คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
มันเกิดจากความประหม่า ของคุณเองแหละครับ บวกกับความคิดมาก ของคุณเอง
กับเพื่อนสนิท ที่เราคุยด้วยทุกวัน ทำกิจกรรมด้วยกันทุกวัน รู้ไลฟ์สไตล์ของเค้า มันก็ย่อมมีบทสนทนาให้คุยกันเยอะ มันเป็นเรื่องธรรมดาครับ า และวางใจ ที่จะสนทนาโดยที่ไม่ต้องกังวลอะไรมาก อย่างเช่นเล่าเรื่องของตัวเอง ให้เพื่อนฟังโดยที่ไม่ต้องกังวลว่า เพื่อนมันอยากจะฟังม้ัย มันเลยดูพูดเยอะเป็นธรรมดา
แต่กับคนที่เราพึ่งเคยพบ เคยเจอเพียงแค่ครั้ง สองครั้ง มันย่อมเป็นธรรมดาที่เราไม่รู้ว่าจะคุยีะไรกดับเค้าดี เพราะเราพึ่งเคยเจอเค้า ยังไม่เคยทำกิจกรรมร่วมกัน ยังไม่รู้ว่าไลฟ์สไตล์ของเค้าเป้นยังไง และยังไม่วางใจที่จะเล่าเรื่องราวส่วนตัวของเรา หรือถามเค้าเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมันเลยทำให้รู้สึกว่าเราพูดน้อย ประหม่า และกังวล เมื่ออยู่ในสภาวะเงียบ สมองเราจะคิดแต่ว่า จะพูดอะไรต่อดี และกังวลว่าเค้าจะคิดยังไงกับเรา
วิธีแก้ คือไม่ต้องไปคิดมากครับ เงียบก็คือเงียบ ก็ไม่รู้จะคุยอะไรนิ หน้าด้านนั้งไว้ แต่ถ้าอยากจะคุย ก็หาบทสนทนาที่เป็นการต้งคำถาม เพื่อให้เค้าตอบเรา ยกตัวอย่างเหตุการณ์อย่างเช่น ถ้าอยากคุยกับคนที่นั้งข้างๆ ที่ไม่รู้จัก เราก็จะเริ่มต้นที่ ถามชื่อ ถามว่าเป็นคนจังหวัดอะไร จบจากที่ไหนมา พวกนี้เป็นบทสนทนาเบื้องต้นอยู่แล้ว แล้วส่วนใหญ่พอจบบทสนทนาพวกนี้แล้ว ก็จะตัน ไม่รู้จะถามอะไร เราก็ตั้งคำถาม จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ ณ ตอนนั้น สมมติถ้ากำลังเรียนพิเศษอยู่ ก็อาจจะถามว่าตรงนี้ทำยังไง ทั้งที่จริงๆแล้วเราทำเป็นแล้ว แต่เราแค่อยากคุยกับเค้า แล้วก็จับจุดที่จะสามารถต่อประโยคในการสนทนาต่อไปอีก หรือถ้านั้งกินข้าวกันอยู่ แล้วได้ยินเสียงเพลงขึ้นมา ก็อาจจะถามเค้าว่า "เพลงนี้เพลงอะไร" ทั้งๆที่เราอาจรู้อยู่แล้วว่ามันคือเพลงอะไร แล้วก็ต่อบทสนทนาออกไปได้อีก ประมาณว่า "ชอบฟังเพลงแนวไหน" "เคยฟังเพลงนี้มั้ย" หรือจะข้ามไปถามเรื่องหนัง ละคร ก็ยังได้เลย พอเราเริ่มคุยกับเค้าบ่อยๆขึ้น ก็จะเริ่มรู้ไลฟ์สไตล์ของเค้าแล้วว่า เป็นคนจังหวดไหน ชอบฟังเพลงอะไร ชอบกินอะไร ฯลฯ
พอเราไปเจอเหตุการณ์ ที่มันเชื่อมโยงกับไลฟสไตล์ของเค้า เราก็สามารถเอามาเป็นบทสนทนากับเค้าได้อีกในครั้งต่อไป อย่างเช่น เค้าชอบกินข้าวเหนี่ยวหมูปิ้ง แล้วหน้าหมู่บ้านเรามีร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งที่อร่อย หรือเราเคยไปกินหมูปิ้งที่นู้นนี่มา เราก็เอามาเป็นเรื่องคุยได้
