จังหวัดเชียงราย จัดงาน
“ไท-ยวน คืนถิ่น” สานสัมพันธ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในไทยและเพื่อนบ้านผ่านเอกลักษณ์ผ้าจก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจังหวัดเชียงราย จัดงาน
“ไท-ยวน คืนถิ่น” ฟื้นฟูสืบสานสายใยกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนผ่านเอกลักษณ์ผ้าจก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนสอดคล้องนโยบายปีท่องเที่ยววิถีไทยของรัฐบาลและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 16-17 มีนาคม 2558 ณ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
นายมงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ถือว่าเป็นชาติพันธุ์หลักและดั้งเดิมในแคว้นโยนกนคร ถิ่นกำเนิดของเมืองเชียงแสน โดยตามตำนานสิงหนวัตินั้น สิงหนวัติกุมารโอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ประเทศจีน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ คือ เชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แคว้นโยนกนครหรือเมืองเชียงแสน ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมื่อไทยได้ตีเมืองเชียงแสนคืนมาจากพม่าแล้วมีการรวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนไปอาศัยอยู่ในหลายแห่งทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ราชบุรีและสระบุรี ตลอดจนหลวงพระบาง (สปป. ลาว)
ทั้งนี้ คนไทยวน เป็นชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะด้านการทอผ้าที่เรียกว่า
“การทอ ผ้าจก” ที่มีเทคนิคการทอทั้งลวดลายที่วิจิตรพิสดารแปลกตา ประกอบกับเทคนิคการทอถึง 5 เทคนิค ได้แก่ การจก (ล้วง) การมัดหมี่ (มัดก่าน) การยกมุก (ขิด) การปั่นไกหรือการฟั่น และการควั่นเส้นด้ายเข้าด้วยกัน ดังนั้นผ้าจกไทยวน จึงเป็นรากเหง้าที่บ่งบอกถึงวิถีและวัฒนธรรมของคนเชียงแสน ผู้เป็นต้นกำเนิดของ “คนเมือง” การอนุรักษ์ผ้าจกไทยวน จึงเปรียบเหมือนการอนุรักษ์วิถีและวัฒนธรรมของ “คนเมือง” ซึ่งองค์ความรู้รากวัฒนธรรมผ้าจกไทยวนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการเก็บรวบรวมและหาแนวทางการพัฒนาตลอดจนสืบทอดกันต่อไป กระทรวงการวัฒนธรรม จึงร่วมกับ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และจังหวัดเชียงราย จัดทำโครงการ “สืบสานสายใยผ้าจกรวมใจไทยวน ส่งเสริมการท่องเที่ยว” เพื่อร่วมฟื้นฟูอนุรักษ์ ผ้าจกไทยวน และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา (2 เมษายน 2558) ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงแสนอันสอดคล้องกับนโยบายปีท่องเที่ยววิถีไทยของรัฐบาล โดยกำหนดจัดงาน “ไทยวนคืนถิ่น” ขึ้น ในวันที่ 16-17 มีนาคม 2558 ณ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
สำหรับกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การส่งมอบผ้าจกไทยวนจากชมรมไทยวนเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าล้านนาของวัดพระธาตุผาเงา การจัดเสวนาเรื่องการอนุรักษ์และการพัฒนาผ้าจกของคนไทยวนแต่ละกลุ่มจากประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) การศึกษาดูงานพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน การแสดงทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มไทยวน การจัดงานขันโตก การจัดขบวนแห่ผ้าจกรอบเมืองเชียงรายและจากเวียงเชียงแสนสู่วัดพระธาตุผาเงา
นายมงคล กล่าวปิดท้ายว่า การจัดงาน
“ไทยวนคืนถิ่น” ในครั้งนี้ จะทำให้ชาวเชียงรายตระหนักถึงคุณค่าของรากวัฒนธรรมและภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดของตน เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดในรากวัฒนธรรมผ้าจกเชียงแสน และเสริมสร้างความรักความผูกพันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนต่อไปอีกด้วย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Facebook Fanpage :
https://www.facebook.com/search/results/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%20%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&init=mag_glass&tas=0.19642316666431725&search_first_focus=1425973755745
