ถึง โค้ชเชที่เคารพ และ เพื่อนพี่พันทิป
สวัสดีค่ะเรา เล่นเทควันโดตอนม.2 ปี 2544 จนถึง มหาวิทยาลัยปี 2 ปี 2550
เป็นรุ่นแรกๆของจังหวัดที่เล่นกีฬาชนิดนี้
เราซ้อมกับครูคนไทยและรุ่นพี่มหาลัยที่เล่นก่อนเราสมัยนั้น
* ซ้อมตั้งแต่ 5 โมงเย็นหลังเลิกเรียนจนถึง 2 ทุ่ม โดยปกติ และถึง 4 ทุ่ม เมื่อใกล้จะมีการแข่งขัน
ทุกอย่างมีตารางเวลาที่เป๊ะ ทุกคนต้องมาก่อนกี่โมง
* ถ้าสาย นับเป็นวินาทีที่สาย สายกี่วิ ก็วิดพื้นเป็นนจำนวนตามวิ คูณ 3 สาย 5 วิ คูณ 3 เท่ากับ วิดพื้น 15 ครั้ง
ไม่มีข้อแม้ หากสายเป็นชั่วโมง ก็ต้องทำตามนั้น แต่จะเป็นวิดพื้นวันนี้ 100 ครั้ง พรุ่งนี้มาวิดต่อ 100 ครั้ง ประมาณนี้ค่ะ
* การกระทำทุกอย่างต้องเป็นระเบียบ วินัย มีการลงโทษเมื่อฝ่าฝืนหรือละเลย
ก่อนเข้ายิม ต้องวางรองเท้าเป็นแถวให้เรียบร้อยในที่ๆวางรองเท้า กระเป๋าหนังสือ ชุดนักเรียน ไว้ที่ไหน เปลี่ยนชุดให้เรียบร้อย
ก่อนเข้าสนามเบาะะต้องโค้งเคารพสนาม การหยิบ การเก็บเป้า อุปกรณ์ ต้องโค้งเคารพ
เสมือนหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้คืออาจารย์ที่ทำให้เราพัฒนาขึ้น
* ต้องสวัสดีรุ่นพี่ทุกคนของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอาจารย์คนที่สอนเรา คนที่มาเล่นกีฬาชนิดนี้พร้อมเรา หรือหลังเรา ทั้งตอนมาและตอนกลับ
หนูซ้อมเป็นเวลา 1 ปี กว่าๆ ถึงจะได้สอบสาย และลงแข่งในแมตซ์ใกล้ๆจังหวัดเป็นระดับเล็กๆ
ในตอนนั้นประจักษ์แก่ตัวเลยว่า ทำไมเวลาซ้อม รุ่นพี่ที่เป็นครู ถึงเอาจริงเอาจัง เพราะเวลาลงแข่ง
คำว่าเหนื่อยจนใจจะขาดเป็นยังไง เจ็บตอนซ้อมกับเจ็บตอนแข่งคนละอย่าง
ในตอนแข่งเราไม่รู้ว่าเราเตะแบบไหน มีแต่โค้ช และคนดูที่รู้ว่าเตะแบบไหน
โค้ชพูดแก้ทาง เราก็มีอาการอยากจะเถียงอยากจะแย้งเพราะเราคิดว่าเราเตะถูกเป้า ถูกหัว ถูกตัวเลยน่ะ
โค้ชบอกอย่ากางปีกเล่าเป้า เราก็คิดแย้งว่าไม่ได้กางปีกเลยน่ะ
เหมือนกับคำที่ว่า
"นักกีฬาเวลาลงแข่งจะไม่รู้หรอกว่าตัวเองแข่งยังไง แต่คนดูรู้ว่าเราแข่งยังไง ฟอร์มการเล่นเป็นยังไง"
กลับมาจากแข่งในรอบนั้น มันก็ทำให้เราอยากที่จะแก้ไข จุดบกพร่องของตัวเอง
