คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตามกม. เจ้าหนี้ต้องบังคับเอาสินส่วนตัวของลูกหนี้ก่อน เมื่อไม่พอถึงมาเอาจากสินสมรส
ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้รับรู้หนี้ก้อนนี้ ตามกม. แค่รับผิดชอบในส่วนของสินสมรสครับ
คืออะไรที่เป็นสินสมรส ก็ให้ใช้หนี้ครึ่งนึงในส่วนของคู่สมรสที่เป็นเจ้าของหนี้
เช่น บ้านที่ซื้อหลังจดทะเบียน ก็ต้องใช้หนี้ในส่วนของสามี(หรือภรรยา คนที่ก่อหนี้)
ถ้าเป็นสินส่วนตัวหรือสินก่อนสมรสของฝ่ายที่ไม่ได้ก่อหนี้ เจ้าหนี้ตามไม่ได้ครับ
อย่างไรก็ตาม กม.ก็เป็นธรรมนะครับ ถ้าคู่สมรสไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายไปก่อหนี้ไว้ และไม่ได้เอาประโยชน์จากหนี้นั้นมาใช้จ่ายในครอบครัวเลย แบบนี้ไม่ถือเป็น "หนี้ร่วม" ครับ
ก็สามารถแสดงหลักฐานได้ครับ แบบนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ ต่อให้เจ้าหนี้มาทวงที่คู่สมรสก็ไม่ต้องกังวลไม่ต้องกลุ้มครับ
เช่น กรณีไปก่อหนี้บัตรเครดิตแบบที่จขกท.ไม่รู้ และสามีเอาไปรูดทำอะไรก็ตามที่คุณหรือลูกไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลย ไม่ใช่หนี้ร่วม
แบบนี้แสดงหลักฐานเลยครับว่าคุณไม่รู้ไม่เห็น
http://www.thailaws.com/aboutthailaw/knowledge_10.htm
หนี้สินระหว่างสามีภริยา
เมื่อชายหญิงจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นอกจากเรื่องของการจัดการสินสมรสร่วมกัน , เรื่องสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายแล้ว ยังมีเรื่องของหนี้สินที่หากสามีหรือภริยาไปก่อให้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
แต่การที่ คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้นโดยพลการหรือเป็นการส่วนตัว กฎหมายจึงได้ตีกรอบและกำหนดประเภทของหนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งว่าหนี้ชนิดใดที่ถือว่าเป็น "หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา" ที่จะต้องรับผิดร่วมกัน แต่ถ้าไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะนำหลักเรื่องหนี้ร่วมของสามีภริยามาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป
กฎหมายกำหนดว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้
1.หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
ขอให้สังเกตนะครับว่า หนี้ร่วมทั้ง 5 ประการตามข้อนี้ เน้นบุคคลที่อยู่ในครอบครัว เป็นหลัก และจำนวนหนี้ต้องพอสมควรแก่อัตภาพ ฉะนั้น ไม่ว่าสามีหรือภริยาเป็นผู้ไปก่อขึ้นแม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2.หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส (สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือซึ่งพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว)
เช่น หนี้ค่าจ้างต่อเติมซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส หนี้เงินกู้ยืมมาเพื่อไถ่ถอนบ้านหรือที่ดินที่เป็นสินสมรส ฯลฯ
3.หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
เช่น การเปิดร้านหรือกิจการค้าด้วยกัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในกิจการค้า เช่น ค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เป็นต้น หนี้ตามข้อนี้อาจเกิดขึ้นจากฝ่ายสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ไปก่อขึ้นก็ได้
4.หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
ถ้าว่ากันตามหลักเบื้องต้นฝ่ายใดไปก่อหนี้ขึ้นโดยลำพังเพื่อประโยชน์ตนเพียงฝ่ายเดียว ก็น่าจะผูกพันเฉพาะฝ่ายที่ไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้น แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันคือยอมรับว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ของตนด้วย จึงถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เช่น การลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ที่คู่สมรสของตนเป็นผู้กู้ หรือการให้ความยินยอมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือในการที่คู่สมรสเป็นผู้กู้ในสัญญากู้ เป็นต้น
เมื่อเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา กฎหมายได้กำหนดว่า ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ในการบังคับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องสามีภริยาเพื่อบังคับเอากับสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายจะมิได้ลงชื่อร่วมในฐานะคู่สัญญาด้วยหรือไม่ก็ตาม
แต่ที่สำคัญ ถ้าเจ้าหนี้มิได้ฟ้องคู่สมรสฝ่ายที่มิได้ลงชื่อด้วย จะไปยึดสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นมาบังคับชำระหนี้มิได้ดังนั้น การครองชีวิตครอบครัว จะต้องระมัดระวังเรื่องการก่อหนี้สินให้ดี หากอีกฝ่ายไปก่อหนี้ขึ้นมา อาจจะมีผลกระทบถึงคู่สมรสและความสงบสุขของครอบครัวได้
เรียบเรียงโดย พิทยา ลำยอง
ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้รับรู้หนี้ก้อนนี้ ตามกม. แค่รับผิดชอบในส่วนของสินสมรสครับ
