สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ผมขออนุญาตเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวตอนเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาโทที่ Australia นะครับ
อาจจะยาวสักหน่อย แต่เล่าเพื่อให้เข้าใจในรายละเอียดนะครับ
หลักสูตร Master of Philosophy หรือเรียกย่อว่า M.Phil. จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างใหม่ใน Australia ครับ
บางมหาวิทยาลัยเปิด M.Phil. ยังไม่ถึง 5 ปีครับ (รวมถึงมหาวิทยาลัยที่ผมเคยเข้าไปเรียนโทที่นั่น)
ผมเข้าใจว่าในช่วงไม่เกิน 8 ปี มานี้เพิ่งมีหลักสูตร M.Phil. เกิดขึ้นมาใน Australia ครับ
หลักสูตร M.Phil. ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยในเครือ Group of Eight (Go8)
Go8 คือกลุ่มมหาวิทยาลัย 8 แห่งในออสเตรเลียที่ถูกขนามนามว่ามีความโดดเด่นด้านการวิจัยและด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ก่อนหน้านั้นมหาวิทยาลัยที่นำร่องเปิดหลักสูตรนี้น่าจะเป็น The University of Melbourne (Melbourne U) ครับ
วัตถุประสงค์หลักของการเปิดหลักสูตร M.Phil. ก็คือเป็นการเรียนปริญญาโทแบบทำวิจัยเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Research-based degree
นั่นก็คือนักศึกษาที่เข้าเรียนจะต้องทำวิจัยเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และเสนอวิทยานิพนธ์ และ/หรือ ตีพิมพ์ผลงานลงวารสารวิชาการ
สัดส่วนของวิชาที่เรียนจะเน้นการทำวิจัย 70-80% ที่เหลืออาจจะเป็น course work ประเภท Research methodology
อาจจะมีบางวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาที่เราเรียน อีก 1-2 วิชา เป็นต้น ที่เหลือจะเป็นหน่วยกิตของวิทยานิพนธ์ครับ
โดยในส่วนของวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมักจะระบุว่าต้องเขียนกี่คำ (ขึ้นอยู่กับคณะที่เรียนด้วย)
บางแห่งก็ระบุว่าจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 30,000-40,000 words ครับ
หากเรามี research background หรือ research performance ที่ดี (และเกรดเฉลี่ยที่ดี) ตั้งแต่ตอนปริญญาตรี
เราอาจไม่ต้องเรียนวิชา coursework ก็ได้ โดยเน้นทำวิจัย 100% ครับ
หลักสูตร M.Phil. ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนหลักสูตรที่เป็น Masters degree by research ทั้งหลายที่เคยเปิดสอนในมหาวิทยาลัย Go8
ผมขอขยายความหลักสูตรปริญญาโทใน Australia เพิ่มเติมนะครับ
ในสมัยก่อนหน้านั้น ปริญญาโทใน Australia จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบครับ
แบบแรก คือ Masters degree by coursework
หลักสูตรนี้ใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 1-1.5 ปี โดยจะเน้นเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปริญญาด้านที่เราจะได้
เช่น Master of Environmental Science ก็จะเน้นเรียนวิชาต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Master of Applied Linguistics เรียนวิชาต่าง ๆ ด้านภาษาศาสตร์
Master of Business Administration เรียนวิชาต่าง ๆ ด้านบริหารธุรกิจ
Master of Engineering (Chemical Engineering) ก็เรียนวิชาต่าง ๆ ในวิศวกรรรเคมี เป็นต้น ครับ
ซึ่งในหลักสูตรเหล่านี้จะมีหน่วยกิตที่ระบุชัดเจนว่าต้องเก็บ coursework ให้ได้กี่หน่วย
และอาจจะมีทำ Project เล็กๆ หรือ Minor Thesis ในเทอมสุดท้ายครับ
แบบที่สอง คือ Masters degree by research
หลักสูตรนี้จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ advance กว่าแบบแรก หรือเพื่อเป็นใบเบิกทางเพื่อเข้าเรียนต่อปริญญาเอก หรือ Ph.D.
