** เหรียญมีแค่สองด้านจริงหรือ ? **

กระทู้สนทนา
** เหรียญมีแค่สองด้าน จริงหรือ ? **

      สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกท่าน.. อมยิ้ม17อมยิ้ม29
..เพื่อนๆทุกท่านครับ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า โลกของเรานั้น ในหนึ่งวัน...
1. มี..กลางวันกับกลางคืน
2. มี.. เช้า สาย เที่ยงวัน บ่าย เย็น กลางคืน
3. มี.. 24 ชั่วโมง
4. มี.. 1,440 นาที
5. มี.. 86,400 วินาที
6. ถูกทุกข้อ
.. การมองในลักษณะดังกล่าว เป็นการมองตามพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ ตามความรู้
ตามประสบการณ์  ตามจินตนาการ ตาม..ฯลฯ
.. ไม่มีใครถูก ใครผิด ซึ่งจริงๆแล้ว มันไม่ควรจะถามด้วยซ้ำ เพราะเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้ว
.. นั่นมันคือ “ศาสตร์” ในแง่วิทยาศาสตร์ มันคือข้อเท็จจริงในโลกใบนี้ ในจักรวาลแห่งนี้
.....แต่ความรู้สึกหรือความคิดตรงไปตรงมาในลักษณะแบบนี้มันใช้ไม่ได้กับ “ศิลปะ” ซะทีเดียวนัก !!..

1.    ศิลปะนั้นไม่มีคำว่า ”ถูก” หรือ ”ผิด”  
2.    ศิลปะนั้นมันขึ้นกับ”มุมมอง” ทั้งของผู้ที่รังสรรค์งานชิ้นนั้น บวกกับผู้ที่มองผลงานเหล่านั้น ว่าจะชอบใจไหม ไม่ชอบใจไหม หรือเฉยๆไหม ?
3.    จริงอยู่ที่บางครั้งมันต้องมีศาสตร์หรือกฎเกณฑ์ใดๆมากำหนดบ้าง เพื่อให้เป็นในรูปแบบที่ตนเองหรือคนอื่นในสังคมมีความเห็นตรงกันว่ามันดี มันสวย มันงาม มันไพเราะ มันสนุก มันเลิศ มันแจ๋ว มัน..ฯลฯ
4.    แล้วถ้า..มันจะไม่เป็นไปตามกรอบของข้อ 3. บ้างล่ะ ? อย่างนี้มันถือว่าผิดไหม? ถูกไหม? หรือ เฉยๆไหม? ตามมุมมองที่กล่าวถึงในข้อ 2.
5.    มันก็คงต้องตอบว่า “แล้วแต่” มุมมองของแต่ละท่านนั่นเอง

-    มุมมองทั้งของตัวเราและคนอื่น ที่จะมองว่าอย่างไร ตามความคิด ความรู้สึก จินตนาการ ประสบการณ์ อารมณ์ ฯลฯ
-    นั่นไง มันมี”ความรู้สึก” มาเกี่ยวข้อง
-    ศิลปะ กับ ศาสตร์นั้น เป็นของคู่กันได้ ศาสตร์ก็ควรมีศิลปะ ในขณะเดียวกัน ศิลปะก็ควรมีศาสตร์มาประกอบเช่นกัน การประกอบที่ว่านี้ไม่ใช่การบังคับหรือควบคุมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ ศิลปะ ไม่มีคำว่า “ถูก” หรือ “ผิด” มันผิดตั้งแต่การตั้งคำถามแล้วแหละ
-    “ศิลปะ” หลายๆแขนงย่อมมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป บางแขนงก็ต้องมีกิ่ง มีก้าน มีลำต้น มีรากที่ช่วยพยุง ไม่งั้นมันก็อยู่ไม่ได้ ไม่สามารถออกดอกออกผลได้ ในขณะเดียวกับที่ศิลปะบางอย่างมันก็ไม่ได้พึ่งพาอะไรมากมาย อาจจะอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
-    ผมจะไม่ลงรายละเอียดมาก แต่ผมจะกล่าวเฉพาะในเรื่องงานแต่งวรรณศิลป์ เท่านั้น
-    งานวรรณศิลป์ในแง่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
-    มันมีทั้ง”คนชอบ” “คนไม่ชอบ” “คนเฉยๆ” บางคนถึงกับคิดในใจว่าบ้า ว่าไร้สาระ
-    มันมีทั้ง “ศาสตร์ “ศิลป์” หรือทั้งสองอย่าง
-    มันมีทั้ง “เพราะ” “ไม่เพราะ” “เฉยๆ” ฯลฯ
-    มันมีทั้ง รายละเอียดที่จะต้องศึกษามากมาย เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีข้อมูลอยู่แล้วมากมายทั้งในอดีตที่ผ่านมาหลายร้อยปี จวบถึงปัจจุบันกาลสมัย
-    ปัจจุบันที่หลายสิ่งหลายอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
     จะหาคนมาชอบเรื่องเหล่านี้ นับวันจะยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ
-    สังเกตในเว็บพันทิปนี่ก็ได้ ท่านจะสัมผัสได้ถึงความเงียบเหงาในห้องกลอน เมื่อเทียบกับห้องอื่นๆ ...
-    หรือว่าเราไป”ล็อคกลอน” ไว้กระนั้นหรือ ก็ไม่ใช่ เพียงแต่คนรุ่นใหม่ส่วนมากจะมองว่าไม่น่าสนใจ ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันนั้นมันมีอะไรหลายอย่างที่ดึงความสนใจของคนเราออกไปจากสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมันง่ายต่อการตอบสนองความพึงพอใจของเค้ามากกว่า ด้วยมันง่ายกว่า สะดวกกว่า ไม่น่าเบื่อ ไม่ต้องมาอยู่ในกรอบที่หลายๆคนอาจมองว่ามันยาก
-    ทำไมเขาเหล่านั้นจึงคิดว่ามันยาก มันน่าเบื่อ มันไม่สะดวก มันไม่มีเวลา ฯลฯ สิ่งสะท้อนเหล่านั้นมันสะท้อนถึงอะไร ? มันสื่อถึงอะไรกันแน่ ?
-    ทำไมกลอนต้องมีสัมผัสอะไรมากมาย ทำไมฉันถึงแต่งกลอนไม่ได้ซักที  ทำไมฉันนึกคำศัพท์ไม่ได้เลย ทำไมมันยากจัง ฯลฯ ถามว่า..คนเหล่านี้ผิดไหม ? ที่แต่งกลอนไม่เป็น แต่งไม่ได้ซักที คำตอบคือ .. ไม่ผิด ไม่ถูก (และเฉยๆ)

