20ยักษ์ส่งออกดิ้นแก้เกม ออร์เดอร์วูบ-วิ่งปลดล็อกใช้แรงงานทาส
updated: 30 ส.ค. 2557 เวลา 09:54:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
20 บิ๊กส่งออกกุ้ง-อาหารทะเลแช่แข็งดิ้นสุดฤทธิ์หวังหลุดบ่วงค้ามนุษย์ ผนึกรัฐชู "มาตรฐานแรงงานไทย" ลดกระแสต้านลูกค้าในสหรัฐ ยุโรป แคนาดา กระทรวงแรงงานการันตีไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานทาส พร้อมพลิกเกมรับจัดกลุ่มสินค้าที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน GLP-มรท.ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ มั่นใจเดือน ก.ย.นี้ "อ้อย-สิ่งทอ" หลุดแบล็กลิสต์ Tier3
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายจะแก้ไขปัญหาแรงงานทั้งระบบ โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน การใช้แรงงานทาส แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะการส่งออก ด้วยการดำเนินการหลายมาตรการควบคู่กัน ทั้งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยเปิดให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา, ลาว และเมียนมาร์ยื่นขอจดทะเบียนเข้าอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดแรงงานได้ระดับหนึ่ง
ขณะที่การแก้ ปัญหาแรงงานทาส และการค้ามนุษย์ โดยนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practice-GLP) และมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) มาใช้ และออกใบรับรองให้กับผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาการถูกต่อต้านจากสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพราะจากการหารือกับตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) ปรากฏว่า ILO เห็นชอบ และพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวของทางการไทย
"ล่าสุด ทางกระทรวงแรงงานเจรจากับ ILO แล้ว และยินดีที่จะให้การสนับสนุน เพราะอย่างน้อยเขาก็มีส่วนร่วมในกระบวนการ พูดง่าย ๆ มรท.ก็เหมือน ISO เพียงแต่ มรท.เป็นเรื่องเฉพาะแรงงานไทย"
20 ผู้ส่งออกป่วนเจอต้านค้ามนุษย์
นาย จีรศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาเฉพาะหน้าและถือเป็นเรื่องจำเป็นและฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องหาทางแก้ไข หรือเป็นกรณี Emergency Case คือกรณีที่บริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้ส่งออกประมาณ 20 ราย ที่ทั้งผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ บริษัทขนาดกลาง โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในซัพพลายเชนกลุ่มธุรกิจส่งออกสินค้าอาหารทะเล และสัตว์น้ำแช่เยือกแข็งกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และถูกกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานทาส แรงงานมนุษย์ ทำให้ประเทศผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำและอาหารทะเลทั้งในสหรัฐ ยุโรป แคนาดา ฯลฯ มีนโยบายงดสั่งซื้อสินค้าเข้าไปจำหน่าย นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าที่วางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวยังออกมาตรการเก็บสินค้าที่วาง จำหน่ายตามในห้าง สำหรับสินค้าทุกแบรนด์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาส แรงงานมนุษย์ ส่งผลกระทบผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและอาหารทะเลแช่แข็งอย่างรุนแรง
ก.แรงงานชูใบรับประกัน มรท.
แนว ทางแก้ปัญหาผู้ประกอบการทั้ง 20 ราย ได้ปรับปรุงระบบการผลิต โดยนำมาตรฐาน มรท.ของกระทรวงแรงงานไปใช้ ด้วยการยกระดับมาตรฐานด้านคุณภาพ สุขอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน หรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้แรงงานในระดับสากล ขณะที่กระทรวงแรงงานจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐานการใช้แรงงานของ ผู้ประกอบการทั้ง 20 ราย ก่อนออกหนังสือรับรอง มรท.ให้ และจะมีการตรวจสอบซ้ำเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเมื่อนำ มรท.ที่กระทรวงแรงงานการันตีว่าไม่มีปัญหาแรงงานทาส แรงงานมนุษย์ไปแสดง ผู้ซื้อสินค้าก็จะสบายใจขึ้น และช่วยคลี่คลายสถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา
ส่วน การแก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ระยะยาว หลังถูกสหรัฐปรับลดอันดับไทยสู่ระดับต่ำสุด (Tier 3) สถานการณ์ค้ามนุษย์อยู่ในระดับที่รุนแรง ปลัดกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กำลังพยายามแก้ไข ด้วยการใช้ระบบ GLP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามหลักการ ประมาณ 10 ข้อ คล้าย ๆ กับหลักในการบริหารกิจการที่ดี ประกอบด้วยระบบคุณธรรม, ระบบการสื่อสารสองทางระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มีการปรึกษาหารือกัน, ดูแลเรื่องสวัสดิการ, ดูแลเรื่องสุขอนามัย รวมไปถึงเรื่องสภาพแวดล้อม และไม่มีการบังคับใช้แรงงานทาส และแรงงานเด็ก เป็นต้น
