สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๔. ภยเภรวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว
บางส่วน -
[๓๐] ภ. ดูกรพราหมณ์ แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ก่อนตรัสรู้ทีเดียว
ได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ
ที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่าจะชักพาใจ
ของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย.
[๓๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ
ของตน คือ มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ. ส่วนเรามีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใด มีกายกรรม
บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็
เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในตน
จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
....
[๔๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่
กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร
เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ โดยสมัยอื่น เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน
ที่กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูกร
พราหมณ์ ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัด
ใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ความกลัวและความขลาดนั่น
นั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ
ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึง
กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย ดังนี้.
ดูกรพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้กำลังเดินจงกรมอยู่. เรานั้น
จะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบที่เรายังเดินจงกรมอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่เดิน
จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบเท่าที่เรายังยืนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน
ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนั่งอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่
นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๑๗ - ๗๕๑. หน้าที่ ๒๓ - ๓๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=517&Z=751&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=27
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[27-52] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=12&A=27&Z=52
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๔. ภยเภรวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว
บางส่วน -
[๓๐] ภ. ดูกรพราหมณ์ แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ก่อนตรัสรู้ทีเดียว
ได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ
ที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่าจะชักพาใจ
ของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย.
[๓๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ
ของตน คือ มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ. ส่วนเรามีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใด มีกายกรรม
บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็
เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในตน
จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
....
[๔๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่
กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร
เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ โดยสมัยอื่น เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน
ที่กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูกร
พราหมณ์ ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัด
ใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ความกลัวและความขลาดนั่น
นั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ
ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึง
กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย ดังนี้.
ดูกรพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้กำลังเดินจงกรมอยู่. เรานั้น
จะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบที่เรายังเดินจงกรมอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่เดิน
จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบเท่าที่เรายังยืนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน
ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนั่งอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.
ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่
นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๑๗ - ๗๕๑. หน้าที่ ๒๓ - ๓๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=517&Z=751&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=27
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[27-52] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=12&A=27&Z=52
แสดงความคิดเห็น
ตอนเจ้าชายสิทธัตถะ บรรพชา ขณะอยู่ในป่าย่อมเกิดความกลัว พระองค์ทำอย่างไร