เมื่อมาดูคลิปวิดิโอที่รุ่นพี่ถ่ายไว้เผื่อให้ดูทีหลัง จึงรู้ว่าเป็นไปอย่างที่โค้ชบอกเราในสนามแข่งจริงๆ
เตะมั่ว ช่วงที่ควรจะออกอาวุธก็ไม่ออก ช่วงที่ไม่ควรออกก็ออก ช่วงที่เขาหลอกเพื่อดักเตะก็ดูไม่รู้ทางเข้า กางปีกล่อเป้า ทุกสิ่งอย่าง
การดูคลิปตัวเองเล่นในครั้งนั้น มันก็ทำให้เรากลับมาแก้ทุกสิ่งที่ไม่ควรทำ
และฝึกหนักขึ้น เพราะตอนแข่งรู้แล้วเหนื่อยจนใจจะขาดเป็นยังไง
ช่วงที่เล่นเทควันโด จะมีช่วงนึงที่ พี่วิว ได้เหรียญและกีฬาชนิดนี้คนรู้จักมากขึ้น มีคนมาเล่นมากขึ้น
ทำให้เราได้เห็นรุ่นน้องที่มาเล่นใหม่ ทำให้เราได้มองไปถึงตอนตัวเองเล่นแรกๆ
ยิ่งรู้ว่าเรานั้นอ่อนหัดมากนักหากเทียบกับคนที่เขาเล่นก่อนเรา และไม่แปลกใจที่เวลาสอนน้องๆ เขาจะมีอาการต่อต้าน
ก็เราเคยเป็นมาก่อน นี่นา คนไหนดัดได้ก็ดัดใช้วิธี ตีสนิทบ้าง ยกยอบ้าง ดุบ้าง โหดบ้าง ทำโทษวิดพื้น วิ่งรอบสนาม และ ไม้เรียว
เพื่อให้เขาทำและเปิดใจรับสิ่งที่เราบอกกล่าว
ตอนนั้นเราคิดว่าเราซ้อมหนักเพื่อคัดนักกีฬาจังหวัดแล้ว แต่ก็ต้องมาคิดใหม่อีกที
เมื่อตอน ม.4 ที่มีการสอบสายกับอาจารย์ ซองกิยอง ในตอนนั้นคาดว่าอาจารย์น่าจะ อายุ ซัก 60 ได้
ก่อนสอบสาย ก็วอร์มมาก่อนแล้ว แต่อาจารย์มาถึงก็พาวอร์มอีกรอบ ประมาณ ชั่วโมง กว่าๆ
ซึ่งตอนเราซ้อมกันเองไม่เคยวอร์มนานขนาดนี้
หลังจากนั้นก็ซ้อมตั้งแต่ท่าเตะ ท่าชกต่างๆ และเพิ่มสเต็ปหนักขึ้นเรื่อยๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ
จนหัวใจแทบจะกระเด็นหลุดออก มา นอก อก เหนื่อยจนหน้ามืดตามัว จนคิดว่า หัวใจจะวายตาย เหนื่อยกว่าลงสนามแข่งที่เราเคยแข่ง
ในระหว่างนั้น มันก็ทำให้เราเห็นถึงความต่างระหว่าง เทควันโดไทยเล่น กับ เทควันโดเกาหลีเล่น
อาจารย์ที่อายุมากกว่าเราหลายรอบ ไม่มีอาการเหนื่อย หอบ แฮ่ก แบบที่เราเป็น
อาจารย์แรงไม่ตกขนาดว่าซ้อมเป็นชั่วโมงๆมาแล้ว แต่เรา ขาเริ่มตก แขนยกไม่ขึ้น ขาก้าวไม่ออก น้ำลายเหนียว หูอื้อ ตาลาย มีหมดอ่ะ
อาจารย์ที่ทั้ง เตะ ทั้ง พูดสอน ตะโกนบอก ไม่เหนื่อย แต่เรา เหนื่อย
อาจารย์ไม่ได้ยืนสั่งๆๆ แต่อาจารย์ทำไปพร้อมๆกับเรา เดินเตะจากฝั่งหนึ่งของสนามไปอีกฝั่งของสนาม
