิ๋วก้องโลก"


ทางด้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังได้สนับสนุนหนังไทยเรื่อง "ความสุขของกะทิ", "ไฟนอลสกอร์ 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์", "บ้านฉัน...ตลกไว้ก่อนพ่อสอนไว้", "รักจัดหนัก" เป็นต้น



ล่าสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ก็ได้ช่วยออกทุนให้กับหนังไทยที่กระแสแรง(..แต่คนไปดูโหรงเหรง) นั่นคือเรื่อง "ละติจูดที่ 6" โดยมี การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) และ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นสปอนเซอร์ด้วย
จะสังเกตได้ว่าหนังไทยที่มีสปอนเซอร์เป็นของรัฐนี้ ส่วนมากมักจะทำรายได้จากการฉายได้ไม่มากนัก หรือไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ หรือเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ หลายคนอาจจะรู้สึกกลัวกับหนังลักษณะนี้ เกรงว่านั่นจะสร้างภาพลักษณ์ที่หนักแน่น เด็ดขาด ของสปอนเซอร์ภาครัฐ แต่ในเนื้อหาก็เพียงให้สาระและความบันเทิงที่ดูง่าย เข้าใจง่าย อบอุ่น และชื่นใจไปทุกเรื่อง มิใช่หรือ.. เพราะอะไรล่ะ..
ช่วยรัฐแล้วอย่าลืมช่วยหนังไทยกัน อนาคตจะสดใสกว่าที่เป็น สวัสดี.
"หน่วยงานรัฐ" กับบทบาทสปอนเซอร์ "หนังไทย" ล้มเหลวเพราะอะไร..
เริ่มด้วยภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ เรื่ีอง "สุริโยไท" ผลงานของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ที่ฉายในปี 2544 ที่เคยทำสถิติหนังไทยที่มีรายได้การฉายสูงที่สุดตลอดกาล ก็มี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) สมัยที่ยังไม่แปรเป็นบริษัทมหาชน มาร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้
มาถึงหนังชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" (ในช่วงหลัง) ที่สร้างจากงบประมาณของโครงการไทยเข้มแข็ง โดยมี กระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มาช่วยหนุนให้
ยังมีหนังไทยอีกหลายเรื่องที่สร้างจากงบไทยเข้มแข็งอีกเช่นกัน เช่นเรื่อง "คนโขน", "ฝนตกขึ้นฟ้า", "ซามูไรอโยธยา", "อีนางเอ๊ย..เขยฝรั่ง" และ "ฮักนะสารคาม"
ทางด้านกระทรวงวัฒนธรรม ยังเป็นสปอนเซอร์ให้อีกหลายเรื่อง ส่วนมากมักเป็นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมไทย เช่นเรื่อง "เหลือแหล่"
นอกจากนี้ยังมีเรื่อง "ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่" ที่ฉายในปี 2553 โดยมี ธนาคารออมสิน ร่วมหนุนอีกแรง และเรื่อง "สามชุก (ขอเพียงโอกาสอีกสักครั้ง)" ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
ส่วนหน่วยงานที่แยกย่อยจากกระทรวงวัฒนธรรมอย่าง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังได้เป็นสปอนเซอร์ให้กับหนังน่ารักๆ อย่าง "แคท อ่ะ แว้บ! # แบบว่ารักอ่ะ" ของค่ายสหมงคลฟิล์ม และ เวิร์คพอยท์
ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง "ก้านกล้วย" จากค่ายกันตนา มี ทีโอที(เดิมคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) มาร่วมเป็นสปอนเซอร์ในภาคแรก พอถึงภาค 2 ก็เปลี่ยนเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ซึ่ง ททท. ยังเป็นสปอนเซอร์ให้กับเรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย", "อุโมงค์ผาเมือง" ซึ่งกำกับภาพยนตร์โดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล, "หนึ่งใจ..เดียวกัน", "มายเบสท์บอดี้การ์ด", "อินวิซิเบิล เวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร" รวมถึงภาพยนตร์แอนิเมชันรักษ์โลกอย่าง "เอคโค่ จิ๋วก้องโลก"
ทางด้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังได้สนับสนุนหนังไทยเรื่อง "ความสุขของกะทิ", "ไฟนอลสกอร์ 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์", "บ้านฉัน...ตลกไว้ก่อนพ่อสอนไว้", "รักจัดหนัก" เป็นต้น
ล่าสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ก็ได้ช่วยออกทุนให้กับหนังไทยที่กระแสแรง(..แต่คนไปดูโหรงเหรง) นั่นคือเรื่อง "ละติจูดที่ 6" โดยมี การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) และ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นสปอนเซอร์ด้วย
จะสังเกตได้ว่าหนังไทยที่มีสปอนเซอร์เป็นของรัฐนี้ ส่วนมากมักจะทำรายได้จากการฉายได้ไม่มากนัก หรือไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ หรือเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ หลายคนอาจจะรู้สึกกลัวกับหนังลักษณะนี้ เกรงว่านั่นจะสร้างภาพลักษณ์ที่หนักแน่น เด็ดขาด ของสปอนเซอร์ภาครัฐ แต่ในเนื้อหาก็เพียงให้สาระและความบันเทิงที่ดูง่าย เข้าใจง่าย อบอุ่น และชื่นใจไปทุกเรื่อง มิใช่หรือ.. เพราะอะไรล่ะ..
ช่วยรัฐแล้วอย่าลืมช่วยหนังไทยกัน อนาคตจะสดใสกว่าที่เป็น สวัสดี.