มาลองอ่านแนวความคิดในการสร้างงานอนิเมชั่นจากบทสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์และผู้เขียนบท "แม่มดน้อยโดเรมี" กัน

ทุกครั้งที่เห็นกระทู้ที่พูดคุยเกี่ยวกับว่าทำไมละคร, ภาพยนต์หรือแม้แต่อนิเมชั่นของไทยถึงสู้ของต่างชาติไม่ได้สักที
หนึ่งในความเห็นที่หลาย ๆ คนตอบออกมาอย่างเป็นเอกฉันท์ก็คือเรื่องของ "บท"

     ถ้าอย่างนั้นแล้วคนต่างประเทศเค้าคิดกันแบบไหนล่ะถึงเขียนบทออกมาได้สนุกสนานชวนติดตาม
เรามาลองศึกษาทัศนะคติในการสร้างงานอนิเมชั่นสำหรับเด็กจากบทสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์และผู้เขียนบท "แม่มดน้อยโดเรมี" กันค่ะ

    บทสัมภาษณ์ชุดนี้เราคัดลอกตัดตอนมาจากบทแปลในท้ายเล่มของหนังสือการ์ตูน "แม่มดน้อยโดเรมี" ของสำนักพิมพ์บงกช[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(ใครมีเล่มภาคสองอยากปล่อยต่อหรือเห็นวางขายที่ไหนบอกเราด้วยนะคะTvT)
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าข้อความนี้ตัดตอนมาจากหนังสือการ์ตูนทำให้ไม่มั่นใจในเรื่องลิขสิทธิ์
ถ้าหากมีปัญหาในส่วนนี้รบกวนแจ้งเข้ามาได้เลยนะคะ จะลบออกให้ทันทีเลยค่ะ

สัมภาษณ์โปรดิวเซอร์เซกิ

เราจะไปคุยกับเซกิซังผู้สร้างการ์ตูนเรื่อง "แม่มดน้อย โดเรมี" กันว่าเธออยากจะให้การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นแนวไหน

เวทมนตร์ของโดเรมีเอามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา

อมยิ้ม19เรื่อง  "แม่มดน้อย โดเรมี" นี่ สร้างขึ้นมาได้ยังไงคะ

เซกิซัง    :
    ตอนแรกเลย เราก็ไปศึกษากันก่อนว่า เด็กประถม 3 ทั่ว ๆ ไปน่ะ เขาคิดอะไรกันอยู่ เขาร้องไห้กับเรื่องอะไร หัวเราะกับเรื่องอะไร
เขาชื่นชมแล้วก็ตื่นเต้นกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษเราก็เข้าใจเด็กมากขึ้น อย่างเช่น เด็กเขาจะดีใจมากเวลาได้เปลี่ยนจากขี่จักรยานสามล้อ
มาเป็นรถจักรยานสองล้อ หรืออย่างเวลาทำการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์แล้วกระดาษลิตมัสสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
สีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดง เขาจะตื่นเต้นเวลาได้เป็นเพื่อนกับคนเด่นคนดังหรือดารา อย่างนี้เป็นต้น

     เราได้รู้อะไรเยอะว่าเด็กขนาดวัยป.3ทั่ว ๆ ไปเขาเป็นยังไงกัน นอกจากนี้จากการสำรวจก็ทำให้เรารู้ว่าเด็ก ๆ วัยขนาดนี้
เขาชอบอาชีพอะไร รู้ว่าเรื่องที่เขาเห็นว่าเป็นทุกข์ที่สุดก็คือ "การทะเลาะกับเพื่อนหรือเวลาที่ต้องลาจากกัน"
เราก็เลยเอาข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างตัวเอกของการ์ตูนเรา โดยให้เป็นนักเรียนป.3ทั่ว ๆ ไป
เด็ก ๆ เหล่านั้นจะใช้เวทมนตร์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไปของเด็กประถม
การ์ตูนเรื่องนี้ก็เริ่มมาจากจุดนั้นล่ะค่ะ เราสร้างเรื่องนี้ขึ้นมาโดยพยายามไปยืนตรงจุดที่ว่าเด็กป.3หรือเด็กที่อายุน้อยกว่านั้น
เขาคิดว่าเวทมนตร์คืออะไร  แล้วเราก็คิดเวทมนตร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือความทุกข์ใจต่าง ๆ
ของเด็กผู้หญิงวัยป.3ขึ้นมา นั่นแหละค่ะคือจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่อง  "แม่มดน้อย โดเรมี"