โดยมักเน้นรับผู้เรียนที่มีผลการเรียนในระดับปริญญาตรีที่อยู่ในเกณฑ์ดีหรือเกียรตินิยม
หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการวิจัย ซึ่งการสมัครทั้งหมดต้องเขียน Research proposal (ยาว 3-5 หน้า แล้วแต่ U ระบุ)
เพื่อให้ Potential supervisor เขาพึงพอใจ และตอบรับก่อนครับ ถึงจะสามารถสมัครเข้าไปเรียนในหลักสูตรพวกนี้ได้
หลักสูตร Master by Research อาจใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 1-2 ปี (จบเร็วหรือช้าขึ้นกับการทำวิจัยสำเร็จ)
โดยผู้เรียนจะต้องเสนอวิทยานิพนธ์ที่ได้จากการทำวิจัยครบตามหน่วยกิตที่กำหนด
ส่วนวิชา coursework ที่เรียน อาจจะมี 2-3 วิชา ซึ่งใช้เวลาเรียน 1-2 เทอม
หากเป็นหลักสูตรที่เรียน 2 ปี ส่วนใหญ่จะเรียน coursework ในปีแรก และปีที่ 2 ทำวิจัยและลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
แต่บางหลักสูตรเป็นแบบ 1.5 ปี ก็จะเรียน coursework อย่างน้อย 1 เทอม ที่เหลือคือลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
โดยปกติแล้ว ปริญญาโทของ Master by research จะมีชื่อที่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ Master by coursework ครับ
เช่น Master of Science in xxxxx (ชื่อสาขาวิชาที่เน้นเรียน)
Master of Arts in xxxxxx (ชื่อสาขาวิชาที่เน้นเรียน)
สำหรับสายวิศวกรรมศาสตร์ ในตอนนั้นถ้าใครเรียน Master by Research จะได้วุฒิเป็น Master of Engineering Science ย่อว่า M.Eng.Sc.
ส่วนใครเรียน Master by coursework จะได้ชื่อวุฒิเป็น Master of Engineering ย่อว่า M.Eng. (และใส่วงเล็บชื่อสาขาที่เลือกเรียน)
เช่น M.Eng. (Civil Engineering) หมายความว่าเรียนเน้นไปทาง coursework
แต่ถ้าใครได้วุฒิเป็น M.Eng.Sc. (Civil Engineering) จะหมายความว่าเขาเรียนแบบ Master by Research มาครับ
คำอธิบายข้างต้นเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างของหลักสูตรปริญญาโทแบบต่าง ๆ ในออสเตรเลียครับ
ต่อมามหาวิยาลัยในกลุ่ม Go8 ก็ได้เริ่มพัฒนา M.Phil. ขึ้นมาแทนหลักสูตร Master by Research
ที่มักใช้ชื่อแตกต่างกันไปตามสาขาวิชา โดยให้หันมาใช้ M.Phil. เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนใครเรียนด้านสายภาษาศาสตร์ประยุกต์แบบ Master by Research
เวลาจบก็จะได้วุฒิเป็น Master of Arts in Applied Linguistics
ส่วนวิศวะ (ในมหาวิทยาลัย Go8) ก็จะได้ Master of Engineering Science (สาขา xxxx)
แต่ต่อไปทุกคนที่เรียนไม่ว่าจะสายภาษาหรือสายวิทย์ก็จะได้วุฒิ M.Phil. in xxxx (สาขาที่เรียน)
เพราะฉะนั้นก็จะเป็น M.Phil. (Applied Linguistics) กับ M.Phil. (Civil Engineering) เป็นต้น
หลักสูตร M.Phil. จัดเป็น advanced degree เพื่อปูทางไปสู่การเรียนด้าน Ph.D. ต่อไปครับ
ดังนั้น ผู้เข้าเรียนที่จะสมัครเข้าไปเรียนก็จะต้องเสนอ Preliminary research proposal เข้าไปด้วยครับ
ซึ่งมักจะเขียนแบบไฮไลท์งานวิจัยที่เราตั้งใจจะทำ ยาวประมาณ 3-5 หน้า (ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยนั้นครับ)
โดยทั่วไปจะมีบทนำ หรือ Research rationale, Objectives, Methodology, Research plan และ Reference
Research proposal นี้ ยังไม่ใช่ proposal หลักที่เราจะไปเขียนหรือพัฒนาอีกทีตอนเรียนนะครับ
