ผมไม่ได้ดูละครไทยมากว่า 20 ปีแล้ว แต่ทุกครั้งที่แวะทานอาหารตามร้านต่างๆก็จะเห็นเหตุการณ์ในละครเป็นครั้งคราว
ดังนั้นที่ผมยกตัวอย่างมานี้จึงเป็นเรื่องราวที่ผมเคยเห็นในละครเพียงผ่านๆ และไม่แน่ใจว่าอยู่ในละครเรื่องใดบ้างนะครับ...
ผมลองสังเกตว่าแทบทุกครั้งหลังจากข่มขืนนางเอกไปแล้ว พระเอกก็ยังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ความผิดที่ถูกบิดเบือนด้วยภาพลักษณ์ของคุณชายไฮโซนักธุรกิจ หล่อ รวย และมีคุณธรรม(บทบาททำให้คนดูเชื่ออย่างนั้น)
นางเอกก็ไม่เคยเอาร้ายแจ้งความเป็นเรื่องเป็นราว กลับมานั่งตรอมตรมขมขื่น นานไปพักนึงก็ลืม สุดท้ายกลับมารัก
หลายคนคงตั้งคำถามในใจด้วยภาษาโซเชี่ยลมีเดีย+อีโมชั่นน่ารักน่าชังว่า..... นี่คืออัลไล !!?!
การข่มขืนในละครไทยเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีการถือโทษโกรธความกันจริงๆจังๆ.... ใช่ไหม ?
หันมาดูอีกฟากหนึ่งด้านตัวโกง.....
นางร้ายตัวอิจฉาที่เคยรังแกนางเอกสารพัด วางแผนร้ายได้ทุกเรื่อง สุดท้ายได้รับผลกรรมด้วยการถูกตัวโกงฝ่ายชายรุมข่มขืน
ก็ไม่เคยปรากฎให้เห็นว่ามีการขึ้นโรงพักแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายกับตัวโกง ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมที่ตัวเองได้ก่อไว้
....ไม่มีการนำเสนอหรือให้แง่คิดทางสังคมว่าการข่มขืนจริงๆแล้วผู้ร้ายสมควรถูกลงโทษให้เป็นบทเรียนและแบบอย่างเสียที...
ดังนั้นการที่มีบทให้นางเอกแจ้งความดำเนินดคีกับพระเอก(รวมไปถึงฝั่งนางร้ายกับผู้ร้าย)นอกจากจะเป็นแบบอย่างที่ควรจะทำแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจหลังจากนั้นก็คือ คนดูจะได้เห็นบทบาทการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในละครอีกด้วย รอดไม่รอดเดี๋ยวรู้กัน
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ ถ้าไม่อยากให้พระเอกมาดคุณชายอยู่ในสภาพมีโซ่ตรวนล่ามขายืนตาเหม่อลอยในห้องขัง ผมเผ้ารุงรัง
หรือไม่อยากให้ภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมต้องเสื่อมเสียเพราะละครน้ำเน่า ก็แค่ยกเลิกฉากการ “ข่มขืนแล้วยืนยิ้ม”
ทุกประเภทในละครไทยจะดีกว่าไหมครับ
ร่วมกันเสนอให้นางเอกละครไทยแจ้งตำรวจดำเนินคดีกับพระเอกข้อหาข่มขืน
ดังนั้นที่ผมยกตัวอย่างมานี้จึงเป็นเรื่องราวที่ผมเคยเห็นในละครเพียงผ่านๆ และไม่แน่ใจว่าอยู่ในละครเรื่องใดบ้างนะครับ...
ผมลองสังเกตว่าแทบทุกครั้งหลังจากข่มขืนนางเอกไปแล้ว พระเอกก็ยังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ความผิดที่ถูกบิดเบือนด้วยภาพลักษณ์ของคุณชายไฮโซนักธุรกิจ หล่อ รวย และมีคุณธรรม(บทบาททำให้คนดูเชื่ออย่างนั้น)
นางเอกก็ไม่เคยเอาร้ายแจ้งความเป็นเรื่องเป็นราว กลับมานั่งตรอมตรมขมขื่น นานไปพักนึงก็ลืม สุดท้ายกลับมารัก
หลายคนคงตั้งคำถามในใจด้วยภาษาโซเชี่ยลมีเดีย+อีโมชั่นน่ารักน่าชังว่า..... นี่คืออัลไล !!?!
การข่มขืนในละครไทยเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีการถือโทษโกรธความกันจริงๆจังๆ.... ใช่ไหม ?
หันมาดูอีกฟากหนึ่งด้านตัวโกง.....
นางร้ายตัวอิจฉาที่เคยรังแกนางเอกสารพัด วางแผนร้ายได้ทุกเรื่อง สุดท้ายได้รับผลกรรมด้วยการถูกตัวโกงฝ่ายชายรุมข่มขืน
ก็ไม่เคยปรากฎให้เห็นว่ามีการขึ้นโรงพักแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายกับตัวโกง ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมที่ตัวเองได้ก่อไว้
....ไม่มีการนำเสนอหรือให้แง่คิดทางสังคมว่าการข่มขืนจริงๆแล้วผู้ร้ายสมควรถูกลงโทษให้เป็นบทเรียนและแบบอย่างเสียที...
ดังนั้นการที่มีบทให้นางเอกแจ้งความดำเนินดคีกับพระเอก(รวมไปถึงฝั่งนางร้ายกับผู้ร้าย)นอกจากจะเป็นแบบอย่างที่ควรจะทำแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจหลังจากนั้นก็คือ คนดูจะได้เห็นบทบาทการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในละครอีกด้วย รอดไม่รอดเดี๋ยวรู้กัน
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ ถ้าไม่อยากให้พระเอกมาดคุณชายอยู่ในสภาพมีโซ่ตรวนล่ามขายืนตาเหม่อลอยในห้องขัง ผมเผ้ารุงรัง
หรือไม่อยากให้ภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมต้องเสื่อมเสียเพราะละครน้ำเน่า ก็แค่ยกเลิกฉากการ “ข่มขืนแล้วยืนยิ้ม”
ทุกประเภทในละครไทยจะดีกว่าไหมครับ