FSG: โอกาสที่ดีที่สุดของลิเวอร์พูลที่จะกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง?
คุณ Si Steers หนึ่งในนักวิเคราะห์และคอลัมนิสต์รุ่นใหม่ไฟแรง ได้เขียนวิเคราะห์พัฒนาการของสโมสรลิเวอร์พูลภายใต้การบริหารงานของFSG
ฟุตบอลคือเกมส์กีฬาที่ดูง่ายๆ, แต่เบื้องหลังการทำงานนั้นไม่ง่ายเลย เต็มไปด้วยสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ในแต่ละวันมีสิ่งที่นอกเหนือจากที่เราเห็นตามหน้าจอมากมาย มันไม่มีนัยสำคัญว่าคุณจ่ายเงินไปเท่าไหร่, ไม่มีทีมไหนที่ไม่เคยแพ้, แต่ก็เข้าใจได้ว่าทีมที่ใช้จ่ายเงินไปมากๆมักจะมีเกมที่แพ้น้อย ซึ่งก็เป็นสูตรง่ายๆที่ทั้งเราทั้งเขาต่างดูกันเข้าใจ.
เพื่อจะก้าวขึ้นไปเป็นทีมระดับแถวหน้าคุณก็ต้องจ่ายเงินมหาศาล, นั่นคือสูตรสำเร็จไปแล้ว ซึ่งทีมอย่าง อาเซน่อล แอตฯมาดริด ดอร์ทมุน และลิเวอร์พูลต่างก็เคยกระโจนเข้าร่วมวงจรแบบนั้นในช่วงสั้นๆ แต่มันก็เหมือนนักมวยที่แบก/ต่อน้ำหนักขึ้นชกกับคู่ต่อสู้นั่นแหละ แทนที่จะชกกันในรุ่นเดียวกันแต่ดันต่อน้ำหนักให้พวกคู่อริกระเป๋าหนา ซึ่งการทำแบบนั้นไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนเลย.
พูดได้เต็มปากว่า อาเซน่อล แอตฯมาดริด ดอร์ทมุน และลิเวอร์พูล ไม่ใช่ทีมที่จะย่ำแย่อะไรขนาดนั้นหรอก ซึ่งทั้งสี่ทีมนี้ก็ติดโผสโมสรร่ำรวยท็อป20อยู่แล้ว ความยากของการต่อสู้ก็คือ การมีผลประกอบการที่ยังด้อยกว่าเหล่ายักษ์ใหญ่เช่น เรอัลมาดริด แมนยูฯ บาซ่า บาเยิร์น ไหนจะการอัดเงินของพวกมหาเศรษฐีแบบเชลซี แมนซิฯ PSG อีกล่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเป็นสโมสรที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่.
งั้นอะไรกันที่จะทำให้สโมสรที่ยังตามหลังแบบเราคาดหวังถึงอนาคตได้บ้าง? อะไรคือเคล็ดลับวิชาพรรคกระยาจกเพื่อต่อสู้กับบู๊ตึ๊ง-ง๊อไบ๊? คำตอบง่ายๆก็คือ วิสัยทัศน์ของเจ้าของสโมสร ความมุ่งมั่นตั้งใจ, ยุทธศาสตร์, และความสามารถทางการแข่งขัน.
ที่ผ่านมามีทั้งเจ้าของสโมสรที่ดีและแย่ เราเคยเห็นแล้วว่าผลลัพธ์มันต่างกันยังไง เราเห็นการอับปางลงของฮิคส์และจิลเล็ตต์ ยังมีช่วงอื่นๆอีกมากมายที่ดีและแย่แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของสโมสรแย่จะทำให้ทีมแย่ไปด้วยเสมอไป ความสำเร็จทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ที่วางไว้ หากคุณมีทิศทางที่วางไว้ดีนั่นจะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า.
หญ้าย่อมมีสีเขียวสดใสแต่ก็ไร้ซึ่งคุณสมบัติกันกระสุน ดังนั้นจึงไม่มีเจ้าของสโมสรคนไหนที่จะสมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง ไม่มีใครที่จะหลุดรอดจากคำวิจารณ์ไปได้ แต่มันจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ทีมลงแข่งและรอคอยรับการตัดสิน.
พอมีเหตุผลบางข้ออยู่บ้างที่ช่วยสนับสนุนว่า เจ้าของทีมปัจจุบันนั้นช่วยให้เราไปถึงฝั่งฝันได้ในอนาคต.
-การเจริญเติบโต-
ภารกิจแรกของสโมสรลิเวอร์พูลนับตั้งแต่FSGก้าวเข้ามาก็คือ สร้างยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตเพื่อยกระดับรายได้ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จอย่างมาก.
รายได้เชิงพานิชย์เติบโตขึ้นอย่างน่าประหลาดใจภายในเวลาแค่4ปี และมันก็มาไกลเกินจากจุดเดิมมากกว่าทุกยุค.
ข่าวดีสำหรับสโมสรก็คือ กฎFFPบังคับใช้ให้ทุกสโมสรใช้จ่ายเงินตามจริงจากที่หามาได้ ซึ่งส่งผลให้สโมสรต่างๆต้องตื่นตัวกับการหารายได้เข้าสโมสร.
