ในยุโรปยุคกลาง นักรบ อัศวิน ใส่ชุดเกราะครอบทั้งตัว ในตอนสู้รบ จะฆ่าให้ตายยังไงล่ะ เขาใช้วิธีไหนฆ่านักรบชุดเกราะกันเหรอ

อยากรู้น่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 37
ขอแชร์ด้วยคนครับ

เกราะที่สวมกันในยุคโบราณมาจนถึงยุคกลางตลอดถึงเรเนซองค์ตอนต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า เค้าออกแบบและมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆโดยอิงกับความทันสมัยของ "อาวุธ" ที่ศัตรูใช้ในการทำศึก พูดง่ายๆคือ รบไป วิจัยไป นั่นเอง

ปัจจัยในการสร้างชุดเกราะเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยรบต่างๆในกองทัพนั้น เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่มันมี แต่เราต้องดูว่ากว่าจะมีมันขึ้นมาได้นั้น มันต้องประกอบไปด้วยปัจจัยอะไรบ้าง ซึ่งคร่าวๆก็ดังต่อไปนี้ครับ
-ไอเดีย หรือพูดให้ทันสมัยคือ งานวิจัย
-ทรัพยากรที่อาณาจักรมี เช่น ยุคโบราณสมัยโรมรบกับคาร์เธจ คาร์เธจก็จะสวมเกราะผ้าซาติน ในขณะที่โรมจะสวมเกราะโลหะสัมริด
-เทคโนโลยีอาวุธของข้าศึก
-ภูมิปัญญาในด้านศิลปะป้องกันตัวที่ฝึกฝน
-สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
-Military Tactic
ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยที่บังคับให้เกิดการสร้างเกราะครับ

ทีนี้เมื่อรบกัน อีกฝ่ายสวมเกราะ ฝ่ายที่เป็นศัตรูก็เสียเปรียบ อาวุธเดิมๆฟันไม่เข้า ก็ต้องหาวิธีมาจัดการครับ ก็มีสองสามแนวทางดังนี้
-ฟันไม่เข้าเสียเลย ก็คิดค้นอาวุธใหม่
-ฟันเข้าแต่ต้องซ้ำ ก็คิดเกราะมาใส่มั่ง แต่ถ้าไม่มีทรัพยากรมากพอ เช่น บางอาณาจักรอาจไม่มีเทคโนโลยีถลุงโลหะ ก็คิดอาวุธหรือคิดกลยุทธ์ใหม่ ใช้สัตว์เป็นต้น

สรุปก็คือ เกราะน่ะ ฟันไม่เข้าสำหรับอาวุธที่ทันสมัยสู้มันไม่ได้ครับ อาวุธที่ทันสมัยกว่าก็จะฟันเข้า
เกราะก็พัฒนามาเรื่อยๆครับ จนมาเป็น Heavy Armor ในแบบโซนยุโรปใช้กัน คือ เรียกได้ว่าปิดหมดทุกจุด แต่ไอ้เจ้าคนสวมก็แทบจะคลานเหมือนกัน เพราะ "น้ำหนัก" มัยเยอะเหลือเกิน แถมองศาในการขยับข้อต่อในร่างกายก็ถูกจำกัดอีก เช่นข้อศอกอาจงอได้มากสุด 90 องศา ยิ่งถ้าเป็นพวกอัศวินแทงทวนวัดความเป็นแมนแล้ว ยิ่งแล้วใหญ่ เกราะนี่เรียกได้ว่า fixed ร่างกายให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งตลอดบนหลังม้าเลยก็ว่าได้ อาวุธที่พวกนี้ใช้ก็จะเป็นอาวุธที่ ฉับเดียวตาย ไม่ต้องวาดลวดลายรุกรับเหมือนมวยไชยาหรือกระบี่กระบองไทย เพราะพวกนี้มัน "Tank" มาเลย ไม่ระคายผิวหรอก แต่อย่าให้ถึงตัวละกัน

