(เกาะติดประมูล4G) กทค. ระบุ ปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีความหมายสามารถนำไปเปิดให้บริการได้เช่นเดียวกัน ต่างจากการประมูล 3G ในความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ต้องมีความถี่อย่างต่ำ 5 MHz
ประเด็นหลัก
ส่วนการที่ กทค.ตัดสินใจนำเอาความถี่ 1800 MHz ในส่วนของการ์ดแบนด์ (Guard Band) จำนวน 2.5 MHz มารวมเพื่อประมูลด้วย ทั้งที่ในตอนแรกมองว่าจะไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น เนื่องจากปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีความหมายสามารถนำไปเปิดให้บริการได้เช่นเดียวกัน ต่างจากการประมูล 3G ในความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ต้องมีความถี่อย่างต่ำ 5 MHz ถึงจะนำมาเปิดให้บริการได้
______________________________________
ไขปมประมูล 1800/900 MHz
ในราวกลางเดือน ส.ค. 2557 ประเทศไทยจะมีการประมูลความถี่ 1800 MHz และช่วงเดือน พ.ย.ปีเดียวกันก็จะจัดให้มีการประมูลความถี่ 900 MHz หรือที่เรียกกันติดปากว่าการประมูล 4G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) โดยมติบอร์ด กสทช.เมื่อวันที่ 23 เม.ย.เห็นชอบกับร่างประกาศฯ ประมูลความถี่ 1800 MHz ที่กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,600 ล้านบาทไปแล้ว ที่เหลือก็เพียงเดินตามขั้นตอนต่อไปเท่านั้น
สิ่งที่ตามมาคือคำถามที่ยังคาใจว่าราคาตั้งต้นการประมูล (reserve price) และการกำหนดเพดานการถือครองความถี่ (spectrum cap) ดูเหมาะสม เป็นธรรม และไม่เอื้อประโยชน์ต่อใครคนใดเป็นพิเศษหรือไม่ ในเมื่อมันมีความแตกต่างกันระหว่างเงื่อนไขของการประมูลความถี่ 1800 กับ 900 MHz เพราะจำนวนความถี่เป็นแต้มต่อสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายที่สามารถตัดสินอนาคตแพ้ชนะกันได้
โดยบอร์ด กทค.ได้กำหนดให้เปิดประมูลความถี่ 1800 MHz จำนวน 25 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ที่หมดสัมปทานไปตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้วจำนวน 2 ใบอนุญาต (ไลเซนส์) แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 12.5 MHz ทั้ง 2 ใบอนุญาตในช่วงกลางเดือน ส.ค. 2557 นี้ ซึ่งมีการกำหนด Spectrum Cap คือผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถถือครองได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น
แต่ในขณะที่ความถี่ 900 MHz จำนวน 17.5 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย. 2558 จะจัดให้มีการประมูลล่วงหน้าภายในเดือน พ.ย. 2557 จำนวน 2 ใบอนุญาตแบ่งออกเป็นความถี่จำนวน 10 MHz หนึ่งใบอนุญาต และอีก 7.5 MHz หนึ่งใบอนุญาต แต่กลับไม่มีการกำหนด Spectrum Cap ในการประมูลก ล่าวคือ ผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถถือครองได้ทั้ง 2 ใบอนุญาตที่เปิดประมูลนั่นเอง
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธาน กทค.ระบุว่า การกำหนดการถือครองคลื่นความถี่ในประเด็นข้างต้นนั้นไม่อยากให้เรียกว่าเป็นการกำหนด Spectrum Cap เนื่องจากการกำหนดดังกล่าวไม่ได้นับรวมการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในอดีต
ดังนั้นการประมูล 4G ครั้งนี้จะไม่มีการกำหนด Spectrum Cap แต่จะเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลเฉพาะในครั้งนี้เท่านั้นว่าสามารถประมูลความถี่ได้รายละเท่าไร โดย กทค.กำหนดให้ความถี่ 1800 MHz ผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลประมูลได้เพียง 12.5 MHz เท่านั้น ส่วน 900 MHz ไม่ได้มีการกำหนดในครั้งนี้
แต่สาเหตุที่กำหนดการถือครองความถี่ทั้ง 2 ช่วงไม่เหมือนกัน เนื่องจากในความถี่ 1800 MHz หากไม่มีการกำหนด และมีผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถประมูลได้ใบอนุญาตไปทั้ง 2 ใบอนุญาตจะส่งผลกระทบในการนำคลื่นดังกล่าวไปทำตลาดในอนาคต เนื่องจากทั้ง 2 ช่วงคลื่นความถี่คือ 12.5 MHz และ 12.5 MHz ที่นำมาประมูลนั้นไม่ได้ติดกัน โดยมีคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 50 MHz กั้นกลางอยู่ ซึ่งเป็นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่ได้รับสัมปทานจากบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งจะหมดสัมปทานในปี 2561 โดย กทค.มีแผนจะนำมาเปิดประมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2558 ต่อไป
ที่สำคัญ สาเหตุที่ กทค.จัดสรรเพียงใบอนุญาตละ 12.5 MHz เนื่องจากความถี่ 1800 MHz ที่หมดสัมปทานลงแล้วมีจำนวนเพียง 25 MHz เท่านั้นในตอนนี้ จึงต้องการแบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะหากแบ่งเป็น 3 ใบอนุญาตก็อาจโดนเสียงครหาได้ว่าเป็นการแบ่งชิ้นเค้กให้ผู้ประกอบการเอกชนทั้ง 3 รายที่อยู่ในตลาดตอนนี้เหมือนตอนการประมูลความถี่ 2.1GHz หรือ 3G ที่ผ่านมา
ส่วนอีก 50 MHz ของดีแทคปัจจุบันยังไม่หมดสัมปทานจึงยังไม่สามารถนำมาประมูลพร้อมกันในครั้งนี้ได้เพราะอาจเกิดปัญหากับเจ้าของสัมปทานในที่สุด
ส่วนการที่ กทค.ตัดสินใจนำเอาความถี่ 1800 MHz ในส่วนของการ์ดแบนด์ (Guard Band) จำนวน 2.5 MHz มารวมเพื่อประมูลด้วย ทั้งที่ในตอนแรกมองว่าจะไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น เนื่องจากปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีความหมายสามารถนำไปเปิดให้บริการได้เช่นเดียวกัน ต่างจากการประมูล 3G ในความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ต้องมีความถี่อย่างต่ำ 5 MHz ถึงจะนำมาเปิดให้บริการได้
ขณะที่ความถี่ 900 MHz สาเหตุที่ต้องแบ่งจำนวนความถี่ออกเป็น 2 ใบอนุญาตคือจำนวน 10 MHz 1 ใบอนุญาต และ 7.5 MHz 1 ใบอนุญาต เนื่องจากมีความถี่ให้จัดสรรเพียง 17.5 MHz ส่วนการที่ไม่กำหนดเพดานการถือครองความถี่ที่จะประมูล เนื่องจาก กทค.ต้องการให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ซึ่งหากแบ่งความถี่น้อยเกินไปหรือมากกว่า 2 ใบอนุญาตอาจจะไม่เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ให้เกิดขึ้นในตลาด และอาจส่งผลทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำความถี่ที่ได้มาไปทำตลาดได้เพราะจำนวนความถี่ที่น้อยเกินไป
ดังนั้นการแบ่งความถี่ออกเป็น 10 MHz และ 7.5 MHz ถือว่าเหมาะสมที่สุด เนื่องจากหากมีผู้ประกอบการรายใหม่ประมูลได้ 7.5 MHz ก็สามารถนำไปทำตลาด 3G ได้จำนวน 5 MHz
“สาเหตุที่ไม่มีการกำหนดการถือครองความถี่ 900 MHz เนื่องจากจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาประมูล รวมถึงมีอุปสรรคต่อการลงทุนเนื่องจากเป็นช่วงความถี่ที่ติดกัน หากได้เพียงใบอนุญาตเดียวอาจจะไม่สามารถทำตลาดได้เต็มศักยภาพเท่าที่ควร”