การเซ็นต์สปอนเซอร์ใหม่ๆเข้าสโมสรที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าเดิมเช่น Standard Chartered, Warrior (กำลังจะเปลี่ยนเป็น New Balance), และ Garuda Indonesia คือก้าวเล็กๆในยุทธศาสตร์ที่ช่วยพยุงทีมให้ยั่งยืน.
ที่ว่ามานี้เป็นกลยุทธ์เดียวกันที่ใช้กับ Red sox ทีมเบสบอลที่มีสปอนเซอร์รวมเกือบๆ100ราย การดึง Dunkin Donuts, Subway และ Paddy Power เพื่อสร้างฐานแฟนบอลในสหรัฐ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลิเวอร์พูลและเร้ดซ็อคแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สโมสรพยายามอย่างมากที่จะขยายตลาดในอเมริกา และที่ผ่านมาก็มีหลายสโมสรพยายามแล้วพยายามเล่าแต่ก็ล้มเหลว ส่วนFSGนั้นต้องบอกว่าพวกเขาคือเจ้าถิ่นในอเมริกาอยู่แล้ว และผมก็คิดว่าฟุตบอลกำลังโตขึ้นมากๆในตลาดอเมริกา ในอนาคตลิเวอร์พูลอาจจะมีนักเตะจากอเมริกาเข้ามาสู่สโมสร และแน่นอนว่าการไปอเมริกาของกัปตันอเมริกา-สตีเว่นเจอร์ราร์ดจะช่วยได้มาก!
รายได้จากสัญญาใหม่ของการถ่ายทอดทางทีวีจะช่วยเรื่องเงินเป็นอย่างมาก แต่ถึงยังไงก็ช่วยทุกๆสโมสรเช่นกัน ซึ่งนั่นจะช่วยให้สโมสรมีเงินจับจ่ายซื้อนักเตะ ข้อเสียก็คือมันจะทำให้มูลค่านักเตะเฟ้อเกินจริงขึ้นไปอีก ทางที่ดีTV dealใหม่นี้น่าจะเป็นเงินที่เข้าไปช่วยลงทุนเรื่องสร้างรายได้เพิ่มจากการขายตั๋ว(ต่อเติมสนาม)ซะมากกว่า มันดีกว่าที่จะเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อนักเตะราคาแพงเกินจริง.
ณ จุดนี้ สิ่งต่างๆล้วนช่วยสนับสนุนให้สโมสรมีโอกาสประสบความสำเร็จ และมันมีเรื่องราวมากมายที่ดำเนินการกันอยู่เบื้องหลัง และถึงแม้บางอย่างเช่น สารคดี Being Liverpool จะขัดหูขัดตาแฟนบอลก็ตาม แต่มันสำคัญมากหากต้องการจะประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ดูไม่เข้าท่าแต่ก็ละเลยไม่ได้(เหมือนแนะนำสโมสรให้คนอื่นที่ยังไม่รู้จักฟุตบอล)
-โครงสร้างพื้นฐาน-
ก่อนหน้านี้จอห์นเฮนรี่เคยบอกแล้วว่าเขาจะไม่ใจร้อนรับปากเรื่องสนามแข่ง บ้างก็ว่าการขยายสนามเดิมเป็นการกระทำที่ไม่ยั่งยืน แต่จนแล้วจนรอดผลสำรวจในปี2013ก็ชี้ว่า 91%ของแฟนบอลนั้นต้องการให้ใช้สนามเดิมแต่เพิ่มเติมความจุ ซึ่งดูจะมีมนต์ขลังกว่า.
เรากำลังเริ่มทำการปรับปรุงสนามฝั่งเมนแสตนด์ ซึ่งเป็นฝั่งที่ให้ผลดีมากที่สุดอันดับแรก และคงต้องมีการเปลี่ยนชื่อแสตนด์ให้เป็นไปตามผู้สนับสนุน แม้จะมีบางเสียงบอกว่าถ้าเปลี่ยนแล้วคงสูญเสียทางประวัติศาสตร์ แต่อย่าลืมว่าหากต้องการประสบผลดีทางธุรกิจ เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยน.
ท้ายที่สุดแล้วแอนฟิลด์จะจุได้55,000ที่นั่ง และบางสิ่งบางอย่างต้องเปลี่ยนชื่อให้เป็นสากล แต่จุดหมายหลักคือรองรับแฟนบอลให้มากขึ้น สโมสรทำงานร่วมกับกลุ่มก้อนแฟนบอลต่างๆเพื่อขายตั๋วเข้าชมเกมส์สด และจัดราคาให้เหมาะสมกับที่นั่งที่แตกต่างกันไปเพื่อแฟนบอลทุกกลุ่มฐานะ..
แต่บทสรุปของเรื่องนี้คือการได้เห็นการปรับปรุงสนามที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ และน่าตื่นเต้นกับผลระยะยาวที่จะตามมา.