ในยุคนั้นเมื่อมีเกราะหนักขนาดนั้นโผล่มา การรบก็ต้องดำเนินไป ฝ่ายที่ไม่มีจะทำยังไงล่ะ ก็คิดอาวุธโดยเอาน้ำหนักเข้าว่าเหมือนกัน คือ สู้กันด้วย "โมเมนตั้ม" จึงเกิดอาวุธหนักมากๆมาเช่น Halberd, ลูกตุ้ม, ฆ้อนสงคราม ฯลฯ (เรายังไม่นับอาวุธยิงนะครับ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งเดี๋ยวไว้ค่อยพูดท้ายๆ) พวกนี้น้ำหนักมาก ทำให้เกราะยุบได้มั้ย ได้ครับ แต่คนที่จะใช้ของพวกนี้ก็ไม่สามารถแบกน้ำหนักเกราะได้อีก ไม่งั้นอาจจะขยับตัวไม่ได้กันเลยทีเดียว ก็ต้องแก้ๆ Tactic เช่น ถ้าเจอพวก Heavy Infantry ก็ควรหาอะไรมา Tank กลับเพื่อหยุดยั้งไว้ แล้วให้พวกถืออาวุธที่สังหารพวกนี้ได้ โจมตีโอบแทนเพื่อทำลาย เป็นอย่างนี้เรื่อยมา

จนมายุคเรเนซอง ยุคคาบเกี่ยวกับพวกสามทหารเสือนั่นแหละครับ ก็เกิดการฟันดาบแบบ "เฟนซ์ซิ่ง" ขึ้น เป็นเทคนิคใหม่ไฉไลกว่าเดิม คือ ไม่ว่ากันด้วย "โมเมนตั้ม" ละ ไอ้พวก Tank เชื่องช้านักใช่มั้ย ฉันเปลี่ยนเป็นสาย Agi เสียเลย คือ ใช้ความ "ว่องไว" และความ "ชำนาญในเพลงดาบ" เข้าสู้ โดยการแทงดาบแหลมๆเล็กๆเข้าซอกจุ๊กกูแร๊บ้าง เข้าซอกคอบ้าง กระโดดเหยงๆ อ้อมไปแทงข้างหลังบ้าง แถมท่ารณยุทธ์ก็ยังแสดงให้เห็นว่า พร้อมจะก้มกระโดดเอี้ยวซ้ายขวารุดหน้าถอยหลังได้คล่องแคล่วราวกับมาริโอ้กระโดดข้ามแพลตฟอร์มไปพร้อมๆมุดหลบเปลวไฟที่สัตว์ประหลาดปล่อยมา (จากที่บอกไปเบื้องต้น พวก Tank เนี่ย ช้า เหวี่ยงดาบทีนึง วืดๆ โดนน่ะเจ็บแน่ ฉะนั้นก็หลบอย่าให้โดนซะ) การใช้เกราะก็เริ่มเสื่อมความนิยมไป ดาบปลายแหลมแทงทะลุกเกราะไม่ได้ แต่ซ้อมมาดีๆแทงเข้าซอกเกราะได้ฉมังนักแล

ทีนี้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งถามว่า ตกลงฟันตรงๆจะเข้าเหมือนในหนังมั้ย (ดูหนังแล้วก็คงงงๆกัน มันจะใส่ทำมัย) สรุป คือ ถ้าออกแบบมาจัดการกับมันก็เข้าครับ ถ้าไม่ได้ออกแบบมาใช้จัดการกับมัน คือ ทันสมัยสู้ไม่ได้ ก็ไม่เข้าครับ โดยในยุคแรกว่ากันด้วยเรื่อง "โมเมนตั้ม" เพิ่มน้ำหนักไปเรื่อยๆจนมนุษย์รับไม่ไหวก็เริ่มหาทางออกแนวใหม่มาทำให้เกราะหมดความจำเป็นไปนั่นเอง

ส่วนอาวุธยิง ส่วนใหญ่ต้องบอกว่า เป็นการวิจัยคิดค้นในสายของการสังหารและคุมพื้นที่สังหารเป็นหลัก ดังนั้น ส่วนใหญ่จะเจาะเกราะได้ครับ เช่น หน้าไม้ หรือ long bow อย่างที่บางท่านได้กล่าวไปแล้ว แต่ สิ่งเหล่านั้นมันจะคิดแค่ว่า มีก็จัดการกับทหารสวมเกราะได้แล้ว ไม่ได้ เนื่องจากต้องใช้ทักษะในการยิง ไม่ใช่แค่ยิง แต่ต้องยิงให้โดน (ประเทศไทยมีสนามยิงธนูเป็นทางการอยู่บ้าง ลองไปยิงดูนะครับ แบบ Tradition จะได้ Feel สุดๆ) ถ้ายิงไม่โดนก็ต้องใช้คนมากๆสาดไปที่จุดเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างจาก Melee Combat มากจึงไม่ขอลงรายละเอียด ยิ่งพอหลุดมายุคดินปืนแล้ว ไม่ต้องพูดถึง หมดยุคเกราะไปเลยทีเดียว

