Eyeshield 21 จากการ์ตูนสู่ความจริง
เรื่องราวที่อยากจะมานำเสนอให้แก่ผู้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องราวของความชอบส่วนตัวของผมเอง และยังเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้ผมรู้จักคำว่า “ อเมริกันฟุตบอล ”
หลายคนอาจรู้จักกีฬาอเมริกันฟุตบอลจากจุดที่แตกต่างกัน บ้างก็เคยเรียนเมืองนอก บ้างก็เคยดูถ่ายทอดสดทางฟรีทีวีในสมัยก่อน แต่ผมนั้นรู้จักกีฬาจากการอ่านการ์ตูน(หรืออีกชื่อหนึ่งว่า มังงะ) ด้วยนิสัยของผมที่ชอบอ่านการ์ตูนเป็นประจำอยู่แล้ว ผมก็เลยชอบหาการ์ตูนใหม่ๆมาอ่านอยู่ตลอด และแล้วผมก็ค้นพบการ์ตูนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมรักกีฬาชนิดนี้มาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ ‘Eyeshield 21 : อายชีลด์ 21 ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล’ การ์ตูนญี่ปุ่นที่แต่งเรื่องโดย ริอิจิโร อินะงะกิ และวาดภาพโดย ยุซุเกะ มุระตะ จัดพิมพ์โดย นิตยสารวีคลี่ โชเน็น จั๊มป์ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และมีลิขสิทธ์ในไทยโดยบริษัทเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด มีทั้งหมด 37 เล่มจบ

เนื้อเรื่องของการ์ตูนเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ โคบายาคาวา เซนะ เด็กนักเรียนมัธยมปลายปีหนึ่งของโรงเรียนเดมอน มีนิสัยขี้แหย อ่อนแอ ไม่กล้าขัดใจคนอื่น ความทรงจำตั้งแต่เด็กคือการเป็นลูกน้องของเด็กๆในวัยเดียวกันมาตลอด ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เซนะถูกใช้ให้ไปซื้อของ ใช้ให้ถือของไปส่ง จนกลายเป็นว่าเขาได้พัฒนาการวิ่งของตนเองจนเข้าขั้นนักวิ่งแข้งทองโดยที่แม้แต่ตนเองก็ยังไม่รู้ มีเพียง ฮิรุม่า โยอิจิ ประธานชมรมอเมริกันฟุตบอลผู้ชั่วร้ายได้ไปเจอเข้าและจัดการลักพาตัวเซนะมาแต่งองค์ทรงเครื่องเสียใหม่ในชุดเบอร์ 21 และสวมอายชิลด์ (กระบังตา) ปลอมตัวให้เสร็จสรรพ และตั้งชื่อ "อายชิลด์ 21" เด็กนักเรียนสุดอ่อนแอจึงได้กลายเป็นฮีโร่ของอเมริกันฟุตบอลในเวลาต่อมาในตำแหน่งรันนิ่งแบ็ค คาดว่าต้นแบบของอายชิลด์ 21 นั้นมาจาก ลาไดเนียน ทอมลินสัน อดีตสุดยอดรันนิ่งแบ็คเบอร์ 21 ของ ซานดิเอโก้ ชาร์จเจอร์ เนื่องจากสมัยทอมลินสันท็อปฟอร์มนั้น สไตล์การวิ่งของเขาทั้งพริ้วและยากที่จะจับได้ เปรียบได้ว่าเป็น จุดกำเนิดอายชิลด์ 21 โดยแท้จริง
แล้วในความเป็นจริงล่ะ ....?
