ในฐานะศิษย์เก่า อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 40 คณะ 02 (พาณิชยศาสตร์และการบัญชี) คนหนึ่ง
ซึ่งตอนเข้ามหาวิทยาลัย คณะพาณิชยฯ ต้องไปเรียน ปี 1 ที่รังสิต แล้วค่อยกลับมาเรียนปี 2,3 และ 4 ที่ท่าพระจันทร์
และเป็นรุ่นแรกอีกเหมือนกัน ที่คณะพาณิชย์ "ขอความร่วมมือ" นักศึกษา ให้ใส่ชุดนักศึกษามาเรียนวิชาของคณะ
และแต่งชุดนักศึกษาเข้าสอบ ในขณะที่วิชาของคณะอื่นๆ ไม่ได้มีกฏเรื่องการใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียน
แค่ใส่ชุดนักศึกษามาในวันสอบเท่านั้นก็พอ
ถามว่า ตอนที่ระเบียบเรื่องชุดนักศึกษาออกมาครั้งแรก เด็กคณะพาณิชย์ฯ ต่อต้านมั้ย ?
เด็กปี 1 ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาอะไรหรอกค่ะ เพราะชินกับชุดนักเรียนมานาน แถมยังไม่ได้ใส่ทุกวัน
วันไหนไม่มีเรียนวิชาคณะ ก็ใส่ชุดไปรเวทได้ (ตอนนั้น วันไหนที่จะใส่ไปรเวท กลับต้องคิดหนักซะอีก ว่าจะใส่อะไรดี)
คนที่มีปากมีเสียง มีปฏิกิริยาเยอะหน่อย จะเห็นจะเป็นพี่ๆ ปี 2,3,4 และ อาจารย์ ... ใช่ค่ะ "อาจารย์"
อาจารย์บางท่านถึงกับตั้งคำถามกับนักศึกษาที่แต่งชุดนักษามาเรียนกันพรึ่บอย่างพร้อมเพรียงว่า...
ทำไมคุณยอมทำตามที่เขากำหนด ? พวกคุณรู้จักคำว่า จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ หรือเปล่า ?
จิตวิญญาณเสรี ที่ไม่ยอมก้มหัวให้เผด็จการ และอำนาจใดๆ ที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อเริ่มก่อตั้งนั้น เปิดเป็น ตลาดวิชา
ใครจะมาลงเรียนก็ได้ เด็ก ผู้ใหญ่ หญิง ชา่ย ทุกอาชีพ ไม่ว่าร่ำรวย หรือยากจนเข็ญใจ
ใครมีชุดอะไรก็ใส่มาเรียนได้ ไม่มีเครื่องแบบบังคับ เพราะความรู้ สำคัญกว่าเรื่องพวกนี้
ต่อมา นักการเมืองที่ถูกส่งเข้ามาควบคุมกิจการภายในธรรมศาสตร์บางคน
ก็พยายามออกกฏระเบียบมาทำให้นักศึกษาของที่นี่ เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ
โดยเริ่มจากการออกระเบียบข้อบังคับเรื่องชุดนักศึกษาขึ้นมา
แต่ต่อมา เมื่อนักศึกษาธรรมศาสตร์ ลุกขึ้นร่วมต่อสู้กับพี่น้องเกษตรกร
และชนชั้นกรรมาชีพ ในปี 2516 และ 2519 นักศึกษาถูกโฆษณาชวนเชื่อ
ล้างสมอง ป้ายสีให้คนภายนอกเชื่อว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ต้องการโค่นสถาบัน
นักศึกษาธรรมศาสตร์ในยุค 6 ตุลา 2519 จึงถูกไล่ล่า ฆ่า ทำทารุณกรรม
อาจารย์ธรรมศาสตร์ในยุคนั้น เลยให้นักศึกษาไม่ต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียน
แต่พอเหตุการณ์สงบ จะให้กลับมาใส่ชุดนักศึกษาใหม่ คราวนี้ก็ไม่ยอมกันสึคะ 55
เพราะเป็นยุคเสรีภาพเบ่งบาน จิตวิญญาณขบถกำลังโชติช่วง
ธรรมศาสตร์หลังยุคนั้น ก็เลยไม่เคร่งครัด ไม่บังคับเรื่องชุดนักศึกษามาโดยตลอด
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงปี 2540 "เสรีภาพ" ในรั้วเหลืองแดง ดูจะถูกใช้มากเกินไป
ถึงขนาดที่ มีนักศึกษา ใส่ชุดนอนมาเรียน หรือใส่เสื้อผ้าสกปรกมีกลิ่นเหม็นที่ใช้ใส่อยู่กับหอซ้ำๆ มาเรียน
เพราะอยู่หอใน (หอพักภายในมหาวิทยาลัย) ถ้าตื่นสาย อาบน้ำไม่ทัน พอตื่นปุ๊บก็วิ่งเข้าห้องเรียนเลย
ที่ฮิตที่สุดในยุคนั้น ก็น่าจะเป็นการใส่กางเกงเล กับเสื้อยืดมาเรียน ซึ่งทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยสุภาพของนักศึกษา
เวลาไปติดต่อหน่วยงานบริษัทห้างร้านภายนอก เด็ก มธ. ก็เริ่มถูกบ่นเรื่องการแต่งตัวไม่เหมาะสมกันหนาหูขึ้น
เพราะแต่งตัวตามสบายเข้าว่า มาตรการเรื่องเครื่องแบบ จึงถูกนำมาใช้ เพื่อการควบคุมดูแลภาพลักษณ์ของนักศึกษา
พร้อมๆ กับการจัดอบรมเรื่อง มารยาท ในการแต่งกาย ไปสัมภาษณ์งาน ไปติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงา่นต่างๆ
มารยาทการรับประทานอาหาร และมารยาทในการเข้าสังคมอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยอื่น เขามีสอนกันมานาน
