คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าเป็นบ้านผม ห้องน้ำชั้น2 ในส่วนท่อน้ำทิ้ง หากมีการเทพื้นแล้ว ถ้าต้องสกัดมีความเสี่ยงต่อการรั่วซึมได้ แถมแก้ไม่ค่อยจบ ยกเว้นทำท่อเยื้อง ซึ่งจะทำให้พื้นส่วนห้องน้ำสูงขึ้นมาก เสียค่าเทประบระดับอีก ผมขอเป็นแบบที่1
แต่ถ้าเป็นชั้นล่าง ไม่มีปัญหาครับ
แต่ถ้าเป็นชั้นล่าง ไม่มีปัญหาครับ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ย้าย หรือ ขยับ ตำแหน่งท่อโถสุขภัณฑ์ จะเสียหายมากไม๊คะ?
แต่ห้องน้ำทั้งชั้นบน-ชั้นล่าง ติดปัญหาตรงที่ทางเดินเข้าโถ กับ พื้นลดระดับอาบน้ำอยู่ติดกัน
ตอนดูในแบบโอเค แต่พอหน้างานจริงมันแคบมาก เวลาเดินเข้าจะลำบาก และไม่ค่อยสะดวก
ถ้าต้องการจะย้ายตำแหน่งสุขภัณฑ์ประมาณ 20 ซม. เพื่อให้มีทางเดิน ทั้งห้องน้ำชั้นบน-ชั้นล่าง
อยากรู้ว่าจะยุ่งยาก หรือจะมีผลกระทบต่องานโครงสร้างพื้นไม๊? เรื่องน้ำรั่วซึมอีก อันนี้กังวลมาก!
ห้องน้ำขนาด 190x200 (ตัดส่วนช่องชาร์ปออก) ส่วนเปียก 90x100 ซม.ลดระดับ 5-10 ซม.
แบบเดิมท่อสุขภัณฑ์ห่างจากผนัง 50 ซม. (มีเคาเตอร์ 15 ซม.)
แนวทางแก้ไข
แบบที่ 1 - ไม่ต้องย้ายตำแหน่งท่อชักโครก แต่หมุนด้านวางชักโครกแทน ก่อเคาเตอร์หลังชักโครก 20 ซม. ย้ายสายน้ำดี และเปลี่ยนเป็นเคาเตอร์อ่างล้างหน้าแบบฝังครึ่ง/หรือเป็นแบบลอย
แบบที่ 2 - ย้ายตำแหน่งท่อชักโครก 20 ซม. ทุบเคาเตอร์หลังชักโครก และขยับตำแหน่งชักโครกเข้าไปให้ชิดถึงผนัง
แบบที่ 3 - ย้ายตำแหน่งท่อชักโครก 20 ซม. ย้ายสายน้ำดี หมุนด้านวางชักโครก และขยับตำแหน่งชักโครกเข้าไปให้ชิดถึงผนัง
สัดส่วนรูปอาจไม่ค่อยตรงนะคะ เผอิญเพิ่งหักเขียน แหะๆ
ขอบคุณคะ