โคลงสี่ดั้น toshare

โคลงสี่ดั้น ต่างจาก โคลงสี่สุภาพ ที่สำคัญคือ

๑) ต้องแต่งอย่างน้อย ๒ บท

โคลงดั้น วิวิธมาลี
รักจริง....ให้อภัย


....รักจริงจักเปี่ยมล้น..............ให้อภัย
ผิดจึ่งละจดจำ.......................มากน้อย
ชั่วใช่ปล่อยปะไป...................อาละวาด
คุมแนะ-ตะล่อมคล้อย-โน้ม.......สู่ธรรม

....ลงทัณฑ์โทษใช่แก้............ปัญหา
สอนสั่ง”ปันรัก”นำ..................ชั่วพ้น
“แบบอย่าง”ดุจดารา................กระจ่างจิต
พลาดผิดทุกข์ท้นแท้...............เมตตา


คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๕ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นวิวิธมาลี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๔ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๓ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นตรีพิธพรรณ


๒) โคลงสี่ดั้น บังคับ เอก ๗ โท ๔ เหมือนโคลงสี่สุภาพ

ต่างที่ โท ในวรรคท้าย บาทที่ ๔ ย้ายมาอยู่ วรรคหน้า เกิด โทคู่
และเราอาจเพิ่มความไพเราะได้โดย สัมผัสสระ หรือ สัมผัสอักษร
(ตัวอย่าง ยกแสดงเพียงบทเดียว)

....การเมืองใช่เข้าร่วม............กอบโกย
ประโยชน์ได้แต่ตน.................พวกพ้อง
เงินทองเกียรติได้โดย..............สุจริต
ปวงเทพประชาซ้องร้อง.............สดุดี

๓) การมี โทคู่ ทำให้เกิดคล่องตัวในการ รับสัมผัส
โดยอาจรับที่ คำที่ ๔ หรือ คำที่ ๕ ก็ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่