ใครเคยอ่านแล้วก็ขอโทษด้วยน้าา เพราะเราเคยตั้งกระทู้นี้ในเว็บเด็กดีเมื่อประมาณต้นปี
1.ประวิติ รอ.ดร.โทโมโยชิ ทหารหนุ่มกับสาวเย็บผ้า

ภาพถ่าย รอ.ดร.โทโมโยชิ ในช่วงที่เข้ามาประจำการที่เมืองไทย....ปัจจุบันท่านอายุ 90 ปี สมัยยังเป็น ทหารหนุ่มชาวญี่ปุ่น ได้เข้ามาประจำการในประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ------ที่นครสวรรค์ ในช่วงแพ้สงครามเตรียมส่งตัวกลับนั้น ได้พบรักกับสาวไทยนางหนึ่ง ชื่อ คุณสำเนียง ครอบครัวของเธอดีกับเขามาก แม้เขาจะเป็นเพียงผู้พ่ายสงคราม ก่อนจากกันไป เธอได้ปักผ้าเช็ดหน้า รูปเกือกม้า ภายในเป็นรูปหัวม้า มีช่อซากุระ อยู่ข้างละช่อ ปักชื่อย่อ ของ รอ.ดร.โทโมโยชิ..อันแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง
ชาวบ้านแถวนั้นเล่าว่า สมัยนั้น รอ.ดร.โทโมโยชิ เป็นทหารหนุ่มรูปงาม มาแอบชอบคุณสำเนียง ตอนเย็นๆ ก็จะขี่ม้าผ่านมาบ้านคุณสำเนียง จนทุกคนจำเสียงฝีเท้าม้าได้...คุณสำเนียงสาวไทยเป็นช่างเย็บผ้าฝีมือดี ที่หน้าตาสวยงาม ต่างก็แอบพึงใจต่อกันแม้จะมีภาษาเป็นอุปสรรค...จนรอ.ดร.โทโมโยชิ กลับ ญี่ปุ่น
รอ.ดร.โทโมโยชิ กลับไปไม่กี่ปีคุณสำเนียงก็แต่งงาน .........
เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปี ทั้งสองได้พบกันอีกครั้ง แม้ไม่สมหวังในรัก แต่ทั้งสองก็มีความผูกพันในฐานะเพื่อนรัก และได้พบกันอีกหลายครั้งจน คุณสำเนียงจากไปเมื่อสองปีก่อน
รอ.ดร.โทโมโยชิ พกกล้องถ่ายภาพติดตัว และ มีภาพสงครามในสมัยนั้นที่ถ่ายไว้ด้วยกล้องเยอรมัน35ม.ม. กว่า500 ภาพ
เคยมาใช้ชีวิตที่ขุนยวม แม่ฮ่องสอนในช่วงรบ ติดมาลาเรีย จนเกือบเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่....ด้วยความมีน้ำใจของคนแม่ฮ่องสอน จึงรอดชีวิตมาได้ ดังนั้นเขาจึงกลับมาสร้างอนุสรณ์สถาน และ พิพิทภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่2 ที่เมือง ขุนยวม หน้าวัดม่วยต่อ.........เพื่อรำลึกถึงทุกคนที่จากไป
2. ขนมโมจิแทนใจ

ประวัติขนมโมจิสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตำนานรักของ สาวบ้านนากับหนุ่มทหารหมอกองทัพญี่ปุ่น
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในจังหวัดนครนายก ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนั้น ได้นำสินค้าต่างๆ มาค้าขายกับทหารญี่ปุ่น สินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพื้นเมืองประเภทผัก ผลไม้ และขนม โดยเฉพาะนางพันนา ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวบ้านมีอายุประมาณ 18 ปี ได้ทำขนมพื้นบ้านเช่นไข่เ-้ย กล้วยทอด ซาลาเปาทอด ขายจนได้รู้จักกับทหารหนุ่ม ชาวญี่ปุ่นชื่อซาโต้ ซึ่งเป็นหมอ และได้เกิดมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
วันหนึ่งทหารญี่ปุ่น ก็ต้องโยกย้ายไปที่อื่น แต่ก่อนจากไปนั้น ซาโต้ได้สอนนางพันนาทำขนมโมจิ และบอกกับเธอว่า ขนมนี้จะเป็นตัวแทนของซาโต้ และเป็นตัวแทนของประเทศเขา ถ้าเขาไม่อยู่และนางพันนาคิดถึงซาโต้ ให้ทำขนมนี้ ซาโต้จะกลับมา เมื่อซาโต้ได้สอนจนนางพันนาทำขนมโมจิเป็น ซาโต้กินขนมโมจิแล้วบอกกลับนางพันนาว่า นางพันนาทำขนมญี่ปุ่นโมจิได้อร่อยที่สุด
ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะจากไป ซาโต้บอกกับนางพันนาว่า หากวันใดคิดถึงเขาให้ทำขนมโมจิ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ซาโต้จะกลับมาหานางพันอีก ถ้าจะทำขายก็ทำได้ เพราะมีทหารญี่ปุ่น ที่คิดถึงบ้านอยากจะกินขนมญี่ปุ่น อย่างขนมโมจิ
และแล้วซาโต้ก็จากไป แต่นางพันนา ก็ยังคงทำอาชีพหาบของขาย ขนมญี่ปุ่นโมจิให้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นต่อไป ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นกลับประเทศญี่ปุ่น แต่นางพันนายังทำขนมโมจิขายให้กับผู้คนในจังหวัดนครนายก
จนวันหนึ่งทหารไทยบอกกับนางพันนาว่า ขนมที่ทำขายอยู่ ห้ามกิน ห้ามทำ ห้ามขาย เพราะเป็นขนมของญี่ปุ่น ขนมนี้มันคือขนมกบฏ นางพันนาจึงไม่ได้ทำขนมโมจินี้ขาย แต่ทุก ๆ ครั้งที่คิดถึงซาโต้ นางพันนาก็จะแอบทำขนมโมจินี้ เพื่อแทนความคิดถึง หนุ่มญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รัก และทุกครั้งที่ทำนางพันนา ทำขนมโมจินี้ จะตั้งจิตอธิษฐาน สวดมนต์ภาวนา ให้ซาโต้กลับมากินขนมของตัวเอง วันแล้ววันเล่า นานหลายสิบปีจนทุกคนลืมเรื่องนี้ไปหมดแล้ว
จนกระทั่งพ.ศ. 2547 พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบประวัติเรื่องขนมโมจินี้ จึงให้ทหารคนสนิทไปสืบหาที่มาขนมโมจิสูตรดังกล่าว ซึ่งได้ไปหาอยู่หลายที่และนำมาให้เสวย แต่พระเทพทรงตรัสว่าไม่ใช่ขนมโมจิสูตรที่ตามหา
ต่อมาอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ได้ประชาสัมพันธ์และสืบหาจนได้ทราบจากนายมานพ ศรีอร่าม ข้าราชการพัฒนาชุมชนว่าผู้ที่ทำขนมโมจิดังกล่าวคือมารดาของตัวเอง ในขณะนั้นมีอายุมากแล้วแต่ความทรงจำยังดี สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆในอดีตได้เป็นอย่างดี พร้อมได้สอนให้บุตรและบุตรสะใภ้ได้ทำขนมดังกล่าว ถวายสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งยายพันนารอคอยวันนี้มานานแสนนาน วันที่ขนมโมจิของแกได้ถูกเผยแพร่อีกครั้ง เหมือนได้บอกกับซาโต้ว่ายังมีสาวบ้านนาคนนี้รออยู่
ปัจจุบันยายพันนาได้จากไปแล้ว โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และปัจจุบันขนมโมจิสูตรดังกล่าวได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อมและมีไส้ให้เลือกหลายชนิด
3.นางแก้วกับทหารบาดเจ็บ

สำหรับ นางแก้ว ถือว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิด จนได้รับการขนานนามให้เป็นอังศุมาลินของเมืองไทย สืบเนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในเขต อ.ขุนยวม ปรากฏว่ามีทหารญี่ปุ่นชื่อ สิบเอกฟูคูดะ ฮิเตียว ได้รับบาดเจ็บจากภัยสงครามเข้ามารักษาตัวกับ นายปั๋น จันทสีมา พ่อของนางแก้ว ที่มีความรู้ในด้านการรักษาสมุนไพร หรือหมอพื้นบ้านและได้ นางแก้ว คอยดูแลอย่างใกล้ชิดจนเกิดเป็นความรัก ทั้งคู่จึงครองรักกันจนมีพยานรักเป็นบุตรชาย1 คน ชื่อ นายบุญอาจ จันทะสีมา ปัจจุบันเป็นข้าราชการครูบำนาญ แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามทางการญี่ปุ่นได้รับตัว สิบเอกฟูคูดะ กลับไปบ้านเกิด เป็นเหตุให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกันกระทั่งนางแก้วเสียชีวิต
ขณะที่เรื่องนี้กำลังโด่งดัง จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นได้มอบถ้วยหรือจอกสาเกให้เป็นที่ระลึกแก่ยายแก้ว โดยให้ผู้แทนพระองค์นำไปมอบให้ถึงบ้าน
ส่วนอีกเว็บนึงบอกว่า นายบุญอาจหรือฮิเดกิเล่าว่า สิบเอกฟูคูดะพ่อของตนถูกตำรวจขุนยวมจับไปที่บางกอกพยายามหนีจึงถูกยิงเสียชีวิต
เราคิดว่าเรื่องขนมโมจินี่เศร้าสุดๆเลย เรื่องที่1นี่ก็ยังเป็นเพื่อนรักกันอยู่ เรื่องสุดท้ายนี่ก็ยังมีลูกเป็นพยานรัก แต่ขนมโมจินี่คิดแล้วเศร้า คงกินขนมโมจิไปร้องไห้ไปหรือไม่ก็กินไปเหงาไป

แม้บางทีความรักจะไม่สมหวังแต่ก็เป็นความทรงจำที่ดี แล้วทุกคนชอบเรื่องไหนมากที่สุดคะ
สาวไทยกับทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่2
1.ประวิติ รอ.ดร.โทโมโยชิ ทหารหนุ่มกับสาวเย็บผ้า
ภาพถ่าย รอ.ดร.โทโมโยชิ ในช่วงที่เข้ามาประจำการที่เมืองไทย....ปัจจุบันท่านอายุ 90 ปี สมัยยังเป็น ทหารหนุ่มชาวญี่ปุ่น ได้เข้ามาประจำการในประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ------ที่นครสวรรค์ ในช่วงแพ้สงครามเตรียมส่งตัวกลับนั้น ได้พบรักกับสาวไทยนางหนึ่ง ชื่อ คุณสำเนียง ครอบครัวของเธอดีกับเขามาก แม้เขาจะเป็นเพียงผู้พ่ายสงคราม ก่อนจากกันไป เธอได้ปักผ้าเช็ดหน้า รูปเกือกม้า ภายในเป็นรูปหัวม้า มีช่อซากุระ อยู่ข้างละช่อ ปักชื่อย่อ ของ รอ.ดร.โทโมโยชิ..อันแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง
ชาวบ้านแถวนั้นเล่าว่า สมัยนั้น รอ.ดร.โทโมโยชิ เป็นทหารหนุ่มรูปงาม มาแอบชอบคุณสำเนียง ตอนเย็นๆ ก็จะขี่ม้าผ่านมาบ้านคุณสำเนียง จนทุกคนจำเสียงฝีเท้าม้าได้...คุณสำเนียงสาวไทยเป็นช่างเย็บผ้าฝีมือดี ที่หน้าตาสวยงาม ต่างก็แอบพึงใจต่อกันแม้จะมีภาษาเป็นอุปสรรค...จนรอ.ดร.โทโมโยชิ กลับ ญี่ปุ่น
รอ.ดร.โทโมโยชิ กลับไปไม่กี่ปีคุณสำเนียงก็แต่งงาน .........
เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปี ทั้งสองได้พบกันอีกครั้ง แม้ไม่สมหวังในรัก แต่ทั้งสองก็มีความผูกพันในฐานะเพื่อนรัก และได้พบกันอีกหลายครั้งจน คุณสำเนียงจากไปเมื่อสองปีก่อน
รอ.ดร.โทโมโยชิ พกกล้องถ่ายภาพติดตัว และ มีภาพสงครามในสมัยนั้นที่ถ่ายไว้ด้วยกล้องเยอรมัน35ม.ม. กว่า500 ภาพ
เคยมาใช้ชีวิตที่ขุนยวม แม่ฮ่องสอนในช่วงรบ ติดมาลาเรีย จนเกือบเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่....ด้วยความมีน้ำใจของคนแม่ฮ่องสอน จึงรอดชีวิตมาได้ ดังนั้นเขาจึงกลับมาสร้างอนุสรณ์สถาน และ พิพิทภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่2 ที่เมือง ขุนยวม หน้าวัดม่วยต่อ.........เพื่อรำลึกถึงทุกคนที่จากไป
2. ขนมโมจิแทนใจ
ประวัติขนมโมจิสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตำนานรักของ สาวบ้านนากับหนุ่มทหารหมอกองทัพญี่ปุ่น
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในจังหวัดนครนายก ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนั้น ได้นำสินค้าต่างๆ มาค้าขายกับทหารญี่ปุ่น สินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพื้นเมืองประเภทผัก ผลไม้ และขนม โดยเฉพาะนางพันนา ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวบ้านมีอายุประมาณ 18 ปี ได้ทำขนมพื้นบ้านเช่นไข่เ-้ย กล้วยทอด ซาลาเปาทอด ขายจนได้รู้จักกับทหารหนุ่ม ชาวญี่ปุ่นชื่อซาโต้ ซึ่งเป็นหมอ และได้เกิดมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
วันหนึ่งทหารญี่ปุ่น ก็ต้องโยกย้ายไปที่อื่น แต่ก่อนจากไปนั้น ซาโต้ได้สอนนางพันนาทำขนมโมจิ และบอกกับเธอว่า ขนมนี้จะเป็นตัวแทนของซาโต้ และเป็นตัวแทนของประเทศเขา ถ้าเขาไม่อยู่และนางพันนาคิดถึงซาโต้ ให้ทำขนมนี้ ซาโต้จะกลับมา เมื่อซาโต้ได้สอนจนนางพันนาทำขนมโมจิเป็น ซาโต้กินขนมโมจิแล้วบอกกลับนางพันนาว่า นางพันนาทำขนมญี่ปุ่นโมจิได้อร่อยที่สุด
ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะจากไป ซาโต้บอกกับนางพันนาว่า หากวันใดคิดถึงเขาให้ทำขนมโมจิ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ซาโต้จะกลับมาหานางพันอีก ถ้าจะทำขายก็ทำได้ เพราะมีทหารญี่ปุ่น ที่คิดถึงบ้านอยากจะกินขนมญี่ปุ่น อย่างขนมโมจิ
และแล้วซาโต้ก็จากไป แต่นางพันนา ก็ยังคงทำอาชีพหาบของขาย ขนมญี่ปุ่นโมจิให้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นต่อไป ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นกลับประเทศญี่ปุ่น แต่นางพันนายังทำขนมโมจิขายให้กับผู้คนในจังหวัดนครนายก
จนวันหนึ่งทหารไทยบอกกับนางพันนาว่า ขนมที่ทำขายอยู่ ห้ามกิน ห้ามทำ ห้ามขาย เพราะเป็นขนมของญี่ปุ่น ขนมนี้มันคือขนมกบฏ นางพันนาจึงไม่ได้ทำขนมโมจินี้ขาย แต่ทุก ๆ ครั้งที่คิดถึงซาโต้ นางพันนาก็จะแอบทำขนมโมจินี้ เพื่อแทนความคิดถึง หนุ่มญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รัก และทุกครั้งที่ทำนางพันนา ทำขนมโมจินี้ จะตั้งจิตอธิษฐาน สวดมนต์ภาวนา ให้ซาโต้กลับมากินขนมของตัวเอง วันแล้ววันเล่า นานหลายสิบปีจนทุกคนลืมเรื่องนี้ไปหมดแล้ว