กีฬาอเมริกันฟุตบอลในญี่ปุ่น จะดำเนินการโดย สมาพันธ์กีฬาอเมริกันฟุตบอลแห่งญี่ปุ่น (Japan American Football Association : JAFA) ซึ่งในฟุตบอลระดับมัธยมปลาย จะมีถ้วยสูงสุดอย่างที่ทราบกันคือ คริสต์มาสโบว์ล ที่เป็นการชิงชัยระหว่างผู้ชนะจากภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซเหมือนดั่งในการ์ตูน แต่แท้จริงแล้วถ้วยใบใหญ่ที่สุดของวงการอเมริกันฟุตบอลญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่คริสต์มาสโบว์ล แต่คือ ไรซ์ โบว์ล (Rice Bowl) ซึ่งจะเป็นการชิงชัยกันระหว่าง ผู้ชนะจาก เจแปน เอ็กซ์ โบว์ล ในเอ็กซ์ลีก (X-League เป็นลีกของทีมมือสมัครเล่น) กับผู้ชนะจาก โคชิเอ็นโบว์ล ในลีกระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะแข่งที่ โตเกียวโดม ในวันที่ 3 มกราคมของทุกปี โดยปีนี้ แชมป์เจ้าประจำอย่าง Obic Seagulls จากเอ็กซ์ลีก ก็ชนะ Kwansei Gakuin University Fighters อย่างไม่ยากเย็นนัก ด้วยสกอร์ 34-16
โดยทั้ง เอ็กซ์ลีก และ ลีกระดับมหาวิทยาลัยจะมีแยกย่อยไปอีก
เอ็กซ์ลีกแยกย่อยเป็นอีก 4 กลุ่มย่อยในช่วงแรก แต่ภายหลังต่อมาได้แยกเป็น 3 กลุ่มคือ West East และ Central ส่วนลีกมหาลัยก็จะมีย่อยเป็นภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซ และแยกย่อยได้อีกเป็นเกมโบว์ลย่อยๆตามระดับภูมิภาค ไปอีก คล้ายกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้ง ฮอกไกโดลีก โทโฮคุลีก จูชิโกกุลีก คิวชูลีก โทไคลีก โฮคุริคุลีก ด้วยการแข่งขันมากมายขนาดนี้ทำให้เรียกได้ว่า ญี่ปุ่นแทบเป็นเจ้ากีฬาอเมริกันฟุตบอลของทวีปเอเชีย การันตีจาก แชมป์โลก ถึง 2 ครั้ง ในการแข่งขัน IFAF World Championship of American Football ที่จัดโดย สมาพันธ์กีฬาอเมริกันฟุตบอลนานาชาติ (IFAF) เท่ากับชาติมหาอำนาจแห่งวงการคือ สหรัฐอเมริกา ที่ 2 ครั้งเช่นเดียวกัน (ครั้งต่อไปจัดที่ ประเทศสวีเดน ในปี 2015)


แต่ถึงกระนั้นในระดับอาชีพ นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลสัญชาติแดนปลาดิบโดยแท้นั้น กลับไม่ไปถึงฝั่งฝันใน NFL อาทิ มาซาฟุมิ คาวากุจิ ผู้เล่นประสบการณ์เจ็ดปีกับทีม อัมสเตอร์ดัม แอดมิรัลส์ ในลีก NFL Europe เจ้าของรางวัล All-NFL Europe ในปี 1999 แต่ก่อนหน้านั้น ในปี 1998 กลับถูก กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ ถูกตัดออกจากทีมตั้งแต่การฝึกในเทรนนิ่ง แคมป์ หรือ โนริอากิ คิโนชิตะ อดีตปีกนอกของ อัมสเตอร์ดัม แอดมิรัลส์ เช่นเดียวกัน และได้รับรางวัล All-NFL Europe ในปี 2006 แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน คือถูกอยู่ในรายชื่อฝึกซ้อม ของ ทีมแอตแลนต้า ฟาลค่อนส์ ในปี 2008 จนสุดท้ายต้องกลับมาเล่นใน เอ็กซ์ลีก
การเล่นใน NFL อันเป็นความฝันของตัวละครหลักในเรื่องอย่าง โคบายาคาวา เซนะ คงจะสื่อได้ดีถึงความฝันของผู้เล่นญี่ปุ่นทุกคนในวงการอเมริกันฟุตบอลเช่นเดียวกัน
ร่ายออกมาซะยาว ดันเผลอเขียนจนสนุกมือ ฮ่าๆ อาจจะยาวไปบ้างแต่ก็อยากให้ทุกท่านรู้จักโลกของอเมริกันฟุตบอลให้กว้างขึ้น และสำหรับผู้เริ่มศึกษาหรือสนใจกีฬานี้ ผมขอแนะนำการ์ตูนเรื่องนี้ครับ มีทั้งความสนุกแบบการ์ตูน ความเข้าใจง่าย และมีความสมจริงอยู่เช่นเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมากครับ หวังว่าผู้อ่านคงได้รับเกร็ดดีดีจากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ
สุดท้ายนี้คงต้องขอกล่าวคำปลุกระดมของทีมเดมอน เดวิลแบทส์ เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่ว่า " Kill Them All !!! " ขอบคุณทุกท่านครับ
- Nezumaru
สามารถรับข่าวสารหรือพูดคุยเพิ่มเติมได้ทาง facebook.com/nflthailand และ nflthailand.com
อ้างอิงจาก american-football-japan.com, en.wikipedia.org/wiki/American_Football_World_Cup, th.wikipedia.org/wiki/อายชีลด์_21_ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล
ปล.ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจในกีฬานี้ จุดเริ่มต้นที่รู้จักกีฬาอเมริกันฟุตบอล หรือความประทับใจในการ์ตูน อายชิลด์ 21 ครับ จะรออ่านของทุกท่านนะครับ
เรื่องเล่า Eyeshield 21 จากการ์ตูนสู่ความจริง
Eyeshield 21 จากการ์ตูนสู่ความจริง
เรื่องราวที่อยากจะมานำเสนอให้แก่ผู้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องราวของความชอบส่วนตัวของผมเอง และยังเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้ผมรู้จักคำว่า “ อเมริกันฟุตบอล ”
หลายคนอาจรู้จักกีฬาอเมริกันฟุตบอลจากจุดที่แตกต่างกัน บ้างก็เคยเรียนเมืองนอก บ้างก็เคยดูถ่ายทอดสดทางฟรีทีวีในสมัยก่อน แต่ผมนั้นรู้จักกีฬาจากการอ่านการ์ตูน(หรืออีกชื่อหนึ่งว่า มังงะ) ด้วยนิสัยของผมที่ชอบอ่านการ์ตูนเป็นประจำอยู่แล้ว ผมก็เลยชอบหาการ์ตูนใหม่ๆมาอ่านอยู่ตลอด และแล้วผมก็ค้นพบการ์ตูนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมรักกีฬาชนิดนี้มาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ ‘Eyeshield 21 : อายชีลด์ 21 ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล’ การ์ตูนญี่ปุ่นที่แต่งเรื่องโดย ริอิจิโร อินะงะกิ และวาดภาพโดย ยุซุเกะ มุระตะ จัดพิมพ์โดย นิตยสารวีคลี่ โชเน็น จั๊มป์ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และมีลิขสิทธ์ในไทยโดยบริษัทเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด มีทั้งหมด 37 เล่มจบ
เนื้อเรื่องของการ์ตูนเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ โคบายาคาวา เซนะ เด็กนักเรียนมัธยมปลายปีหนึ่งของโรงเรียนเดมอน มีนิสัยขี้แหย อ่อนแอ ไม่กล้าขัดใจคนอื่น ความทรงจำตั้งแต่เด็กคือการเป็นลูกน้องของเด็กๆในวัยเดียวกันมาตลอด ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เซนะถูกใช้ให้ไปซื้อของ ใช้ให้ถือของไปส่ง จนกลายเป็นว่าเขาได้พัฒนาการวิ่งของตนเองจนเข้าขั้นนักวิ่งแข้งทองโดยที่แม้แต่ตนเองก็ยังไม่รู้ มีเพียง ฮิรุม่า โยอิจิ ประธานชมรมอเมริกันฟุตบอลผู้ชั่วร้ายได้ไปเจอเข้าและจัดการลักพาตัวเซนะมาแต่งองค์ทรงเครื่องเสียใหม่ในชุดเบอร์ 21 และสวมอายชิลด์ (กระบังตา) ปลอมตัวให้เสร็จสรรพ และตั้งชื่อ "อายชิลด์ 21" เด็กนักเรียนสุดอ่อนแอจึงได้กลายเป็นฮีโร่ของอเมริกันฟุตบอลในเวลาต่อมาในตำแหน่งรันนิ่งแบ็ค คาดว่าต้นแบบของอายชิลด์ 21 นั้นมาจาก ลาไดเนียน ทอมลินสัน อดีตสุดยอดรันนิ่งแบ็คเบอร์ 21 ของ ซานดิเอโก้ ชาร์จเจอร์ เนื่องจากสมัยทอมลินสันท็อปฟอร์มนั้น สไตล์การวิ่งของเขาทั้งพริ้วและยากที่จะจับได้ เปรียบได้ว่าเป็น จุดกำเนิดอายชิลด์ 21 โดยแท้จริง
แล้วในความเป็นจริงล่ะ ....?
