"ปัญหาเรื่องมัสยิดส่งเสียงดัง" อาจจะแก้ได้ด้วยหลักการของศาสนาอิสลาม

กระทู้สนทนา
กระทู้นี้ดัดแปลงมาจากบทความแสดงความคิดเห็นของ อับดาร์ เราะห์มาน โคยา ชาวมาเลเชีย ซึ่ง เป็นความคิดเห็นที่ยาว, และมีเหตุผลที่ดีในเรื่อง การส่งเสียงดัง ของการ“อาซาน" ซึ่งสรุปมาแต่ส่วนที่ใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดในบ้านเราเท่านั้น

http://www.themalaysianinsider.com/opinion/abdar-rahman-koya/article/an-islamic-case-against-loud-mosques

        ปัญหาเรื่องมัสยิดส่งเสียงดังนั้น เป็นเรื่องที่ว่า ถ้า มัสยิดมีความหมายว่า “ทำลายความสงบของชาวบ้านรอบๆมัสยิด ทุกๆความศรัทธาแล้ว” ดังนั้นอุดมการณ์ของศาสนาอิสลาม ที่ว่าเป็นศาสนาแห่งความสงบและสันตินั้น จะไม่มีความหมายและเป็นเรื่องขบขันไป, เมื่อมัสยิดกลายเป็น แหล่งของความกังวลใจและกวนใจชาวบ้านรอบข้าง, ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่มุสลิม จะต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาด้วยเหตุผล และ ตอบคำถามแก่ตัวเอง ที่ค่อนข้างยาก

      ตามความเป็นจริงแล้วถึงแม้ว่าการ “อาซาน” ซึ่งเป็นที่ชื่นชมแก่มุสลิมทั่วโลกในการได้ยินเสียงเชิญชวนให้มุสลิมตื่นตัวในการแสดงศรัทธาต่ออัลลอฮ์, ปัญหาที่มุสลิมควรจะนำมาพิจารณาด้วย ก็คือวัตถุประสงค์ในการอาซานนั้น คือ เป็นการประกาศ ด้วยความตั้งใจที่จะเรียกร้อง มุสลิมที่ได้ยิน ให้มีความกระตือรือร้นในการจดจำหน้าที่ๆมีต่ออัลลอฮ์, แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการ “อาซาน” ที่จะปลุกผู้คนที่ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยขณะนอนหลับอย่างสนิทในช่วงเช้ามืด, หรือปลุกแม่ลูกอ่อนผู้ซึ่งพยายามจะหลับนอนพักผ่อนหลังจากพยายามที่จะ ให้นมทารกที่กวนงอแงมาตลอดคืนด้วยความหิว

        ท่านรอซุลตัวท่านเองไม่เคยถือเป็นธุระในการเที่ยวเดินไปเคาะประตูตามบ้านมุสลิม ปลุกผู้คนขึ้นเพื่อทำการละหมาด, ถึงแม้ว่าในสมัยของท่าน “การอาซาน” ไม่มีลำโพงใหญ่ และ ไมโครโฟน ที่ส่งเสียงดังอย่างเช่นในปัจจุบันนี้

    แต่ในปัจจุบันนี้,มีมัสยิดบางมัสยิดที่ทำการสอนศาสนาทางการกระจายเสียงออกอากาศ ตั้งแต่รุ่งเช้า และในเวลาเย็นก็เช่นกัน,  ท่านทั้งหลายคงเห็นพ้องกันว่า ไม่ว่าการเทศนา หรือ การ อาซาน จะดังเท่าใดก็ตาม ไม่อาจจะทำให้มุสลิม รีบวิ่งไปที่มัสยิด หรือ ทำให้ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามได้

     ไม่มีผู้ใดที่จะต้องอ้างอิงความมีสิทธิส่วนตัวเพื่อมาต่อต้าน หรือ นำคดีฟ้องร้องในเรื่องการก่อเสียงดังของมัสยิด, มุสลิมลองคิดย้อนหลังหรือศึกษาประวัติศาสตร์ อิสลามสมัยท่าน ศาสดามูฮัมมัด เราจะ พบว่า “การอาซาน” นั้นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของมารยาทและจรรยาธรรมของศาสนาอิสลาม

