คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ตลาดมันไม่ได้ลงเร็ว หรือพูดเสียน่ากลัวขนาดนั้น ยกเว้นไปซื้อหุ้นที่มันไม่มีสภาพคล่องเท่านั้น ซึ่งปกติมันก็ซื้อขายกันน้อยหรือแทบไม่ค่อยซื้อขายกันเลยอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อมีวิกฤติ จึงไม่ค่อยมี Bid หรือตั้งที่ต่ำมากๆไปเลย ส่วนหุ้นตัวใหญ่ใน SET50 ก็ยังซื้อขายกันปกติ เพียงแต่แรงขายมาก และการตั้ง Ceiling-Floor มันแค่ +/- 10 % ทำให้เมื่อมีแรงขายมากราคาจึงลงมา Floor ได้ง่ายหน่อย ตัวไหน Floor ก็รอวันถัดไปขายต่อ
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่จริงดัชนีตลาดหุ้นมันเริ่มลงมาตั้งแต่ต้นปี 1994 แล้ว ดัชนีลงมาจาก 1789 จุด ลงมา 3 เดือน ถึง 1185 จุด แล้วก็วิ่งรีบาวร์กลับขึ้นไปถึง 1554 ในเดือน กย 1994 หลังจากนั้นดัชนีก็ลงต่อมาถึง 1123 จุดในเดือน มีค 1995 ใหม่ หลังจากนั้นดัชนีก็ยังทำขึ้น - ลงสลับกันไปมาอีก ปีกว่า จึงจะลงแรงในเดือน กค 1996 เพราะดัชนีหลุด 1123 จุดลงมาถึง 1064 จุด เป็นการยืนยันการเป็นขาลงทางเทคนิคหลังจาก sideway ในกรอบสามเหลี่ยมนาน 2 ปี หลังจากนั้น SET จึงเริ่มลงจริงจังทุกเดือนไปอีก 1 ปีจึงเริ่มประกาศลดค่าเงินบาทในวันที่ 1 กค 1997 โดยวันที่ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ดัชนีอยู่ที่ 527.28 จุด ( สิ้นเดือน มิย 1997 ) หลังประกาศลอยตัวค่าเงินบาท SET รีบาวร์ขึ้นไปที่ เกือบ 700 จุดแล้วก็กลับตัวลงต่อไปอีกเรื่อยจนถึง 204 จุดในเดือน กย 1998 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบนี้
จะเห็นว่า ดัชนีใช้เวลาหลายปีในการลงไม่ได้ลงเร็วจนตั้งตัวไม่ติดอย่างที่พุดกันไป สำหรับนักเทคนิคเขามีจุดหนีออกจากตลาดตั้งแต่ดัชนี 1100 จุดไปแล้ว ซึ่งหากจำกันได้ ตอนนั้นมีเหตุการณ์ที่ นักลงทุน ที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่ง เอาปืนมายิงตัวตายที่ตลาดหลักทรัพย์ เพราะขาดทุนไป 20-30 ล้าน แต่ไม่ตายและประกาศเลิกเล่นหุ้นตลอดชีวิตไปตั้งแต่นั้น ตอนนั้น SET อยู่ที่ 1143 จุดครับ ลองคิดดูว่าคนที่เล่น Margin แล้วติดหุ้นไม่ขาย cutloss ในตอนนั้น แล้วถือหุ้นมาเรื่อยๆ แล้วเหตุการณ์ทางเสรษฐกิจเลวร้ายลงทุกๆวันต่อเนื่องไปอีก 2 ปี มีทั้งเรื่องประเทศจะล้มละลาย ไฟแนนซ์ถูกปิดกิจการ หุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทกลายเป็น 0 แบงค์ต่างๆก็ต้องให้รัฐฯ เข้ามาอุ้ม มีแต่ข่าวเงินฝากจะไม่ได้คืน แต่ละแบงค์มี NPL > 40 % ( เทียบกับปัจจุบันที่ไม่ถึง 3% ) จึงไม่ต้องพูดถึงเรื่องกำไร แค่ไม่ให้เจ๊งและทำธุรกิจรอดไปได้แต่ละเดือนก็ยากแล้วครับ ช่วงนั้นมีผู้ใหญ่คนหนึ่งในวงการเงินและธนาคารออกมาบอกว่า อย่างน้อยจะต้องใช้เวลา 7 ปี เศรษฐกิจประเทศไทยจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้ง ในทางเทคนิค ถือว่า เดือน กย 2003 เมื่อดัชนีทะลุ 551.85 จุดขึ้นไปได้ ถือเป็นการยืนยันการกลับขึ้นของตลาดหุ้นไทย นับแต่นั้นมา
