ประวัติศาสร์ชาวโรฮินจา (โรฮิงยา) ทำไมอยู่พม่าไม่ได้ มาดู [แปลจาก Wiki ต่างประเทศ]

ช่วงนี้ประเด็นโรฮินจา กำลังเป็นที่สนใจ ผมเลยขอถือโอกาสนี้แปลบทความประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา จาก Wikipedia ต่างประเทศ ให้ได้อ่านกันเป็นความรู้ครับ



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people


                  ชาวโรฮินจา คือมุสลิมที่อาศัยอยุ่ทางตอนเหนือของยะไข่ (อาระกัน) และพูดภาษาโรฮีนจา นักวิชาการบางคนบอกว่า พวกเขาเป็นคนพื้นเมืองในยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่า พวกเขาเป็นผู้อพยพมาจากเบงกอล ในช่วงที่อังกฤษปกครอง และบางส่วนก็มาในช่วงที่พม่าได้รับเอกราช และช่วงสงครามกลางเมืองในบังคลาเทศ

                   มุสลิมได้เข้ามาอยู่อาศัยในอาระกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่จำนวนไม่สามารถระบุได้แน่ชัด  หลังจากสงคราม Anglo-Burmese ในปี 1826 อังกฤษ เข้าปกครองอาระกัน และอพยพผู้คนจากเบงกอลเข้ามาใช้แรงงาน จำนวนประชากรของมุสลิมคิดเป็น 5% ของชาวอาระกันในขณะนั้น (1869) แต่หลังจากนั้นไม่นาน จำนวนประชากรโรฮิงยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บันทึกตามสัมโนประชากรของอังกฤษระหว่างปี 1872 และ 1991 ได้ระบุว่าจะนวนประชากรมุสลิมในยะไข่ เพิ่มขึ้นจาก 58,255 คนเป็น  178,646 คน

            ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดความรุนแรงระหว่างกองกำลังมุสลิม ที่อังกฤษติดอาวุธให้ กับกองกำลังชาวยะไข่พื้นเมือง ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1982 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารสำเร็จ และปฏิเสธความเป็นพลเมืองพม่าของชาวโรฮินจา

ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา

ยุคสมัยอณาจักร มรัคอู

            หลักฐานของการตั้งถิ่นฐานของมุสลิมเบงกอลในดินแดนอาระกันครั้งแรก ย้อนกลับไปได้ถึงยุคของกษัตริย์ชาวพุทธนามว่า นรเมขลา (1430-1434) แห่งอาณาจักร มรัคอู (Mrauk U) หลังจากที่กษัตริย์นรเมขลาได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในเบงกอล(บังคลาเทศ)เป็นเวลา 24 ปี เขาได้กลับมาครองบันลังก์ได้อีกครั้งในปี 1430 โดยการสนับสนุนด้านกำลังทหารจากสุลต่านเบงกอล ทหารชาวเบงกอลที่มากับกษัตร์ย์นรเมขลา จึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอาระกัน หลังจากนั้น เขายกดินแดนบางส่วนให้สุลต่านเบงกอล และยอมรับอธิปไตยของสุลต่านเบงกอลเหนือดินแดนเหล่านั้น

            เพื่อแสดงถึงความเป็นข้าราชบริพานในสุลต่านเบงกอล ราชาอาระกันได้ใช้ชื่อแบบอิสลาม และนำเงินเหรียญอิสลามมาใช้ในราชอาณาจักร กษัตริย์นรเมขลา ได้สร้างเหรียญที่มีอักษรพม่าอยู่ด้านหนึ่ง และอักษรเปอเซียอยู่อีกด้านหนึ่ง แต่ความเป็นรัฐทาสของอาระกันต่อเบงกอลเป็นไปในระยะเวลาสั้นๆ หลักจากที่สุลต่าน Jalaluddin Muhammad Shah ตายลงในปี 1433 ผู้สืบทอดของกษัตริย์นรเมขลาก็ตอบแทนด้วยการเข้ายึดเมืองรามูในปี 1437 และจิตะกองในปี 1459 อารกันได้ยึดครองจิตะกองไปจนถึงปี 1666