-เยาวชน-
มันง่ายมากหากจะสร้างทีมด้วยการซื้อ ซื้อ ซื้อ แล้วก็ซื้อพวกนักเตะเก่งๆเข้าทีม ใครที่ชอบเล่นเกมส์ FIFA หรือ Football Manager ก็คงจะเก่งถึงขั้นเป็น Director of Footballไปแล้ว แต่ในชีวิตจริงมันไม่ใช่เกมส์ที่พวกท่านเล่นน่ะสิครัช.
สร้างทีมใหญ่จากทีมเยาวชนนั้นเป็นโจทย์ที่หินกว่ามาก ไม่มีวิทยาศาสตร์แขนงไหนการันตีได้ว่าเด็กๆจะดีพอขึ้นสู่ชุดใหญ่ได้ทุกคน.
แต่การให้สโมสรสร้างเยาวชนนับเป็นสัจจะวาจาโดยตรงจากFSG แต่ก็ไม่ได้เหนียวจนห้ามไม่ให้ซื้อใคร ประสบการณ์จากการซื้อผู้เล่นอย่าง Suarez, Carroll, Downing, Henderson และ Adam ทำให้เราได้ Brendan Rodgers เข้ามาคุมทีม.
นี่อาจจะเป็นโชคดีอย่างนึงที่เจ้าของทีมได้เจอการรับน้องไปเพียงเบาะๆ เป็นการช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเด็กปั้นก้าวขึ้นมาเกิดอย่างเช่นสเตอร์ลิ่งและไอบ์ การประเมินราคาของนักเตะหน้าใหม่แบบ Can, Markovic, Coutinho, Sturridge, Moreno และ Manquillo จึงต้องประเมินบนความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย.
การลงทุนกับเยาวชนนั้นต้องใจเย็นกันสักนิด กว่าจะผลิดอกออกผลก็ใช้เวลา2-3ปี เรามีกลุ่มนักเตะเยาวชนที่พร้อมจะโตไปด้วยกัน และมีอะไรดีๆรอให้เราชมอยู่เบื้องหน้า. ภายใต้นโยบายของFSGและร็อดเจอร์สที่วางกันระยะยาว มียุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเยาวชนและเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ตามประสิทธิภาพที่สร้างขึ้น พร้อมๆกับการรักษาแนวทางดั้งเดิมเอาไว้(ปั้นเด็กขึ้นชุดใหญ่)มากกว่าจะทำแบบปรุงสำเร็จรูปทันด่วน.
นั่นคือแนวทางที่ถูกต้องเพื่อฟูมฟักความกระหายของเยาวชนที่รอวันระเบิดฟอร์มบนทีมชุดใหญ่ สโมสรมหาเศรษฐีอื่นๆนิยมซื้อเด็กเทพเก็บไว้ดองด้วยค่าเหนื่อยแพงๆ ซึ่งนั่นคือการลดทอนพัฒนาการของเด็กและโอกาสเติบโตของพวกเขา.
ที่ลิเวอร์พูล คุณจะได้รับโอกาสเสมอหากคุณเจ๋งพอ และคุณจะมีรายได้งามๆเพื่อแลกหยดเหงื่อในระดับที่คุณและสโมสรพอใจ ดังที่คุณเห็นจากซัวเรซและสเตอริดจ์ที่ต่อสัญญากันแบบรุ่นพี่ยังอาย นั่นคือระดับของการตอบแทนที่สโมสรพร้อมมอบให้หากคุณมีพัฒนาการที่ดี.
บางครั้งมันก็ยากนะที่จะมองย้อนอดีตแล้วบอกว่า ทำไมอะไรๆมันไม่เห็นเหมือนช่วง12-18เดือนก่อนหน้านี้น๊อ? ท้ายที่สุดฟุตบอลก็คือผลจากธุรกิจนั่นเอง มันง่ายที่จะตำหนิและกดดันเกี่ยวกับการใช้เงินแบบทิ้งๆขว้างๆเพื่อสร้างทีม การสร้างหนี้ไม่ได้รับประกันว่าจะประสบความสำเร็จนะ.
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับเจ้าของทีมทุกคนคือการรับปากในแผนระยะยาว และต้องก้มหน้ารับคำด่าสาดเสียเทเสียระหว่างทางที่เกิดขึ้นเมื่อผลงานทีมไม่ดี.
-วิสัยทัศน์ระยะยาว-
หน้าที่หลักของร็อดเจอร์สคือการทำตามแผนระยะยาวซึ่งถูกคำนวณความเสี่ยงต่างๆออกมาในหลากหลายรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และเขาต้องเป็นคนพิสูจน์ทฤษฎีเหล่านั้นด้วยตัวเขาเองทั้งหมดว่ามันเป็นจริงตามสมมติฐานที่วางเอาไว้ นั่นคือสิ่งที่เขายอมรับในการว่าจ้างเพื่อตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล.
