สวัสดีครับ ช่วงนี้ภาคเหนือฝนตกชุกมากโดยเฉพาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนบ้านผม ทำให้เห็ดชนิดหนึ่งที่น่าจะถูกปากใครต่อใครหลายคน ด้วยรสชาติที่กรุบกรอบ หวานอร่อย ออกเยอะมาก ทำรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ และ คนต่างถิ่นที่เข้ามาหาเห็ดชนิดนี้ ในจ.แม่ฮ่องสอนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยสนนราคาจากป่า ที่พ่อค้าคนกลางมารับโดยตรงแบบไม่มีจำกัดจำนวน ราคาถึงลิตรละ 100 - 120 บาท เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นั่นคือเห็ดถอบ หรือเห็ดเผาะ ในภาษากลางนั่นเอง เห็ดที่มีรูปร่างลักษณะแปลกกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ คือเป็นลูกกลมแบน ขนาดเท่าเหรียญบาท ไปจนถึงขนาดน้องๆลูกปิงปองเลยครับ
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%B0
เห็ดเผาะ (อังกฤษ: Barometer Earthstars; ชื่อวิทยาศาสตร์: Astraeus hygrometricus) หรือ เห็ดถอบ ในภาษาถิ่นภาคเหนือ เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในวงศ์ Lycoperdaceae โดยจัดเป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองธรรมชาติ เป็นลูกกลมๆ ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่ออ่อนจะกลม ผิวเรียบสีขาวนวล มีรอยเปื้อนดิน ไม่มีก้าน อายุมากขึ้นผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือเกือบดำ เนื้อเหนียว เห็ดเผาะมีเปลือกสองชั้น ชั้นนอกจะแตกเมื่ออายุมาก ด้านในเป็นถุงกลมสีขาวหม่น ด้านบนจะแตกเป็นช่องให้สปอร์ฟุ้งออกมา สปอร์รูปกลม มีหนาม สีน้ำตาล ขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งพบได้ตามภาคเหนือและภาคอีสานในประเทศไทย สามารถนำมาเป็นอาหารได้และก็มีราคาแพง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้
ชวนเข้าป่า หาเห็ดถอบกันครับ
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%B0
เห็ดเผาะ (อังกฤษ: Barometer Earthstars; ชื่อวิทยาศาสตร์: Astraeus hygrometricus) หรือ เห็ดถอบ ในภาษาถิ่นภาคเหนือ เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในวงศ์ Lycoperdaceae โดยจัดเป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองธรรมชาติ เป็นลูกกลมๆ ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่ออ่อนจะกลม ผิวเรียบสีขาวนวล มีรอยเปื้อนดิน ไม่มีก้าน อายุมากขึ้นผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือเกือบดำ เนื้อเหนียว เห็ดเผาะมีเปลือกสองชั้น ชั้นนอกจะแตกเมื่ออายุมาก ด้านในเป็นถุงกลมสีขาวหม่น ด้านบนจะแตกเป็นช่องให้สปอร์ฟุ้งออกมา สปอร์รูปกลม มีหนาม สีน้ำตาล ขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งพบได้ตามภาคเหนือและภาคอีสานในประเทศไทย สามารถนำมาเป็นอาหารได้และก็มีราคาแพง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้