เพียงแต่เราต้องเขียนขึ้นมาเพื่อเสนอไปให้อาจารย์ที่เราสนใจอยากเรียนด้วยได้อ่านเบื้องต้น
ถ้าเขาสนใจใน proposal เรา (หรืออย่างน้อยชอบ idea) เขาก็จะตอบรับว่ายินดีรับเราไปเรียนด้วย
โดยทั่วไปเรามักจะเขียน proposal ให้เข้ากับทิศทางงานวิจัยของอาจารย์ท่านที่เราอยากเรียนด้วยครับ
เพราะคงยากที่เขาจะรับเรา ถ้าเราไปสนใจงานวิจัยที่นอก scope ของความสนใจของเขา
(แม้บางครั้งอาจมีอาจารย์บางท่านสนใจงานวิจัยนอก scope ตัวเอง แต่โอกาสจะเจอแบบนี้จะน้อยมาก)
หลังจากที่เราส่ง proposal ไปให้กับอาจารย์ที่ตั้งใจจะไปเรียนด้วย ซึ่งขอเรียกว่า potential supervisor (ว่าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์)
ถ้าอาจารย์เขาสนใจในตัวเรา รวมถึง proposal ที่เราเสนอเข้าไป เขาก็จะตอบผ่านกลับมา และตอบรับว่าจะรับเราทางอีเมลล์หรือจดหมาย
จากนั้นเราก็จะต้องนำเอาอีเมลล์หรือจดหมายตอบรับจากอาจารย์ไปแสดงเป็นหลักฐานตอนสมัครเข้าเรียนครับ
ส่วน Requirement อื่น ๆ ในการสมัครเข้าเรียนหลักสูตร M.Phil. นั้นก็จะเป็นคะแนนภาษาอังกฤษ (ตามที่มหาวิทยาลัยระบุ)
รวมถึง GPA ที่มีผลการเรียนในระดับที่ดี (ส่วนใหญ่มักระบุว่าได้ระดับเกียรตินิยมหรืออย่างน้อยอยู่ในกลุ่ม 10-15% แรกของชั้น)
หรือหากมีหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำวิจัย เช่น ผลงานตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ
หรือการเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ (Conference) หรือ Proceeding ก็แนบไปเป็นหลักฐานเพิ่มเติมได้ครับ
หลังจากนั้นทางคณะกรรมการของภาควิชาหรือคณะ และบัณฑิตวิทยาลัยก็จะพิจารณาใบสมัครเราครับ
โดยหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก็คือ คณะกรรมการจะนำเอาใบตอบรับที่ potential supervisor ให้เรามาตอนแรกมาพิจารณาด้วยครับ
ซึ่งจะมีการเวียนใบสมัครของเราและจดหมายนี้กลับไปยังอาจารย์ท่านนั้น รับทราบอีกครั้งว่า
(ว่าที่) นักศึกษาคนนี้จะเข้ามาเรียนกับคุณจริงใช่หรือไม่
ถ้าอาจารย์ท่านนั้นตั้งใจจะรับเราจริง ๆ (ไม่เปลี่ยนใจ) ก็จะเซ็นตอบรับลงในแบบฟอร์ม
จากนั้นก็จะส่งเอกสารทั้งหมดกลับไปให้คณะและบัณฑิตวิทยาลัยรับทราบอีกครั้ง
ถ้าเราได้คะแนนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์มหาวิทยาลัย รวมถึง GPA ตามเกณฑ์ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ
เราก็จะได้ offer letter เข้าเรียนแบบ Unconditional offer มาครับ
แต่ถ้าภาษาอังกฤษไม่ผ่านเกณฑ์ มหาวิทยาลัยอาจจะให้จดหมายตอบรับมาเป็น Conditional offer
ซึ่งจะระบุว่าเราต้องเรียนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยกี่สัปดาห์
และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษด้วยเกณฑ์เท่าไหร่ ถึงจะผ่านเข้าไปเรียนปริญญาได้
ก่อนหน้าที่ผมจะได้รับ offer letter เพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของผมเขายังไม่มีหลักสูตร M.Phil. ครับ
แต่เขากำลังพัฒนาหลักสูตรและกำลังจะเปิด M.Phil. ทำให้ช่วงนั้นผมได้ offer letter มาแบบก้ำกึ่ง
โดยในใบตอบรับของผมมี note จากมหาวิทยาลัยแจ้งมาด้วยว่า
หากผม defer การเข้าเรียนไปเรียนเทอมต่อไป ผมจะเข้าเรียนในหลักสูตร M.Phil. แทน Master of Engineering Science (M.Eng.Sc.)