มักมีคำพูดว่า ตลาดหุ้นมักจะใช้ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจล่วงหน้า 6-18 เดือน และทิศทางดัชนีตลาดหุ้นจะวิ่งไปแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่นักลงทุนคาดการณ์ไปในอนาคต เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่ ก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท หรือเจ้าของธุรกิจ ย่อมมีส่วนได้เสียกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด ดังนั้นหากนักลงทุนกลุ่มนี้มองว่าเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า 1-2 ปีจะแย่ลง เขาย่อมต้องระบายหุ้นที่ถือออกไป เพื่อไปรอซื้อกลับเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นในภายหลัง จึงทำให้มีหุ้นออกสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่ตลาดมีนักลงทุนรายย่อยเข้าสู่ตลาดหุ้นมากเพราะ ตลาดหุ้นขึ้นมาในรอบก่อนหน้าทำให้รายย่อยเกิดความโลภอยากรวยจึงเข้ามารองรับหุ้นที่รายใหญ่ระบายหุ้นออกไปให้รายย่อยที่มีความโลภและขาดความรู้เข้ามาถือหุ้นไปแทน เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มออกมาไม่ดี ราคาหุ้นก็จะเริ่มตอบสนองในทางลบ โดยนักลงทุนกลุ่ม VI บางส่วนจะเริ่มขายหุ้นที่ผลการดำเนินงานแย่ลง หรือพื้นฐานเริ่มเปลี่ยนไปในภาพไม่ดีอย่างที่เคยคาดไว้ เพื่อไปถือหุ้นอื่น หรือเปลี่ยไปลงทุนด้านอื่นๆเช่น ซื้อทองคำ น้ำมันหรือพันธบัตรแทน ราคาหุ้นส่วนใหญ่ก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ตามผลประกอบการบริษัทที่มีแนวโน้มแย่ลงไปในแต่ละช่วงเวลา จนกว่ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงโดยลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ต้นทุนธุรกิจลดลง มีกำไรมากขึ้น ลดภาษีนิติบุคคล ลดภาษีสินค้าเข้าบางรายการ หรืออื่นๆเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ก็มักจะเป็นสัญญาณว่าตลาดหุ้นกำลังถึงจุดสิ้นสุดในขาลงแล้วกลับเป็นขาขึ้นรอบใหม่ โดยแบงค์ชาติจะใช้เรื่องอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อเป็นตัวกำหนด ในการควบคุมและผ่อนคลายนโยบายทางการเงินที่สำคัญ ( ลด-เพิ่มอัตราดอกเบี้ย )เพื่อผลต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศครับ
กราฟประกอบ เป็น SET Monthly ระยะยาว
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่จริงดัชนีตลาดหุ้นมันเริ่มลงมาตั้งแต่ต้นปี 1994 แล้ว ดัชนีลงมาจาก 1789 จุด ลงมา 3 เดือน ถึง 1185 จุด แล้วก็วิ่งรีบาวร์กลับขึ้นไปถึง 1554 ในเดือน กย 1994 หลังจากนั้นดัชนีก็ลงต่อมาถึง 1123 จุดในเดือน มีค 1995 ใหม่ หลังจากนั้นดัชนีก็ยังทำขึ้น - ลงสลับกันไปมาอีก ปีกว่า จึงจะลงแรงในเดือน กค 1996 เพราะดัชนีหลุด 1123 จุดลงมาถึง 1064 จุด เป็นการยืนยันการเป็นขาลงทางเทคนิคหลังจาก sideway ในกรอบสามเหลี่ยมนาน 2 ปี หลังจากนั้น SET จึงเริ่มลงจริงจังทุกเดือนไปอีก 1 ปีจึงเริ่มประกาศลดค่าเงินบาทในวันที่ 1 กค 1997 โดยวันที่ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ดัชนีอยู่ที่ 527.28 จุด ( สิ้นเดือน มิย 1997 ) หลังประกาศลอยตัวค่าเงินบาท SET รีบาวร์ขึ้นไปที่ เกือบ 700 จุดแล้วก็กลับตัวลงต่อไปอีกเรื่อยจนถึง 204 จุดในเดือน กย 1998 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบนี้