คืออะไรที่เป็นสินสมรส ก็ให้ใช้หนี้ครึ่งนึงในส่วนของคู่สมรสที่เป็นเจ้าของหนี้
เช่น บ้านที่ซื้อหลังจดทะเบียน ก็ต้องใช้หนี้ในส่วนของสามี(หรือภรรยา คนที่ก่อหนี้)
ถ้าเป็นสินส่วนตัวหรือสินก่อนสมรสของฝ่ายที่ไม่ได้ก่อหนี้ เจ้าหนี้ตามไม่ได้ครับ
อย่างไรก็ตาม กม.ก็เป็นธรรมนะครับ ถ้าคู่สมรสไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายไปก่อหนี้ไว้ และไม่ได้เอาประโยชน์จากหนี้นั้นมาใช้จ่ายในครอบครัวเลย แบบนี้ไม่ถือเป็น "หนี้ร่วม" ครับ
ก็สามารถแสดงหลักฐานได้ครับ แบบนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ ต่อให้เจ้าหนี้มาทวงที่คู่สมรสก็ไม่ต้องกังวลไม่ต้องกลุ้มครับ
เช่น กรณีไปก่อหนี้บัตรเครดิตแบบที่จขกท.ไม่รู้ และสามีเอาไปรูดทำอะไรก็ตามที่คุณหรือลูกไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลย ไม่ใช่หนี้ร่วม
แบบนี้แสดงหลักฐานเลยครับว่าคุณไม่รู้ไม่เห็น
http://www.thailaws.com/aboutthailaw/knowledge_10.htm
หนี้สินระหว่างสามีภริยา
เมื่อชายหญิงจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นอกจากเรื่องของการจัดการสินสมรสร่วมกัน , เรื่องสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายแล้ว ยังมีเรื่องของหนี้สินที่หากสามีหรือภริยาไปก่อให้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
แต่การที่ คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้นโดยพลการหรือเป็นการส่วนตัว กฎหมายจึงได้ตีกรอบและกำหนดประเภทของหนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งว่าหนี้ชนิดใดที่ถือว่าเป็น "หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา" ที่จะต้องรับผิดร่วมกัน แต่ถ้าไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะนำหลักเรื่องหนี้ร่วมของสามีภริยามาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป
กฎหมายกำหนดว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้
1.หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
ขอให้สังเกตนะครับว่า หนี้ร่วมทั้ง 5 ประการตามข้อนี้ เน้นบุคคลที่อยู่ในครอบครัว เป็นหลัก และจำนวนหนี้ต้องพอสมควรแก่อัตภาพ ฉะนั้น ไม่ว่าสามีหรือภริยาเป็นผู้ไปก่อขึ้นแม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2.หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส (สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือซึ่งพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว)
เช่น หนี้ค่าจ้างต่อเติมซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส หนี้เงินกู้ยืมมาเพื่อไถ่ถอนบ้านหรือที่ดินที่เป็นสินสมรส ฯลฯ
3.หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
เช่น การเปิดร้านหรือกิจการค้าด้วยกัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในกิจการค้า เช่น ค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เป็นต้น หนี้ตามข้อนี้อาจเกิดขึ้นจากฝ่ายสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ไปก่อขึ้นก็ได้
4.หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
ถ้าว่ากันตามหลักเบื้องต้นฝ่ายใดไปก่อหนี้ขึ้นโดยลำพังเพื่อประโยชน์ตนเพียงฝ่ายเดียว ก็น่าจะผูกพันเฉพาะฝ่ายที่ไปก่อให้เกิดหนี้ขึ้น แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันคือยอมรับว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ของตนด้วย จึงถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เช่น การลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ที่คู่สมรสของตนเป็นผู้กู้ หรือการให้ความยินยอมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือในการที่คู่สมรสเป็นผู้กู้ในสัญญากู้ เป็นต้น
เมื่อเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา กฎหมายได้กำหนดว่า ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ในการบังคับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องสามีภริยาเพื่อบังคับเอากับสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายจะมิได้ลงชื่อร่วมในฐานะคู่สัญญาด้วยหรือไม่ก็ตาม
แต่ที่สำคัญ ถ้าเจ้าหนี้มิได้ฟ้องคู่สมรสฝ่ายที่มิได้ลงชื่อด้วย จะไปยึดสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นมาบังคับชำระหนี้มิได้ดังนั้น การครองชีวิตครอบครัว จะต้องระมัดระวังเรื่องการก่อหนี้สินให้ดี หากอีกฝ่ายไปก่อหนี้ขึ้นมา อาจจะมีผลกระทบถึงคู่สมรสและความสงบสุขของครอบครัวได้
เรียบเรียงโดย พิทยา ลำยอง
แสดงความคิดเห็น
หนี้สิน กรณีจดทะเบียนสมรส ต้องชดใช้แทนทุกอย่างไหม
มารู้อีกทีตอนใบแจ้งหนี้มา..ดิฉันอยากทราบดิฉันต้องรับใช้ด้วยไหม..
#เพิ่มเติมนะค่ะ..ที่สามีเป็นหนี้บัตรเครดิตเพราะได้นำเงินมาให้แม่สามีค่ะ...เพราะแม่สามีเป็นหนี้เยอะมากเราไม่ทราบว่าเป็นหนี้อะไรบ้าง
...ที่เราไม่รู้เพราะเราใช้เงินคนละกระเป๋าค่ะ..เขาปิดเราจนเราจับได้..