เหตุผลใหญ่ข้อนึงคือผมเชื่อว่าFSGจะเป็นคนทำให้สโมสรเข้าใกล้ความสำเร็จสูงสุด เพราะเขาไม่กลัวที่จะเดินบนเส้นทางระยะยาว สิ่งที่พวกเขาทำคือการปูทางไปสู่เบื้องหน้าที่สดใส ขณะที่ฟุตบอลสมัยนี้คือบะหมี่ฉีกซองเติมน้ำร้อนทานได้ทันที ผลลัพธ์อาจจะสร้างคุณหรือฆ่าคุณก็ได้ แต่การรับปากว่าจะสร้างทีมระยะยาวนั้นมันไม่เคยง่าย แต่มันก็เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะแข่งกับพวกสโมสรเงินถุงเงินถังได้.
ถ้าคุณคือคนที่รับปากคนอื่นว่าจะทำให้สัมฤทธิ์ผลในระยะยาว คุณก็ต้องไม่วอกแวกหรือสะดุ้งทุกครั้งเหมือนคนไข้โดนค้อนเคาะที่เข่า อย่าไปประหวั่นกับเสียงครหากับผลงานแย่ๆในระยะสั้นเพียงบางครั้ง และอย่าไปเอาอย่างสโมสรใจเร็วด่วนได้ที่ไล่ ไล่ ไล่ แล้วก็ไล่ออกผู้จัดการทีมคนแล้วคนเล่า เพียงเพื่อกลับมาเริ่มต้นที่ศูนย์ใหม่อยู่อย่างนั้น.
บนเส้นทางนี้ไม่ใช่หรือ?ที่เรากำลังเดินกันอยู่ เราลงทุนบนยุทธศาสตร์แห่งเยาวชน เราลงทุนพัฒนาเยาวชนของตนเอง และร็อดเจอร์สเองก็คือโค้ชผู้ฝึกสอนและพัฒนาเยาวชนเหล่านั้น.
มันง่ายมากที่เราจะตกไปบนหลุมพรางแห่งเกมส์การเปลี่ยนผู้จัดการทีม และซีซั่นนี้เองที่พวกเราพากันตกเข้าไปในบ่วงนั้น ร็อดเจอร์สเสี่ยงที่ทดลองใช้และตัดสินใจพลาดอยู่บ่อยครั้ง(ตอนต้นฤดูกาล) แต่ด้วยวัย42ปี, ผู้จัดการทีมวัยนี้ก็ต้องการเวลาเพื่อเรียนรู้และต่อยอดตัวเขาเองเช่นกัน เขายังจะต้องมีบางช่วงในอนาคตที่ต้องเรียนรู้อีก และเขาจะได้รับบทเรียนจากมัน.
ร็อดเจอร์สตอนนี้เหมือนคนที่เริ่มเรียนรู้ เขาเผชิญหน้ากับความท้าทายในซีซั่นนี้ แต่เขาก็พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเขาพร้อมจะเปลี่ยนความคิดเพื่อหาทางออกแก้ไขกับปัญหา ผมคิดว่าผู้จัดการทีมหรือโค้ชคนใดก็ตามที่อยู่ใต้FSGย่อมต้องการทำแบบนี้ เพื่อเริ่มเรียนรู้ก่อนที่จะเดินอย่างมั่นคง.
ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเป็นเช่นไร หรือวิสัยทัศน์ระยะยาวที่ว่านี้จำเป็นต้องนำมาทบทวนกันดูอีกสักครั้งมั้ย แต่ผมมั่นใจว่าร็อดเจอร์สนี่แหละคือคนที่เหมาะจะเป็นผู้นำบนเส้นทางเดินแบบนี้ เขามีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นสุดยอดผู้จัดการทีมในอนาคต เพียงแต่ตอนนี้ต้องอดทนต่อเป้าหมายระยะยาวเท่านั้นเอง.
-บทสรุป-
มันยังเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าFSGคือคนที่ให้โอกาสเราสำเร็จมากที่สุด แต่พอพูดได้ว่าเขาคือคนที่มอบนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อผลักดันลิเวอร์พูลไปข้างหน้า ในอนาคตก็คงมีบ้างที่เจ้าของทีมไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะต้องพบเจอช่วงวิกฤตศรัทธา และมันก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องซะด้วยหากแฟนบอลจะช่วยกันสะท้อนเรื่องย่ำแย่เหล่านั้น ด้วยเหตุผลว่าแฟนบอลคือกลุ่มคนที่เป็นหุ้นส่วนใหญ่ที่มอบรายได้เข้าสู่ทีม แต่มันจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าหากเรามองภาพให้กว้างขึ้นแล้วค่อยตัดสินว่าใครเป็นยังไง.
แม้ว่าจะมีเจ้าของทีมคนอื่นๆที่พร้อมทำทุกอย่างเอาใจแฟนบอลก็ตาม แต่FSGก็แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาพยายามที่จะฟังเสียงจากแฟนบอล นั่นเป็นเรื่องที่น่ายินดีและหวังว่าจะเป็นเส้นทางที่แตกต่างและเร่งให้เราไปสู่ผู้นำทางธุรกิจฟุตบอล.