แต่ถ้าผมเรียนไปแล้ว 1 เทอม แล้วประสงค์จะเข้าเรียนแบบ M.Phil. ก็สามารถทำได้เช่นกัน (คือเขาจะโอนย้ายไปให้)
หลังจากที่ผมไปเรียน ปีถัดไปก็ไม่มีการเปิดรับเข้าเรียนในหลักสูตร M.Eng.Sc. ในมหาวิทยาลัยผมอีกต่อไปแล้วครับ
ในทำนองเดียวกัน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน Go8 ต่างก็เริ่มพัฒนาหลักสูตร M.Phil. มาแทน Master by Research แบบเดิม
โดยในช่วง 5 ปีมานี้ หลายมหาวิทยาลัยใน Australia ก็เริ่มหันมาทำหลักสูตร M.Phil. แทนหลักสูตร Master by Research แบบเดิมครับ
************************************************************************************************
อาจจะยาวสักหน่อย แต่เล่าเพื่อให้เข้าใจในรายละเอียดนะครับ
หลักสูตร Master of Philosophy หรือเรียกย่อว่า M.Phil. จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างใหม่ใน Australia ครับ
บางมหาวิทยาลัยเปิด M.Phil. ยังไม่ถึง 5 ปีครับ (รวมถึงมหาวิทยาลัยที่ผมเคยเข้าไปเรียนโทที่นั่น)
ผมเข้าใจว่าในช่วงไม่เกิน 8 ปี มานี้เพิ่งมีหลักสูตร M.Phil. เกิดขึ้นมาใน Australia ครับ
หลักสูตร M.Phil. ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยในเครือ Group of Eight (Go8)
Go8 คือกลุ่มมหาวิทยาลัย 8 แห่งในออสเตรเลียที่ถูกขนามนามว่ามีความโดดเด่นด้านการวิจัยและด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ก่อนหน้านั้นมหาวิทยาลัยที่นำร่องเปิดหลักสูตรนี้น่าจะเป็น The University of Melbourne (Melbourne U) ครับ
วัตถุประสงค์หลักของการเปิดหลักสูตร M.Phil. ก็คือเป็นการเรียนปริญญาโทแบบทำวิจัยเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Research-based degree
นั่นก็คือนักศึกษาที่เข้าเรียนจะต้องทำวิจัยเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และเสนอวิทยานิพนธ์ และ/หรือ ตีพิมพ์ผลงานลงวารสารวิชาการ
สัดส่วนของวิชาที่เรียนจะเน้นการทำวิจัย 70-80% ที่เหลืออาจจะเป็น course work ประเภท Research methodology
อาจจะมีบางวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาที่เราเรียน อีก 1-2 วิชา เป็นต้น ที่เหลือจะเป็นหน่วยกิตของวิทยานิพนธ์ครับ
โดยในส่วนของวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมักจะระบุว่าต้องเขียนกี่คำ (ขึ้นอยู่กับคณะที่เรียนด้วย)
บางแห่งก็ระบุว่าจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 30,000-40,000 words ครับ
หากเรามี research background หรือ research performance ที่ดี (และเกรดเฉลี่ยที่ดี) ตั้งแต่ตอนปริญญาตรี
เราอาจไม่ต้องเรียนวิชา coursework ก็ได้ โดยเน้นทำวิจัย 100% ครับ
หลักสูตร M.Phil. ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนหลักสูตรที่เป็น Masters degree by research ทั้งหลายที่เคยเปิดสอนในมหาวิทยาลัย Go8
ผมขอขยายความหลักสูตรปริญญาโทใน Australia เพิ่มเติมนะครับ
ในสมัยก่อนหน้านั้น ปริญญาโทใน Australia จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบครับ
แบบแรก คือ Masters degree by coursework
หลักสูตรนี้ใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 1-1.5 ปี โดยจะเน้นเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปริญญาด้านที่เราจะได้
เช่น Master of Environmental Science ก็จะเน้นเรียนวิชาต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Master of Applied Linguistics เรียนวิชาต่าง ๆ ด้านภาษาศาสตร์
Master of Business Administration เรียนวิชาต่าง ๆ ด้านบริหารธุรกิจ
Master of Engineering (Chemical Engineering) ก็เรียนวิชาต่าง ๆ ในวิศวกรรรเคมี เป็นต้น ครับ
ซึ่งในหลักสูตรเหล่านี้จะมีหน่วยกิตที่ระบุชัดเจนว่าต้องเก็บ coursework ให้ได้กี่หน่วย
และอาจจะมีทำ Project เล็กๆ หรือ Minor Thesis ในเทอมสุดท้ายครับ
แบบที่สอง คือ Masters degree by research
หลักสูตรนี้จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ advance กว่าแบบแรก หรือเพื่อเป็นใบเบิกทางเพื่อเข้าเรียนต่อปริญญาเอก หรือ Ph.D.
โดยมักเน้นรับผู้เรียนที่มีผลการเรียนในระดับปริญญาตรีที่อยู่ในเกณฑ์ดีหรือเกียรตินิยม
หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการวิจัย ซึ่งการสมัครทั้งหมดต้องเขียน Research proposal (ยาว 3-5 หน้า แล้วแต่ U ระบุ)
เพื่อให้ Potential supervisor เขาพึงพอใจ และตอบรับก่อนครับ ถึงจะสามารถสมัครเข้าไปเรียนในหลักสูตรพวกนี้ได้
หลักสูตร Master by Research อาจใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 1-2 ปี (จบเร็วหรือช้าขึ้นกับการทำวิจัยสำเร็จ)
โดยผู้เรียนจะต้องเสนอวิทยานิพนธ์ที่ได้จากการทำวิจัยครบตามหน่วยกิตที่กำหนด
ส่วนวิชา coursework ที่เรียน อาจจะมี 2-3 วิชา ซึ่งใช้เวลาเรียน 1-2 เทอม
หากเป็นหลักสูตรที่เรียน 2 ปี ส่วนใหญ่จะเรียน coursework ในปีแรก และปีที่ 2 ทำวิจัยและลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
แต่บางหลักสูตรเป็นแบบ 1.5 ปี ก็จะเรียน coursework อย่างน้อย 1 เทอม ที่เหลือคือลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
โดยปกติแล้ว ปริญญาโทของ Master by research จะมีชื่อที่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ Master by coursework ครับ
เช่น Master of Science in xxxxx (ชื่อสาขาวิชาที่เน้นเรียน)
Master of Arts in xxxxxx (ชื่อสาขาวิชาที่เน้นเรียน)
สำหรับสายวิศวกรรมศาสตร์ ในตอนนั้นถ้าใครเรียน Master by Research จะได้วุฒิเป็น Master of Engineering Science ย่อว่า M.Eng.Sc.