อาจารย์ก็ทำเหมือนกับเรา แถมหลายรอบกว่าเรา เพราะต้องทำทุกรอบที่มีนักกีฬา ซึ่งนักกีฬาก็หลายคน กว่าจะครบทุกคน
อาจารย์ก็ปาเข้าไป เป็น สิบรอบ แต่อาจารยืไม่เหนื่อยเลย
ในตอนซ้อมปกติ ปวดฉี่อยากเข้าห้องน้ำก็ยกมือขออนุญาต แล้ว โค้งก่อนออกนอกสนาม และก่อนเข้า
แต่ซ้อมกับอาจารย์ไม่มีโมเม้นต์นั้นเลย อาจารย์ไม่เข้า นักกีฬาก็ไม่อนุญาต ค่ะ จนสิ้นสุดการฝึก
เสมือนว่า ก่อนซ้อมคุณต้องไปทำธุระมาแล้วให้เรียบร้อยประมาณนั้นค่ะ
หลักจากซ้อมปกติ ที่เป็น เตะ ก็มาถึงช่วงซ้อมแข่งเหมือนจริง เราเรียกว่า สแป ภาษาเต็มยังไง อังกฤษ เกาหลียังไง ก็ไม่แน่ใจ
ซ้อมปกติ เราก็ใส่เกราะ ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เตะในสนาม มีกรรมการซึ่งก็เป็นรุ่นพี่นั้นแหล่ะ มีนั่งคนให้คณะก็รุ่นพี่เรานั้นแหล่ะ จดคะแนน มาสรุปตอนท้าย
แต่ สแปกับอาจารย์ มันไม่ใช่ค่ะคู๊ณ ไม่ใส่เกราะ เตะจริงค่ะ แล้วไม่มีการซ้อมแข่งแบบเล่นๆแบบที่เราเคยทำกัน
มีสแปกับรุ่นพี่บ้าง รุ่นน้องบ้าง ผู้ชายกะผู้หญิงบ้าง และ บางคู่ สแปกับอาจารย์
คนไทยเวลาซ้อมเราจะติดอย่างหนึ่งค่ะ คือ ถ้าเป็น ชายซ้อมกับหญิง ชายจะไม่กล้าออกอาวุธเต็มที่ ถ้ารุ่นน้องกะรุ่นพี่ รุ่นน้องก็ไม่กล้าเตะหัว
คือจะมีความเกรงใจกันอยู่
แต่กับอาจารย์ ไม่เลยค่ะ ไม่มีพรมแดนแบบนั้นกั้นไว้เลย ซ้อมคือซ้อม นักกีฬาคือนักกีฬา ไม่มีแก่ไม่มีเด็ก ไม่มีชาย ไม่มีหญิง
แต่อาจารย์บอกว่า เตะให้เหมือน 100% แต่ออกแรง 50%
หลังจาก สแป ก็สอบสาย สอบสายที่เคยสอบกับอาจารย์คนไทย กับอาจารย์ซองกิยองแล้ว คนละอย่างเลยค่ะ ไม่มีการหยวน ไม่มีผิดนิดเดียวไม่เป็นไร
ต้องเป๊ะๆ ผิดเริ่มใหม่ ให้โอกาส 3 ครั้งเท่านั้น ถ้า 3 ครั้งยังผิด ก็กลับไปหลังแถวรอสอบใหม่ ปีหน้า
ในสมัยที่เราเล่น สอบสายปีละครั้ง ไม่เหมือนสมัยนี้ สอบสาย 3 เดือนครั้งก็ยังมี
* เราเข้าใจโค้ชเชน่ะในกรณีน้องร้อนใน เพราะขนาดเราเล่นระดับจังหวัด ยังต้องซ้อมหนัก ยังต้องมีวินัย ยังต้องทำตามกฏกติกา
แล้วระดับประเทศ ระดับชาติ จะต้องขนาดไหน ถ้าระดับชาติแล้วยังสามารถทำตัวระดับตำบลได้ ก็ออกมาเถอะ อย่าถ่วงทีมเขา
