เมื่อคืนนี้มีงานประกาศผู้เข้าชิง Oscars และคงจะไม่มีอะไรช็อคมากไปกว่า การที่ “The Lego Movie” ไม่ได้เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้เพียงสาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม “Everything Is Awesome” กรรมการที่ขึ้นชื่อว่า very white, very old จะหมดความน่าเชื่อถือ หรือจริงๆแล้วมันมีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่
1. คนวงในเลือกผู้เข้าชิง
ออสการ์ให้คนที่ทำงานในสาขานั้นๆเป็นคนเลือกผู้เข้าชิง สำหรับคนดูทั่วไป “The Lego Movie” อาจเป็นหนังอนิเมชั่นอันดับต้นของปี ทำเงินมากกว่า 257 ล้านเหรียญ แถมคำวิจารณ์ด้านบวกบนเว็บมะเขือเน่ายังสูงถึง 96% แต่สำหรับคนในวงการอนิเมชั่นนี่อาจไม่ใช่หนังที่พวกเขาอยากยกย่อง
2. การจำกัดจำนวนผู้เข้าชิงทำให้การแข่งขันสูงมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น
ปี 2001 เมื่อครั้งออสการ์ตั้งรางวัลสาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยม ยังต้องพ่วงกฎว่าถ้าปีนั้นมีหนังเข้าฉายน้อยกว่า 8 เรื่อง จะไม่มีการมอบรางวัล แต่ทุกวันนี้มีหนังเข้าชิงที่ว่างทั้ง 5 ถึง 20 เรื่อง
3. วิธีโหวตที่ไม่เหมือนใคร
สาขาอนิเมชั่นใช้วิธีให้คะแนน แบบเต็มสิบ หนัง 5 เรื่องที่ได้รับคะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้เข้าชิง เพราะฉะนั้นหนังแต่ละเรื่องจะมีสิทธ์ที่ถูกให้คะแนนเหมือนดูกีฬาอย่างยิมนาสติกลีลา ที่ต้องเน้นโชว์เทคนิคเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันสาขาอื่นใช้วิธีเลือกผู้เข้าชิงจากการถูกเลือกเป็นที่หนึ่งมากที่สุด ทำให้มีโอกาสกับหนังที่แตกต่างและแปลกใหม่มากกว่า
4. งานทำมือเจ๋งกว่างานทำคอม
นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่คู่หูผู้กำกับ Phil Lord และ Chris Miller โดนเบียดออกจากเส้นทางลุ้นรางวัลตัวนี้จากหนังอนิเมชั่นที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2009 เมื่อ “Cloudy With a Chance of Meatballs” โดนเขี่ยทิ้งโดย “The Secret of Kells” หนังอินดี้ตำนานไอริช ที่จัดจำหน่ายโดยค่ายอย่าง GKids ที่ปีนี้ทำหนังเข้าป้ายถึง 2 เรื่อง คือ “Song of the Sea” (ผู้กำกับเดียวกับ Kells) and “The Tale of Princess Kaguya” (งานของปรมาจารย์ทางฝั่งญี่ปุ่นอย่าง Isao Takahata) เท่านั้นจะไม่พอยังมีงานสต็อบ-โมชั่นที่เปรียบเสมือนงานลูกรักของคนสายนี้ จากค่าย Laika ที่ปีนี้ส่ง “The Boxtrolls” มา ก็ยังได้ชิงอีก ขณะเดียวกันงานสร้างสรรค์จากคอมอย่าง Lego ก็ดูเหมือนจะสร้างมาเพื่อหยิกแกมหยอกหนังสต็อบ-โมชั่นลูกรักของเขาซะอีก
5. งานตามขนบและเรื่องราวคลาสสิคมักชนะ
“Song of the Sea,” “Princess Kaguya” และ “Boxtrolls” ได้เข้าชิงแน่นอน สุดท้ายก็เหลือเพียง 2 ช่องว่างสำหรับอนิเมชั่น 17 เรื่อง มุขตลก จังหวะที่รวดเร็ว การล้อเลียนอาจทำให้คนทั่วไปหลงรัก Lego ขณะเดียวกันมันอาจเป็นสองคมสำหรับรางวัลนี้ หนังแนวตลกแทบไม่เคยเข้าชิงราวัลออสการ์เลย (ไม่ต้องมองแค่สาขาอนิเมชั่นก็ได้ สาขาหนังยาวเองก็แทบไม่มี) แล้ว “Big Hero 6” กับ “How to Train Your Dragon 2” ทั้งคู่เป็นหนังตามขนบ มีเรื่องราวกินใจ จากค่ายหนังที่มีความสำพันธ์กับคนในวงการมายาวนาน คงไม่แปลกอะไรที่พวกเขาจะเลือกทั้งคู่มากกว่า Lego
ที่มา
https://basicbaldguy.wordpress.com/2015/01/16/oscar-snub-lego-movie-best-animation/