พอคุยกันบ่อยๆ ต่างฝ่ายต่างก็ไว้วางใจกัน มันก็จะลดช่องว่างลง ถึงแม้จะไม่สนิทขนาดที่ว่า ไปไหนด้วยกันตลอด แต่เวลาเจอหน้ากันก็ยิ้มให้กัน หรือคุยกันได้อย่างไม่ประหม่า
ผมมีเพื่อนคนนึง เจอหน้ากันก็คุยกัน เรื่องที่คุยกันก็แค่ไม่กี่เรื่อง เป็นเรื่องเกมส์บ้าง เรื่องเรียนบ้าง บางทีก็คุยแต่เรื่องเก่าๆ ที่เคยคุยกันเมื่อครั้งก่อน พอเจอกันระหว่างทางที่เรากำลังจะไปเรียน หรือเรากำลังรีบ ก็จะยิ่มให้ แล้วก็ถามแค่ว่า จะไปไหน กินข้าวยัง ฯลฯ หรือบางที่ก็ไม่ถามเลย แค่ยิ่มให้เฉยๆ และไอคนนั้นหนะ ผมยังไม่รู้จักชื่อมันเลยว่าชื่ออะไร ทั้งๆที่เจอกัน ทักทายกัน คุยกันมาจนจะคบปีแล้ว ผมก็ไม่เคยถามชื่อเค้า เพราะไปเจอกันตอนดูดบุหรี่ เรียนคนละคณะ ไม่ค่อยได้เจอกันบ่อยนัก
แล้วก็จากที่เห็น ปล ของคุณ ดูคุณเป็นคนที่ขี้ระแวงมากนะครับ บางทีการระแวงมากเกินไปมันก็ไม่ดี ระแวงได้แต่ก็ไม่ควรเอามาใส่ใจหรือทำให้มันเป็นประเด็นสำคัญ แต่ควรเอาความระแวงนั้น มาชั้งน้ำหนัก และดูความเหมาะสมว่าเราถ้าเกิดว่าเราระแวง แล้วมันเป็นจริง ผลกระทบ มันจะมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันมากก็อาจจะแสดงออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้ามันน้อยก็น่าจะปล่อยให้มันผ่านไป และหาวิธีแก้ไขดีกว่า อย่างที่คุณระแวงว่าจะมีคนเข้ามาตอบ หรือว่า อย่างที่คุณบอกไว้ใน ปล. ผมเห็นว่าผลกระทบจากสิ่งที่คุณระแวงมันน้อย บางทีก็น่าจะปล่อยให้มันผ่านๆไป เพราะถึงแม้จะมีคนเข้ามาแขวะคุณ แต่ก็อาจจะมีคนที่เข้ามาตอบแบบดีๆ(อย่างผม
) และถึงแม้ว่าเค้าจะเข้ามาตอบแบบไม่ดี มันก็ไม่มีผลกระทบอะไรอยู่แล้ว เพราะมันไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ เราก็เลือกอ่านแต่คำตอบดีๆ และเก็บความระแวงนั้นทิ้งไป แบบนี้น่าจะดีกว่านะครับ
กับเพื่อนสนิท ที่เราคุยด้วยทุกวัน ทำกิจกรรมด้วยกันทุกวัน รู้ไลฟ์สไตล์ของเค้า มันก็ย่อมมีบทสนทนาให้คุยกันเยอะ มันเป็นเรื่องธรรมดาครับ า และวางใจ ที่จะสนทนาโดยที่ไม่ต้องกังวลอะไรมาก อย่างเช่นเล่าเรื่องของตัวเอง ให้เพื่อนฟังโดยที่ไม่ต้องกังวลว่า เพื่อนมันอยากจะฟังม้ัย มันเลยดูพูดเยอะเป็นธรรมดา
แต่กับคนที่เราพึ่งเคยพบ เคยเจอเพียงแค่ครั้ง สองครั้ง มันย่อมเป็นธรรมดาที่เราไม่รู้ว่าจะคุยีะไรกดับเค้าดี เพราะเราพึ่งเคยเจอเค้า ยังไม่เคยทำกิจกรรมร่วมกัน ยังไม่รู้ว่าไลฟ์สไตล์ของเค้าเป้นยังไง และยังไม่วางใจที่จะเล่าเรื่องราวส่วนตัวของเรา หรือถามเค้าเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมันเลยทำให้รู้สึกว่าเราพูดน้อย ประหม่า และกังวล เมื่ออยู่ในสภาวะเงียบ สมองเราจะคิดแต่ว่า จะพูดอะไรต่อดี และกังวลว่าเค้าจะคิดยังไงกับเรา
วิธีแก้ คือไม่ต้องไปคิดมากครับ เงียบก็คือเงียบ ก็ไม่รู้จะคุยอะไรนิ หน้าด้านนั้งไว้ แต่ถ้าอยากจะคุย ก็หาบทสนทนาที่เป็นการต้งคำถาม เพื่อให้เค้าตอบเรา ยกตัวอย่างเหตุการณ์อย่างเช่น ถ้าอยากคุยกับคนที่นั้งข้างๆ ที่ไม่รู้จัก เราก็จะเริ่มต้นที่ ถามชื่อ ถามว่าเป็นคนจังหวัดอะไร จบจากที่ไหนมา พวกนี้เป็นบทสนทนาเบื้องต้นอยู่แล้ว แล้วส่วนใหญ่พอจบบทสนทนาพวกนี้แล้ว ก็จะตัน ไม่รู้จะถามอะไร เราก็ตั้งคำถาม จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ ณ ตอนนั้น สมมติถ้ากำลังเรียนพิเศษอยู่ ก็อาจจะถามว่าตรงนี้ทำยังไง ทั้งที่จริงๆแล้วเราทำเป็นแล้ว แต่เราแค่อยากคุยกับเค้า แล้วก็จับจุดที่จะสามารถต่อประโยคในการสนทนาต่อไปอีก หรือถ้านั้งกินข้าวกันอยู่ แล้วได้ยินเสียงเพลงขึ้นมา ก็อาจจะถามเค้าว่า "เพลงนี้เพลงอะไร" ทั้งๆที่เราอาจรู้อยู่แล้วว่ามันคือเพลงอะไร แล้วก็ต่อบทสนทนาออกไปได้อีก ประมาณว่า "ชอบฟังเพลงแนวไหน" "เคยฟังเพลงนี้มั้ย" หรือจะข้ามไปถามเรื่องหนัง ละคร ก็ยังได้เลย พอเราเริ่มคุยกับเค้าบ่อยๆขึ้น ก็จะเริ่มรู้ไลฟ์สไตล์ของเค้าแล้วว่า เป็นคนจังหวดไหน ชอบฟังเพลงอะไร ชอบกินอะไร ฯลฯ
พอเราไปเจอเหตุการณ์ ที่มันเชื่อมโยงกับไลฟสไตล์ของเค้า เราก็สามารถเอามาเป็นบทสนทนากับเค้าได้อีกในครั้งต่อไป อย่างเช่น เค้าชอบกินข้าวเหนี่ยวหมูปิ้ง แล้วหน้าหมู่บ้านเรามีร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งที่อร่อย หรือเราเคยไปกินหมูปิ้งที่นู้นนี่มา เราก็เอามาเป็นเรื่องคุยได้
พอคุยกันบ่อยๆ ต่างฝ่ายต่างก็ไว้วางใจกัน มันก็จะลดช่องว่างลง ถึงแม้จะไม่สนิทขนาดที่ว่า ไปไหนด้วยกันตลอด แต่เวลาเจอหน้ากันก็ยิ้มให้กัน หรือคุยกันได้อย่างไม่ประหม่า
ผมมีเพื่อนคนนึง เจอหน้ากันก็คุยกัน เรื่องที่คุยกันก็แค่ไม่กี่เรื่อง เป็นเรื่องเกมส์บ้าง เรื่องเรียนบ้าง บางทีก็คุยแต่เรื่องเก่าๆ ที่เคยคุยกันเมื่อครั้งก่อน พอเจอกันระหว่างทางที่เรากำลังจะไปเรียน หรือเรากำลังรีบ ก็จะยิ่มให้ แล้วก็ถามแค่ว่า จะไปไหน กินข้าวยัง ฯลฯ หรือบางที่ก็ไม่ถามเลย แค่ยิ่มให้เฉยๆ และไอคนนั้นหนะ ผมยังไม่รู้จักชื่อมันเลยว่าชื่ออะไร ทั้งๆที่เจอกัน ทักทายกัน คุยกันมาจนจะคบปีแล้ว ผมก็ไม่เคยถามชื่อเค้า เพราะไปเจอกันตอนดูดบุหรี่ เรียนคนละคณะ ไม่ค่อยได้เจอกันบ่อยนัก