( ใครสนใจเรื่องนี้เพิ่มเติม อ่าน THESE BUDDHIST KINGS WITH MUSLIM NAMES
http://aboutarakaneng.blogspot.com/2013/01/these-buddhist-kings-with-muslim-names.html
)

ยุคแห่งชัยชนะของพม่า

             หลังจากที่พม่าได้ชัยชนะต่ออาระกันในปี 1785 ชาวอาระกันจำนวน 35,000 คนได้หนีเข้าไปในเขตจิตตะกองของบริติชเบงกอลในปี 1799  เพื่อหนีเอาชีวิตรอด และแสวงหาการคุ้มครองจากบริติชอินเดีย ผู้ปกครองพม่าได้ประหารชาวอาระกันนับพันคน และขนย้ายประชากรส่วนที่เหลือ เข้าไปที่ภาคกลางของพม่า ทิ้งอาระกันให้เป็นดินแดนที่แทบจะร้างผู้คนไปจนถึงช่วงที่อังกฤษเข้ามายึดครอง ในระหว่างนั้น มีฑูตคนหนึ่งชื่อ  Sir Henry Yule พบเห็นชาวมุสลิมจำนวนมาก ทำงานรับใช้ราชวงศ์พม่าในฐานะขันที และขันทีมุสลิมเหล่านี้ มาจากอาระกัน

ยุคการปกครองของจักรวรรดิ์อังกฤษ

               อังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวเบงกอลที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียง อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอาระกัน ในฐานะผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม อังกฤษได้ยกเลิกเขตแดนระหว่างเบงกอลและ อาระกัน ทำให้มีไม่ข้อจำกัดในการอพยพระหว่างดินแดน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ชาวเบงกอลนัพพัน จากจิตตะกอง ได้เข้ามาตั้งรกรากในอาระกันและหางานทำ

               สำมะโนประชากรของอังกฤษปี 1871 รายงานว่ามีมุสลิมอยู่ 58,255 คนในยะไข่ และในปี 1911 จำนวนมุสลิมได้เพิ่มขึ้นเป็น 178,647 คน คลื่นของผู้อพยพพากันหลั่งไหลเข้ามาตามความต้องการแรงงานราคาถูกในกิจการข้าวเปลือกของบริติชอินเดีย ผู้อพยพจากเบงกอล ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากจิตตะกอง หลั่งไหลกันเข้ามาสู่เมืองทางตะวันตกของอาระกัน การอพยพของขาวอินเดีย(ในขณะนั้น) เข้าสู่พม่า ได้กลายเป็นปรากฎการณ์ระดับชาติของพม่า ไม่ใช่แค่ในอาระกัน

        นักประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียเข้าไปตั้งรกรากในพม่าไม่ต่ำกว่า 250,000 คนต่อปี จำนวนผู้อพยพได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงจุดสุดยอดในปี 1927 ซึ่งมีจำนวนผู้อพยพสูงถึง 480,000 คน ย่างกุ้งได้แซงหน้านิวยอร์คในการเป็นปลายทางของผู้อพยพสูงสุดในโลก เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่าอย่าง ย่างกุ้ง,ยะไข่, Bassein,Moulmein ผู้อพยพชาวอินเดีย กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ ชาวพม่าต้องตกอยู่ในความสิ้นหวัง

           ผลกระทบของการย้ายถิ่นฐานมีความรุนแรงโดยเฉพาะในอาระกัน ในปี 1939 เจ้าหน้าที่ของอังกฤษได้แจ้งเตือนถึงความเป็นปรปักษ์กันระหว่างชาวอาระกันพื้นเมืองที่นับถือพุทธ กับผู้อพยพชาวมุสลิม และจัดตั้งคณะกรรมการนำโดย James Ester และ Tin Tut เพื่อศึกษาประเด็นการอพยพของมุสลิมเข้ามาในอาระกัน คณะกรรมการได้ให้คำแนะนำให้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยระหว่างเขตแดนของทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดีผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้อังกฤษต้องถอนกำลังออกจากอาระกัน

ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

           ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้าสู่พม่า ทำให้กองกำลังของอังกฤษต้องถอนกำลังไป และหมดอำนาจในดินแดนอาระกัน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่าง ชาวอาระกันพื้นเมือง กับชุมชนมุสลิม อังกฤษได้มอบอาวุธให้กับมุสลิมโรฮินจาทางตอนเหนือของอาระกัน เพื่อสร้างแนวป้องกันการบุกของกองทัพญี่ปุ่น  ในขณะที่ตัวเองกำลังหนีตาย แต่ชาวมุสลิมกลับใช้อาวุธนั้นเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวอาระกัน แทนที่จะนำไปต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น

            ในเดือนมีนาคม 1942 ชาวโรฮินจาจากตอนเหนือของอาระกัน สังหารชาวอาระกันพื้นเมืองไปราว 20,000 คน และเพื่อตอบโต้ มุสลิมในเมือง Minbya และ Mrohaung จึงถูกชาวอาระกัน และ Karenni ฆ่าไปประมาณ 5,000 คน ในระหว่างนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้กระทำการฆ่า ข่มขืน และทรมาณชาวมุสลิมในอาระกัน ทำให้มุสลิมอาระกันราวๆ 22,000 ต้องหลบหนีข้ามพรมแดนไปเบงกอล นอกจากนี้ความรุนแรงยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่มุสลิมในอาระกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชาวอินเดีย และอังกฤษ ที่เข้ามาพำนักในช่วง ที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

           เพื่อเตรียมการบุกกลับเข้าสู่พม่า อังกฤษได้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสา (V-Force) กับชาวโรฮินจา ในช่วงสามปีที่อังกฤษสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น กองกำลังโรฮินจามุ่งโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ใช้อาวุธที่ได้รับจากอังกฤษ เข้าทำลายวัดพุทธ โบสถ์วิหาร เจดีย์ และบ้านเรือนชาวอาระกันอย่างโหดเหี้ยม

ยุคจลาจลหลังสงครามโลก

            ในระหว่างที่ปากีสถาน กำลังต่อสู้ทางการเมืองเพื่อแยกตัวออกจากอินเดีย ในปี 1940 มุสลิมโรฮินจา ได้ก่อตั้งองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดน ไปรวมกับปากีสถานตะวันออก ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชในปี 1948 ผู้นำมุสลิมได้ติดต่อกับ  โมฮัมหมัด อาลี จินนาร์ ผู้ก่อตั้งปากีสถาน และขอความช่วยเหลือในการรวบรวมดินแดน Mayu เข้ากับ ปากีสถาน โดยอ้างความเข้ากันได้ทางศาสนาและสภาพตามภูมิศาสตร์ สองเดือนต่อมา กลุ่มสันนิบาตมุสลิมอาระกันตอนเหนือก็ถูกจัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของยะไข่  โดยมีเป้าหมายจะรวมดินแดนกับปากีสถาน แต่ข้อเสนอนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเพราะผู้นำปากีสถานปฏิเสธ และกล่าวว่าเขาจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของพม่า

          หลังจากที่ถูกผู้นำปากีสถานปฏิเสธ ผู้อาวุโสของโรฮินจา ได้ก่อตั้งกลุ่มนักรบมูจาฮีดีน เพื่อดำเนินการจีฮัดในพื้นที่ตอนเหนือของอาระกันในปี 1947 เป้าหมายของกลุ่มมูจาฮีดีน คือการสร้างรัฐอิสลามอิสระขึ้นในอาระกัน ในช่วงปี 1950s พวกเขาเริ่มใช้คำเรียกตัวเองว่า "โรฮินจา" เพื่อสร้างอัตลักษณ์สำหรับอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน  ขบวนการของพวกเขามีความก้าวหน้ามากในช่วงก่อนปี 1962 ที่จะมีการปฏิวัติโดยนายพลเนวิน เนวินได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านโรฮินจาตลอดสองทศวรรต  ส่งผลให้มุสลิมในพื้นที่ต้องหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศในฐานะผู้ลี้ภัยสงคราม