5 เหตุผลที่ทำให้ Oscars มองข้าม The Lego Movie
เมื่อคืนนี้มีงานประกาศผู้เข้าชิง Oscars และคงจะไม่มีอะไรช็อคมากไปกว่า การที่ “The Lego Movie” ไม่ได้เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้เพียงสาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม “Everything Is Awesome” กรรมการที่ขึ้นชื่อว่า very white, very old จะหมดความน่าเชื่อถือ หรือจริงๆแล้วมันมีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่
1. คนวงในเลือกผู้เข้าชิง
ออสการ์ให้คนที่ทำงานในสาขานั้นๆเป็นคนเลือกผู้เข้าชิง สำหรับคนดูทั่วไป “The Lego Movie” อาจเป็นหนังอนิเมชั่นอันดับต้นของปี ทำเงินมากกว่า 257 ล้านเหรียญ แถมคำวิจารณ์ด้านบวกบนเว็บมะเขือเน่ายังสูงถึง 96% แต่สำหรับคนในวงการอนิเมชั่นนี่อาจไม่ใช่หนังที่พวกเขาอยากยกย่อง
2. การจำกัดจำนวนผู้เข้าชิงทำให้การแข่งขันสูงมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น
ปี 2001 เมื่อครั้งออสการ์ตั้งรางวัลสาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยม ยังต้องพ่วงกฎว่าถ้าปีนั้นมีหนังเข้าฉายน้อยกว่า 8 เรื่อง จะไม่มีการมอบรางวัล แต่ทุกวันนี้มีหนังเข้าชิงที่ว่างทั้ง 5 ถึง 20 เรื่อง
3. วิธีโหวตที่ไม่เหมือนใคร
สาขาอนิเมชั่นใช้วิธีให้คะแนน แบบเต็มสิบ หนัง 5 เรื่องที่ได้รับคะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้เข้าชิง เพราะฉะนั้นหนังแต่ละเรื่องจะมีสิทธ์ที่ถูกให้คะแนนเหมือนดูกีฬาอย่างยิมนาสติกลีลา ที่ต้องเน้นโชว์เทคนิคเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันสาขาอื่นใช้วิธีเลือกผู้เข้าชิงจากการถูกเลือกเป็นที่หนึ่งมากที่สุด ทำให้มีโอกาสกับหนังที่แตกต่างและแปลกใหม่มากกว่า
4. งานทำมือเจ๋งกว่างานทำคอม
นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่คู่หูผู้กำกับ Phil Lord และ Chris Miller โดนเบียดออกจากเส้นทางลุ้นรางวัลตัวนี้จากหนังอนิเมชั่นที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2009 เมื่อ “Cloudy With a Chance of Meatballs” โดนเขี่ยทิ้งโดย “The Secret of Kells” หนังอินดี้ตำนานไอริช ที่จัดจำหน่ายโดยค่ายอย่าง GKids ที่ปีนี้ทำหนังเข้าป้ายถึง 2 เรื่อง คือ “Song of the Sea” (ผู้กำกับเดียวกับ Kells) and “The Tale of Princess Kaguya” (งานของปรมาจารย์ทางฝั่งญี่ปุ่นอย่าง Isao Takahata) เท่านั้นจะไม่พอยังมีงานสต็อบ-โมชั่นที่เปรียบเสมือนงานลูกรักของคนสายนี้ จากค่าย Laika ที่ปีนี้ส่ง “The Boxtrolls” มา ก็ยังได้ชิงอีก ขณะเดียวกันงานสร้างสรรค์จากคอมอย่าง Lego ก็ดูเหมือนจะสร้างมาเพื่อหยิกแกมหยอกหนังสต็อบ-โมชั่นลูกรักของเขาซะอีก
5. งานตามขนบและเรื่องราวคลาสสิคมักชนะ
“Song of the Sea,” “Princess Kaguya” และ “Boxtrolls” ได้เข้าชิงแน่นอน สุดท้ายก็เหลือเพียง 2 ช่องว่างสำหรับอนิเมชั่น 17 เรื่อง มุขตลก จังหวะที่รวดเร็ว การล้อเลียนอาจทำให้คนทั่วไปหลงรัก Lego ขณะเดียวกันมันอาจเป็นสองคมสำหรับรางวัลนี้ หนังแนวตลกแทบไม่เคยเข้าชิงราวัลออสการ์เลย (ไม่ต้องมองแค่สาขาอนิเมชั่นก็ได้ สาขาหนังยาวเองก็แทบไม่มี) แล้ว “Big Hero 6” กับ “How to Train Your Dragon 2” ทั้งคู่เป็นหนังตามขนบ มีเรื่องราวกินใจ จากค่ายหนังที่มีความสำพันธ์กับคนในวงการมายาวนาน คงไม่แปลกอะไรที่พวกเขาจะเลือกทั้งคู่มากกว่า Lego
ที่มา https://basicbaldguy.wordpress.com/2015/01/16/oscar-snub-lego-movie-best-animation/