เงินที่ใช้จ่ายในการเก็บตัว การบำรุงรักษาสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ กิน อยู่ ส่วนหนึ่งคือเงินที่เจียดปจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีประชาชน
ถ้าทำไม่ได้ตามหน้าที่ ที่ควรจะเป็น มันเปลือง
* เราเข้าใจการทำโทษ ไม่ว่าจะกีฬาประเภทใดก็ตาม มีการลงโทษแตกต่างกัน และก็คนที่จะรู้สึกและเข้าใจแตกต่างกัน แต่ก่อนที่จะมาถึงบทลงโทษ แสดงว่าคุณต้องทำผิดอะไรเข้าสักอย่าง ระเบียบ วินัย กฏ กติกา บลาๆๆ สักข้อ
* กีฬาเทควันโดเป็นกีฬาต่อสู้ ลงสนาม ก็มีแต่ ต-ี-น โดนหัว โดนหน้า โดนตัว เป็นปกติ
* จากการซ้อมกับอาจารย์ ซองกิยองในครั้งนั้น มันทำให้เราเข้าใจถึงคำว่า ต้นตำรับ เข้าใจคำว่า เอาจริงเอาจัง ซึ่งอาจจะอยู่ในสายเลือดของคนเกาหลีไปแล้วมั้งค่ะ ดังนั้น ไม่แปลกที่โค้ชเช จะเอาจริงเอาจัง
*ตอนที่เราแข่งเราซ้อม เราจะมีคำพูดๆหนึ่งไว้พูดกับคนที่หาข้ออ้างในการซ้อมน้อยกว่าคนอื่น มาสายกว่าคนอื่น ป่วยบ่อยกว่าคนอื่น อ่อนแอ่กว่าคนอื่นว่า
นี่น้องอ่อนแอจริงหรือน้องสำออย แล้วเมื่อผ่านไปสักพักทุกสิ่งอย่างเปิดเผย น้องบอกปวดท้องซ้อมไม่ได้ พอเวลาเลิกซ้อม น้อง วิ่งปร๋อ ไปร้านนมปั่นไป โทรนัดกับเพื่อนที่คาราโอเกะ เราก็พูดพร้อมกันอย่างตลกๆว่า " โหยยยยยย ดีออก สำออย นะเมมิง

กลับไปเลยๆๆ" แล้วเราก็หัวเราะ
ปล.เหตุผลที่เรียนเทควันโดคือ ตัวเล็กโดนแกล้งบ่อย เลยไปสมัครชมรมมวยไทย แต่วันนั้นเขาไม่เปิด เห็นข้างๆเป็น เทควันโด กับยูโดซ้อม เลยเดินไปถาม วันแรกที่ยูโดสอนจับทุ่ม เจ็บ ไม่เล่นดีกว่า เดินไปหาชมรมเทควันโด วันแรกพี่พาเตะเล่นๆ หยอกล้อ หัวเราะสนุกสนาน เลยเข้าไปเล่นเต็มตัว หารู้ไม่ อีก 2 เดือนหลังจากนั้น จะซ้อมหฤโหด ซ้อมไปซ้อมมา ก็เข้าเส้นเลือดไปหล่ะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบจ้า
ปัจจุบันยังค้างอยู่ที่สายแดงไม่ถึงดำซะที ก็เลิกก่อนเพราะเข่าหลุด พอเข่าหาย ก็แก่เกินแกงหล่ะ
ตอนเล่นเทควันโด หุ่นนักกีฬามากเลยค่ะ กล้ามเนื้อล้วนๆ น้ำหนักไม่สวิง อาจเป็นเพราะคุมน้ำหนัก
แต่ตอนนี้มีปัญหากับการกินและน้ำหนัก 555 อยากได้หุ่นและน้ำหนักตอนนั้นมากเลย