พลิกจัดกลุ่มสินค่าหวั่นแจ็กพอต
นาย จีรศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้เพื่อป้องกันผลกระทบจากที่ถูกทางการสหรัฐลดอันดับเป็น Tier 3 ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการส่งออกสินค้าไทยทั้งระบบ ได้นำมาตรการแยกแยกกลุ่มสินค้ามาใช้ โดยจะจัดกลุ่มสินค้าและผู้ประกอบการประเภทที่ได้ GLP ตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมาซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 178 บริษัท
มาเข้าระบบ มรท.โดยให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควบคุมดูแลเรื่องการใช้แรงงานอย่าง ใกล้ชิด ก่อนออกมาตรฐาน มรท.ให้ เพื่อแยกออกจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และอาจจะมีปัญหาถูกต่อต้านจากประเทศผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าชาว ต่างชาติทั้งยุโรป สหรัฐ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ยังไม่ดำเนินการตามมาตรฐานที่วางไว้ก็สามารถสมัคร เข้าร่วมโครงการนี้ได้
มั่นใจ อ้อย-สิ่งทอ พ้นบ่วง
สำหรับ ประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงและเฝ้าจับตามอง กรณีไทยถูกจัดลำดับอยู่ในขั้นที่ 2 พิเศษ หรือ Tier 2 Watch List สินค้า 5 รายการ คือกุ้ง ปลา สิ่งทออ้อย และสื่อลามก โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และกำลังจะขึ้นปีที่ 4 โดยสหรัฐจะตัดสินในเดือนกันยายนนี้ มั่นใจว่าสินค้าอ้อย-น้ำตาลน่าจะหลุดจากการถูกจัดอันดับการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ เนื่องจากที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานร่วมมือกับโรงงานน้ำตาลจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กขึ้นมาดูแลเด็ก และแนะนำให้นำเด็กเข้าเลี้ยงดูที่สถานสงเคราะห์ พร้อมเฝ้าระวังไม่ให้มีปัญหาใช้แรงงานเด็กช่วยเหลือพ่อแม่ตัดอ้อย เช่นเดียวกับที่กำลังเร่งแก้ไขข้อกล่าวหาการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมสิ่ง ทอ ซึ่งถูกกล่าวหาโดยอ้างข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่เป็นจริง ที่ยังน่าห่วงคือสินค้าประมง
ต่างด้าวขึ้นทะเบียน 1 ล้านคน
ด้าน ความคืบหน้าของการเปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-31 ต.ค. 2557 ล่าสุด ณ วันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา, ลาว และเมียนมาร์ยื่นขอจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 811,353 คน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 คาดว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาจดทะเบียนกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ยื่นขอจดทะเบียนใน 15 จังหวัดที่มีพื้นที่ชายทะเลประมาณ 1.5 แสนคน ไม่รวมแรงงานต่างด้าวซึ่งจดทะเบียนอยู่ในระบบช่วงที่ผ่านมาอีกราว 1 ล้านคนเศษ และแรงงานที่นำเข้าภายใต้ข้อตกลง (MOU) ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน 3 ประเทศดังกล่าวอีก 7-8 แสนคน จึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้
และ ได้ประเภทของแรงงานตามลักษณะการประกอบกิจการ อาทิ แรงงานประมงทะเล ไร่อ้อย โรงงาน ภาคการก่อสร้าง ฯลฯ โดยรวบรวมความต้องการแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ทราบตัวเลขความต้องการ และปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ เพื่อหามาตรการแก้ไขในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ หากจำนวนแรงงานต่างด้าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ก็อาจเสนอฝ่ายนโยบายให้นำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นเพิ่มเติม อาทิ บังกลาเทศ เวียดนาม เป็นต้น
จัดระเบียบแรงงานเขต ศก.พิเศษ
ส่วน แผนรองรับการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ หลัง คสช.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด พิจารณาเรื่องกำหนดพื้นที่ กำหนดวิธีการ (ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาเรื่องโลจิสติกส์ กระทรวงแรงงานรับผิดชอบดูแลเรื่องได้ออกแบบศูนย์ One Stop Service-OSS โดยสร้างโมเดล เช่น วิธีการให้นายจ้างมายื่นขอโควตาใช้แรงงานต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ดูแลเรื่องการอนุญาตเข้าเมือง แบบไปเช้า-เย็นกลับ กระทรวงสาธารณสุขตรวจสุขภาพแรงงาน เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันทีในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 พื้นที่ที่จัดตั้งขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409320522
