บทความเรื่อง กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับ Rack บรรทุกจักรยาน จาก FB ของอ.ชยุต รัตนพงษ์ (นักกฎหมาย นักสำรวจเส้นทางจักรยานและนักพัฒนาระบบจักรยาน) ซึ่งน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่จะเอาไปปั่นต่างจังหวัด(ซึ่งรวมทั้งผมด้วย)
===================================================================================
สรุปประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับ Bicycle rack จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมความคิดเห็น ซึ่งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) จัดที่โรงแรมมิโด ถนนประดิพัทธ์ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
... โดยผู้แทนกรมการขนส่งทางบก และผู้แทนกองบังคับการตำรวจจราจร มีความเห็นว่า เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
๑. สามารถใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน ๑.๖ ตัน (ป้ายขาว-อักษรเขียว) ทำการขนจักรยานของผู้ที่โดยสารไปกับรถยนต์ ได้เช่นเดียวกับข้อกำหนดของ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า)
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ (๓ ทวิ)
๒. สามารถใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) ทำการขนจักรยานของผู้ที่โดยสารไปกับรถยนต์ ได้เช่นเดียวกับข้อกำหนดของ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว)
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ (๓ ทวิ)
๓. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถติดตั้งแร็คสำหรับขนจักรยาน ได้ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา และแบบติดตั้งท้ายรถ โดยไม่ต้องนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ และไม่ต้องไปยื่นขอให้นายทะเบียนเพิ่มเติมรายการ Bicycle rack ในทะเบียนรถ
[via: ภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒
๔. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) ที่ตัวถังกว้างไม่เกิน ๒.๓๐ เมตร สามารถติดตั้งแร็คหลังคา และขนจักรยานบนหลังคาได้ สูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง
... ส่วนรถบรรทุก ที่ตัวถังกว้างตั้งแต่ ๒.๓๑ เมตร ขึ้นไป สามารถติดตั้งแร็คหลังคา และขนจักรยานบนหลังคาได้ สูงไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร จากพื้นทาง
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี และภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๓) (ก)
๕. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถติดตั้งแร็คท้ายรถ และขนจักรยานยื่นเลยตัวถังด้านท้ายรถได้ไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
... แต่ในเวลากลางวัน ต้องติดธงแดงที่ปลายสุดของส่วนที่ยื่นออกไปด้านท้ายรถ
... ส่วนในเวลากลางคืน ต้องติดเป็นไฟแสงแดง
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี และภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๒) (ก)
๖. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถขนจักรยานยื่นเลยตัวถังด้านข้างรถได้ไม่เกินแนวกระจกข้างรถ
[via: ประเทศ สังข์บุญลือ; ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๑)
update: ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
โดย: ชยุต รัตนพงษ์
กฎหมายเกี่ยวกับแร็คบรรทุกจักรยาน
กฎหมายเกี่ยวกับแร็คบรรทุกจักรยาน
===================================================================================
สรุปประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับ Bicycle rack จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมความคิดเห็น ซึ่งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) จัดที่โรงแรมมิโด ถนนประดิพัทธ์ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
... โดยผู้แทนกรมการขนส่งทางบก และผู้แทนกองบังคับการตำรวจจราจร มีความเห็นว่า เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
๑. สามารถใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน ๑.๖ ตัน (ป้ายขาว-อักษรเขียว) ทำการขนจักรยานของผู้ที่โดยสารไปกับรถยนต์ ได้เช่นเดียวกับข้อกำหนดของ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า)
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ (๓ ทวิ)
๒. สามารถใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) ทำการขนจักรยานของผู้ที่โดยสารไปกับรถยนต์ ได้เช่นเดียวกับข้อกำหนดของ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว)
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ (๓ ทวิ)
๓. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถติดตั้งแร็คสำหรับขนจักรยาน ได้ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา และแบบติดตั้งท้ายรถ โดยไม่ต้องนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ และไม่ต้องไปยื่นขอให้นายทะเบียนเพิ่มเติมรายการ Bicycle rack ในทะเบียนรถ
[via: ภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒
๔. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) ที่ตัวถังกว้างไม่เกิน ๒.๓๐ เมตร สามารถติดตั้งแร็คหลังคา และขนจักรยานบนหลังคาได้ สูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง
... ส่วนรถบรรทุก ที่ตัวถังกว้างตั้งแต่ ๒.๓๑ เมตร ขึ้นไป สามารถติดตั้งแร็คหลังคา และขนจักรยานบนหลังคาได้ สูงไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร จากพื้นทาง
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี และภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๓) (ก)
๕. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถติดตั้งแร็คท้ายรถ และขนจักรยานยื่นเลยตัวถังด้านท้ายรถได้ไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
... แต่ในเวลากลางวัน ต้องติดธงแดงที่ปลายสุดของส่วนที่ยื่นออกไปด้านท้ายรถ
... ส่วนในเวลากลางคืน ต้องติดเป็นไฟแสงแดง
[via: พ.ต.ท.สรรเสริญ กรีอารี และภูษิต ชัยอำนาจ; ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๒) (ก)
๖. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรดำ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายขาว-อักษรเขียว) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน (ป้ายขาว-อักษรฟ้า) สามารถขนจักรยานยื่นเลยตัวถังด้านข้างรถได้ไม่เกินแนวกระจกข้างรถ
[via: ประเทศ สังข์บุญลือ; ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗]
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๒๐ ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ (๑)
update: ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
โดย: ชยุต รัตนพงษ์
กฎหมายเกี่ยวกับแร็คบรรทุกจักรยาน