อีกทั้ง กทค.ยังกำหนดการครอบคลุมของโครงข่ายของผู้ประกอบการที่จะต้องลงทุนโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของจำนวนประชากรภายใน 4 ปี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่ทั้ง 2 ช่วงคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล ซึ่งเหตุที่กำหนดการขยายโครงข่ายน้อยกว่าตอนประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G นั้นเนื่องจากคลื่นความถี่ 1800 MHz ส่วนใหญ่จะนำไปเปิดให้บริการเฉพาะในเมืองเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส และส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหม่ ให้สามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนี้ได้ด้วย
ประเด็นสำคัญที่สุดคือความถี่ 900 MHz ที่มีจำนวน 17.5 MHz ไม่สามารถให้ประมูลเพียงใบอนุญาตเดียวได้ เพราะอาจทำให้ถูกมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ค่ายมือถือรายใหญ่เพียงรายเดียว รวมทั้งปริมาณความถี่ยังมากเกินไป การแบ่งความถี่ออกเป็น 2 ใบอนุญาตดูจะเหมาะสมมากที่สุด และยังเปิดทางผู้ประกอบการหน้าใหม่ในตลาดที่สนใจ หรือถ้าหากรายใหญ่ต้องการทั้ง 2 ใบอนุญาตก็ต้องแข่งราคากันเต็มที่ ซึ่งสุดท้ายรัฐและประชาชนก็จะได้ประโยชน์จากการแข่งขันประมูลความถี่ครั้งนี้
*** เอไอเอสจ่อประมูลใบอนุญาต 10 MHz
วิเชียร เมฆตระการ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า หากพูดถึงการเข้าร่วมประมูลความถี่ทั้ง 2 ย่าน คือ 1800 MHz และ 900 MHz เอไอเอสคงเข้าประมูลทั้ง 2 ความถี่อยู่แล้วในฐานะผู้ประกอบการ ส่วนในประเด็นเรื่องการกำหนด Spectrum Cap ในความถี่ 900 MHz นั้น มองว่าจริงๆ แล้วจำนวนความถี่ที่นำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต้องมีประมาณ 10 MHz ดังนั้น กทค.ควรจะเปิดประมูล 10 MHz ทั้ง 2 ใบอนุญาต แต่ในเมื่อมีแค่ 17.5 MHz ก็จะทำให้มีเศษที่เหลือ ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้อะไรได้มาก
“เอไอเอสคงเลือกที่จะประมูลเต็มแบนด์ 10 MHz ไว้ก่อนอยู่แล้วเนื่องจากสามารถนำไปทำตลาดได้ดีกว่า และเต็มประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งหากนำไปทำ 3G ก็ได้ 2 ช่วง และทำ 4G ก็ได้หนึ่งช่วง ส่วน 7.5 MHz หากได้มาก็ดี แต่ถ้ามีผู้ประกอบการประมูลแข่งเยอะเอไอเอสอาจจะไม่เอาก็เป็นได้ ซึ่งคงต้องดูวันประมูลอีกครั้งในการตัดสินใจ”
ส่วนความถี่ 1800 MHz ถึงแม้จะมีการ์ดแบนด์จำนวน 2.5 MHz อยู่ใน 2 ใบอนุญาตก็ตามแต่เอไอเอสคงจะเข้าไปประมูลก่อน เพื่อในอนาคตหาก กทค.มีการนำเอาความถี่จำนวน 50 MHz ของดีแทคมาประมูลจะได้นำมารวมกันหรือจัดสรรใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าในตอนนั้นจะแบ่งช่วงคลื่นเป็น 10 MHz 5 ใบก็เป็นไปได้ เพื่อง่ายต่อการนำไปให้บริการ
