ข่าวลงว่า
" เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เกี่ยวกับการดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ จากเดิมที่เน้นให้ทุนนักเรียนสายสามัญไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ มาให้เป็นเน้นให้ทุนการศึกษาเด็กสายอาชีวศึกษา โดยมีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มาเป็น โครงการช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ เป็นโครงการระยะยาว 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558-2572 โดยให้ทุนเด็กทั้งหมด 5 รุ่น รวม 2,000 ทุน แบ่ง 3 ระยะคือ ทุนระยะสั้น ใช้เวลาเรียน 6 เดือน-2 ปี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.ให้ทุนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี จำนวน 500 ทุน เน้นการผลิตช่างเทคนิคแบบพิเศษ เพื่อไปเรียน ในต่างประเทศ 2.ให้ทุน ปวส.อบรมระยะสั้น 6 เดือน 400 ทุนเพื่อต่อยอดเป็นช่างเทคนิคที่ตรงกับความต้องการของประเทศ 3.ให้ทุน ปวส.2 ปี เพื่อเรียนปริญญาตรีเป็นนักเทคโนโลยี จำนวน 100ทุน 4.ให้ทุนปริญญาตรี อบรมระยะสั้น 6 เดือน ต่อยอดวิชาชีพเฉพาะ เพื่อเป็นครูเฉพาะทาง จำนวน 100ทุน และ 5.ให้ทุนเรียนปริญญาโท 2 ปี ไปเรียนต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นครูอาชีวศึกษา จำนวน150 ทุน
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ทุนระยะกลาง แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ให้ทุน ปวช.3 หรือ มัธยมศึกษาปีที่6 มาเรียนปริญญาตรี 4 ปี แบ่งเป็น ปวส.2 ปี และปริญญาตรี 2 ปี จำนวน 400 ทุน เรียนในประเทศ 200 ทุน และต่างประเทศ 200ทุน และ 2.ให้ทุน ปวส.มาเรียนปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาโท 2 ปี รวมเป็น 4 ปี โดยเรียนต่างประเทศทั้งหมด 100 ทุน จบมาเป็นครูอาชีวศึกษา และ ให้ทุนระยะยาว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ให้ทุน ม.3 มาเรียนปวช.,ปวส., ปริญญาตรี รวม 7 ปี จำนวน 200 ทุน เรียนในประเทศ 100 ทุนและต่างประเทศ 100 ทุน และ 2.ให้ทุน ม.3 เรียนปวช. ,ปวส., ปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 9 ปี จำนวน 50 ทุน เรียนต่างประเทศทั้งหมดจบมาเป็นครูอาชีวศึกษา ทั้งนี้ทุนที่ให้จะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน ค่าประกันสุขภาพ ค่าเล่าเรียน และเรียนปรับพื้นฐานในภาษาต่างประเทศ และวิชาการต่างๆ รวมถึงค่าฝึกพัฒนาทักษะวิชาชีพ ซึ่งวงเงินทุนการศึกษาจะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เฉลี่ย 500,000-1,500,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ผู้ที่รับทุนเรียนระยะยาวจะเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงสาขาที่เรียนได้ โดยมีคณะกรรมการดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนสาขาขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อร่วมพิจารณา
“ที่ประชุมเห็นว่าในการดำเนินโครงการจะต้องมีสำนักงานบริหารโครงการฯ เพื่อดูและในภาพรวมของโครงการ ทั้งหลักสูตร การดูแลประสานงานช่วยเหลือเด็ก รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรองรับเด็กเข้าทำงานหลังเรียนจบ เพราะทุนนี้ไม่ใช่ทุนให้เปล่าแต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานภายในประเทศ และมีเพียง 300 ทุนที่จบระดับปริญญาโทที่จะต้องมาเป็นครูอาชีวะ สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นงบประมาณเดิมจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนที่ยังเหลืออยู่” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ที่ประชุมได้มอบให้ สอศ.ไปพิจารณาในรายละเอียด โดยที่จะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมองค์กรหลัก ศธ.พิจารณาและนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป "
ที่มา :
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422876960
โครงการนี้ถ้าจำไม่ผิด เป็นนโยบายของอดีตนายกทักษิณ เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งแต่ละปีมอบทุน ประมาณ 2000 ทุน เปลี่ยนมาให้เป็นระยะ 10 กว่าปีต่อ 2000 ทุน
โครงการนี้จะต้องปิดฉากลงจริงๆหรือนี่ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ?
