พามาเที่ยวPeranakan museum@singapore

กระทู้สนทนา
รีวิวนี่ช้าหน่อยนะคะ ไปมาตั้งแต่ปี56 เพราะไปงานแต่งเพื่อนที่สิงคโปร์เห็นเพื่อนใส่ชุดเจ้าสาวบาบ๋าย่าหยา ก่อนไปดูจากละครช่องtpbsเรื่องทอผ้าชีวิตไรเนี่ยแหละ ไปแล้วอินอยากรู้เป็นไง ว่างเลยไปดูค้ะ ว่าวัฒนธรรมเค้าเป็นแบบไหน คำจำกัดความสำหรับเรา บาบ๋ายาหยาคืออะไร คือชนชาติจีนหรือชนชาติอื่นๆมาผสมกับพื้นเมือง แบ่งเป็นหลากหลายประเภท ตาทความเข้าใจคนทั่วไป อารมณ์จันผสมมาเลหรือแบบจีนในภูเก็ตที่สมียก่อนมีค่ะ สถาปัตยกรรมจะเป็นแบบชิโนโปรตุกีส
ทำไมถึงมาที่นี่ บอกเลยค่ะ คนไทยไปเที่ยวสิงคโปร์ส่วนใหญ่universal,marina bay พวกมิวเซียมนี่ไม่ค่อยไปกัน เราเป็นพวกบ้ามิวเซียมไปตระเวณมาคนเดียวแบบงูๆปลาๆ อยู่ครึ่งวันเก็บมาได้ห้าที่ จะค่อยๆรีวิวไปละกัน



ตามประวัติของPeranakun museum ในวิกิ
พิพิธภัณฑ์ปรานากัน (อังกฤษ: Peranakan Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ในสิงคโปร์ที่จัดแสดงวัฒนธรรมปรานากันโดยเฉพาะ เดิมเคยเป็นพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียสาขาแรก เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของโลกที่จัดแสดงวัฒนธรรมปรานากันในสิงคโปร์และนิคมช่องแคบอื่นๆในมะละกาและปีนังในอดีต และชุมชนปรานากันอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ตั้งอยู่ในอาคาร Old Tao Nan School ที่ถนนอาร์เมเนียน ใช้เป็นส่วนจัดแสดงเพิ่มเติมจากศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย หรือที่ต่อมารู้จักกันว่า ACM 1[1] ได้ปิดสาขาที่ถนนอาร์เมเนียนเพื่อปรับปรุงครั้งใหญ่ ซึ่งขณะที่ปิดนั้น ฝ่ายจัดการพิพิธภัณฑ์ได้เลือกวัฒนธรรมปรานากันมาเป็นหัวข้อใหม่ในการจัดแสดงในอาคาร Tao Nan School โดยหัวข้อที่ได้รับการพิจารณาด้วยคือ พิพิธภัณฑ์เด็ก และพิพิธภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาจีน ทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุและเครื่องใช้ของชาวปรานากันที่มีเอกลักษณ์และครอบคลุมมากที่สุดในโลก แต่ละปีมีผู้เข้าชมราว 112,000 คน หลังจากปรับปรุง ทำให้มีพื้นที่จัดแสดงมากขึ้นร้อยละ 25 สำหรับจัดแสดงแง่มุมต่างๆ ของบ้านและวิถีชีวิตแบบปรานากัน และยังมีแผนการสร้างร้านอาหารและร้านค้าแบบปรานากันที่ห้องแถวสี่คูหาติดกับอาคารพิพิธภัณฑ์[2]
พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยห้องจัดแสดงถาวร 10 ห้องที่จัดแสดงวิถีชีวิตของชาวเปรานากัน จุดสำคัญของพิพิธภัณฑ์คือ เตียงงานแต่งงานแบบปรานากัน ที่เคยเป็นของ Mrs. Quah Hong Chiam จากปีนัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่