ส่วนใครเรียน Master by coursework จะได้ชื่อวุฒิเป็น Master of Engineering ย่อว่า M.Eng. (และใส่วงเล็บชื่อสาขาที่เลือกเรียน)
เช่น M.Eng. (Civil Engineering) หมายความว่าเรียนเน้นไปทาง coursework
แต่ถ้าใครได้วุฒิเป็น M.Eng.Sc. (Civil Engineering) จะหมายความว่าเขาเรียนแบบ Master by Research มาครับ
คำอธิบายข้างต้นเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างของหลักสูตรปริญญาโทแบบต่าง ๆ ในออสเตรเลียครับ
ต่อมามหาวิยาลัยในกลุ่ม Go8 ก็ได้เริ่มพัฒนา M.Phil. ขึ้นมาแทนหลักสูตร Master by Research
ที่มักใช้ชื่อแตกต่างกันไปตามสาขาวิชา โดยให้หันมาใช้ M.Phil. เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนใครเรียนด้านสายภาษาศาสตร์ประยุกต์แบบ Master by Research
เวลาจบก็จะได้วุฒิเป็น Master of Arts in Applied Linguistics
ส่วนวิศวะ (ในมหาวิทยาลัย Go8) ก็จะได้ Master of Engineering Science (สาขา xxxx)
แต่ต่อไปทุกคนที่เรียนไม่ว่าจะสายภาษาหรือสายวิทย์ก็จะได้วุฒิ M.Phil. in xxxx (สาขาที่เรียน)
เพราะฉะนั้นก็จะเป็น M.Phil. (Applied Linguistics) กับ M.Phil. (Civil Engineering) เป็นต้น
หลักสูตร M.Phil. จัดเป็น advanced degree เพื่อปูทางไปสู่การเรียนด้าน Ph.D. ต่อไปครับ
ดังนั้น ผู้เข้าเรียนที่จะสมัครเข้าไปเรียนก็จะต้องเสนอ Preliminary research proposal เข้าไปด้วยครับ
ซึ่งมักจะเขียนแบบไฮไลท์งานวิจัยที่เราตั้งใจจะทำ ยาวประมาณ 3-5 หน้า (ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยนั้นครับ)
โดยทั่วไปจะมีบทนำ หรือ Research rationale, Objectives, Methodology, Research plan และ Reference
Research proposal นี้ ยังไม่ใช่ proposal หลักที่เราจะไปเขียนหรือพัฒนาอีกทีตอนเรียนนะครับ
เพียงแต่เราต้องเขียนขึ้นมาเพื่อเสนอไปให้อาจารย์ที่เราสนใจอยากเรียนด้วยได้อ่านเบื้องต้น
ถ้าเขาสนใจใน proposal เรา (หรืออย่างน้อยชอบ idea) เขาก็จะตอบรับว่ายินดีรับเราไปเรียนด้วย
โดยทั่วไปเรามักจะเขียน proposal ให้เข้ากับทิศทางงานวิจัยของอาจารย์ท่านที่เราอยากเรียนด้วยครับ
เพราะคงยากที่เขาจะรับเรา ถ้าเราไปสนใจงานวิจัยที่นอก scope ของความสนใจของเขา
(แม้บางครั้งอาจมีอาจารย์บางท่านสนใจงานวิจัยนอก scope ตัวเอง แต่โอกาสจะเจอแบบนี้จะน้อยมาก)
หลังจากที่เราส่ง proposal ไปให้กับอาจารย์ที่ตั้งใจจะไปเรียนด้วย ซึ่งขอเรียกว่า potential supervisor (ว่าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์)
ถ้าอาจารย์เขาสนใจในตัวเรา รวมถึง proposal ที่เราเสนอเข้าไป เขาก็จะตอบผ่านกลับมา และตอบรับว่าจะรับเราทางอีเมลล์หรือจดหมาย
จากนั้นเราก็จะต้องนำเอาอีเมลล์หรือจดหมายตอบรับจากอาจารย์ไปแสดงเป็นหลักฐานตอนสมัครเข้าเรียนครับ
ส่วน Requirement อื่น ๆ ในการสมัครเข้าเรียนหลักสูตร M.Phil. นั้นก็จะเป็นคะแนนภาษาอังกฤษ (ตามที่มหาวิทยาลัยระบุ)