เล่าเหตุการณ์บางช่วงของชีวิตตอนเล่นเทควันโดค่ะ
สวัสดีค่ะเรา เล่นเทควันโดตอนม.2 ปี 2544 จนถึง มหาวิทยาลัยปี 2 ปี 2550
เป็นรุ่นแรกๆของจังหวัดที่เล่นกีฬาชนิดนี้
เราซ้อมกับครูคนไทยและรุ่นพี่มหาลัยที่เล่นก่อนเราสมัยนั้น
* ซ้อมตั้งแต่ 5 โมงเย็นหลังเลิกเรียนจนถึง 2 ทุ่ม โดยปกติ และถึง 4 ทุ่ม เมื่อใกล้จะมีการแข่งขัน
ทุกอย่างมีตารางเวลาที่เป๊ะ ทุกคนต้องมาก่อนกี่โมง
* ถ้าสาย นับเป็นวินาทีที่สาย สายกี่วิ ก็วิดพื้นเป็นนจำนวนตามวิ คูณ 3 สาย 5 วิ คูณ 3 เท่ากับ วิดพื้น 15 ครั้ง
ไม่มีข้อแม้ หากสายเป็นชั่วโมง ก็ต้องทำตามนั้น แต่จะเป็นวิดพื้นวันนี้ 100 ครั้ง พรุ่งนี้มาวิดต่อ 100 ครั้ง ประมาณนี้ค่ะ
* การกระทำทุกอย่างต้องเป็นระเบียบ วินัย มีการลงโทษเมื่อฝ่าฝืนหรือละเลย
ก่อนเข้ายิม ต้องวางรองเท้าเป็นแถวให้เรียบร้อยในที่ๆวางรองเท้า กระเป๋าหนังสือ ชุดนักเรียน ไว้ที่ไหน เปลี่ยนชุดให้เรียบร้อย
ก่อนเข้าสนามเบาะะต้องโค้งเคารพสนาม การหยิบ การเก็บเป้า อุปกรณ์ ต้องโค้งเคารพ
เสมือนหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้คืออาจารย์ที่ทำให้เราพัฒนาขึ้น
* ต้องสวัสดีรุ่นพี่ทุกคนของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอาจารย์คนที่สอนเรา คนที่มาเล่นกีฬาชนิดนี้พร้อมเรา หรือหลังเรา ทั้งตอนมาและตอนกลับ
หนูซ้อมเป็นเวลา 1 ปี กว่าๆ ถึงจะได้สอบสาย และลงแข่งในแมตซ์ใกล้ๆจังหวัดเป็นระดับเล็กๆ
ในตอนนั้นประจักษ์แก่ตัวเลยว่า ทำไมเวลาซ้อม รุ่นพี่ที่เป็นครู ถึงเอาจริงเอาจัง เพราะเวลาลงแข่ง
คำว่าเหนื่อยจนใจจะขาดเป็นยังไง เจ็บตอนซ้อมกับเจ็บตอนแข่งคนละอย่าง
ในตอนแข่งเราไม่รู้ว่าเราเตะแบบไหน มีแต่โค้ช และคนดูที่รู้ว่าเตะแบบไหน
โค้ชพูดแก้ทาง เราก็มีอาการอยากจะเถียงอยากจะแย้งเพราะเราคิดว่าเราเตะถูกเป้า ถูกหัว ถูกตัวเลยน่ะ
โค้ชบอกอย่ากางปีกเล่าเป้า เราก็คิดแย้งว่าไม่ได้กางปีกเลยน่ะ
เหมือนกับคำที่ว่า "นักกีฬาเวลาลงแข่งจะไม่รู้หรอกว่าตัวเองแข่งยังไง แต่คนดูรู้ว่าเราแข่งยังไง ฟอร์มการเล่นเป็นยังไง"
กลับมาจากแข่งในรอบนั้น มันก็ทำให้เราอยากที่จะแก้ไข จุดบกพร่องของตัวเอง