    อ้างอิงถึง หลักกฏหมายการปฏิบัติตามซุนนะห์ นักวิชาการและปราชญ์อิสลามผู้มีอำนาจในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา, ระบุไว้ว่า การ อาซานสมัยท่านศาสดามูฮัมมัดนั้น  ไม่มีการ อ่าน อัลกุรอาน หรือ การ อ่านดุอาห์ ขอพรใดๆ ไม่ว่า ก่อนหรือ หลัง การ อาซาน, โดยเฉพาะการอ่านอัลกุรอานเสียงดัง เพื่อให้ผู้อื่นฟังในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่ก็ไม่อาจจะทำได้ นั้นก็คือ ห้ามการกระจายเสียงดัง ไปทั่วหมู่บ้านอย่างที่บางมัสยิดกระทำอยู่ในปัจจุบัน
ท่านหญิงอัยชะภรรยาของท่านศาสดามูฮัมมัด เคยห้ามผู้อ่านอัลกุรอานเสียงดังให้คนฟังว่า ควรจะออกเสียงดังพอให้เขาได้ยินและสำหรับผู้ที่ตั้งใจฟังเท่านั้น และถ้าเห็นผู้ใดผินหน้า ไม่สนใจให้หยุดการอ่านทันที

            ในสมัยเริ่มแรกของประวัติศาสตร์อิสลาม คอลิฟะห์คนที่สองคือ ท่าน อุมัร อัลคออ์ตับ เคยลงโทษผู้ที่ กล่าวปราศัยเสียงดังจนเกินควร
หลังจากนั้นมาอีกหลายปี อิบนุ อัลเญาซิ นักกฏหมายมุสลิมใน ศตวรรษที่12  กล่าวว่า “ฉันได้เห็นผู้คนส่วนหนึ่งในสุเหร่า ห้ามปราม ผู้ที่อยู่บน หอคอยสุเหร่า “อาซาน” และอ่านอัลกุรอานเสียงดัง, บุคคลเหล่านั้น ก่อกวนผู้คนในการนอนหลับในเวลากลางคืน,และก่อกวนผู้ที่ทำการละหมาดในตอนดึกของกลางคืน, การกระทำเช่นนี้ เป็นที่ต้องห้ามและเป็นความชั่วร้าย

           เรื่องนี้เป็นความจริงเมื่อเราพิจารณาดุสุเหร่าในบ้านเรา ที่ใช้เครื่องขยายเสียงในการบรรยายอัลกุรอาน หลังจาก การอาซาน แล้ว  โดยติดเครื่องขยายเสียงไว้ภายนอกสุเหร่า, การกระทำเช่นนี้  นอกจะสร้างปัญหาให้กับมุสลิมรอบข้างต้องคอยแก้ตัวแทนมัสยิดหรือสุเหร่าแทนที่จะได้ประโยชน์จากการรับ ฟังอัลกุรอาน เพื่อการกระตุ้นความคิดทางปัญญาใด ๆ แล้ว, และ ย่อม สามารถคาดหวัง ว่า จะได้รับความไม่พอใจ พร้อมกับการเยาะเย้ยและดูหมิ่นศาสนาอิสลามจากผุ้ที่ไม่ใช่มุสลิมด้วย

    เมื่อไม่นานมานี้ มูฮัมมัด ตะคิ อุสมะนิ ซึ่งเป็นผู้พิพากษาทางกฏหมายชาเรียอ์ นานกว่า 20 ปี จนถึงปี 2002  ของประเทศปากีสตาน เขียนถึงเรื่องการที่สุเหร่าก่อเสียงดัง รบกวนความความเป็นส่วนตัวของชาวบ้านมุสลิมรอบข้าง, ผู้พิพากษาที่สำคัญผู้นี้ได้ลงโทษด้วยการตำหนิมัสยิด ที่ใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดังทำความรำคาญในมัสยิด, ซึ่งไม่เพียง แต่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้อยู่อาศัยอยู่รอบ ๆ มัสยิด แต่ยังสร้างความไม่พอใจกับผู้บริหารมัสยิดและวงการศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย

     มูฮัมมัด ตะคิ อุสมะนิ กล่าว  ต่อไป ว่า "ในแง่ของหลักการนี้, ลำโพงไม่ควรใช้เลย (ในระหว่างการละหมาด) ซึ่งมีจำนวนของผู้ ที่สามารถได้ยินเสียงของการสวด (ในระหว่างการละหมาด) หรือการ แสดงธรรมเทศนาโดยไม่ต้องใช้ ลำโพง, แต่ถ้ามีผู้ทำละหมาดเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถได้ยินเสียงได้โดยตรง, ก็ควรใช้เพียงลำโพงภายในและไม่ควรใช้ลำโพงที่ติดตั้งนอกมัสยิด.

    ศาสนาอิสลามไม่ได้แสดงความแข็งแรงโดยจำนวนของพิธีกรรมหรือขนาดของมัสยิด, มันเป็นเรื่องที่ น่าเศร้าที่เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิม ในขณะที่ โลกมุสลิมอ่อนแอในทางการเมืองและทางสังคม, แต่ก็มีการสร้าง มัสยิดขนาดใหญ่ที่มีลำโพงที่เสียงดังส่งเสียงรบกวนชาวบ้านได้อย่างทั่วถึง เป็นเครื่องหมายของ ความยิ่งใหญ่ของศาสนาอิสลาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่