Credit : Si Steers, This is Anfield
แปลโดย : คุณ Pitbull จาก
http://www.thekop.in.th/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=156915
.......... FSG: Liverpool’s best chance of success? ........... <บทความ>
คุณ Si Steers หนึ่งในนักวิเคราะห์และคอลัมนิสต์รุ่นใหม่ไฟแรง ได้เขียนวิเคราะห์พัฒนาการของสโมสรลิเวอร์พูลภายใต้การบริหารงานของFSG
ฟุตบอลคือเกมส์กีฬาที่ดูง่ายๆ, แต่เบื้องหลังการทำงานนั้นไม่ง่ายเลย เต็มไปด้วยสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ในแต่ละวันมีสิ่งที่นอกเหนือจากที่เราเห็นตามหน้าจอมากมาย มันไม่มีนัยสำคัญว่าคุณจ่ายเงินไปเท่าไหร่, ไม่มีทีมไหนที่ไม่เคยแพ้, แต่ก็เข้าใจได้ว่าทีมที่ใช้จ่ายเงินไปมากๆมักจะมีเกมที่แพ้น้อย ซึ่งก็เป็นสูตรง่ายๆที่ทั้งเราทั้งเขาต่างดูกันเข้าใจ.
เพื่อจะก้าวขึ้นไปเป็นทีมระดับแถวหน้าคุณก็ต้องจ่ายเงินมหาศาล, นั่นคือสูตรสำเร็จไปแล้ว ซึ่งทีมอย่าง อาเซน่อล แอตฯมาดริด ดอร์ทมุน และลิเวอร์พูลต่างก็เคยกระโจนเข้าร่วมวงจรแบบนั้นในช่วงสั้นๆ แต่มันก็เหมือนนักมวยที่แบก/ต่อน้ำหนักขึ้นชกกับคู่ต่อสู้นั่นแหละ แทนที่จะชกกันในรุ่นเดียวกันแต่ดันต่อน้ำหนักให้พวกคู่อริกระเป๋าหนา ซึ่งการทำแบบนั้นไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนเลย.
พูดได้เต็มปากว่า อาเซน่อล แอตฯมาดริด ดอร์ทมุน และลิเวอร์พูล ไม่ใช่ทีมที่จะย่ำแย่อะไรขนาดนั้นหรอก ซึ่งทั้งสี่ทีมนี้ก็ติดโผสโมสรร่ำรวยท็อป20อยู่แล้ว ความยากของการต่อสู้ก็คือ การมีผลประกอบการที่ยังด้อยกว่าเหล่ายักษ์ใหญ่เช่น เรอัลมาดริด แมนยูฯ บาซ่า บาเยิร์น ไหนจะการอัดเงินของพวกมหาเศรษฐีแบบเชลซี แมนซิฯ PSG อีกล่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเป็นสโมสรที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่.
งั้นอะไรกันที่จะทำให้สโมสรที่ยังตามหลังแบบเราคาดหวังถึงอนาคตได้บ้าง? อะไรคือเคล็ดลับวิชาพรรคกระยาจกเพื่อต่อสู้กับบู๊ตึ๊ง-ง๊อไบ๊? คำตอบง่ายๆก็คือ วิสัยทัศน์ของเจ้าของสโมสร ความมุ่งมั่นตั้งใจ, ยุทธศาสตร์, และความสามารถทางการแข่งขัน.
ที่ผ่านมามีทั้งเจ้าของสโมสรที่ดีและแย่ เราเคยเห็นแล้วว่าผลลัพธ์มันต่างกันยังไง เราเห็นการอับปางลงของฮิคส์และจิลเล็ตต์ ยังมีช่วงอื่นๆอีกมากมายที่ดีและแย่แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของสโมสรแย่จะทำให้ทีมแย่ไปด้วยเสมอไป ความสำเร็จทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ที่วางไว้ หากคุณมีทิศทางที่วางไว้ดีนั่นจะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า.
หญ้าย่อมมีสีเขียวสดใสแต่ก็ไร้ซึ่งคุณสมบัติกันกระสุน ดังนั้นจึงไม่มีเจ้าของสโมสรคนไหนที่จะสมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง ไม่มีใครที่จะหลุดรอดจากคำวิจารณ์ไปได้ แต่มันจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ทีมลงแข่งและรอคอยรับการตัดสิน.
พอมีเหตุผลบางข้ออยู่บ้างที่ช่วยสนับสนุนว่า เจ้าของทีมปัจจุบันนั้นช่วยให้เราไปถึงฝั่งฝันได้ในอนาคต.
-การเจริญเติบโต-
ภารกิจแรกของสโมสรลิเวอร์พูลนับตั้งแต่FSGก้าวเข้ามาก็คือ สร้างยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตเพื่อยกระดับรายได้ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จอย่างมาก.
รายได้เชิงพานิชย์เติบโตขึ้นอย่างน่าประหลาดใจภายในเวลาแค่4ปี และมันก็มาไกลเกินจากจุดเดิมมากกว่าทุกยุค.
ข่าวดีสำหรับสโมสรก็คือ กฎFFPบังคับใช้ให้ทุกสโมสรใช้จ่ายเงินตามจริงจากที่หามาได้ ซึ่งส่งผลให้สโมสรต่างๆต้องตื่นตัวกับการหารายได้เข้าสโมสร.
