บางทีก็เบื่อมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศ

บางทีเราก็คิดนะว่านี่เราเรียนในมหาลัยอันดับหนึ่งของประเทศจริงหรือ
ทำไมเราถึงไม่ได้เรียนวิชาที่เราอยากเรียน วิชาเจนเอดเรายังพอเข้าใจ เนื่องจากเป็นวิชาที่ต้องเรียนกันทั้งมหาลัยแล้วก็ไม่ได้สลักสำคัญอะไรมากนักแค่เรียนเพียงเพื่อให้จบสี่ปีเท่านั้น

           แต่วิชาภาษาล่ะ วิชาที่เด็กคณะรัฐศาสตร์ อักษร ครุต้องเรียน แต่กลับไม่มีที่นั่งเพียงพอให้ทุกคน เช่นว่า เราอยากเรียนเกาหลี อยากเรียนมากๆ แต่เวลาลงแล้วเด้ง ก็อดเรียน ต้องไปขออาจารย์ ซึ่งเงื่อนไขคือต้องอยู่ปี 4 ไม่ก็ต้องเก็บเป็นวิชาโท แล้วถ้าเราไม่อยากเก็บเป็นวิชาโทล่ะ เราแค่อยากเรียนเพื่อให้เรามีความรู้ในภาษานั้นๆไม่ใช่แค่เกาหลี 1 แต่อยากเรียนไปจนถึงเกาหลี3 เกาหลี4 แล้วถ้าเรามาเรียนตอนปี4 เราจะเรียนทันไหม บางคนก็อาจจะบอกว่างั้นก็ไปเรียนพิเศษเอาสิ เราอยากถามหน่อย มันถูกต้องแล้วหรือ? เราจ่ายเงินค่าเทอมเป็นหมื่นๆ เราก็สมควรจะได้เรียนในสิ่งที่เราเรียนไม่ใช่หรอ

          นอกจากนี้วิชาคณะ วิชาภาค อันนี้ไม่ยิ่งแล้วใหญ่หรอ เราลงวิชาเลือกภาคสองตัวเด้งทั้งสองตัว ซึ่งเราพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราอยากเรียนทั้งสองวิชา แต่เราอาจจะไม่ได้เรียน (ในกรณีที่กดไม่ได้หรือขอไม่ได้) แล้วต้องไปเรียนวิชาอื่นที่เราไม่อยากเรียนมันใช่ไหมอ่ะ อยู่มหาลัยแล้ว ก็อยากเรียนในสิ่งที่เราสนใจมากกว่าลงเรียนวิชาเหลือๆปะ เรารู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องเอามากๆ ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่าให้เราลงในเทอมถัดไป แล้วถ้ามันต้องลงต่อกัน ตัวแรกเปิดเทอม2 ตัวที่สองเปิดเทอม 1 เราก็อดเรียนตัวที่สองสิ อีกอย่างถ้าเรามารอเก็บวิชาที่อยากเรียน เราก็อาจจะเก็บไม่ทันและไม่จบภายใน 4 ปี
คืออยากจะย้ำว่าเราจ่ายค่าเทอม เราไม่ได้ขอจุฬาเรียนฟรี ทำไม่จุฬาไม่เคยมองปัญหาตรงนี้
แล้วก็อยากรู้ว่าจุฬามีวิธีการสุ่มยังไง คนที่ไม่เด้งก็ไม่เคยเด้ง คนที่เด้งก็เด้งแล้วเด้งอีก

          เรามองว่าการให้เด็กเรียนในแต่ละวิชาควรเป็นไปอย่างยุติธรรมมากกว่านี้ อย่างมหาลัยดังมหาลัยหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
เขาจะให้เด็กเขียน statement of purpose(ประมานนี้ ไม่ชัวร์ว่าที่ญี่ปุ่นเรียกว่าอะไร) เพื่อให้ผู้สอนเป็นคนคัดเลือกเด็กด้วยตัวเอง ใช้วิจาราณญาณของตนเองว่าเด็กคนนั้นสมควรที่จะเรียนคลาสนั้นหรือไม่(เพื่อนคนเกาหลีกับญี่ปุ่นเรียนที่นั่นเล่าให้ฟัง แต่ไม่ใช่ทุกวิชานะคะ แค่วิชาสัมนา)
ซึ่งจะช่วยให้เด็กที่ตั้งใจจะเรียนวิชานั้นๆสามารถเข้าเรียนได้ ไม่ใช่เด็กที่ตามๆเพื่อนมาเรียนแล้วก็ไม่ตั้งใจเรียน หรือลงเพราะว่าได้ A ง่าย
เราว่าวิธีแบบนี้ดีกว่าวิธีสุ่มเลือกของระบบมากๆเลยล่ะ เพราะถ้าเด็กที่ไม่ได้อยากเรียนจริงก็คงจะไม่มีกระจิตกระใจมานั่งเขียน statement of purpose  (เรียกง่ายๆว่าขี้เกียจนั่นเอง) อาจารย์เองก็จะได้ลูกศิษย์ที่ตั้งใจเรียน  แบบนี้ win win ทั้งสองฝ่ายเห็นๆ

  คือเราอยากรู้ว่าเราจะทำอะไรกับเรื่องตรงนี้ได้บ้าง หรือว่าต้องยอมรับชะตากรรมต่อไปเพราะก็เหลืออีกแค่ปีกว่าก็จะจบแล้ว


ปล.ถ้าพูดเรื่องอาจารย์ไม่พอ ก็อาจจะจ้างอาจารย์พิเศษมาก็ได้ (จุฬารวยนักไม่ใช่อ่อ เก็บค่าที่ไปตั้งเท่าไหร่)
ป.ล. ไหนผู้ใหญ่หลายคนบอกว่าให้เด็กเรียนในสิ่งที่เด็กสนใจแล้วเด็กจะได้ดี

จาก เด็กที่เด้งทุกเทอม
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่