เมื่อมาดูคลิปวิดิโอที่รุ่นพี่ถ่ายไว้เผื่อให้ดูทีหลัง จึงรู้ว่าเป็นไปอย่างที่โค้ชบอกเราในสนามแข่งจริงๆ
เตะมั่ว ช่วงที่ควรจะออกอาวุธก็ไม่ออก ช่วงที่ไม่ควรออกก็ออก ช่วงที่เขาหลอกเพื่อดักเตะก็ดูไม่รู้ทางเข้า กางปีกล่อเป้า ทุกสิ่งอย่าง
การดูคลิปตัวเองเล่นในครั้งนั้น มันก็ทำให้เรากลับมาแก้ทุกสิ่งที่ไม่ควรทำ
และฝึกหนักขึ้น เพราะตอนแข่งรู้แล้วเหนื่อยจนใจจะขาดเป็นยังไง
ช่วงที่เล่นเทควันโด จะมีช่วงนึงที่ พี่วิว ได้เหรียญและกีฬาชนิดนี้คนรู้จักมากขึ้น มีคนมาเล่นมากขึ้น
ทำให้เราได้เห็นรุ่นน้องที่มาเล่นใหม่ ทำให้เราได้มองไปถึงตอนตัวเองเล่นแรกๆ
ยิ่งรู้ว่าเรานั้นอ่อนหัดมากนักหากเทียบกับคนที่เขาเล่นก่อนเรา และไม่แปลกใจที่เวลาสอนน้องๆ เขาจะมีอาการต่อต้าน
ก็เราเคยเป็นมาก่อน นี่นา คนไหนดัดได้ก็ดัดใช้วิธี ตีสนิทบ้าง ยกยอบ้าง ดุบ้าง โหดบ้าง ทำโทษวิดพื้น วิ่งรอบสนาม และ ไม้เรียว
เพื่อให้เขาทำและเปิดใจรับสิ่งที่เราบอกกล่าว
ตอนนั้นเราคิดว่าเราซ้อมหนักเพื่อคัดนักกีฬาจังหวัดแล้ว แต่ก็ต้องมาคิดใหม่อีกที
เมื่อตอน ม.4 ที่มีการสอบสายกับอาจารย์ ซองกิยอง ในตอนนั้นคาดว่าอาจารย์น่าจะ อายุ ซัก 60 ได้
ก่อนสอบสาย ก็วอร์มมาก่อนแล้ว แต่อาจารย์มาถึงก็พาวอร์มอีกรอบ ประมาณ ชั่วโมง กว่าๆ
ซึ่งตอนเราซ้อมกันเองไม่เคยวอร์มนานขนาดนี้
หลังจากนั้นก็ซ้อมตั้งแต่ท่าเตะ ท่าชกต่างๆ และเพิ่มสเต็ปหนักขึ้นเรื่อยๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ
จนหัวใจแทบจะกระเด็นหลุดออก มา นอก อก เหนื่อยจนหน้ามืดตามัว จนคิดว่า หัวใจจะวายตาย เหนื่อยกว่าลงสนามแข่งที่เราเคยแข่ง
ในระหว่างนั้น มันก็ทำให้เราเห็นถึงความต่างระหว่าง เทควันโดไทยเล่น กับ เทควันโดเกาหลีเล่น
อาจารย์ที่อายุมากกว่าเราหลายรอบ ไม่มีอาการเหนื่อย หอบ แฮ่ก แบบที่เราเป็น
อาจารย์แรงไม่ตกขนาดว่าซ้อมเป็นชั่วโมงๆมาแล้ว แต่เรา ขาเริ่มตก แขนยกไม่ขึ้น ขาก้าวไม่ออก น้ำลายเหนียว หูอื้อ ตาลาย มีหมดอ่ะ
อาจารย์ที่ทั้ง เตะ ทั้ง พูดสอน ตะโกนบอก ไม่เหนื่อย แต่เรา เหนื่อย
อาจารย์ไม่ได้ยืนสั่งๆๆ แต่อาจารย์ทำไปพร้อมๆกับเรา เดินเตะจากฝั่งหนึ่งของสนามไปอีกฝั่งของสนาม
