หมดกำลังใจ ท้อแท้กับชีวิต ไม่อยากอยู่ต่อ (แต่ก็ไม่ได้คิดจะฆ่าตัวตายนะ) ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

ตอนนี้ชีวิตเรามีแต่ปัญหารุมเร้า มันเครียด มันหมดหนทาง
- งานที่ทำอยู่เป็นงานที่เราไม่ได้รัก แต่ก็ต้องจำใจทำเพราะยังหาอาชีพที่ดีกว่าไม่ได้
- รายจ่ายสูงกว่ารายรับ
- ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกับสามีบ่อย
- มือถือก็เพิ่งตกน้ำ เราจะทำไงดี
- ลูกๆ กำลังดื้อ เหนื่อยกับการเลี้ยงลูก บางคืนแทบไม่ได้นอน
- มีหนี้สินที่ต้องชำระ แต่เราหาเงินไม่ทัน

ขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ หน่อยได้มั้ยคะ เราท้อเหลือเกิน T_T
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
สภาพแบบหลาน น่าจะพบได้บ่อยในครอบครัวชนชั้นกลาง
สมัยที่ลุงแต่งงานกับป้า  ระยะ10ปีแรกมีปัญหามาก
เพราะลุงต้องทำงาน(รับราชการ)คนเดียว มีลูก2คน
รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง  ยิ่งเมื่อลุงต้องย้ายไปทำงานที่จังหวัดอื่น
ยิ่งลำบาก เพราะลุงต้องแยกตัวไปคนเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ลุงและป้าช่วยกันคือ"ประหยัด"
สมัยที่ลุงทำงานที่บ้าน  ลุงนำข้าวกลางวันไปกินที่ทำงานทุกวัน
เพื่อประหยัดค่าอาหาร (เพื่อนร่วมงาน มองเป็นเรื่องแปลก)
เมื่อลุงย้ายไปทำงานที่จังหวัดอื่น กลับบ้านเฉพาะวันหยุด
เมื่อลุงต้องเดินทางกลับไปทำงาน ป้าต้องทำอาหารให้ลุงไปด้วย
สามารถกินได้2-3วัน ทุกครั้ง
รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยต้องตัดทิ้ง ...(ทำบัญชีรายจ่ายประจำวัน ช่วยได้มาก เราจะเห็นการจ่ายเงินได้ชัดเจน)
หลานอาจไม่เชื่อว่า สมัยนั้น ลุงมีชุดราชการใส่แค่2ชุด(สมัยนั้นข้าราชการต้องแต่งชุดสีกากี)
...หลานควรพูดคุยกับสามี ดูสิ่งที่สมควรประหยัด
ต้องร่วมมือกันทั้ง2คน ประคับประคองให้ครอบครัวผ่านจุดนี้ไปให้ได้
ถ้าหลานหมดหนี้สิน  ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นมาได้
หลานควรจำไว้ว่า เราทำงานเพื่อหาเงินมายังชีพ
ดังนั้นไม่ควรเกี่ยงงานว่าจะชอบหรือไม่ ควรทำให้ดีที่สุด
เพราะผลงานของเรา จะมีผลต่อการเลื่อนเงินเดือน
ยังไงลุงขอให้พยายามสร้างความสุขในครอบครัวให้ได้
อย่านำเอาปัญหาที่มี มาสร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้นในครอบครัว
...ลุงเคยผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้ว
ปัจจุบันลุงเกษียณมาได้4ปี ชีวิตมีความสุขดี
ลูกทั้ง2คนเรียนจบ และมีงานที่มั่นคงทำ
ถ้าเราไม่สู้ ไม่พยายาม ในวันนี้  ความสุขในวันหน้า ไม่เกิดขึ้นแน่
ลุงขอเอาใจช่วย

                                                                   ลุงยุทธ  อมยิ้ม01
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปัญหาครอบครัว การเลี้ยงลูก ปัญหาชีวิต สุขภาพจิต
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่