รวมถึง GPA ที่มีผลการเรียนในระดับที่ดี (ส่วนใหญ่มักระบุว่าได้ระดับเกียรตินิยมหรืออย่างน้อยอยู่ในกลุ่ม 10-15% แรกของชั้น)
หรือหากมีหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำวิจัย เช่น ผลงานตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ
หรือการเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ (Conference) หรือ Proceeding ก็แนบไปเป็นหลักฐานเพิ่มเติมได้ครับ
หลังจากนั้นทางคณะกรรมการของภาควิชาหรือคณะ และบัณฑิตวิทยาลัยก็จะพิจารณาใบสมัครเราครับ
โดยหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก็คือ คณะกรรมการจะนำเอาใบตอบรับที่ potential supervisor ให้เรามาตอนแรกมาพิจารณาด้วยครับ
ซึ่งจะมีการเวียนใบสมัครของเราและจดหมายนี้กลับไปยังอาจารย์ท่านนั้น รับทราบอีกครั้งว่า
(ว่าที่) นักศึกษาคนนี้จะเข้ามาเรียนกับคุณจริงใช่หรือไม่
ถ้าอาจารย์ท่านนั้นตั้งใจจะรับเราจริง ๆ (ไม่เปลี่ยนใจ) ก็จะเซ็นตอบรับลงในแบบฟอร์ม
จากนั้นก็จะส่งเอกสารทั้งหมดกลับไปให้คณะและบัณฑิตวิทยาลัยรับทราบอีกครั้ง
ถ้าเราได้คะแนนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์มหาวิทยาลัย รวมถึง GPA ตามเกณฑ์ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ
เราก็จะได้ offer letter เข้าเรียนแบบ Unconditional offer มาครับ
แต่ถ้าภาษาอังกฤษไม่ผ่านเกณฑ์ มหาวิทยาลัยอาจจะให้จดหมายตอบรับมาเป็น Conditional offer
ซึ่งจะระบุว่าเราต้องเรียนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยกี่สัปดาห์
และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษด้วยเกณฑ์เท่าไหร่ ถึงจะผ่านเข้าไปเรียนปริญญาได้
ก่อนหน้าที่ผมจะได้รับ offer letter เพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของผมเขายังไม่มีหลักสูตร M.Phil. ครับ
แต่เขากำลังพัฒนาหลักสูตรและกำลังจะเปิด M.Phil. ทำให้ช่วงนั้นผมได้ offer letter มาแบบก้ำกึ่ง
โดยในใบตอบรับของผมมี note จากมหาวิทยาลัยแจ้งมาด้วยว่า
หากผม defer การเข้าเรียนไปเรียนเทอมต่อไป ผมจะเข้าเรียนในหลักสูตร M.Phil. แทน Master of Engineering Science (M.Eng.Sc.)
แต่ถ้าผมเรียนไปแล้ว 1 เทอม แล้วประสงค์จะเข้าเรียนแบบ M.Phil. ก็สามารถทำได้เช่นกัน (คือเขาจะโอนย้ายไปให้)
หลังจากที่ผมไปเรียน ปีถัดไปก็ไม่มีการเปิดรับเข้าเรียนในหลักสูตร M.Eng.Sc. ในมหาวิทยาลัยผมอีกต่อไปแล้วครับ
ในทำนองเดียวกัน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน Go8 ต่างก็เริ่มพัฒนาหลักสูตร M.Phil. มาแทน Master by Research แบบเดิม
โดยในช่วง 5 ปีมานี้ หลายมหาวิทยาลัยใน Australia ก็เริ่มหันมาทำหลักสูตร M.Phil. แทนหลักสูตร Master by Research แบบเดิมครับ
************************************************************************************************
แสดงความคิดเห็น
Master of Philosophy คืออะไรครับ