อาจารย์ก็ทำเหมือนกับเรา แถมหลายรอบกว่าเรา เพราะต้องทำทุกรอบที่มีนักกีฬา ซึ่งนักกีฬาก็หลายคน กว่าจะครบทุกคน
อาจารย์ก็ปาเข้าไป เป็น สิบรอบ แต่อาจารยืไม่เหนื่อยเลย
ในตอนซ้อมปกติ ปวดฉี่อยากเข้าห้องน้ำก็ยกมือขออนุญาต แล้ว โค้งก่อนออกนอกสนาม และก่อนเข้า
แต่ซ้อมกับอาจารย์ไม่มีโมเม้นต์นั้นเลย อาจารย์ไม่เข้า นักกีฬาก็ไม่อนุญาต ค่ะ จนสิ้นสุดการฝึก
เสมือนว่า ก่อนซ้อมคุณต้องไปทำธุระมาแล้วให้เรียบร้อยประมาณนั้นค่ะ
หลักจากซ้อมปกติ ที่เป็น เตะ ก็มาถึงช่วงซ้อมแข่งเหมือนจริง เราเรียกว่า สแป ภาษาเต็มยังไง อังกฤษ เกาหลียังไง ก็ไม่แน่ใจ
ซ้อมปกติ เราก็ใส่เกราะ ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เตะในสนาม มีกรรมการซึ่งก็เป็นรุ่นพี่นั้นแหล่ะ มีนั่งคนให้คณะก็รุ่นพี่เรานั้นแหล่ะ จดคะแนน มาสรุปตอนท้าย
แต่ สแปกับอาจารย์ มันไม่ใช่ค่ะคู๊ณ ไม่ใส่เกราะ เตะจริงค่ะ แล้วไม่มีการซ้อมแข่งแบบเล่นๆแบบที่เราเคยทำกัน
มีสแปกับรุ่นพี่บ้าง รุ่นน้องบ้าง ผู้ชายกะผู้หญิงบ้าง และ บางคู่ สแปกับอาจารย์
คนไทยเวลาซ้อมเราจะติดอย่างหนึ่งค่ะ คือ ถ้าเป็น ชายซ้อมกับหญิง ชายจะไม่กล้าออกอาวุธเต็มที่ ถ้ารุ่นน้องกะรุ่นพี่ รุ่นน้องก็ไม่กล้าเตะหัว
คือจะมีความเกรงใจกันอยู่
แต่กับอาจารย์ ไม่เลยค่ะ ไม่มีพรมแดนแบบนั้นกั้นไว้เลย ซ้อมคือซ้อม นักกีฬาคือนักกีฬา ไม่มีแก่ไม่มีเด็ก ไม่มีชาย ไม่มีหญิง
แต่อาจารย์บอกว่า เตะให้เหมือน 100% แต่ออกแรง 50%
หลังจาก สแป ก็สอบสาย สอบสายที่เคยสอบกับอาจารย์คนไทย กับอาจารย์ซองกิยองแล้ว คนละอย่างเลยค่ะ ไม่มีการหยวน ไม่มีผิดนิดเดียวไม่เป็นไร
ต้องเป๊ะๆ ผิดเริ่มใหม่ ให้โอกาส 3 ครั้งเท่านั้น ถ้า 3 ครั้งยังผิด ก็กลับไปหลังแถวรอสอบใหม่ ปีหน้า
ในสมัยที่เราเล่น สอบสายปีละครั้ง ไม่เหมือนสมัยนี้ สอบสาย 3 เดือนครั้งก็ยังมี
* เราเข้าใจโค้ชเชน่ะในกรณีน้องร้อนใน เพราะขนาดเราเล่นระดับจังหวัด ยังต้องซ้อมหนัก ยังต้องมีวินัย ยังต้องทำตามกฏกติกา
แล้วระดับประเทศ ระดับชาติ จะต้องขนาดไหน ถ้าระดับชาติแล้วยังสามารถทำตัวระดับตำบลได้ ก็ออกมาเถอะ อย่าถ่วงทีมเขา