ตัวการ์ตูนโดเรมี เกิดขึ้นมาจากความคิดของทุก ๆ คน

อมยิ้ม19แล้วตอนนั้นคุยกันยังไงคะ ว่าเราอยากจะสร้างตัวเอกให้เป็นแบบนี้

เซกิซัง    :
     สำหรับตัวเอกของการ์ตูนนี่ เราก็คุยกันกับเจ้าหน้าที่ทุกคนแล้วตัดสินออกมาให้เป็นแบบที่เห็นโดยอาทิตย์นึง
เราจะมารวมตัวกันประมาณ 1 ครั้ง แล้วก็ช่วยกันคิดว่าจะให้ตัวเอกของเราเป็นเด็กแบบไหนดี แล้วก็สรุปออกมาได้อย่างนี้ล่ะค่ะ
เราไม่ได้คิดแต่ว่าจะให้โดเรมีจังออกมาเป็นเด็กแบบไหนเท่านั้น แต่เราคิดไปถึงว่าตัวละครทุกตัว ทั้งโดเรมีจัง ฮาสึกิจัง
ไอโกะจังเนี่ย จะต้องเป็นแบบไหนถึงจะออกมาสมดุลที่สุด และทำยังไงถึงจะทำให้ผู้ชมรู้สึกอินไปกับตัวละครแต่ละตัวได้ด้วย
เราตั้งใจให้มันออกมาเป็นการ์ตูนที่ไม่ใช่ว่าคนดูจะต้องชอบตัวเอกของเรื่องเพียงคนเดียว บางคนอาจจะบอกว่าหนูชอบไอโกะจัง
บางคนอาจจะคิดว่า เรานี่คล้าย ๆ ฮาสึกิจังเลยเนอะ แล้วพวกโดเรมีก็เป็นเด็กแบบที่เราคิดแล้วว่ามีอยู่ได้จริงรอบ ๆ ตัวของทุกคน
นี่แหละ เราก็อยากให้การ์ตูนเรื่องนี้อยู่นาน ๆ นะคะ ตอนแรกก็เลยฉายทีละนิด ๆ (หัวเราะ)
แล้วตอนหลังเราก็ค่อย ๆ เพิ่มอะไรมากเข้าไปเรื่อย ๆ

อยากให้มองโดเรามีตรงจุดนี้

อมยิ้ม19อยากให้แฟน ๆ เขามอง "โดเรมี" ตรงจุดไหนคะ

เซกิซัง    :
     อันดับแรกเลย อยากให้ดูความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนแล้วก็กับพ่อแม่คนใกล้ตัว ดูว่าเวลาที่เขามีปัญหา
หรือทะเลาะกับคนพวกนี้เนี่ยเขาแก้ปัญหายังไง หรือเวลาที่เขาเห็นเด็กคนอื่นไม่มีเพื่อนเราควจจะช่วยเขายังไง
ดู ๆ มันอาจจะเป็นเรื่องพื้น ๆ ธรรมดา ๆ นะคะ แต่ถ้าน้อง ๆ เกิดทะเลาะกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนหรือทะเลาะกับพ่อแม่
ขอให้น้อง ๆ ดูโดเรมีไว้เป็นตัวอย่าง ถ้าน้อง ๆ รู้จักที่จะพูดคำว่า "ขอโทษ" ก็จะดีมากเลยค่ะ

ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้


มาคุยกับผู้ดูแลบท ยามาดะ ทาคาชิซัง กันดีกว่า

เบื้องหลังต่างๆมากมายจากคำบอกเล่าของยามาดะซัง ผู้ดูแลบทเรื่อง "โดเรมี" และสร้างออกมาเป็นการ์ตูน