ชงเปลี่ยนชื่อโครงการ 1อำเภอ1ทุน เป็นโครงการ "ช่างเทคนิคและบัณฑิตปฏิบัติการ"
" เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เกี่ยวกับการดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ จากเดิมที่เน้นให้ทุนนักเรียนสายสามัญไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ มาให้เป็นเน้นให้ทุนการศึกษาเด็กสายอาชีวศึกษา โดยมีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มาเป็น โครงการช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ เป็นโครงการระยะยาว 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558-2572 โดยให้ทุนเด็กทั้งหมด 5 รุ่น รวม 2,000 ทุน แบ่ง 3 ระยะคือ ทุนระยะสั้น ใช้เวลาเรียน 6 เดือน-2 ปี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.ให้ทุนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี จำนวน 500 ทุน เน้นการผลิตช่างเทคนิคแบบพิเศษ เพื่อไปเรียน ในต่างประเทศ 2.ให้ทุน ปวส.อบรมระยะสั้น 6 เดือน 400 ทุนเพื่อต่อยอดเป็นช่างเทคนิคที่ตรงกับความต้องการของประเทศ 3.ให้ทุน ปวส.2 ปี เพื่อเรียนปริญญาตรีเป็นนักเทคโนโลยี จำนวน 100ทุน 4.ให้ทุนปริญญาตรี อบรมระยะสั้น 6 เดือน ต่อยอดวิชาชีพเฉพาะ เพื่อเป็นครูเฉพาะทาง จำนวน 100ทุน และ 5.ให้ทุนเรียนปริญญาโท 2 ปี ไปเรียนต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นครูอาชีวศึกษา จำนวน150 ทุน
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ทุนระยะกลาง แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ให้ทุน ปวช.3 หรือ มัธยมศึกษาปีที่6 มาเรียนปริญญาตรี 4 ปี แบ่งเป็น ปวส.2 ปี และปริญญาตรี 2 ปี จำนวน 400 ทุน เรียนในประเทศ 200 ทุน และต่างประเทศ 200ทุน และ 2.ให้ทุน ปวส.มาเรียนปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาโท 2 ปี รวมเป็น 4 ปี โดยเรียนต่างประเทศทั้งหมด 100 ทุน จบมาเป็นครูอาชีวศึกษา และ ให้ทุนระยะยาว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ให้ทุน ม.3 มาเรียนปวช.,ปวส., ปริญญาตรี รวม 7 ปี จำนวน 200 ทุน เรียนในประเทศ 100 ทุนและต่างประเทศ 100 ทุน และ 2.ให้ทุน ม.3 เรียนปวช. ,ปวส., ปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 9 ปี จำนวน 50 ทุน เรียนต่างประเทศทั้งหมดจบมาเป็นครูอาชีวศึกษา ทั้งนี้ทุนที่ให้จะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน ค่าประกันสุขภาพ ค่าเล่าเรียน และเรียนปรับพื้นฐานในภาษาต่างประเทศ และวิชาการต่างๆ รวมถึงค่าฝึกพัฒนาทักษะวิชาชีพ ซึ่งวงเงินทุนการศึกษาจะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เฉลี่ย 500,000-1,500,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ผู้ที่รับทุนเรียนระยะยาวจะเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงสาขาที่เรียนได้ โดยมีคณะกรรมการดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนสาขาขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อร่วมพิจารณา
“ที่ประชุมเห็นว่าในการดำเนินโครงการจะต้องมีสำนักงานบริหารโครงการฯ เพื่อดูและในภาพรวมของโครงการ ทั้งหลักสูตร การดูแลประสานงานช่วยเหลือเด็ก รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรองรับเด็กเข้าทำงานหลังเรียนจบ เพราะทุนนี้ไม่ใช่ทุนให้เปล่าแต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานภายในประเทศ และมีเพียง 300 ทุนที่จบระดับปริญญาโทที่จะต้องมาเป็นครูอาชีวะ สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นงบประมาณเดิมจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนที่ยังเหลืออยู่” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ที่ประชุมได้มอบให้ สอศ.ไปพิจารณาในรายละเอียด โดยที่จะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมองค์กรหลัก ศธ.พิจารณาและนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป "
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422876960
โครงการนี้ถ้าจำไม่ผิด เป็นนโยบายของอดีตนายกทักษิณ เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งแต่ละปีมอบทุน ประมาณ 2000 ทุน เปลี่ยนมาให้เป็นระยะ 10 กว่าปีต่อ 2000 ทุน
โครงการนี้จะต้องปิดฉากลงจริงๆหรือนี่ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ?