มีคำถามถึงการบริหารงานภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องการคำชี้แจง

กระทู้คำถาม
จากมาตรฐาน วิสัยทัศน์ และเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นกระทรวงหนึ่งระดับต้นของหน่วยงานราชการที่ถูกจับตามอง ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง เป็นรากฐานหลักของประเทศ ... จริงแล้ว มาตรฐาน และการดำเนินการภายใน สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่กระทรวงฯตั้งไว้ ซึ่งต้องคงความโปร่งใสอย่างดีเยี่ยม แก่ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน สอดคล้องกับภาพภายนอกแล้วหรือไม่

หากเป็นเช่นนั้น คำตอบของคำถามต่อไปนี้ ต้องชัดเจนและสร้างความกระจ่าง ด้วยเหตุผลที่สามารถยอบรับได้ อย่างไม่มีข้อแม้ ...

ในวันที่ 5 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ประกวดราคาจ้างงานบริหารอาคาร ประจำปีงบประมาณ 2558 ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

งบประมาณงานจัดจ้างดังกล่าว ประกาศในขอบเขตงานจ้างหมวดที่ 6 ข้อ 6.2 งบประมาณการดำเนินการ 14,893,970.00 บาทไทย ระยะเวลาดำเนินการ
(หรือระยะเวลาสัญญา) 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558

ข้อกำหนดเพิ่มเติม ที่กระทรวงกำหนดในการให้ผู้ต้องการประกวดราคาดำเนินการ มีระยะเวลาดังนี้
- กำหนดให้ยื่นซองเทคนิค หรือซองรายละเอียดต่างๆ แสดงสถานะ ความมั่นคง และคุณสมบัติว่าสอดคล้องกับกระทรวงฯต้องการ เพื่อตรวจสอบ ในวันที่ 19 กันยายน 2557
(มีเวลาเตรียมการเพื่อจัดหากำลังพล และวิศวะกร 11 วัน)
- กำหนดแจ้งผลผู้มีสิทธิ์ เข้าทำการประกวดราคา ด้วยวิธี e-auction ในวันที่ 23 กันยายน 2557
(มีเวลาเตรียมการเข้ารับงาน 7 วัน)
- กำหนดการประกวดราคา หรือ e-auction วันที่ 29 กันยายน 2557
- สัญญาเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2557
(*กรณีผู้ได้รับการคัดเลือก จะมีเวลาเตรียมเข้าปฏิบัติงาน 1 วัน คือวันที่ 30 กันยายน 2557)

กระทรวงฯ ไม่มีนโยบายดังนี้
- ไม่มีนโยบายเปิดเชิญผู้ประกวดราคาเข้าฟังชี้แจง TOR
- ไม่มีนโยบาย เดิน inspect สถานที่ล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบเครื่องจักร ฯลฯ ในการนำเสนอราคา
- ไม่มีนโยบาย หรือเลือกที่จะปฏิบัติในการ
  ไม่ทำการแจ้งผลบริษัทผู้ได้รับการว่าจ้างในทันที หลังการประกวดราคาสิ้นสุด โดยเหตุผลต้องมีการลงนามอนุมัติ และต้องประชุมประมวลผลการรับราคาก่อน

ในขณะที่มีบริษัท เข้าประกวดราคาเพียง 3 ราย และหนึ่งในนั้น เป็นบริษัทผู้บริหารงานเดิม

ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มีเอกสารโทรสาร ส่งถึงบริษัทผู้ประกวดราคา แจ้งผลราคาและบริษัทฯ ผู้ได้รับงานบริหารและจัดจ้างโดยกระทรวงฯ ที่ราคา 10,333,888.00 บาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคางบประมาณ ราคากลาง และราคาบริหารปัจจุบัน ถึง 4 ล้าน, 3 ล้าน และ 2 ล้าน ตามลำดับ

คำถามต่างๆจะไม่เกิดขึ้นเลย หากแต่
1.บริษัทผู้ได้รับสัญญาจ้างปัจจุบัน (ขอสงวนชื่อ)

เป็นผู้บริหารรายเดิมของปี 2554 (ระยะเวลา 10 เดือน 1 ธันวาคม 2553 - 30 กันยายน 2554)ด้วยงานบริหารราคา 10,818,800.00 บาท

เป็นผู้บริหารรายเดิมของปี 2555 (ระนะเวลา 4 เดือน) ด้วยราคา 4,331,520.00) จัดจ้างด้วยพิธีพิเศษ

เป็นผู้บริหารรายเดิม ประจำปี 2556 และ
เป็นผู้บริหารรายเดิมประจำปีงบประมาณ 2557 และจะหมดสัญญาลงในวันที่ 30 กันยายน 2557 ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในปี 2557ด้วยวิธีการ e-auction
ด้วยราคาบริหารงานที่ 12,844,400.-บาทไทย รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากงบประมาณประจำปี 2557 ที่ 12,900,000.00.- บาทไทย (12,900,000 - 12,844,400 = 55,600.00) ต่ำกว่างบเพียงประมาณ 55,600.00 บาท

บริษัทผู้บริหารรายเดิมนี้ เป็นผู้ได้รับอนุมัติงานบริหารงานดังกล่าวต่อในปี 2558 ด้วยราคาค่าบริหารใหม่ที่ 10,333,000.00 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงจากที่เคยได้เดิมถึง เกือบ 2 ล้านบาท!
(14,893,970.00 - 10,333,000.00 = 4,560,970.00 บาท !!!) ต่ำกว่างบประมาณถึง สี่ล้านห้าแสนหกหมื่นเก้าร้อยเจ็ดสิบบาท!!!
(12,844,400.00 - 10,333,000.00 = 2,511,400.00 บาท!!) ต่ำกว่าค่าบริหารเดิมที่เคยได้รับถึง สองล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาท!!


คำถามคือ
1. งานบริหารอาคาร โดยเฉพาะกระทรวงขนาดพื้นที่ ทั้งสิ้น 263,278.50 ตารางเมตร 2 โครงการ รวม 8 อาคาร จำนวนทั้งสิ้น 53 ชั้น
   ทำไม ไม่มีสัดส่วนเวลาให้ผู้เสนอราคาเข้าตรวจสอบพื้นที่
   ทำไม ไม่มีสัดส่วนเวลาเผื่อกรณีผู้ประกวดราคารายใหม่ได้รับอนุมัติ สามารถทำการส่งต่อ ส่งถ่ายงาน ตรวจสอบปัญหาหน้างาน และรับมอบการทำการต่อจากบริษัทเก่าอย่างเป็นมาตรฐาน
   ซึ่งผู้ที่อยู่ในวงการบริหารงานอาคารระดับประเทศ และชั้นนำทราบดีว่าต้องมี Period ในการดำเนินการดังกล่าว เพื่อการปฏิบัติงานต่องานอย่างราบรื่น และไม่กระทบต่อผู้บริหารกระทรวงฯ หรือข้าราชการใดๆ

2. ทำไมการประกวดราคาดังกล่าว ไม่มีการประกาศผลราคาทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่วนราชการใดๆ ปฏิบัติกันเป็นแบบแผน
   อีกทั้งระยะเวลายิ่งกระชั้น การประวิงผลดูไม่สมเหตุ สมผล

3. เหตุใด บริษัทผู้บริหารเดิม ยินยอมลดค่าบริการลงจากเดิมถึง กว่าสองล้านบาท โดยหากเป็นการบริหารธุรกิจภาคปกติ จัดได้ว่าบริษัทดังกล่าว ไม่ได้หวังผลกำไรจากการบริหารงานและให้บริการแก่กระทรวงฯเลย อีกทั้งไม่มีความจำเป็นใดๆเลยที่ต้องนำผลกำไร หรือรายได้ไปทำการปรับปรุงมาตรฐานงานของตน และขึ้นเงินเดือนพนักงานเลยหรือ???

   อันผิดมาตรฐานองค์กรธุรกิจ ที่มีระบบ ISO อันเป็นหนึ่งในข้อกำหนดที่ทางกระทรวงฯ ระบุในข้อกำหนดการบริหารงานเป็นยอย่างยิ่ง

  และทำไม บริษัทนี้ ถึงต้องยอมเจ็บตัวขนาดนี้เพื่อให้ได้งาน หรือแท้จริงแล้วรายได้ที่ผ่านมา สามารถครอบคลุมแล้วทุกการเจ็บตัว?

4. กระทรวงจะได้อะไร? จากการบริหารงานของผู้บริหารรายเดิม? คุณภาพที่เพิ่มขึ้น จากรายได้ที่ลดลง?
มาตรฐานและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ จากทีมงานและบุคคลากรคุณภาพหน้าใหม่ จากรายได้ที่ลดลง?

5. กระทรวงฯ คาดหวังให้บุคคลภายนอก และผู้เข้าเสนอราคารายอื่ยๆ เข้าใจว่าอย่างไร? และมีแนวทางอื่นใดให้เข้าใจเป็นอื่น?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่