จนกระทั่งพ.ศ. 2547 พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบประวัติเรื่องขนมโมจินี้ จึงให้ทหารคนสนิทไปสืบหาที่มาขนมโมจิสูตรดังกล่าว ซึ่งได้ไปหาอยู่หลายที่และนำมาให้เสวย แต่พระเทพทรงตรัสว่าไม่ใช่ขนมโมจิสูตรที่ตามหา
ต่อมาอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ได้ประชาสัมพันธ์และสืบหาจนได้ทราบจากนายมานพ ศรีอร่าม ข้าราชการพัฒนาชุมชนว่าผู้ที่ทำขนมโมจิดังกล่าวคือมารดาของตัวเอง ในขณะนั้นมีอายุมากแล้วแต่ความทรงจำยังดี สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆในอดีตได้เป็นอย่างดี พร้อมได้สอนให้บุตรและบุตรสะใภ้ได้ทำขนมดังกล่าว ถวายสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งยายพันนารอคอยวันนี้มานานแสนนาน วันที่ขนมโมจิของแกได้ถูกเผยแพร่อีกครั้ง เหมือนได้บอกกับซาโต้ว่ายังมีสาวบ้านนาคนนี้รออยู่
ปัจจุบันยายพันนาได้จากไปแล้ว โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และปัจจุบันขนมโมจิสูตรดังกล่าวได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อมและมีไส้ให้เลือกหลายชนิด
3.นางแก้วกับทหารบาดเจ็บ
สำหรับ นางแก้ว ถือว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิด จนได้รับการขนานนามให้เป็นอังศุมาลินของเมืองไทย สืบเนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในเขต อ.ขุนยวม ปรากฏว่ามีทหารญี่ปุ่นชื่อ สิบเอกฟูคูดะ ฮิเตียว ได้รับบาดเจ็บจากภัยสงครามเข้ามารักษาตัวกับ นายปั๋น จันทสีมา พ่อของนางแก้ว ที่มีความรู้ในด้านการรักษาสมุนไพร หรือหมอพื้นบ้านและได้ นางแก้ว คอยดูแลอย่างใกล้ชิดจนเกิดเป็นความรัก ทั้งคู่จึงครองรักกันจนมีพยานรักเป็นบุตรชาย1 คน ชื่อ นายบุญอาจ จันทะสีมา ปัจจุบันเป็นข้าราชการครูบำนาญ แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามทางการญี่ปุ่นได้รับตัว สิบเอกฟูคูดะ กลับไปบ้านเกิด เป็นเหตุให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกันกระทั่งนางแก้วเสียชีวิต
ขณะที่เรื่องนี้กำลังโด่งดัง จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นได้มอบถ้วยหรือจอกสาเกให้เป็นที่ระลึกแก่ยายแก้ว โดยให้ผู้แทนพระองค์นำไปมอบให้ถึงบ้าน
ส่วนอีกเว็บนึงบอกว่า นายบุญอาจหรือฮิเดกิเล่าว่า สิบเอกฟูคูดะพ่อของตนถูกตำรวจขุนยวมจับไปที่บางกอกพยายามหนีจึงถูกยิงเสียชีวิต
เราคิดว่าเรื่องขนมโมจินี่เศร้าสุดๆเลย เรื่องที่1นี่ก็ยังเป็นเพื่อนรักกันอยู่ เรื่องสุดท้ายนี่ก็ยังมีลูกเป็นพยานรัก แต่ขนมโมจินี่คิดแล้วเศร้า คงกินขนมโมจิไปร้องไห้ไปหรือไม่ก็กินไปเหงาไป
แม้บางทีความรักจะไม่สมหวังแต่ก็เป็นความทรงจำที่ดี แล้วทุกคนชอบเรื่องไหนมากที่สุดคะ