เป็นหลักสูตรทิ้งทวนก่อนจบการศึกษา แต่ธรรมศาสตร์ในขณะนั้น เราไม่มี
นี่คิอที่มา คือจุดเริ่มต้นของการขอความร่วมมือให้นักศึกษา ใส่ชุดนักศึกษา
โดยเริ่มมาจากคณะพาณิชย์ แล้วจึงขยายผลไปยังคณะอื่นๆ
เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มมีหลา่ยคณะ หลายวิชามากขึ้น ที่ออกกฏให้ผู้เข้าเรียนต้องใส่ชุดนักศึกษา
แต่ ณ ขณะนี้ ตอนที่มีคนประท้วงกันอยู่นี้ ก็มีอีกหลายคณะ หลายวิชา ที่อาจารย์ไม่ได้กำหนด
ไม่ได้บังคับเลยว่า ต้องใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.cs.tu.ac.th/images/stories/files/new_bachelor/2549.pdf
เมื่อรู้ที่มาที่ไป และแนวคิดเบื้องหลังของฝั่งที่อยากให้ใสุ่ชุดนักศึกษาแล้ว ลองมาดูเหตุผลของคนที่ค้านกันบ้างเป็นไร
จากกรณีที่มีน้องนักศึกษา ปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ชื่อ อั้ม เนโกะ ออกมาประท้วงทวงเสรีภาพทุกตารางนิ้วของนักศึกษา มธ.
ด้วยการต่อต้านระเบียบเรื่องชุดนักศึกษา โดยทำโปสเตอร์ที่ดูอนาจาีรออกมาเผยแพร่
จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์นั้น
เธอทำไปเพื่ออะไร ? ทำไมถึงทำ
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้บังคับให้ทุกคนใส่ชุดนักศึกษา
แต่เนื่องจากวิชา TU130 หรือวิชาสหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาหลักของมหาวิทยาลัย ที่นักศึกษาปี 1 ทุกคนต้องเรียน ได้ออกกฏมาว่า ถ้านักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษามาเรียนทุกครั้ง
จะไม่ให้ทำข้อสอบย่อย ผู้ที่ประท้วง เลยประท้วงว่า กฏของวิชานี้ ขัดกับระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้บังคับให้ใส่ชุดนักศึกษา
จากนั้นก็ลามไปพาดพิงถึง BBA หรือหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษของคณะพาณิชย์ฯ
ที่เจ้าหน้าที่ของ BBA จะไม่ให้บริการกับผู้ที่ไม่ได้แต่งชุดนักศึกษา ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ขัดกับคำว่า "ธรรมศาสตร์ เสรีภาพทุกตารางนิ้ว"
สิ่งที่น้อง อั้ม เนโกะ คนนี้ประท้วง โดยเนื้อแท้แล้ว ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับสิ่งที่อาจารย์ท่านหนึ่ง
เคยตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในตัวนักศึกษา
นั่นคิอ "การถามหาเสรีภาพ" ในสภาวะที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระเบียบข้อบังคับ
แต่ทำไม อาจารย์คนนั้น พูดแล้วไม่มีปัญหา ?
(ทั้งๆ ที่คณะบดีก็รู้ว่าอาจารย์คนไหนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของนโยบายคณะเรื่องนี้
เพราะคณะก็เปิดกว้างให้อาจารย์แต่ละท่านแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีการลงโทษอะไร)
แต่น้อง อั้ม เนโกะ ทำแล้วคนด่าทั้งเมือง และเกิดผลกระทบตามมามากมาย
ก็เพราะ อั้ม เนโกะ เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่ เอาแรงเข้าว่า ตามประสาคนซ่า ท้ามฤตยู
เพราะขนาดรูปปั้นอาจารย์ปรีดี เธอยังถ่ายรูปแบบเอาอวัยวะบางส่วนไปถูไถกับรูปปั้น จนเกิดเรื่องดราม่ามาแล้ว
นับประสาอะไรกับการใส่บิกินี่มาร่วมงานของคณะ แล้วถ่ายรูปกลางโรงอาหาร
รวมทั้งการนุ่งชุดนักศึกษาหญิง ที่ทั้งรัดทั้งสั้น (เธอไม่ใช่ผู้หญิงโดยกำเนิดค่ะ)
ถ่ายโปสเตอร์ประท้วงเรื่องชุดนักศึกษา โดยชูประเด็นเรื่องเพศนำ มีรูปอนาจาร
และสื่อความประมาณว่า ใส่ชุดนักศึกษา แล้วจะทำให้ sex มีอรรถรสมากขึ้นหรืออย่างไร
ซึ่งแตกต่างจากการจุดประกาย ยั่วให้คิด แต่ไม่ตัดสินว่าคนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ผิด หรือไม่ผิด
ของอาจารย์ท่านที่ไม่เห็นด้วยกับระเบียบของคณะพาณิชย์ฯ เมื่อปี 2540 ท่านนั้นโดยสิ้นเชิง
อั้ม เนโกะ มีความแรงในตัว ความมั่นใจ และจิตวิญญาณขบถในการขับเคลื่อน
แต่วิธีการในการเรียกร้องของเธอ ให้ข้อมูลแค่ไหน ? ตรงประเด็นแค่ไหน ?