ขณะที่ประเด็นเรื่องของราคาตั้งต้นการประมูลความถี่ 1800 MHz นั้น เอไอเอสมองว่าอาจจะไม่ใช่ราคาสุดท้ายเพราะยังจะต้องนำราคาดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ก่อนจึงเร็วไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ราคาดังกล่าว แต่ไม่ว่าราคาจะออกมาอย่างไรก็ตาม แต่ในฝั่งผู้ประกอบการก็จะต้องเข้าร่วมการประมูลอยู่แล้ว ดังนั้นประเด็นราคาสูงเกินไปหรือราคาต่ำไปไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ แต่เท่าที่ดูราคา 4G ครั้งนี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากราคา 3G แต่ที่ต่างอาจจะเป็นเรื่องของเงื่อนไขรายละเอียดอื่นๆ มากกว่า
“สุดท้าย ราคาความถี่ 1800 MHz ที่ออกมาก็จะถือเป็นแนวทางในการคำนวณราคาความถี่ 1800 MHz ของดีแทคในอนาคตที่ กทค.จะนำมาเปิดประมูลจำนวนมากถึง 50 MHz ด้วยเช่นกัน”
*** ดีแทคชี้ราคาตั้งต้น 1800 MHz สูงกว่าประเทศอื่น
จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นประมูล (reserve price) ความถี่ 1800 MHz ที่ 11,600 ล้านบาท ต่อหนึ่งใบอนุญาตที่มีจำนวน 12.5 MHz นั้น ในเบื้องต้นเมื่อเปรียบเทียบกับ International benchmark ที่ GSMA ทำข้อมูลไว้ จะพบว่าราคาเริ่มต้นประมูลของไทยมีราคาค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น แต่ทั้งนี้ราคาประมูลดังกล่าวจะต้องนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นหลัก
เนื่องจากความถี่ 1800 MHz ที่จะเปิดประมูลนั้น ทางผู้ประกอบการจะนำมาให้บริการดาต้าด้วยเทคโนโลยี 4G LTE ซึ่งผู้ประกอบการจะเลือกให้บริการเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้งานดาต้าหนาแน่น เช่นใน กทม. หรือในเมืองใหญ่ จึงไม่ใช่ความถี่ที่นำมาให้บริการได้ในลักษณะเปิดให้บริการทั้งเสียง และดาต้าทั่วไปทุกพื้นที่อย่างความถี่ 2.1 GHz ทั้งนี้ ดีแทคมีความมุ่งหวังในการเข้าประมูลความถี่ และมีความพร้อมในการเข้าประมูลในครั้งนี้อย่างเต็มที่
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000045721
(เกาะติดประมูล4G) กทค. ระบุ ปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีสามารถนำไปเปิดให้บริการได้ต่างกับบริการ3G
ประเด็นหลัก
ส่วนการที่ กทค.ตัดสินใจนำเอาความถี่ 1800 MHz ในส่วนของการ์ดแบนด์ (Guard Band) จำนวน 2.5 MHz มารวมเพื่อประมูลด้วย ทั้งที่ในตอนแรกมองว่าจะไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น เนื่องจากปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีความหมายสามารถนำไปเปิดให้บริการได้เช่นเดียวกัน ต่างจากการประมูล 3G ในความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ต้องมีความถี่อย่างต่ำ 5 MHz ถึงจะนำมาเปิดให้บริการได้
______________________________________
ไขปมประมูล 1800/900 MHz
ในราวกลางเดือน ส.ค. 2557 ประเทศไทยจะมีการประมูลความถี่ 1800 MHz และช่วงเดือน พ.ย.ปีเดียวกันก็จะจัดให้มีการประมูลความถี่ 900 MHz หรือที่เรียกกันติดปากว่าการประมูล 4G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) โดยมติบอร์ด กสทช.เมื่อวันที่ 23 เม.ย.เห็นชอบกับร่างประกาศฯ ประมูลความถี่ 1800 MHz ที่กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,600 ล้านบาทไปแล้ว ที่เหลือก็เพียงเดินตามขั้นตอนต่อไปเท่านั้น
สิ่งที่ตามมาคือคำถามที่ยังคาใจว่าราคาตั้งต้นการประมูล (reserve price) และการกำหนดเพดานการถือครองความถี่ (spectrum cap) ดูเหมาะสม เป็นธรรม และไม่เอื้อประโยชน์ต่อใครคนใดเป็นพิเศษหรือไม่ ในเมื่อมันมีความแตกต่างกันระหว่างเงื่อนไขของการประมูลความถี่ 1800 กับ 900 MHz เพราะจำนวนความถี่เป็นแต้มต่อสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายที่สามารถตัดสินอนาคตแพ้ชนะกันได้