อยากให้เด็ก ๆ ที่ดูการ์ตูนเรื่องนี้มีจิตใจอ่อนโยน

อมยิ้ม19ตอนทำการ์ตูนเรื่องนี้ออกมา ตั้งใจว่าจะให้ออกมาในรูปแบบไหนคะ

ยามาดะซัง     :
     ผมเคยทำการ์ตูนเรื่อง "Yume no Crayon Oukoku" ร่วมกับผู้กำกับซาโต้มาแล้ว คราวนี้เลยคิดว่าอยากจะ
ทำการ์ตูนที่มันออกแนวใกล้เคียงละครให้มากกว่าYume no Crayon Oukoku เราคงจะเห็นกันแล้วว่าเดี๋ยวนี้
มีคดีที่เด็ก ๆ เข้าไปพัวพันมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กที่กระด่าง ซึ่งผมรู้สึกแย่มากเวลาที่อ่านหนังสือพิมพ์หรือดูข่าว
ก็รู้สึกว่าถ้าเด็ก ๆ เป็นแบบนี้ สังคมเราจะต้องแย่แน่ ๆ ผมว่ารายการเด็กต่าง ๆ ก็น่าจะช่วยทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ตัวผมเองก็ทำการ์ตูนมาหลายเรื่อง ซึ่งก็จะออกแนวเกินธรรมดาไปซะเยอะ คราวนี้ก็เลยคิดว่าอยากสร้างตัวการ์ตูนธรรมดา ๆ
ที่มีจิตใจอ่อนโยนขึ้น

อมยิ้ม19ในส่วนคาแรกเตอร์ของตัวละคร ไอโกะจังค่อนข้างจะรับบทชีวิตหนักนะคะ

ยามาดะซัง :
     ตอนแรกเราก็คิดว่าจะให้ใครรับบทนี้ไปดี ผู้กำกับซาโต้บอกว่าอยากให้เป็นโดเรมี ส่วนผู้กำกับอิงาราชิบอกว่า
ให้เป็นฮาสึกิดีกว่าซึ่งถ้าดูจากนิสัยของ 2 คนนี้แล้วก็ดูน่าจะเป็นอย่างนั้น (หัวเราะ) ปกติแล้วบทแบบนี้
เขาจะไม่ค่อยให้กับเด็กที่เข้มแข็งอย่างไอโกะใช่ไหมครับผมเลยคิดว่ามันน่าลองนะ ท้าทายดี ผมก็เลยเลือกไอโกะ
ผมคิดว่าจะให้ไอโกะค่อย ๆ แก้ปัญหาครอบครัวไปทีละเล็กละน้อย เป็นแบบระยะยาวไปจนกว่าจะจบเรื่อง
ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะช่วยสั่งสมให้จิตใจของไอโกะจังเติบโตตามไปด้วย

ครอบครัวของไอโกะจัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ผมเน้นเรื่องทัศนคติของเด็ก
ยามาดะซัง :
    โลกของ "โดเรมี" นั้นเป็นโลกเหนือจินตนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ของโดเรมีก็เป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติ
ขนาดที่ผมเองนี่เทียบไม่ติดเลย ซึ่งเราต้องแสดงภาพของผู้ใหญ่เหล่านั้นออกมาให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้
สายตาของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่เปลี่ยนไปได้ ถ้าเราให้เด็ก ๆ เห็นแต่ภาพของผู้ใหญ่ที่ใช้ไม่ได้ เด็ก ๆ ก็จะคิดไปว่า
ในโลกนี้มีแต่ผู้ใหญ่แบบนั้น ซึ่งอาจจะมีผลให้การดำเนินชีวิตของเด็กผิดเพี้ยนไปได้ ในเรื่อง "แม่มดน้อย โดเรมี"
ผู้ใหญ่ทุกคนจะเป็นคนดีหมด อย่างคุณครูเซกินั่นก็เหมือนกัน ซึ่งถ้าเราไม่ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจเช่นนี้
ภาพของครูในความคิดของเด็ก ๆ ก็อาจจะมีอยู่เท่าที่ตัวเองประสบเท่านั้น เราไม่จำเป็นต้องไปยัดเยียดให้เด็ก ๆ รู้สึก
แต่เขาจะเข้าใจได้เอง ให้เด็ก ๆ รู้ว่าไม่ใช่เขาเป็นเด็กแล้วจะต้องมีคนมาเอาอกเอาใจ แต่เราต้องให้ความสำคัญกับเขา
ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ผู้ใหญ่ในเรื่องนี้จะมองเด็ก ๆ แบบนั้น และไม่ว่าตัวละครตัวไหนก็มีวิถีชีวิต
เป็นของตนเองทั้งสิ้น

อมยิ้ม19ตอนเขียนเรื่อง "แม่มดน้อย โดเรมี" คุณเน้นจุดไหนเป็นพิเศษคะ?