การเซ็นต์สปอนเซอร์ใหม่ๆเข้าสโมสรที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าเดิมเช่น Standard Chartered, Warrior (กำลังจะเปลี่ยนเป็น New Balance), และ Garuda Indonesia คือก้าวเล็กๆในยุทธศาสตร์ที่ช่วยพยุงทีมให้ยั่งยืน.
ที่ว่ามานี้เป็นกลยุทธ์เดียวกันที่ใช้กับ Red sox ทีมเบสบอลที่มีสปอนเซอร์รวมเกือบๆ100ราย การดึง Dunkin Donuts, Subway และ Paddy Power เพื่อสร้างฐานแฟนบอลในสหรัฐ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลิเวอร์พูลและเร้ดซ็อคแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สโมสรพยายามอย่างมากที่จะขยายตลาดในอเมริกา และที่ผ่านมาก็มีหลายสโมสรพยายามแล้วพยายามเล่าแต่ก็ล้มเหลว ส่วนFSGนั้นต้องบอกว่าพวกเขาคือเจ้าถิ่นในอเมริกาอยู่แล้ว และผมก็คิดว่าฟุตบอลกำลังโตขึ้นมากๆในตลาดอเมริกา ในอนาคตลิเวอร์พูลอาจจะมีนักเตะจากอเมริกาเข้ามาสู่สโมสร และแน่นอนว่าการไปอเมริกาของกัปตันอเมริกา-สตีเว่นเจอร์ราร์ดจะช่วยได้มาก!
รายได้จากสัญญาใหม่ของการถ่ายทอดทางทีวีจะช่วยเรื่องเงินเป็นอย่างมาก แต่ถึงยังไงก็ช่วยทุกๆสโมสรเช่นกัน ซึ่งนั่นจะช่วยให้สโมสรมีเงินจับจ่ายซื้อนักเตะ ข้อเสียก็คือมันจะทำให้มูลค่านักเตะเฟ้อเกินจริงขึ้นไปอีก ทางที่ดีTV dealใหม่นี้น่าจะเป็นเงินที่เข้าไปช่วยลงทุนเรื่องสร้างรายได้เพิ่มจากการขายตั๋ว(ต่อเติมสนาม)ซะมากกว่า มันดีกว่าที่จะเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อนักเตะราคาแพงเกินจริง.
ณ จุดนี้ สิ่งต่างๆล้วนช่วยสนับสนุนให้สโมสรมีโอกาสประสบความสำเร็จ และมันมีเรื่องราวมากมายที่ดำเนินการกันอยู่เบื้องหลัง และถึงแม้บางอย่างเช่น สารคดี Being Liverpool จะขัดหูขัดตาแฟนบอลก็ตาม แต่มันสำคัญมากหากต้องการจะประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ดูไม่เข้าท่าแต่ก็ละเลยไม่ได้(เหมือนแนะนำสโมสรให้คนอื่นที่ยังไม่รู้จักฟุตบอล)
-โครงสร้างพื้นฐาน-
ก่อนหน้านี้จอห์นเฮนรี่เคยบอกแล้วว่าเขาจะไม่ใจร้อนรับปากเรื่องสนามแข่ง บ้างก็ว่าการขยายสนามเดิมเป็นการกระทำที่ไม่ยั่งยืน แต่จนแล้วจนรอดผลสำรวจในปี2013ก็ชี้ว่า 91%ของแฟนบอลนั้นต้องการให้ใช้สนามเดิมแต่เพิ่มเติมความจุ ซึ่งดูจะมีมนต์ขลังกว่า.
เรากำลังเริ่มทำการปรับปรุงสนามฝั่งเมนแสตนด์ ซึ่งเป็นฝั่งที่ให้ผลดีมากที่สุดอันดับแรก และคงต้องมีการเปลี่ยนชื่อแสตนด์ให้เป็นไปตามผู้สนับสนุน แม้จะมีบางเสียงบอกว่าถ้าเปลี่ยนแล้วคงสูญเสียทางประวัติศาสตร์ แต่อย่าลืมว่าหากต้องการประสบผลดีทางธุรกิจ เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยน.
ท้ายที่สุดแล้วแอนฟิลด์จะจุได้55,000ที่นั่ง และบางสิ่งบางอย่างต้องเปลี่ยนชื่อให้เป็นสากล แต่จุดหมายหลักคือรองรับแฟนบอลให้มากขึ้น สโมสรทำงานร่วมกับกลุ่มก้อนแฟนบอลต่างๆเพื่อขายตั๋วเข้าชมเกมส์สด และจัดราคาให้เหมาะสมกับที่นั่งที่แตกต่างกันไปเพื่อแฟนบอลทุกกลุ่มฐานะ..
แต่บทสรุปของเรื่องนี้คือการได้เห็นการปรับปรุงสนามที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ และน่าตื่นเต้นกับผลระยะยาวที่จะตามมา.
