ถ่านหิน ไม่ใช่หายนะ แต่เป็นอีกทางเลือกของพลังงาน

หลายๆ คนอาจจะเห็นสิ่งที่ ข่าวโจมตี เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ว่าจะเป็นทาง NGO หรือ หน่วยงานอื่นๆ ภาพถ่ายบางภาพ ก็เอาของเก่ามาขุดให้เป็นประเด็น
เอารูปมาตัดต่อใส่ควัน

แต่ตอนนี้ ผมได้มีโอกาสไปโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเหมือนแม่เมาะ สิ่งที่หลายๆ คนพูดถึงในเชิงลบ ผมได้พิสูจน์มาแล้วครับ

ไม่เป็นจริง!! ดูจากภาพนี้ได้ครับ


รู้ไหมครับว่า ถ่านหินที่จะนำมาใช้ ที่ จ.กระบี่ นั้นใช้ถ่านหินอีกประเภท ที่คุณภาพที่ดีว่าลิกไนท์น่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ประเภทไหน ทางหน่วยงานก็สามารถที่จะควบคุมมลพิษได้ เพราะ ณ ปัจจุบันทางหน่วยงานได้มีการปรับปรุงให้มีกระกวนการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ ประเทศไทย ต้องซื้อพลังงานมากจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งราคาในช่วง หยุดส่งก๊าซนั้น ราคามากว่าของเดิม  3-4 เท่า

ถ้าหากหลายคนคิดว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินยังเป็นหายนะ ไม่จะเป็นต้องสร้างเพิ่ม
คุณเองยอมรับกับค่าไฟฟ้า ที่แพงขึ้นในอนาคตหรือไม่ และคุณยอมรับปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ได้หรือไม่
เราควรที่จะเดินหน้าเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือ จะใช้วิธีซื้อมาใช้ ภาษาชาวบ้านคือ การยืมจมูกคนอื่นหายใจ
ประเทศไทย จำเป็นต้องหาแหล่งผลิตพลังงานหลัก เพราะพลังงานทางเลือกนั้นไม่เพียงพอ


ผมอยากให้ลองมาดูประเทศอื่นๆ บ้าง เค้าเดินหน้ากันไปไกลมากแล้วครับ ไม่ว่าจะเป็น.....
           ทวีปยุโรป ทุกคนต้องนึกถึงปารีส ห่างจากกรุงปารีสไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 120 กิโลเมตร เราจะพบ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Nogent-sur-Seine ของบริษัท EDF ตั้งอยู่ นับเป็นโรงไฟฟ้าโรงแรกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแซนน์ เนื่องจากโรง ไฟฟ้าต้องใช้น้ำในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า จึงมีการกำหนดระดับปริมาณน้ำที่ใช้ และน้ำเสียที่จะปล่อยออกมาอย่างเคร่งครัด โรงไฟฟ้ามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐบาลกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาคุณภาพน้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อม
          ประเทศเยอรมนี ในกรุงเบอร์ลินที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์แห่งนี้เอง ยังมีโรง ไฟฟ้าถ่านหิน Reuter West CHP ของบริษัท Vattenfall อยู่ทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร บนริมฝั่งแม่น้ำชเปร (Spree) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากแซกโซนี บรันเดนบูร์ก และไหลตัดผ่านใจกลางกรุงเบอร์ลินไปบรรจบกับแม่น้ำฮาเฟิล (Havel) ใช้ถ่าน หินลิกไนต์และบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจำนวน 3,300 ตันต่อวัน โดยนำเข้าถ่านหินกว่าร้อยละ 75 จากโปแลนด์ ร้อยละ 20 จากรัสเซีย
         เมืองโคโลญจน์ไปทางตอนเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร จะพบโรง ไฟฟ้าถ่านหิน Niederaussem ของบริษัท RWE ตั้งอยู่ที่เมืองเบิร์กไฮม์ (Bergheim) จำนวน 9 โรง โรงแรกเริ่มเดินเครื่องผลิต ไฟฟ้าในปี 1963 และโรงล่าสุดเดินเครื่องในปี 2003 มีจุดเด่นคือ ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพการผลิตมากกว่าร้อยละ 43 จึง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3 ล้านตันต่อปี มีผลให้ลดการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจน ออกไซด์ลงถึงร้อยละ 30 โรงไฟฟ้ายังมีศูนย์นวัตกรรมถ่านหิน มีโครงการวิจัยหลายโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งผลการวิจัยยังนำไปเผยแพร่แก่โรงไฟฟ้าอื่นๆ และผู้สนใจด้วย
         ทวีปเอเชียของเราบ้าง แน่นอนว่าหนึ่ง ในนั้นต้องเป็นญี่ปุ่น ห่างจากเกียวโตไป 60 กิโลเมตร จะเจอเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งชื่อว่า Maizuru หนึ่งในเมืองท่าสำคัญและเมืองชายทะเลที่เก่าแก่ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามและมีสัญลักษณ์เป็นอาคารเก็บสินค้าสร้างด้วยอิฐสีแดง และในเมืองแห่งนี้เองมีโรงไฟฟ้า Maizuru เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกของบริษัท Kansai Electric Power ตั้งอยู่ ซึ่งมีพื้นที่ ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ Wakasa-wan Quasi National Park เพื่อรักษาสภาพภูมิทัศน์เดิมไว้ให้มากที่สุด จึงมีการ ออกแบบโรงไฟฟ้าและไซโลสำหรับเก็บถ่านหินให้ใช้พื้นที่ให้น้อยที่สุด และจากการค้นพบพืชหายากหลายชนิดในบริเวณโรงไฟฟ้า ทำให้มีการสร้างส่วนสำหรับอนุรักษ์ป่าไม้ในเขตโรงไฟฟ้าด้วย

           แต่มาดูการพัฒนาโรงไฟฟ้าของประเทศไทยของเรา อาจยังไม่สามารถ เทียบชั้นได้กับเมืองที่มีชื่อเสียงของโลก ที่มีการพัฒนา ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคต่างๆ มายาวนาน จนได้รับการยอมรับจากคนท้อง ถิ่นและผู้มาเยี่ยมเยือน แต่หากทุกฝ่ายมีความตั้งใจจริง และเปิดใจกว้าง ร่วมคิด ร่วมทำ แสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดก็เชื่อว่า วันหนึ่ง เรื่อง ราวดีๆ อย่างนี้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยอย่างแน่นอน
          และที่สำคัญโรงไฟฟ้ายังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่น สนับสนุนโครงการเพื่อชุมชนหลายๆโครงการ เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่