ดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ขององค์การนาซารายงานการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 2 ดวงที่น่าสนใจอย่างมากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เคปเลอร์-62e และเคปเลอร์-62f เป็นดาวเคราะห์บริวารในระบบดาวฤกษ์เคปเลอร์-62 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวพิณ (Lyra) ดาวเคราะห์ทั้งสมองมีขนาดไม่แตกต่างจากโลกของเรามากนัก นั่นคือขนาดประมาณ 1.5 เท่าของโลก และมันยังโคจรในเขตที่เอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต อันหมายถึงวงโคจรที่มีระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่เหมาะสมมีอุณหภูมิพื้นผิวและบรรยากาศพอเหมาะแก่การอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
จากการเทียบกันเองระหว่างดาวเคราะห์ 2 ดวงนี้ เคปเลอร์-62fจุดประกายความหวังของนักวิทยาศาสตร์มากกว่า เนื่องจากมันมีชั้นบรรยากาศหนา เป็นไปได้ว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวน่าจะอยู่ในช่วงที่มนุษย์พอจะอยู่อาศัยได้อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาสั้นๆอย่างไรก็ตามดาวเคราะห์ทั้งสองดวงก็อยู่ห่างออกจากโลกของเราถึง 1,200 ปีแสง นักวิทยาศาสตร์จึงไม่อาจยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์หรือไม่ การยืนยันในขั้นนั้นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าที่เรามีอยู่มาก
การค้นพบดาวเคราะห์ 2 ดวงนี้เป็นผลมาจากความอุตสาหะของนักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์เก็บมาได้ตลอดระยะเวลา 3 ปี กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์เริ่มปฎิบัติภารกิจในปี 2009 โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนักวิทยาศาสตร์หวังว่าเราจะค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกและเอื้อต่อชีวิตอีกมากในอนาคต
เปรียบเทียบขนาดของโลกกับดาว เคปเลอร์-62f และดาว เคปเลอร์-62e
ดาวเคปเลอร์-62f
*ใหญ่กว่าโลกร้อยละ 40
*ใช้เวลา 267 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์
*พื้นผิวน่าจะเป็นหิน
เคปเลอร์-62e
*ใหญ่กว่าโลกร้อยละ 60
*ใช้เวลา 122 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์
*พื้นผิวน่าจะเป็นหินที่มีชั้นน้ำแข็ง
CR.
http://www.flagfrog.com/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2/
นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์คล้ายโลกนอกระบบสุริยะ
จากการเทียบกันเองระหว่างดาวเคราะห์ 2 ดวงนี้ เคปเลอร์-62fจุดประกายความหวังของนักวิทยาศาสตร์มากกว่า เนื่องจากมันมีชั้นบรรยากาศหนา เป็นไปได้ว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวน่าจะอยู่ในช่วงที่มนุษย์พอจะอยู่อาศัยได้อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาสั้นๆอย่างไรก็ตามดาวเคราะห์ทั้งสองดวงก็อยู่ห่างออกจากโลกของเราถึง 1,200 ปีแสง นักวิทยาศาสตร์จึงไม่อาจยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์หรือไม่ การยืนยันในขั้นนั้นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าที่เรามีอยู่มาก
การค้นพบดาวเคราะห์ 2 ดวงนี้เป็นผลมาจากความอุตสาหะของนักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์เก็บมาได้ตลอดระยะเวลา 3 ปี กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์เริ่มปฎิบัติภารกิจในปี 2009 โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนักวิทยาศาสตร์หวังว่าเราจะค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกและเอื้อต่อชีวิตอีกมากในอนาคต
เปรียบเทียบขนาดของโลกกับดาว เคปเลอร์-62f และดาว เคปเลอร์-62e
ดาวเคปเลอร์-62f
*ใหญ่กว่าโลกร้อยละ 40
*ใช้เวลา 267 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์
*พื้นผิวน่าจะเป็นหิน
เคปเลอร์-62e
*ใหญ่กว่าโลกร้อยละ 60
*ใช้เวลา 122 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์
*พื้นผิวน่าจะเป็นหินที่มีชั้นน้ำแข็ง
CR. http://www.flagfrog.com/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2/