โดยบอร์ด กทค.ได้กำหนดให้เปิดประมูลความถี่ 1800 MHz จำนวน 25 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ที่หมดสัมปทานไปตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้วจำนวน 2 ใบอนุญาต (ไลเซนส์) แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 12.5 MHz ทั้ง 2 ใบอนุญาตในช่วงกลางเดือน ส.ค. 2557 นี้ ซึ่งมีการกำหนด Spectrum Cap คือผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถถือครองได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น
แต่ในขณะที่ความถี่ 900 MHz จำนวน 17.5 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย. 2558 จะจัดให้มีการประมูลล่วงหน้าภายในเดือน พ.ย. 2557 จำนวน 2 ใบอนุญาตแบ่งออกเป็นความถี่จำนวน 10 MHz หนึ่งใบอนุญาต และอีก 7.5 MHz หนึ่งใบอนุญาต แต่กลับไม่มีการกำหนด Spectrum Cap ในการประมูลก ล่าวคือ ผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถถือครองได้ทั้ง 2 ใบอนุญาตที่เปิดประมูลนั่นเอง
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธาน กทค.ระบุว่า การกำหนดการถือครองคลื่นความถี่ในประเด็นข้างต้นนั้นไม่อยากให้เรียกว่าเป็นการกำหนด Spectrum Cap เนื่องจากการกำหนดดังกล่าวไม่ได้นับรวมการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในอดีต
ดังนั้นการประมูล 4G ครั้งนี้จะไม่มีการกำหนด Spectrum Cap แต่จะเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลเฉพาะในครั้งนี้เท่านั้นว่าสามารถประมูลความถี่ได้รายละเท่าไร โดย กทค.กำหนดให้ความถี่ 1800 MHz ผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลประมูลได้เพียง 12.5 MHz เท่านั้น ส่วน 900 MHz ไม่ได้มีการกำหนดในครั้งนี้
แต่สาเหตุที่กำหนดการถือครองความถี่ทั้ง 2 ช่วงไม่เหมือนกัน เนื่องจากในความถี่ 1800 MHz หากไม่มีการกำหนด และมีผู้ประกอบการหนึ่งรายสามารถประมูลได้ใบอนุญาตไปทั้ง 2 ใบอนุญาตจะส่งผลกระทบในการนำคลื่นดังกล่าวไปทำตลาดในอนาคต เนื่องจากทั้ง 2 ช่วงคลื่นความถี่คือ 12.5 MHz และ 12.5 MHz ที่นำมาประมูลนั้นไม่ได้ติดกัน โดยมีคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 50 MHz กั้นกลางอยู่ ซึ่งเป็นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่ได้รับสัมปทานจากบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งจะหมดสัมปทานในปี 2561 โดย กทค.มีแผนจะนำมาเปิดประมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2558 ต่อไป
ที่สำคัญ สาเหตุที่ กทค.จัดสรรเพียงใบอนุญาตละ 12.5 MHz เนื่องจากความถี่ 1800 MHz ที่หมดสัมปทานลงแล้วมีจำนวนเพียง 25 MHz เท่านั้นในตอนนี้ จึงต้องการแบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะหากแบ่งเป็น 3 ใบอนุญาตก็อาจโดนเสียงครหาได้ว่าเป็นการแบ่งชิ้นเค้กให้ผู้ประกอบการเอกชนทั้ง 3 รายที่อยู่ในตลาดตอนนี้เหมือนตอนการประมูลความถี่ 2.1GHz หรือ 3G ที่ผ่านมา
ส่วนอีก 50 MHz ของดีแทคปัจจุบันยังไม่หมดสัมปทานจึงยังไม่สามารถนำมาประมูลพร้อมกันในครั้งนี้ได้เพราะอาจเกิดปัญหากับเจ้าของสัมปทานในที่สุด
