จะติดตั้งตู้ consumer unit จำเป็นไหมที่ตัวแม่และตัวย่อยต้องใช้พวกกันดูด

กระทู้คำถาม
คือพึ่งจะติดเครื่องทำอุ่น......ช่างก็ทักว่าไฟแบบนี้มันโบราญแล้ว เล่นเป็นตู้  consumer unit ไปเลย...ก็ตัดสินใจแล้วล่ะ ตู้ทั้งเมนและย่อย เป็น  Schneider รุ่นคลาสสิค 6 ช่องนี้ล่ะ  เมนเบรกเกอร์  40A และ ลูกย่อย 32A

ตอนนี้หาข้อมูลไว้เยอะ...(แบบเร่งรีบ)...ข้อมูลมันเลยตีกันมั่ว.....ขอถามครับ?

1. ถ้าเราใส่แบบกันดูด.......เวลามันไฟมันดูดเราต้องไล่หาตรงที่มันรั่วหรือช็อตใช่ไหมครับ.....ถ้าไม่แก้ไข...มันก็จะทริปไปเรื่อยๆใช่ไหม...มันไม่เหมือนตัวธรรมดาที่มันไม่มีกันดูด......มันจะทริปก็ต่อเมื่อไฟเกินแค่นั้นใช่ไหม?


2. ถ้าตามข้อที่ 1. ถูก.....เป็นผมก็จะใส่แต่ตัวลูกย่อยที่เป็นกันดูดทั้ง6เลย....เวลาไฟรั่วมันก็จะ ทริปมันแยกไป หาง่ายกว่าใช่ไหม?


3. สมมุติว่า เครื่องน้ำอุ่นมีไฟรั่ว (โดยที่ระบบ ELSD ไม่ตัด และไม่ต่อสายดิน(สมมุตินะ))..........ตัวกันดูดลูกย่อย 32Aจะทริปทริปเพื่อป้องกันไฟดูดจากเครื่องน้ำอุ่นใช่ไหม.......(โดยที่เมน 40A ไม่ทริปใช่ไหมครับ)


4.แล้วเมน 40A มันจะทริปตอนไหน...ใช่ตอนที่ไฟมันเกิน 40 A ใช่ไหม....นั้นก็แปลว่าลูกย่อยทั้ง 6ตัวต้องทริปทั้งหมดก่อนหรือปล่าว ?


ปล .บ้านทาวเฮา 2ชั้น ที่กินไฟก็ เครื่องน้ำอุ่น 4500w......เร็วๆเดี่ยวจะเพิ่มแอร์ 15000 btu  นอกนั้นก็เครื่องไฟฟ้าพื้นฐานกินไฟทั่วไป...........รบกวนดูให้หน่อยครับ   (ขอบคุณมากครับ อมยิ้ม17)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่