20ยักษ์ส่งออกดิ้นแก้เกม ออร์เดอร์วูบ-วิ่งปลดล็อกใช้แรงงานทาส
updated: 30 ส.ค. 2557 เวลา 09:54:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
20 บิ๊กส่งออกกุ้ง-อาหารทะเลแช่แข็งดิ้นสุดฤทธิ์หวังหลุดบ่วงค้ามนุษย์ ผนึกรัฐชู "มาตรฐานแรงงานไทย" ลดกระแสต้านลูกค้าในสหรัฐ ยุโรป แคนาดา กระทรวงแรงงานการันตีไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานทาส พร้อมพลิกเกมรับจัดกลุ่มสินค้าที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน GLP-มรท.ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ มั่นใจเดือน ก.ย.นี้ "อ้อย-สิ่งทอ" หลุดแบล็กลิสต์ Tier3
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายจะแก้ไขปัญหาแรงงานทั้งระบบ โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน การใช้แรงงานทาส แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะการส่งออก ด้วยการดำเนินการหลายมาตรการควบคู่กัน ทั้งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยเปิดให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา, ลาว และเมียนมาร์ยื่นขอจดทะเบียนเข้าอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดแรงงานได้ระดับหนึ่ง
ขณะที่การแก้ ปัญหาแรงงานทาส และการค้ามนุษย์ โดยนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practice-GLP) และมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) มาใช้ และออกใบรับรองให้กับผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาการถูกต่อต้านจากสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพราะจากการหารือกับตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) ปรากฏว่า ILO เห็นชอบ และพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวของทางการไทย
"ล่าสุด ทางกระทรวงแรงงานเจรจากับ ILO แล้ว และยินดีที่จะให้การสนับสนุน เพราะอย่างน้อยเขาก็มีส่วนร่วมในกระบวนการ พูดง่าย ๆ มรท.ก็เหมือน ISO เพียงแต่ มรท.เป็นเรื่องเฉพาะแรงงานไทย"
20 ผู้ส่งออกป่วนเจอต้านค้ามนุษย์
นาย จีรศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาเฉพาะหน้าและถือเป็นเรื่องจำเป็นและฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องหาทางแก้ไข หรือเป็นกรณี Emergency Case คือกรณีที่บริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้ส่งออกประมาณ 20 ราย ที่ทั้งผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ บริษัทขนาดกลาง โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในซัพพลายเชนกลุ่มธุรกิจส่งออกสินค้าอาหารทะเล และสัตว์น้ำแช่เยือกแข็งกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และถูกกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานทาส แรงงานมนุษย์ ทำให้ประเทศผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำและอาหารทะเลทั้งในสหรัฐ ยุโรป แคนาดา ฯลฯ มีนโยบายงดสั่งซื้อสินค้าเข้าไปจำหน่าย นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าที่วางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวยังออกมาตรการเก็บสินค้าที่วาง จำหน่ายตามในห้าง สำหรับสินค้าทุกแบรนด์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาส แรงงานมนุษย์ ส่งผลกระทบผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและอาหารทะเลแช่แข็งอย่างรุนแรง
ก.แรงงานชูใบรับประกัน มรท.
แนว ทางแก้ปัญหาผู้ประกอบการทั้ง 20 ราย ได้ปรับปรุงระบบการผลิต โดยนำมาตรฐาน มรท.ของกระทรวงแรงงานไปใช้ ด้วยการยกระดับมาตรฐานด้านคุณภาพ สุขอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน หรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้แรงงานในระดับสากล ขณะที่กระทรวงแรงงานจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐานการใช้แรงงานของ ผู้ประกอบการทั้ง 20 ราย ก่อนออกหนังสือรับรอง มรท.ให้ และจะมีการตรวจสอบซ้ำเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเมื่อนำ มรท.ที่กระทรวงแรงงานการันตีว่าไม่มีปัญหาแรงงานทาส แรงงานมนุษย์ไปแสดง ผู้ซื้อสินค้าก็จะสบายใจขึ้น และช่วยคลี่คลายสถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา
ส่วน การแก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ระยะยาว หลังถูกสหรัฐปรับลดอันดับไทยสู่ระดับต่ำสุด (Tier 3) สถานการณ์ค้ามนุษย์อยู่ในระดับที่รุนแรง ปลัดกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กำลังพยายามแก้ไข ด้วยการใช้ระบบ GLP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามหลักการ ประมาณ 10 ข้อ คล้าย ๆ กับหลักในการบริหารกิจการที่ดี ประกอบด้วยระบบคุณธรรม, ระบบการสื่อสารสองทางระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มีการปรึกษาหารือกัน, ดูแลเรื่องสวัสดิการ, ดูแลเรื่องสุขอนามัย รวมไปถึงเรื่องสภาพแวดล้อม และไม่มีการบังคับใช้แรงงานทาส และแรงงานเด็ก เป็นต้น