ส่วนการที่ กทค.ตัดสินใจนำเอาความถี่ 1800 MHz ในส่วนของการ์ดแบนด์ (Guard Band) จำนวน 2.5 MHz มารวมเพื่อประมูลด้วย ทั้งที่ในตอนแรกมองว่าจะไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น เนื่องจากปัจจุบันการทำ 4G LTE จำนวนความถี่เพียง 1.4 MHz ก็มีความหมายสามารถนำไปเปิดให้บริการได้เช่นเดียวกัน ต่างจากการประมูล 3G ในความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ต้องมีความถี่อย่างต่ำ 5 MHz ถึงจะนำมาเปิดให้บริการได้
ขณะที่ความถี่ 900 MHz สาเหตุที่ต้องแบ่งจำนวนความถี่ออกเป็น 2 ใบอนุญาตคือจำนวน 10 MHz 1 ใบอนุญาต และ 7.5 MHz 1 ใบอนุญาต เนื่องจากมีความถี่ให้จัดสรรเพียง 17.5 MHz ส่วนการที่ไม่กำหนดเพดานการถือครองความถี่ที่จะประมูล เนื่องจาก กทค.ต้องการให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ซึ่งหากแบ่งความถี่น้อยเกินไปหรือมากกว่า 2 ใบอนุญาตอาจจะไม่เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ให้เกิดขึ้นในตลาด และอาจส่งผลทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำความถี่ที่ได้มาไปทำตลาดได้เพราะจำนวนความถี่ที่น้อยเกินไป
ดังนั้นการแบ่งความถี่ออกเป็น 10 MHz และ 7.5 MHz ถือว่าเหมาะสมที่สุด เนื่องจากหากมีผู้ประกอบการรายใหม่ประมูลได้ 7.5 MHz ก็สามารถนำไปทำตลาด 3G ได้จำนวน 5 MHz
“สาเหตุที่ไม่มีการกำหนดการถือครองความถี่ 900 MHz เนื่องจากจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาประมูล รวมถึงมีอุปสรรคต่อการลงทุนเนื่องจากเป็นช่วงความถี่ที่ติดกัน หากได้เพียงใบอนุญาตเดียวอาจจะไม่สามารถทำตลาดได้เต็มศักยภาพเท่าที่ควร”
อีกทั้ง กทค.ยังกำหนดการครอบคลุมของโครงข่ายของผู้ประกอบการที่จะต้องลงทุนโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของจำนวนประชากรภายใน 4 ปี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่ทั้ง 2 ช่วงคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล ซึ่งเหตุที่กำหนดการขยายโครงข่ายน้อยกว่าตอนประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G นั้นเนื่องจากคลื่นความถี่ 1800 MHz ส่วนใหญ่จะนำไปเปิดให้บริการเฉพาะในเมืองเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส และส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหม่ ให้สามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนี้ได้ด้วย
ประเด็นสำคัญที่สุดคือความถี่ 900 MHz ที่มีจำนวน 17.5 MHz ไม่สามารถให้ประมูลเพียงใบอนุญาตเดียวได้ เพราะอาจทำให้ถูกมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ค่ายมือถือรายใหญ่เพียงรายเดียว รวมทั้งปริมาณความถี่ยังมากเกินไป การแบ่งความถี่ออกเป็น 2 ใบอนุญาตดูจะเหมาะสมมากที่สุด และยังเปิดทางผู้ประกอบการหน้าใหม่ในตลาดที่สนใจ หรือถ้าหากรายใหญ่ต้องการทั้ง 2 ใบอนุญาตก็ต้องแข่งราคากันเต็มที่ ซึ่งสุดท้ายรัฐและประชาชนก็จะได้ประโยชน์จากการแข่งขันประมูลความถี่ครั้งนี้