แล้วก็จากที่เห็น ปล ของคุณ ดูคุณเป็นคนที่ขี้ระแวงมากนะครับ บางทีการระแวงมากเกินไปมันก็ไม่ดี ระแวงได้แต่ก็ไม่ควรเอามาใส่ใจหรือทำให้มันเป็นประเด็นสำคัญ แต่ควรเอาความระแวงนั้น มาชั้งน้ำหนัก และดูความเหมาะสมว่าเราถ้าเกิดว่าเราระแวง แล้วมันเป็นจริง ผลกระทบ มันจะมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันมากก็อาจจะแสดงออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้ามันน้อยก็น่าจะปล่อยให้มันผ่านไป และหาวิธีแก้ไขดีกว่า อย่างที่คุณระแวงว่าจะมีคนเข้ามาตอบ หรือว่า อย่างที่คุณบอกไว้ใน ปล. ผมเห็นว่าผลกระทบจากสิ่งที่คุณระแวงมันน้อย บางทีก็น่าจะปล่อยให้มันผ่านๆไป เพราะถึงแม้จะมีคนเข้ามาแขวะคุณ แต่ก็อาจจะมีคนที่เข้ามาตอบแบบดีๆ(อย่างผม

แสดงความคิดเห็น
อยากเป็นคนเฟลนลี่ คุยเก่ง ปรับตัวกับคนอื่นได้ง่าย คนจะได้ไม่ว่า ว่าหยิ่ง
ไม่กล้าที่จะเอ่ยถาม หรือทักทายมาก จะมีก็ถามนิดหน่อย พอหลังจากนั้นคือเงียบ และความกดดันมันมีสูง
เวลาต้องอยู่กับใครที่ไม่คุ้นเคยนานๆ แต่ถ้าถามมาคือตอบได้นะ ไม่หยิ่งอะไรเลย
คนที่รู้จัก จะรู้นิสัยว่าเราไม่หยิ่ง ถ้าสนิทก็ยิ่งจะรู้ว่าเราคุยเก่ง บ้าๆบอ
เวลามีคนทักมา ถามมา เราก็คุยได้ตลอด
แต่เราไม่รู้ทำไมพอจะถามบ้างเราก็ไม่รู้จะถามว่าอะไร ยังไง
ง่ายๆ คือเป็นคนที่เริ่มคุยกะใครไม่เก่ง ทำตัวไม่ถูก เก้ๆกังๆ
บางทีเราก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนขรึม ทั้งที่จริงๆเราไม่ใช่ จนทำให้คิดว่าเราเป็นคนสองบุคลิค
เป็นคนบ้าบอ รั่วได้ และเป็นคนเงียบขรึมได้ด้วย
จะชอบขรึมเวลาที่อยู่กับคนไม่ไม่สนิทมาก ทำให้เขาคิดว่าเราเป็นคน ขรึม หยิ่ง
เช่น เวลาไปเรียนพิเศษคนเดียว เรียนกับคนอื่นที่ไม่สนิทในใจก็อยากจะทักทายกันไว้
พอให้รู้จักคุยกันได้ ปรึกษากันได้ แต่มันไม่รู้จะทำยังไง จะเริ่มยังไง
ที่สำคัญเราเป็นคนที่ชอบระแวงคนอื่น เหมือนคนคิดลบตลอดอ่ะ
แก้จุดนี้ไม่ได้ซักที ชอบคิดว่าคนที่เข้ามาคุย จะต้องมีเลศนัยบางอย่าง เป็นพวกหวังผลประโยชน์
มันเคยมีเหตุ ทำให้เราคิดในแง่แบบนี้มาเรื่อยๆ จนติด
ปล.ถ้าจะบอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเพราะนิสัยมันเป็นมาตั้งแต่พันธุกรรม ไม่ต้องบอกนะ
เพราะเราเชื่อว่ามันเปลี่ยนได้ เมื่อก่อนเราไม่ได้เป็นแบบนี้
แต่ตอนนี้เราเปลี่ยนกลับไปไม่ได้ซักที อยากจะรู้วิธีมาปรับใช้กับตัวเอง
และจะขอบคุณมากถ้าใครเคยทำแล้วได้ผลจริงๆ
หรือถ้าจะมาว่า มาเหน็บประเภทก็ขึ้นอยู่กับตัวเองนั้นแหละ จะโทษใคร หรือจะไปปรับที่ใคร อันนี้เรารู้ค่ะ แต่ขอวิธีนะคะ ไม่ใช่คำต่อว่า