เงินที่ใช้จ่ายในการเก็บตัว การบำรุงรักษาสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ กิน อยู่ ส่วนหนึ่งคือเงินที่เจียดปจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีประชาชน
ถ้าทำไม่ได้ตามหน้าที่ ที่ควรจะเป็น มันเปลือง
* เราเข้าใจการทำโทษ ไม่ว่าจะกีฬาประเภทใดก็ตาม มีการลงโทษแตกต่างกัน และก็คนที่จะรู้สึกและเข้าใจแตกต่างกัน แต่ก่อนที่จะมาถึงบทลงโทษ แสดงว่าคุณต้องทำผิดอะไรเข้าสักอย่าง ระเบียบ วินัย กฏ กติกา บลาๆๆ สักข้อ
* กีฬาเทควันโดเป็นกีฬาต่อสู้ ลงสนาม ก็มีแต่ ต-ี-น โดนหัว โดนหน้า โดนตัว เป็นปกติ
* จากการซ้อมกับอาจารย์ ซองกิยองในครั้งนั้น มันทำให้เราเข้าใจถึงคำว่า ต้นตำรับ เข้าใจคำว่า เอาจริงเอาจัง ซึ่งอาจจะอยู่ในสายเลือดของคนเกาหลีไปแล้วมั้งค่ะ ดังนั้น ไม่แปลกที่โค้ชเช จะเอาจริงเอาจัง
*ตอนที่เราแข่งเราซ้อม เราจะมีคำพูดๆหนึ่งไว้พูดกับคนที่หาข้ออ้างในการซ้อมน้อยกว่าคนอื่น มาสายกว่าคนอื่น ป่วยบ่อยกว่าคนอื่น อ่อนแอ่กว่าคนอื่นว่า
นี่น้องอ่อนแอจริงหรือน้องสำออย แล้วเมื่อผ่านไปสักพักทุกสิ่งอย่างเปิดเผย น้องบอกปวดท้องซ้อมไม่ได้ พอเวลาเลิกซ้อม น้อง วิ่งปร๋อ ไปร้านนมปั่นไป โทรนัดกับเพื่อนที่คาราโอเกะ เราก็พูดพร้อมกันอย่างตลกๆว่า " โหยยยยยย ดีออก สำออย นะเมมิง
ปล.เหตุผลที่เรียนเทควันโดคือ ตัวเล็กโดนแกล้งบ่อย เลยไปสมัครชมรมมวยไทย แต่วันนั้นเขาไม่เปิด เห็นข้างๆเป็น เทควันโด กับยูโดซ้อม เลยเดินไปถาม วันแรกที่ยูโดสอนจับทุ่ม เจ็บ ไม่เล่นดีกว่า เดินไปหาชมรมเทควันโด วันแรกพี่พาเตะเล่นๆ หยอกล้อ หัวเราะสนุกสนาน เลยเข้าไปเล่นเต็มตัว หารู้ไม่ อีก 2 เดือนหลังจากนั้น จะซ้อมหฤโหด ซ้อมไปซ้อมมา ก็เข้าเส้นเลือดไปหล่ะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบจ้า
ปัจจุบันยังค้างอยู่ที่สายแดงไม่ถึงดำซะที ก็เลิกก่อนเพราะเข่าหลุด พอเข่าหาย ก็แก่เกินแกงหล่ะ
ตอนเล่นเทควันโด หุ่นนักกีฬามากเลยค่ะ กล้ามเนื้อล้วนๆ น้ำหนักไม่สวิง อาจเป็นเพราะคุมน้ำหนัก
แต่ตอนนี้มีปัญหากับการกินและน้ำหนัก 555 อยากได้หุ่นและน้ำหนักตอนนั้นมากเลย