จะเห็นว่า ดัชนีใช้เวลาหลายปีในการลงไม่ได้ลงเร็วจนตั้งตัวไม่ติดอย่างที่พุดกันไป สำหรับนักเทคนิคเขามีจุดหนีออกจากตลาดตั้งแต่ดัชนี 1100 จุดไปแล้ว ซึ่งหากจำกันได้ ตอนนั้นมีเหตุการณ์ที่ นักลงทุน ที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่ง เอาปืนมายิงตัวตายที่ตลาดหลักทรัพย์ เพราะขาดทุนไป 20-30 ล้าน แต่ไม่ตายและประกาศเลิกเล่นหุ้นตลอดชีวิตไปตั้งแต่นั้น ตอนนั้น SET อยู่ที่ 1143 จุดครับ ลองคิดดูว่าคนที่เล่น Margin แล้วติดหุ้นไม่ขาย cutloss ในตอนนั้น แล้วถือหุ้นมาเรื่อยๆ แล้วเหตุการณ์ทางเสรษฐกิจเลวร้ายลงทุกๆวันต่อเนื่องไปอีก 2 ปี มีทั้งเรื่องประเทศจะล้มละลาย ไฟแนนซ์ถูกปิดกิจการ หุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทกลายเป็น 0 แบงค์ต่างๆก็ต้องให้รัฐฯ เข้ามาอุ้ม มีแต่ข่าวเงินฝากจะไม่ได้คืน แต่ละแบงค์มี NPL > 40 % ( เทียบกับปัจจุบันที่ไม่ถึง 3% ) จึงไม่ต้องพูดถึงเรื่องกำไร แค่ไม่ให้เจ๊งและทำธุรกิจรอดไปได้แต่ละเดือนก็ยากแล้วครับ ช่วงนั้นมีผู้ใหญ่คนหนึ่งในวงการเงินและธนาคารออกมาบอกว่า อย่างน้อยจะต้องใช้เวลา 7 ปี เศรษฐกิจประเทศไทยจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้ง ในทางเทคนิค ถือว่า เดือน กย 2003 เมื่อดัชนีทะลุ 551.85 จุดขึ้นไปได้ ถือเป็นการยืนยันการกลับขึ้นของตลาดหุ้นไทย นับแต่นั้นมา
มักมีคำพูดว่า ตลาดหุ้นมักจะใช้ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจล่วงหน้า 6-18 เดือน และทิศทางดัชนีตลาดหุ้นจะวิ่งไปแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่นักลงทุนคาดการณ์ไปในอนาคต เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่ ก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท หรือเจ้าของธุรกิจ ย่อมมีส่วนได้เสียกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด ดังนั้นหากนักลงทุนกลุ่มนี้มองว่าเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า 1-2 ปีจะแย่ลง เขาย่อมต้องระบายหุ้นที่ถือออกไป เพื่อไปรอซื้อกลับเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นในภายหลัง จึงทำให้มีหุ้นออกสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่ตลาดมีนักลงทุนรายย่อยเข้าสู่ตลาดหุ้นมากเพราะ ตลาดหุ้นขึ้นมาในรอบก่อนหน้าทำให้รายย่อยเกิดความโลภอยากรวยจึงเข้ามารองรับหุ้นที่รายใหญ่ระบายหุ้นออกไปให้รายย่อยที่มีความโลภและขาดความรู้เข้ามาถือหุ้นไปแทน เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มออกมาไม่ดี ราคาหุ้นก็จะเริ่มตอบสนองในทางลบ โดยนักลงทุนกลุ่ม VI บางส่วนจะเริ่มขายหุ้นที่ผลการดำเนินงานแย่ลง หรือพื้นฐานเริ่มเปลี่ยนไปในภาพไม่ดีอย่างที่เคยคาดไว้ เพื่อไปถือหุ้นอื่น หรือเปลี่ยไปลงทุนด้านอื่นๆเช่น ซื้อทองคำ น้ำมันหรือพันธบัตรแทน ราคาหุ้นส่วนใหญ่ก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ตามผลประกอบการบริษัทที่มีแนวโน้มแย่ลงไปในแต่ละช่วงเวลา จนกว่ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงโดยลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ต้นทุนธุรกิจลดลง มีกำไรมากขึ้น ลดภาษีนิติบุคคล ลดภาษีสินค้าเข้าบางรายการ หรืออื่นๆเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ก็มักจะเป็นสัญญาณว่าตลาดหุ้นกำลังถึงจุดสิ้นสุดในขาลงแล้วกลับเป็นขาขึ้นรอบใหม่ โดยแบงค์ชาติจะใช้เรื่องอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อเป็นตัวกำหนด ในการควบคุมและผ่อนคลายนโยบายทางการเงินที่สำคัญ ( ลด-เพิ่มอัตราดอกเบี้ย )เพื่อผลต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศครับ
กราฟประกอบ เป็น SET Monthly ระยะยาว

แสดงความคิดเห็น
ถามคนที่เล่นหุ้นตอน วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือแฮมเบอร์เกอร์ ครับ
หรือว่าลบวันละ 20-30 แล้วมีเด้งเล็กน้อยแล้วกลับมาลงต่อครับ