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์การรำลึกวัฒนธรรมไท-ยวน ในงาน "ไท-ยวน คืนถิ่น"
จังหวัดเชียงราย จัดงาน “ไท-ยวน คืนถิ่น” สานสัมพันธ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในไทยและเพื่อนบ้านผ่านเอกลักษณ์ผ้าจก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจังหวัดเชียงราย จัดงาน “ไท-ยวน คืนถิ่น” ฟื้นฟูสืบสานสายใยกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนผ่านเอกลักษณ์ผ้าจก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนสอดคล้องนโยบายปีท่องเที่ยววิถีไทยของรัฐบาลและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 16-17 มีนาคม 2558 ณ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
นายมงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ถือว่าเป็นชาติพันธุ์หลักและดั้งเดิมในแคว้นโยนกนคร ถิ่นกำเนิดของเมืองเชียงแสน โดยตามตำนานสิงหนวัตินั้น สิงหนวัติกุมารโอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ประเทศจีน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ คือ เชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แคว้นโยนกนครหรือเมืองเชียงแสน ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมื่อไทยได้ตีเมืองเชียงแสนคืนมาจากพม่าแล้วมีการรวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนไปอาศัยอยู่ในหลายแห่งทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ราชบุรีและสระบุรี ตลอดจนหลวงพระบาง (สปป. ลาว)
ทั้งนี้ คนไทยวน เป็นชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะด้านการทอผ้าที่เรียกว่า “การทอ ผ้าจก” ที่มีเทคนิคการทอทั้งลวดลายที่วิจิตรพิสดารแปลกตา ประกอบกับเทคนิคการทอถึง 5 เทคนิค ได้แก่ การจก (ล้วง) การมัดหมี่ (มัดก่าน) การยกมุก (ขิด) การปั่นไกหรือการฟั่น และการควั่นเส้นด้ายเข้าด้วยกัน ดังนั้นผ้าจกไทยวน จึงเป็นรากเหง้าที่บ่งบอกถึงวิถีและวัฒนธรรมของคนเชียงแสน ผู้เป็นต้นกำเนิดของ “คนเมือง” การอนุรักษ์ผ้าจกไทยวน จึงเปรียบเหมือนการอนุรักษ์วิถีและวัฒนธรรมของ “คนเมือง” ซึ่งองค์ความรู้รากวัฒนธรรมผ้าจกไทยวนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการเก็บรวบรวมและหาแนวทางการพัฒนาตลอดจนสืบทอดกันต่อไป กระทรวงการวัฒนธรรม จึงร่วมกับ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และจังหวัดเชียงราย จัดทำโครงการ “สืบสานสายใยผ้าจกรวมใจไทยวน ส่งเสริมการท่องเที่ยว” เพื่อร่วมฟื้นฟูอนุรักษ์ ผ้าจกไทยวน และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา (2 เมษายน 2558) ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงแสนอันสอดคล้องกับนโยบายปีท่องเที่ยววิถีไทยของรัฐบาล โดยกำหนดจัดงาน “ไทยวนคืนถิ่น” ขึ้น ในวันที่ 16-17 มีนาคม 2558 ณ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
สำหรับกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การส่งมอบผ้าจกไทยวนจากชมรมไทยวนเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าล้านนาของวัดพระธาตุผาเงา การจัดเสวนาเรื่องการอนุรักษ์และการพัฒนาผ้าจกของคนไทยวนแต่ละกลุ่มจากประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) การศึกษาดูงานพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน การแสดงทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มไทยวน การจัดงานขันโตก การจัดขบวนแห่ผ้าจกรอบเมืองเชียงรายและจากเวียงเชียงแสนสู่วัดพระธาตุผาเงา
นายมงคล กล่าวปิดท้ายว่า การจัดงาน “ไทยวนคืนถิ่น” ในครั้งนี้ จะทำให้ชาวเชียงรายตระหนักถึงคุณค่าของรากวัฒนธรรมและภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดของตน เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดในรากวัฒนธรรมผ้าจกเชียงแสน และเสริมสร้างความรักความผูกพันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนต่อไปอีกด้วย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/search/results/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%20%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&init=mag_glass&tas=0.19642316666431725&search_first_focus=1425973755745