-    เพราะ”ศิลปะ” ไม่มีคำว่า “ถูก” หรือ “ผิด” มันขึ้นกับหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ใจรักใจชอบส่วนตัว การสนใจในการเรียน เทคนิคการสอนของคุณครู/อาจารย์ พื้นฐานการศึกษา ปัญหาส่วนตัว/ครอบครัว การติดเกม การติดโซเชี่ยลฯ ฯลฯ หลายๆเหตุเหล่านี้อาจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ..หลายๆอย่างรวมกัน แต่มันมาจากจุดเดียวกัน นั่นคือ คุณค่าที่คุณมองไม่เห็น คุณจึงโทษนั่นโทษนี่ อ้างนู่นอ้างนี่อยู่ตลอดเวลา บางคนถึงกับบอกว่า”ไม่มีเวลา” ทั้งๆที่เวลามันก็มีของมันทุกวัน เวลาไม่ใช่ของเราเลยด้วยซ้ำ คุณจะมาอ้างเป็นเจ้าของมันได้อย่างไร?

-    คนที่บอกว่าเหรียญมีแค่สองด้าน มันก็ถูกของเขา นั่นคือข้อเท็จจริงหรือศาสตร์ แต่ในทางศิลปะนั้น เหรียญไม่ได้มีแค่สองด้าน ทั้งนี้มันขึ้นกับ “มุมมอง”ของแต่ละคน สำหรับส่วนตัวแล้วผมมองว่ามันมีมากกว่าสองด้าน เหมือนมีขาว มีดำ มันก็ต้องมีเทาอยู่ระหว่างกลาง เหรียญมันก็มีด้าน”ขอบ”ระหว่างหน้ากับหลังเหมือนกัน แล้วไอ้เจ้าขอบที่ว่านี้ มันเป็นขอบที่ค่อนข้างบางซะด้วยสิ จึงไม่ใคร่มีใครกล่าวถึงซักเท่าไหร่
-    วรรณศิลป์ โดยตัวมันก็คือ”ขอบ”ของโลกวรรณศิลป์ที่ประกอบด้วยทั้งหมดในสิ่งที่คุณเห็นในงานด้านวรรณกรรม
-    การมองว่าแบบแผน หรือ ฉันทลักษณ์ ต้องแบบนั้น ต้องแบบนี้นะ เพราะเขายึดถือต้นแบบกันมาแบบนี้ ต้องแบบนั้น ต้องแบบนี้ ฯลฯ นี่คือจุดหนึ่งที่คนส่วนมากในสังคมปัจจุบันมองว่ายาก (ยกเว้น..มองว่าง่ายในบางท่าน)สำหรับเขา หากทำผิดทำพลาดไปจากนี้จะได้รับการตำหนิ อาจจะในรูปวาจา หรือการลงโทษโดยการหักคะแนน เป็นต้น อันนี้ยิ่งทำให้คนส่วนหนึ่งยิ่งเหินห่างจากมันไปอีก จากไม่ชอบ อาจกลายเป็นเกลียดเพราะถูกลงโทษ จะมาบังคับจิตใจมาให้เขาชอบนั้น มันยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นดอยอินทนนท์ซะอีก คำถามคือว่า คนเหล่านี้ผิดตรงไหน? แค่ไม่ชอบถือว่าผิดกระนั้นหรือ ? คำตอบก็คือ”ไม่”
-    กลับมาที่”มุมมอง”อีกละ เพราะบางคนบอกว่า “ผิด” เพราะไม่ยอมทำการบ้านด้วยตนเอง แต่มาลอกการบ้านของผลงานคนอื่นส่งครูซะงั้น นี่คือ”ปัญหา” มันคือปัญหาหนึ่ง ที่คิดว่า มันจะเจออยู่ตลอดไปชั่วนิรันดร ในเคสใหม่เรื่อยๆ และเป็นปัญหาที่หาคนมาช่วยยาก ถ้าไม่ช่วยตัวเองซะก่อน บางทีคนที่มาช่วยก็อาจจะเสียเครดิตโดยไม่รู้ตัวหากคุณครูหรือเพื่อนๆจับได้
-    นั่นคือ การมองเหรียญแค่สองด้าน ทำดี ทำถูกก็ชมกันไป ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ก็ตำหนิกันไป โดนว่ากระทบกันไป แล้ว”อะไร”คือสาเหตุที่แท้จริง อะไรคือตัวปัญหากันแน่? นอกจากจะโทษนั่น โทษนี่ สารพัดจะโทษ ยิ่งว่าเหมือนยิ่งจะเกลียด จะไม่ชอบเข้าไปใหญ่ เสมือนเอาค้อนไปตอกย้ำตะปู ตรงจุดที่มันหลวม(มั้ง)

