เห็นหลายคนบ่นทำไมกทม.น้ำท่วม สาเหตุหลัก ฝนตกหนักมากครับ (มากกว่า 90 มิลลิเมตร) ในหลายพื้นที่ มีบางพื้นที่ มากกว่า 140 มม. ด้วย
ฝนตกหนักขนาดนี้ หากไปตกในป่าในเขา มีโอกาสน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มได้สบาย ๆ นะครับ หรือตกในทะเลทรายก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
กรุงเทพฯ เป็นที่ราบลุ่ม น้ำต้องมีที่อยู่ ไม่มีบ้านไหนอยากเก็บน้ำไว้เลย สูบออกจากพื้นที่บ้านตัวเองทุกบ้าน
แล้วน้ำจะไปอยู่ไหนได้ล่ะครับ ก็กระจายอยู่ทั่วพื้นที่และไหลลงสู่ที่ต่ำ (ถนน ซอย ท่อระบายน้ำ คู คลอง) และไม่ได้ไหลได้เร็ว ๆ นะครับ พื้นที่ในกทม. ไม่ได้มีความลาดชันเอาซะเลย
ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจริง เช้าวันนั้น คิดคร่าว ๆ เอาเฉพาะโซนนะครับ ฝน 100 มิลลิเมตร ตกในพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ กทม. ทั้งหมด ประมาณ 1,500 ตร.กม.)
ปริมาตร = 100 ตร.กม. x 1000 ม/กม. x 1000 ม/กม. x 100 มม. x 1/1000 ม./มม. = 10,000,000 ลูกบากศ์เมตร ครับ (คิดเลขกลม ๆ ง่าย ๆ 10 ล้าน )
เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ อุโมงค์สูบระบายน้ำ พื้นที่แถบนั้น ความสามารถรวมกัน 500 ลูกบาศเมตรต่อวินาที (คิดเต็มที่ไปเลย ไม่ต้องห่วงอุปสรรค ไฟดับ ขยะปิดกั้น) หรือประมาณ 1,800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (คิดไปชั่วโมงนึงสูบออกได้ 1.8 ล้าน)
ต้องใช้เวลา ในการนำน้ำออกจากพื้นที่ 10/1.8 = ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง ครับ
วันนั้นฝนตกหนัก สองรอบ รอบแรก ตี 1-3 (ลมตะวันออก) ปริมาณฝนประมาณ 50 มม. และรอบสอง ตี 5-6 โมงเช้า (ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดสอบเข้ามา) ปริมาณฝนประมาณ 100 มม. ปริมาณฝนรวมกัน ก็ตามภาพนี้ครับ แดงทั้งกระดาน
วันนั้นน้ำท่วมขังในถนนสายหลัก ๆ อโศก สุขุมวิท พระรามสี่ และซอยย่อย ๆ ของสุขุมวิท น้ำแห้งประมาณ 10 โมงเช้า
รถติดขาเข้า แยกชนแยก งูกินหาง กันทั้งเมือง ข้ามไปถึง จ.นนทบุรี
แต่ปัญหาที่สำคัญ ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือเรื่องขยะครับ ทิ้งกันลงคลองเกือบทุกบ้าน (ที่อยู่ริมคลอง)
จะสร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะให้คนเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ช่วย ๆ กันนะครับ
ต้องระดมเจ้าหน้าที่มาเก็บ มันเก็บไม่ทันคนทิ้งครับ แถมทิ้งลงในที่ไม่ควรทิ้งซะด้วย
8 มิ.ย. 58 ฝนตกหนักขนาดนี้ ทะเลทรายยังท่วมได้นะครับ :)
ฝนตกหนักขนาดนี้ หากไปตกในป่าในเขา มีโอกาสน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มได้สบาย ๆ นะครับ หรือตกในทะเลทรายก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
กรุงเทพฯ เป็นที่ราบลุ่ม น้ำต้องมีที่อยู่ ไม่มีบ้านไหนอยากเก็บน้ำไว้เลย สูบออกจากพื้นที่บ้านตัวเองทุกบ้าน
แล้วน้ำจะไปอยู่ไหนได้ล่ะครับ ก็กระจายอยู่ทั่วพื้นที่และไหลลงสู่ที่ต่ำ (ถนน ซอย ท่อระบายน้ำ คู คลอง) และไม่ได้ไหลได้เร็ว ๆ นะครับ พื้นที่ในกทม. ไม่ได้มีความลาดชันเอาซะเลย
ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจริง เช้าวันนั้น คิดคร่าว ๆ เอาเฉพาะโซนนะครับ ฝน 100 มิลลิเมตร ตกในพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ กทม. ทั้งหมด ประมาณ 1,500 ตร.กม.)
ปริมาตร = 100 ตร.กม. x 1000 ม/กม. x 1000 ม/กม. x 100 มม. x 1/1000 ม./มม. = 10,000,000 ลูกบากศ์เมตร ครับ (คิดเลขกลม ๆ ง่าย ๆ 10 ล้าน )
เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ อุโมงค์สูบระบายน้ำ พื้นที่แถบนั้น ความสามารถรวมกัน 500 ลูกบาศเมตรต่อวินาที (คิดเต็มที่ไปเลย ไม่ต้องห่วงอุปสรรค ไฟดับ ขยะปิดกั้น) หรือประมาณ 1,800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (คิดไปชั่วโมงนึงสูบออกได้ 1.8 ล้าน)
ต้องใช้เวลา ในการนำน้ำออกจากพื้นที่ 10/1.8 = ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง ครับ
วันนั้นฝนตกหนัก สองรอบ รอบแรก ตี 1-3 (ลมตะวันออก) ปริมาณฝนประมาณ 50 มม. และรอบสอง ตี 5-6 โมงเช้า (ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดสอบเข้ามา) ปริมาณฝนประมาณ 100 มม. ปริมาณฝนรวมกัน ก็ตามภาพนี้ครับ แดงทั้งกระดาน
วันนั้นน้ำท่วมขังในถนนสายหลัก ๆ อโศก สุขุมวิท พระรามสี่ และซอยย่อย ๆ ของสุขุมวิท น้ำแห้งประมาณ 10 โมงเช้า
รถติดขาเข้า แยกชนแยก งูกินหาง กันทั้งเมือง ข้ามไปถึง จ.นนทบุรี
แต่ปัญหาที่สำคัญ ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือเรื่องขยะครับ ทิ้งกันลงคลองเกือบทุกบ้าน (ที่อยู่ริมคลอง)
จะสร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะให้คนเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ช่วย ๆ กันนะครับ
ต้องระดมเจ้าหน้าที่มาเก็บ มันเก็บไม่ทันคนทิ้งครับ แถมทิ้งลงในที่ไม่ควรทิ้งซะด้วย