ขอแถมอีกนิดเรื่องเกราะไทย ผมเชื่อว่า (ต้องใช้คำว่าเชื่อ เนื่องจากเป็นวิจารณยญาณส่วนตัว) ไม่ได้มีใช้แพร่หลายครับ อาจจะมีแต่คงมีในระดับพระมหากษัตริย์หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ อาจจะมีไว้ใช้สำหรับพระราชพิธีหรือพูดง่ายๆคือใส่เฉพาะกิจ ไม่ได้ออกไปรบ เนื่องจากข้อจำกัดดังต่อไปนี้
-เพลงอาวุธ นึกไม่ออกจริงๆว่า เพลงอาวุธแบบไทย จะใส่ full plate armor ไปรำยังไงไหว คงเหมือนดูหนังสโลว์โมชั่น
-ลักษณะทางกายภาพของคนเอเชีย
-ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
-ช่วงเวลา ถ้าเรา project เวลาลงไป จะเห็นว่า บันทึกที่กล่าวถึงสยามนั้น จะกล่าวถึงในช่วงอาณาจักรอยุธยาเฟื่องฟูซึ่งความรู้สึกคนไทยอาจรู้สึกว่า โบราณเหลือเกิน แต่จริงๆก็เป็นยุคเรเนซองนั่นเอง มีการติดต่อกับฝรั่งต่างชาติมาก และมีดินปืนใช้กันแล้วด้วย
-โครงสร้างการบริหารกิจการด้านการทหาร ใครว่านักรบสยามเก่ง รักชาติ อันนี้ผมไม่เถียงเลย เห็นด้วย 100% แต่ถ้าจะบอกว่าสยามเป็นชาตินักรบมืออาชีพอันนี้ขอค้านหัวชนฝา สยามเป็นชาติเจริญครับ โดยเฉพาะอยุธยา เป็นชาติที่เน้นด้าน เศรษฐกิจ เป็นหลัก ไม่ได้เน้นด้านการสงครามเลย ชาติที่เน้นด้านการสงครามเป็นหลักคือ ชาวพม่า มอญ โน้นครับ กองทัพไทยแม้จะมีกองทัพหลวงอยู่ในกรุง แต่การปกครองเป็นลักษณะหัวเมือง แต่ละหัวเมืองก็จะมีกองหลวง เรียกว่าใช้รักษาความสงบเรียบร้อย (เหมือนตำรวจ) เป็นหลักครับ หากมีศึกสงครามเกิดขึ้นจริงๆ เช่น พม่ามาตีกรุงฯ เป็นลักษณะ Grand จริงๆ จะต้องเรียกระดมพลจากไพร่บ้านพลเมือง บางครั้งอาจะต้องตั้งเป็นกองอาสาเสียด้วยซ้ำ สยามไม่ใช่รัฐทหารอย่างที่คิดครับ ยุคที่กองทัพไทยเฟื่องฟูและเน้นไปด้านการทหารมากๆจริงๆเห็นจะมีแต่ยุคสมเด็จพระองค์ดำเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นยุคเดียวที่มีการขยายอาณาจักรโดยใช้กำลังทหารขับเคลื่อนเป็นหลัก เฉกเช่น เจงกีสข่าน อเล็กซานเดอร์มหาราช หรือนโปเลียน ยุคอื่นๆ จะเป็นการใช้ระบบเศรษฐกิจ และการเมืองระดับสูงเป็นหลัก รบเป็นเรื่องประปรายมีเฉพาะยามที่คุยกันไม่รู้เรื่องจริงๆ กระด้างกระเดื่องแข็งเมือง หรือรบกันเพื่อแย่งชิงอำนาจภายในขุนนางชั้นสูงด้วยกันเอง ดังนั้น การจะลงทุนกับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไมได้จำเป็นต่อนโยบายหลักในยามบ้านเมืองสงบนั้น ดูจะไม่ใช่วิสัยครับ เอาโลหะถลุงแล้วไปแปลงเป็นทรัพยากรจำเป็นอื่นๆหรือจ้างทหารรับจ้างต่างชาติที่ฝึกการรบเป็นหลักไม่ใช่ทำนาทำไร่ ดูจะได้ผลกว่า

ยาวเลย ขอบคุณมากสำหรับท่านที่อ่านครับ^^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่