-เยาวชน-
มันง่ายมากหากจะสร้างทีมด้วยการซื้อ ซื้อ ซื้อ แล้วก็ซื้อพวกนักเตะเก่งๆเข้าทีม ใครที่ชอบเล่นเกมส์ FIFA หรือ Football Manager ก็คงจะเก่งถึงขั้นเป็น Director of Footballไปแล้ว แต่ในชีวิตจริงมันไม่ใช่เกมส์ที่พวกท่านเล่นน่ะสิครัช.
สร้างทีมใหญ่จากทีมเยาวชนนั้นเป็นโจทย์ที่หินกว่ามาก ไม่มีวิทยาศาสตร์แขนงไหนการันตีได้ว่าเด็กๆจะดีพอขึ้นสู่ชุดใหญ่ได้ทุกคน.
แต่การให้สโมสรสร้างเยาวชนนับเป็นสัจจะวาจาโดยตรงจากFSG แต่ก็ไม่ได้เหนียวจนห้ามไม่ให้ซื้อใคร ประสบการณ์จากการซื้อผู้เล่นอย่าง Suarez, Carroll, Downing, Henderson และ Adam ทำให้เราได้ Brendan Rodgers เข้ามาคุมทีม.
นี่อาจจะเป็นโชคดีอย่างนึงที่เจ้าของทีมได้เจอการรับน้องไปเพียงเบาะๆ เป็นการช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเด็กปั้นก้าวขึ้นมาเกิดอย่างเช่นสเตอร์ลิ่งและไอบ์ การประเมินราคาของนักเตะหน้าใหม่แบบ Can, Markovic, Coutinho, Sturridge, Moreno และ Manquillo จึงต้องประเมินบนความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย.
การลงทุนกับเยาวชนนั้นต้องใจเย็นกันสักนิด กว่าจะผลิดอกออกผลก็ใช้เวลา2-3ปี เรามีกลุ่มนักเตะเยาวชนที่พร้อมจะโตไปด้วยกัน และมีอะไรดีๆรอให้เราชมอยู่เบื้องหน้า. ภายใต้นโยบายของFSGและร็อดเจอร์สที่วางกันระยะยาว มียุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเยาวชนและเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ตามประสิทธิภาพที่สร้างขึ้น พร้อมๆกับการรักษาแนวทางดั้งเดิมเอาไว้(ปั้นเด็กขึ้นชุดใหญ่)มากกว่าจะทำแบบปรุงสำเร็จรูปทันด่วน.
นั่นคือแนวทางที่ถูกต้องเพื่อฟูมฟักความกระหายของเยาวชนที่รอวันระเบิดฟอร์มบนทีมชุดใหญ่ สโมสรมหาเศรษฐีอื่นๆนิยมซื้อเด็กเทพเก็บไว้ดองด้วยค่าเหนื่อยแพงๆ ซึ่งนั่นคือการลดทอนพัฒนาการของเด็กและโอกาสเติบโตของพวกเขา.
ที่ลิเวอร์พูล คุณจะได้รับโอกาสเสมอหากคุณเจ๋งพอ และคุณจะมีรายได้งามๆเพื่อแลกหยดเหงื่อในระดับที่คุณและสโมสรพอใจ ดังที่คุณเห็นจากซัวเรซและสเตอริดจ์ที่ต่อสัญญากันแบบรุ่นพี่ยังอาย นั่นคือระดับของการตอบแทนที่สโมสรพร้อมมอบให้หากคุณมีพัฒนาการที่ดี.
บางครั้งมันก็ยากนะที่จะมองย้อนอดีตแล้วบอกว่า ทำไมอะไรๆมันไม่เห็นเหมือนช่วง12-18เดือนก่อนหน้านี้น๊อ? ท้ายที่สุดฟุตบอลก็คือผลจากธุรกิจนั่นเอง มันง่ายที่จะตำหนิและกดดันเกี่ยวกับการใช้เงินแบบทิ้งๆขว้างๆเพื่อสร้างทีม การสร้างหนี้ไม่ได้รับประกันว่าจะประสบความสำเร็จนะ.
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับเจ้าของทีมทุกคนคือการรับปากในแผนระยะยาว และต้องก้มหน้ารับคำด่าสาดเสียเทเสียระหว่างทางที่เกิดขึ้นเมื่อผลงานทีมไม่ดี.
-วิสัยทัศน์ระยะยาว-
หน้าที่หลักของร็อดเจอร์สคือการทำตามแผนระยะยาวซึ่งถูกคำนวณความเสี่ยงต่างๆออกมาในหลากหลายรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และเขาต้องเป็นคนพิสูจน์ทฤษฎีเหล่านั้นด้วยตัวเขาเองทั้งหมดว่ามันเป็นจริงตามสมมติฐานที่วางเอาไว้ นั่นคือสิ่งที่เขายอมรับในการว่าจ้างเพื่อตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล.