กีฬาอเมริกันฟุตบอลในญี่ปุ่น จะดำเนินการโดย สมาพันธ์กีฬาอเมริกันฟุตบอลแห่งญี่ปุ่น (Japan American Football Association : JAFA) ซึ่งในฟุตบอลระดับมัธยมปลาย จะมีถ้วยสูงสุดอย่างที่ทราบกันคือ คริสต์มาสโบว์ล ที่เป็นการชิงชัยระหว่างผู้ชนะจากภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซเหมือนดั่งในการ์ตูน แต่แท้จริงแล้วถ้วยใบใหญ่ที่สุดของวงการอเมริกันฟุตบอลญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่คริสต์มาสโบว์ล แต่คือ ไรซ์ โบว์ล (Rice Bowl) ซึ่งจะเป็นการชิงชัยกันระหว่าง ผู้ชนะจาก เจแปน เอ็กซ์ โบว์ล ในเอ็กซ์ลีก (X-League เป็นลีกของทีมมือสมัครเล่น) กับผู้ชนะจาก โคชิเอ็นโบว์ล ในลีกระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะแข่งที่ โตเกียวโดม ในวันที่ 3 มกราคมของทุกปี โดยปีนี้ แชมป์เจ้าประจำอย่าง Obic Seagulls จากเอ็กซ์ลีก ก็ชนะ Kwansei Gakuin University Fighters อย่างไม่ยากเย็นนัก ด้วยสกอร์ 34-16
โดยทั้ง เอ็กซ์ลีก และ ลีกระดับมหาวิทยาลัยจะมีแยกย่อยไปอีก
เอ็กซ์ลีกแยกย่อยเป็นอีก 4 กลุ่มย่อยในช่วงแรก แต่ภายหลังต่อมาได้แยกเป็น 3 กลุ่มคือ West East และ Central ส่วนลีกมหาลัยก็จะมีย่อยเป็นภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซ และแยกย่อยได้อีกเป็นเกมโบว์ลย่อยๆตามระดับภูมิภาค ไปอีก คล้ายกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้ง ฮอกไกโดลีก โทโฮคุลีก จูชิโกกุลีก คิวชูลีก โทไคลีก โฮคุริคุลีก ด้วยการแข่งขันมากมายขนาดนี้ทำให้เรียกได้ว่า ญี่ปุ่นแทบเป็นเจ้ากีฬาอเมริกันฟุตบอลของทวีปเอเชีย การันตีจาก แชมป์โลก ถึง 2 ครั้ง ในการแข่งขัน IFAF World Championship of American Football ที่จัดโดย สมาพันธ์กีฬาอเมริกันฟุตบอลนานาชาติ (IFAF) เท่ากับชาติมหาอำนาจแห่งวงการคือ สหรัฐอเมริกา ที่ 2 ครั้งเช่นเดียวกัน (ครั้งต่อไปจัดที่ ประเทศสวีเดน ในปี 2015)
แต่ถึงกระนั้นในระดับอาชีพ นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลสัญชาติแดนปลาดิบโดยแท้นั้น กลับไม่ไปถึงฝั่งฝันใน NFL อาทิ มาซาฟุมิ คาวากุจิ ผู้เล่นประสบการณ์เจ็ดปีกับทีม อัมสเตอร์ดัม แอดมิรัลส์ ในลีก NFL Europe เจ้าของรางวัล All-NFL Europe ในปี 1999 แต่ก่อนหน้านั้น ในปี 1998 กลับถูก กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ ถูกตัดออกจากทีมตั้งแต่การฝึกในเทรนนิ่ง แคมป์ หรือ โนริอากิ คิโนชิตะ อดีตปีกนอกของ อัมสเตอร์ดัม แอดมิรัลส์ เช่นเดียวกัน และได้รับรางวัล All-NFL Europe ในปี 2006 แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน คือถูกอยู่ในรายชื่อฝึกซ้อม ของ ทีมแอตแลนต้า ฟาลค่อนส์ ในปี 2008 จนสุดท้ายต้องกลับมาเล่นใน เอ็กซ์ลีก
การเล่นใน NFL อันเป็นความฝันของตัวละครหลักในเรื่องอย่าง โคบายาคาวา เซนะ คงจะสื่อได้ดีถึงความฝันของผู้เล่นญี่ปุ่นทุกคนในวงการอเมริกันฟุตบอลเช่นเดียวกัน
ร่ายออกมาซะยาว ดันเผลอเขียนจนสนุกมือ ฮ่าๆ อาจจะยาวไปบ้างแต่ก็อยากให้ทุกท่านรู้จักโลกของอเมริกันฟุตบอลให้กว้างขึ้น และสำหรับผู้เริ่มศึกษาหรือสนใจกีฬานี้ ผมขอแนะนำการ์ตูนเรื่องนี้ครับ มีทั้งความสนุกแบบการ์ตูน ความเข้าใจง่าย และมีความสมจริงอยู่เช่นเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมากครับ หวังว่าผู้อ่านคงได้รับเกร็ดดีดีจากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ
สุดท้ายนี้คงต้องขอกล่าวคำปลุกระดมของทีมเดมอน เดวิลแบทส์ เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่ว่า " Kill Them All !!! " ขอบคุณทุกท่านครับ
- Nezumaru
สามารถรับข่าวสารหรือพูดคุยเพิ่มเติมได้ทาง facebook.com/nflthailand และ nflthailand.com
อ้างอิงจาก american-football-japan.com, en.wikipedia.org/wiki/American_Football_World_Cup, th.wikipedia.org/wiki/อายชีลด์_21_ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล
ปล.ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจในกีฬานี้ จุดเริ่มต้นที่รู้จักกีฬาอเมริกันฟุตบอล หรือความประทับใจในการ์ตูน อายชิลด์ 21 ครับ จะรออ่านของทุกท่านนะครับ