-    “แล้วทำไมต้องทำตามกรอบล่ะ ?” นั่นคือคำถามของคนบางคน ด้วยความคิดที่ว่าอยากเป็นแค่กบในกะลาแค่นั้นหรือ ?
-    หากคิดได้แค่ทำตามกฎ ตามแบบแผนหรือตามกรอบความคิดที่ว่านี้โลกเราคงจะไม่พัฒนาจนถึงทุกวันนี้ เพราะขาดซึ่งขอบแห่งการมองนอกกรอบซึ่งบางครั้งนั่นมันคือ”ความคิดสร้างสรรค์”ที่หลายๆท่านอาจจะมองว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ดี มันไม่ถูก มันอาจจะล้มเหลว..มันไม่มีใครเค้าทำกันหรอก เพราะสังคมไม่ยอมรับ เนื่องจากมองว่า “ต้องแบบนี้เท่านั้น” หากผิดจากนี้จะรับไม่ได้
-    หากเรามองได้แค่นี้ ทุกอย่างมันก็จบ มันก็คงไม่พัฒนามากไปกว่านี้ละ มันดีที่สุดแค่นี้ละ  ยอดดอยอินทนนท์มันสูงที่สุดในกะลา เอ้ย..ในโลกละ ฉันว่ามันสูงสุดละ ดังนั้นฉันมองว่า “ฉันทลักษณ์” นี้มันถูกต้องแล้ว หากผิดไปจากนี้นั่นคือ”ผิด” การแต่งกลอนแบบนี้สัมผัสแบบนี้มันเลิศที่สุดแล้ว ฯลฯ.. นั่นคือความคิดของคนส่วนใหญ่ที่ถูกหล่อหลอมต่อๆกันหลายชั่วอายุ ?
-และด้วยความคิดแบบนี้มันก็คงไม่ต่างอะไรกับกบในกะลานั่นเอง ลองคิดดูว่าที่เรามีเครื่องบินใช้อยู่ทุกวันนี้มันเริ่มต้นขึ้นจากอะไร ?

-    ผมไม่ได้บอกว่าฉันทลักษณ์แบบนั้นมันผิด แต่ผมจะเสนอแง่มุมที่ว่ากับคนอีกส่วนหนึ่ง( ส่วนน้อยหรือส่วนใหญ่ผมไม่ทราบ )ไม่ได้คิดแบบนั้น... เขากลับมองว่าเหมือนฟังเพลงทำนองเดียวซ้ำไปซ้ำมา ไม่คิดจะเปลี่ยนทำนองมั่ง ทำให้มันดูน่าเบื่อสำหรับคนในกลุ่มที่ไม่ชอบ หรือ กลุ่มที่รู้สึกเฉยๆ จะมีวิธีใดที่จะสร้างสรรค์แบบใหม่ๆขึ้นมาโดยที่ไม่ไปเปลี่ยนหรือแก้ไขแบบเก่า ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลงานใหม่ๆที่ไม่ซ้ำซากจำเจ ( ผมไม่อยากใช้คำว่า"น่าเบื่อ" เพราะผมชอบมัน )
-    ผมจะทิ้งท้ายไว้เพียงเท่านี้  หากเพื่อนๆชอบผมจะมาต่อ..ครับ อมยิ้ม16
-    ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้... [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้อมยิ้ม02อมยิ้ม03อมยิ้ม04พาพันขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่