ยุคหลังได้รับเอกราช และสงครามกลางเมืองบังคลาเทศ

จำนวนของผู้อพยพจากบังคลาเทศ หลังจากที่พม่าได้รับเอกราช ยังไม่แน่ชัดและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ในปี 1955 มีการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ผู้เขียนคือ Virginia Thompson and Richard Adloff ได้เขียนว่า "การอพยพหลังสงครามจากจิตตะกอง เข้าไปดินแดนนั้น เกิดขึ้นในระดับใหญ่มาก ในพื้นที่ Maungdaw and Buthidaung พวกเขาได้เข้าแทนที่ชาวอาระกัน"

           ในระหว่างปี 1971 ถึง 1973 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในบังคลาเทศ ประกอบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ทำให้เกิดการอพยพของมุสลิมเบงกาลีราวๆ 10 ล้านคน เข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยจำนวนมากได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของยะไข่

             ในปี 1975 บังคลาเทศได้ส่งทูตไปเจรจากับพม่า เพื่อขอร้องให้พม่าอย่าขับไล่ ผู้บุกรุก 500,000 คนในอาระกันในระหว่างที่การเมืองภายในบังคลาเทศกำลังวุ่นวาย ในขณะที่กลุ่มพระสงฆ์ก็ออกมาประท้วงรัฐบาลโดยชูประเด็นว่าการอพยพของมุสลิมบังคลาเทศเข้ามาจะทำให้สัดส่วนประชากรเปลี่ยนแปลงไป นายพลเนวินได้ร้องขอสหประชาชาติเพื่อส่งคืนผู้ลี้ภัย และใช้กำลังทหารขับดันผู้อพยพ 200,000 คนกลับบังคลาเทศในปี 1978 บังคลาเทศประท้วงรัฐบาลพม่าและกล่าวหาว่า ได้ใช้กำลังขับไล่ประชากรมุสลิมพม่านับพันเข้าสู่บังคลาเทศ รัฐบาลพม่าตอบกลับว่าคนเหล่านั้นเป็นประชากรของบังคลาเทศ ที่เข้ามาอาศัยในพม่าอย่างผิดกฎหมาย หลังจากการเจรจาในเวทีสหประชาชาติ นายพลเนวินตกลงรับผุ้ลี้ภัยจำนวน 200,000 คน กลับมาพำนักในอาระกัน ในปี 1982 รัฐบาลบังคลาเทศได้แก้ไขกฏหมายพลเมืองและประกาศว่า "โรฮินจา" ทั้งหมด ไม่ใช่คนสัญชาติบังคลาเทศ และในปีเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ตรากฎหมายพลเมืองและประกาศว่า "ชาวเบงกาลี" เป็นชาวต่างชาติ

ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาในปัจจุบัน (1990-ปัจจุบัน)

             ตั้งแต่ปี 1990 ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาแตกต่างจากในยุค 1950 ที่ใช้กองกำลังติดอาวุธก่อกบฏ การดำเนินการในยุคใหม่มุ่งเน้นการล็อบบี้ต่างชาติ โดยชาวโรฮินจาที่หลบหนีออกมาได้ มีการสร้างเรื่องชนพื้นเมืองโรฮินจา โดยนักวิชาการโรฮินจา และเผยแพร่คำว่า "โรฮินจา" และใช้นักการเมืองปฏิเสธถิ่นกำเนิดในเบงกาลี นักวิชาการโฮินจาอ้างว่า ยะไข่เคยเป็นรัฐอิสลามมานับพันปี หรือมีกษัตริย์มุสลิมปกครองยะไข่เป็นเวลา 350 ปี สมาชิกสภาชาวโรฮินจายังเคยกล่าวว่า "โรฮินจาอยู่ฮาศัยในยะไข่มาตั้งแต่ยุคที่พระเจ้าสร้างโลก อาระกันเป็นของเรา และมันเคยตกเป็นดินแดนของอินเดียมา 1,000 ปี" พวกเขามักจะย้อยรอยถิ่นกำเนิดของโรฮินจาไปถึงนักเดินเรือชาวอาหรับ  แต่การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธในวงวิชาการว่าเป็น "นิทานที่แต่งขึ้นใหม่" นักการเมืองโรฮินจาบางคนใช้วิธีการตราหน้านักประวัติศาสตร์นานาชาติว่า เข้าข้างชาวยะไข่ เพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แม้กระนั้น เรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปในวงกว้างหลังการจลาจลในปี 2012
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่