ยามาดะซัง :
     ผมเน้นเรื่องทัศนคติของเด็กเป็นพิเศษ โดยพยายามให้เกี่ยวข้องกับชีวิตในโรงเรียนด้วย ผมลองใช้อินเตอร์เน็ต
หาข้อมูลดู ก็เลยรู้ว่าเดี๋ยวนี้มีเด็กที่ชอบอะไรแปลก ๆ เยอะ ซึ่งเราก็จับจุดนั้นมาใส่เข้าไปในเรื่องด้วย เรื่องเวทมนตร์ต่าง ๆ
ก็เป็นเรื่องในจินตนาการ เพราะฉะนั้นเราต้องใส่ความเป็นจริงเข้าไปด้วย อย่างตัวละครแต่ละตัวก็จะมีรายละเอียดเจาะลึกลงไป
แล้วก็ยังมีเรื่องภาษา ปัจจุบันนี้ภาษาเริ่มวิบัติไปมาก ผมพยายามจะไม่ให้พวกโดเรมีใช้ภาษาเหล่านี้เลย
จะมีก็แค่อมปุซึ่งรับบทเป็นดารา จึงมีคำพูดแสลง ๆ หลุดออกมาบ้าง แต่ก็แค่เล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
ผมพยายามจะใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องให้มากที่สุดครับ

อยากให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกสนานตื่นเต้นไปกับพวกโดเรมีด้วย

อมยิ้ม19อยากให้เด็ก ๆ ดูการ์ตูนเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกแบบไหนคะ

     ผมคิดว่าถ้าเด็ก ๆ ดูการ์ตูนแล้วเพลิดเพลินคล้อยตามเรื่องไปจะสนุกที่สุด อย่าไปตั้งใจดูอย่างลึกซึ้งเลยครับ (หัวเราะ)
เรื่องเป็นยังไงก็ให้เรารู้สึดไปตามนั้นดีกว่า อย่างตอนแรกที่อมปุออกโรงมานี่ จะมีคนเกลียดเยอะเลย
แต่ตอนนี้กลายเป็นคนโปรดของเด็ก ๆ พอ ๆ กับโดเรมีไปแล้ว อมปุเขาเป็นดาราอยู่ในโลกมายาก็เลยทำตัวค่อนข้าง
เป็นผู้ใหญ่กว่าคนอื่น แต่จริง ๆ แล้วเรื่องจิตใจเขาเป็นเด็กที่สุดเลยครับ โดเรมีนี่เป็นเด็กซุ่มซ่ามแล้วก็บ๊อง ๆ
แต่เขามีพรสวรรค์ตรงที่สามารถเข้ากับทุก ๆ คนได้ ฮาสึกิเป็นนักเรียนยอดเยี่ยม แต่ก็เป็นคนใจดีและมีน้ำใจกับคนอื่น
สำหรับไอโกะนี่ท่าทางน่ากลัวหน่อย ๆ หรือเปล่านะ (ฮะฮะฮะ) พูดเล่นน่ะครับ จริง ๆ แล้วเขาเป็นตั้งใจจริง
และมีความมุ่งมั่นสูง ผมเขียนถึงเด็ก ๆ เหล่านี้ด้วยความรู้สึกเหมือนเขาเป็นลูกสาวจริง ๆ
ถ้าเด็ก ๆ ที่ดูคิดว่าเขาเป็นเพื่อนของตัวเองจริง ๆ และสนุกสนานตื่นเต้นไปกับพวกเขาด้วย ผมจะดีใจมากเลยครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่