*** เอไอเอสจ่อประมูลใบอนุญาต 10 MHz
วิเชียร เมฆตระการ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า หากพูดถึงการเข้าร่วมประมูลความถี่ทั้ง 2 ย่าน คือ 1800 MHz และ 900 MHz เอไอเอสคงเข้าประมูลทั้ง 2 ความถี่อยู่แล้วในฐานะผู้ประกอบการ ส่วนในประเด็นเรื่องการกำหนด Spectrum Cap ในความถี่ 900 MHz นั้น มองว่าจริงๆ แล้วจำนวนความถี่ที่นำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต้องมีประมาณ 10 MHz ดังนั้น กทค.ควรจะเปิดประมูล 10 MHz ทั้ง 2 ใบอนุญาต แต่ในเมื่อมีแค่ 17.5 MHz ก็จะทำให้มีเศษที่เหลือ ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้อะไรได้มาก
“เอไอเอสคงเลือกที่จะประมูลเต็มแบนด์ 10 MHz ไว้ก่อนอยู่แล้วเนื่องจากสามารถนำไปทำตลาดได้ดีกว่า และเต็มประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งหากนำไปทำ 3G ก็ได้ 2 ช่วง และทำ 4G ก็ได้หนึ่งช่วง ส่วน 7.5 MHz หากได้มาก็ดี แต่ถ้ามีผู้ประกอบการประมูลแข่งเยอะเอไอเอสอาจจะไม่เอาก็เป็นได้ ซึ่งคงต้องดูวันประมูลอีกครั้งในการตัดสินใจ”
ส่วนความถี่ 1800 MHz ถึงแม้จะมีการ์ดแบนด์จำนวน 2.5 MHz อยู่ใน 2 ใบอนุญาตก็ตามแต่เอไอเอสคงจะเข้าไปประมูลก่อน เพื่อในอนาคตหาก กทค.มีการนำเอาความถี่จำนวน 50 MHz ของดีแทคมาประมูลจะได้นำมารวมกันหรือจัดสรรใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าในตอนนั้นจะแบ่งช่วงคลื่นเป็น 10 MHz 5 ใบก็เป็นไปได้ เพื่อง่ายต่อการนำไปให้บริการ
ขณะที่ประเด็นเรื่องของราคาตั้งต้นการประมูลความถี่ 1800 MHz นั้น เอไอเอสมองว่าอาจจะไม่ใช่ราคาสุดท้ายเพราะยังจะต้องนำราคาดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ก่อนจึงเร็วไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ราคาดังกล่าว แต่ไม่ว่าราคาจะออกมาอย่างไรก็ตาม แต่ในฝั่งผู้ประกอบการก็จะต้องเข้าร่วมการประมูลอยู่แล้ว ดังนั้นประเด็นราคาสูงเกินไปหรือราคาต่ำไปไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ แต่เท่าที่ดูราคา 4G ครั้งนี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากราคา 3G แต่ที่ต่างอาจจะเป็นเรื่องของเงื่อนไขรายละเอียดอื่นๆ มากกว่า
“สุดท้าย ราคาความถี่ 1800 MHz ที่ออกมาก็จะถือเป็นแนวทางในการคำนวณราคาความถี่ 1800 MHz ของดีแทคในอนาคตที่ กทค.จะนำมาเปิดประมูลจำนวนมากถึง 50 MHz ด้วยเช่นกัน”
*** ดีแทคชี้ราคาตั้งต้น 1800 MHz สูงกว่าประเทศอื่น
จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นประมูล (reserve price) ความถี่ 1800 MHz ที่ 11,600 ล้านบาท ต่อหนึ่งใบอนุญาตที่มีจำนวน 12.5 MHz นั้น ในเบื้องต้นเมื่อเปรียบเทียบกับ International benchmark ที่ GSMA ทำข้อมูลไว้ จะพบว่าราคาเริ่มต้นประมูลของไทยมีราคาค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น แต่ทั้งนี้ราคาประมูลดังกล่าวจะต้องนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นหลัก
เนื่องจากความถี่ 1800 MHz ที่จะเปิดประมูลนั้น ทางผู้ประกอบการจะนำมาให้บริการดาต้าด้วยเทคโนโลยี 4G LTE ซึ่งผู้ประกอบการจะเลือกให้บริการเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้งานดาต้าหนาแน่น เช่นใน กทม. หรือในเมืองใหญ่ จึงไม่ใช่ความถี่ที่นำมาให้บริการได้ในลักษณะเปิดให้บริการทั้งเสียง และดาต้าทั่วไปทุกพื้นที่อย่างความถี่ 2.1 GHz ทั้งนี้ ดีแทคมีความมุ่งหวังในการเข้าประมูลความถี่ และมีความพร้อมในการเข้าประมูลในครั้งนี้อย่างเต็มที่
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000045721