พลิกจัดกลุ่มสินค่าหวั่นแจ็กพอต
นาย จีรศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้เพื่อป้องกันผลกระทบจากที่ถูกทางการสหรัฐลดอันดับเป็น Tier 3 ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการส่งออกสินค้าไทยทั้งระบบ ได้นำมาตรการแยกแยกกลุ่มสินค้ามาใช้ โดยจะจัดกลุ่มสินค้าและผู้ประกอบการประเภทที่ได้ GLP ตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมาซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 178 บริษัท
มาเข้าระบบ มรท.โดยให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควบคุมดูแลเรื่องการใช้แรงงานอย่าง ใกล้ชิด ก่อนออกมาตรฐาน มรท.ให้ เพื่อแยกออกจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และอาจจะมีปัญหาถูกต่อต้านจากประเทศผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าชาว ต่างชาติทั้งยุโรป สหรัฐ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ยังไม่ดำเนินการตามมาตรฐานที่วางไว้ก็สามารถสมัคร เข้าร่วมโครงการนี้ได้
มั่นใจ อ้อย-สิ่งทอ พ้นบ่วง
สำหรับ ประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงและเฝ้าจับตามอง กรณีไทยถูกจัดลำดับอยู่ในขั้นที่ 2 พิเศษ หรือ Tier 2 Watch List สินค้า 5 รายการ คือกุ้ง ปลา สิ่งทออ้อย และสื่อลามก โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และกำลังจะขึ้นปีที่ 4 โดยสหรัฐจะตัดสินในเดือนกันยายนนี้ มั่นใจว่าสินค้าอ้อย-น้ำตาลน่าจะหลุดจากการถูกจัดอันดับการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ เนื่องจากที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานร่วมมือกับโรงงานน้ำตาลจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กขึ้นมาดูแลเด็ก และแนะนำให้นำเด็กเข้าเลี้ยงดูที่สถานสงเคราะห์ พร้อมเฝ้าระวังไม่ให้มีปัญหาใช้แรงงานเด็กช่วยเหลือพ่อแม่ตัดอ้อย เช่นเดียวกับที่กำลังเร่งแก้ไขข้อกล่าวหาการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมสิ่ง ทอ ซึ่งถูกกล่าวหาโดยอ้างข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่เป็นจริง ที่ยังน่าห่วงคือสินค้าประมง
ต่างด้าวขึ้นทะเบียน 1 ล้านคน
ด้าน ความคืบหน้าของการเปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-31 ต.ค. 2557 ล่าสุด ณ วันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา, ลาว และเมียนมาร์ยื่นขอจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 811,353 คน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 คาดว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาจดทะเบียนกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ยื่นขอจดทะเบียนใน 15 จังหวัดที่มีพื้นที่ชายทะเลประมาณ 1.5 แสนคน ไม่รวมแรงงานต่างด้าวซึ่งจดทะเบียนอยู่ในระบบช่วงที่ผ่านมาอีกราว 1 ล้านคนเศษ และแรงงานที่นำเข้าภายใต้ข้อตกลง (MOU) ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน 3 ประเทศดังกล่าวอีก 7-8 แสนคน จึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้
และ ได้ประเภทของแรงงานตามลักษณะการประกอบกิจการ อาทิ แรงงานประมงทะเล ไร่อ้อย โรงงาน ภาคการก่อสร้าง ฯลฯ โดยรวบรวมความต้องการแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ทราบตัวเลขความต้องการ และปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ เพื่อหามาตรการแก้ไขในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ หากจำนวนแรงงานต่างด้าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ก็อาจเสนอฝ่ายนโยบายให้นำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นเพิ่มเติม อาทิ บังกลาเทศ เวียดนาม เป็นต้น
จัดระเบียบแรงงานเขต ศก.พิเศษ
ส่วน แผนรองรับการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ หลัง คสช.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด พิจารณาเรื่องกำหนดพื้นที่ กำหนดวิธีการ (ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาเรื่องโลจิสติกส์ กระทรวงแรงงานรับผิดชอบดูแลเรื่องได้ออกแบบศูนย์ One Stop Service-OSS โดยสร้างโมเดล เช่น วิธีการให้นายจ้างมายื่นขอโควตาใช้แรงงานต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ดูแลเรื่องการอนุญาตเข้าเมือง แบบไปเช้า-เย็นกลับ กระทรวงสาธารณสุขตรวจสุขภาพแรงงาน เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันทีในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 พื้นที่ที่จัดตั้งขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409320522