เหตุผลใหญ่ข้อนึงคือผมเชื่อว่าFSGจะเป็นคนทำให้สโมสรเข้าใกล้ความสำเร็จสูงสุด เพราะเขาไม่กลัวที่จะเดินบนเส้นทางระยะยาว สิ่งที่พวกเขาทำคือการปูทางไปสู่เบื้องหน้าที่สดใส ขณะที่ฟุตบอลสมัยนี้คือบะหมี่ฉีกซองเติมน้ำร้อนทานได้ทันที ผลลัพธ์อาจจะสร้างคุณหรือฆ่าคุณก็ได้ แต่การรับปากว่าจะสร้างทีมระยะยาวนั้นมันไม่เคยง่าย แต่มันก็เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะแข่งกับพวกสโมสรเงินถุงเงินถังได้.
ถ้าคุณคือคนที่รับปากคนอื่นว่าจะทำให้สัมฤทธิ์ผลในระยะยาว คุณก็ต้องไม่วอกแวกหรือสะดุ้งทุกครั้งเหมือนคนไข้โดนค้อนเคาะที่เข่า อย่าไปประหวั่นกับเสียงครหากับผลงานแย่ๆในระยะสั้นเพียงบางครั้ง และอย่าไปเอาอย่างสโมสรใจเร็วด่วนได้ที่ไล่ ไล่ ไล่ แล้วก็ไล่ออกผู้จัดการทีมคนแล้วคนเล่า เพียงเพื่อกลับมาเริ่มต้นที่ศูนย์ใหม่อยู่อย่างนั้น.
บนเส้นทางนี้ไม่ใช่หรือ?ที่เรากำลังเดินกันอยู่ เราลงทุนบนยุทธศาสตร์แห่งเยาวชน เราลงทุนพัฒนาเยาวชนของตนเอง และร็อดเจอร์สเองก็คือโค้ชผู้ฝึกสอนและพัฒนาเยาวชนเหล่านั้น.
มันง่ายมากที่เราจะตกไปบนหลุมพรางแห่งเกมส์การเปลี่ยนผู้จัดการทีม และซีซั่นนี้เองที่พวกเราพากันตกเข้าไปในบ่วงนั้น ร็อดเจอร์สเสี่ยงที่ทดลองใช้และตัดสินใจพลาดอยู่บ่อยครั้ง(ตอนต้นฤดูกาล) แต่ด้วยวัย42ปี, ผู้จัดการทีมวัยนี้ก็ต้องการเวลาเพื่อเรียนรู้และต่อยอดตัวเขาเองเช่นกัน เขายังจะต้องมีบางช่วงในอนาคตที่ต้องเรียนรู้อีก และเขาจะได้รับบทเรียนจากมัน.
ร็อดเจอร์สตอนนี้เหมือนคนที่เริ่มเรียนรู้ เขาเผชิญหน้ากับความท้าทายในซีซั่นนี้ แต่เขาก็พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเขาพร้อมจะเปลี่ยนความคิดเพื่อหาทางออกแก้ไขกับปัญหา ผมคิดว่าผู้จัดการทีมหรือโค้ชคนใดก็ตามที่อยู่ใต้FSGย่อมต้องการทำแบบนี้ เพื่อเริ่มเรียนรู้ก่อนที่จะเดินอย่างมั่นคง.
ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเป็นเช่นไร หรือวิสัยทัศน์ระยะยาวที่ว่านี้จำเป็นต้องนำมาทบทวนกันดูอีกสักครั้งมั้ย แต่ผมมั่นใจว่าร็อดเจอร์สนี่แหละคือคนที่เหมาะจะเป็นผู้นำบนเส้นทางเดินแบบนี้ เขามีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นสุดยอดผู้จัดการทีมในอนาคต เพียงแต่ตอนนี้ต้องอดทนต่อเป้าหมายระยะยาวเท่านั้นเอง.
-บทสรุป-
มันยังเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าFSGคือคนที่ให้โอกาสเราสำเร็จมากที่สุด แต่พอพูดได้ว่าเขาคือคนที่มอบนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อผลักดันลิเวอร์พูลไปข้างหน้า ในอนาคตก็คงมีบ้างที่เจ้าของทีมไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะต้องพบเจอช่วงวิกฤตศรัทธา และมันก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องซะด้วยหากแฟนบอลจะช่วยกันสะท้อนเรื่องย่ำแย่เหล่านั้น ด้วยเหตุผลว่าแฟนบอลคือกลุ่มคนที่เป็นหุ้นส่วนใหญ่ที่มอบรายได้เข้าสู่ทีม แต่มันจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าหากเรามองภาพให้กว้างขึ้นแล้วค่อยตัดสินว่าใครเป็นยังไง.
แม้ว่าจะมีเจ้าของทีมคนอื่นๆที่พร้อมทำทุกอย่างเอาใจแฟนบอลก็ตาม แต่FSGก็แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาพยายามที่จะฟังเสียงจากแฟนบอล นั่นเป็นเรื่องที่น่ายินดีและหวังว่าจะเป็นเส้นทางที่แตกต่างและเร่งให้เราไปสู่ผู้นำทางธุรกิจฟุตบอล.
Credit : Si Steers, This is Anfield
แปลโดย : คุณ Pitbull จาก http://www.thekop.in.th/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=156915