มันดีจริงไหม ถ้าเราต่อต้านเรื่องหนึ่ง ไปพร้อมๆ กับการเปิดศึก เปิดประเด็น
ให้คนมาต่อต้านเราในอีกเรื่องหนึ่ง
ไม่อยากให้ "ธรรมศาสตร์ เสรีภาพทุกตารางนิ้ว" ดังกว่า "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน&
ในฐานะศิษย์เก่า อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 40 คณะ 02 (พาณิชยศาสตร์และการบัญชี) คนหนึ่ง
ซึ่งตอนเข้ามหาวิทยาลัย คณะพาณิชยฯ ต้องไปเรียน ปี 1 ที่รังสิต แล้วค่อยกลับมาเรียนปี 2,3 และ 4 ที่ท่าพระจันทร์
และเป็นรุ่นแรกอีกเหมือนกัน ที่คณะพาณิชย์ "ขอความร่วมมือ" นักศึกษา ให้ใส่ชุดนักศึกษามาเรียนวิชาของคณะ
และแต่งชุดนักศึกษาเข้าสอบ ในขณะที่วิชาของคณะอื่นๆ ไม่ได้มีกฏเรื่องการใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียน
แค่ใส่ชุดนักศึกษามาในวันสอบเท่านั้นก็พอ
ถามว่า ตอนที่ระเบียบเรื่องชุดนักศึกษาออกมาครั้งแรก เด็กคณะพาณิชย์ฯ ต่อต้านมั้ย ?
เด็กปี 1 ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาอะไรหรอกค่ะ เพราะชินกับชุดนักเรียนมานาน แถมยังไม่ได้ใส่ทุกวัน
วันไหนไม่มีเรียนวิชาคณะ ก็ใส่ชุดไปรเวทได้ (ตอนนั้น วันไหนที่จะใส่ไปรเวท กลับต้องคิดหนักซะอีก ว่าจะใส่อะไรดี)
คนที่มีปากมีเสียง มีปฏิกิริยาเยอะหน่อย จะเห็นจะเป็นพี่ๆ ปี 2,3,4 และ อาจารย์ ... ใช่ค่ะ "อาจารย์"
อาจารย์บางท่านถึงกับตั้งคำถามกับนักศึกษาที่แต่งชุดนักษามาเรียนกันพรึ่บอย่างพร้อมเพรียงว่า...
ทำไมคุณยอมทำตามที่เขากำหนด ? พวกคุณรู้จักคำว่า จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ หรือเปล่า ?
จิตวิญญาณเสรี ที่ไม่ยอมก้มหัวให้เผด็จการ และอำนาจใดๆ ที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อเริ่มก่อตั้งนั้น เปิดเป็น ตลาดวิชา
ใครจะมาลงเรียนก็ได้ เด็ก ผู้ใหญ่ หญิง ชา่ย ทุกอาชีพ ไม่ว่าร่ำรวย หรือยากจนเข็ญใจ
ใครมีชุดอะไรก็ใส่มาเรียนได้ ไม่มีเครื่องแบบบังคับ เพราะความรู้ สำคัญกว่าเรื่องพวกนี้
ต่อมา นักการเมืองที่ถูกส่งเข้ามาควบคุมกิจการภายในธรรมศาสตร์บางคน
ก็พยายามออกกฏระเบียบมาทำให้นักศึกษาของที่นี่ เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ
โดยเริ่มจากการออกระเบียบข้อบังคับเรื่องชุดนักศึกษาขึ้นมา
แต่ต่อมา เมื่อนักศึกษาธรรมศาสตร์ ลุกขึ้นร่วมต่อสู้กับพี่น้องเกษตรกร
และชนชั้นกรรมาชีพ ในปี 2516 และ 2519 นักศึกษาถูกโฆษณาชวนเชื่อ
ล้างสมอง ป้ายสีให้คนภายนอกเชื่อว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ต้องการโค่นสถาบัน
นักศึกษาธรรมศาสตร์ในยุค 6 ตุลา 2519 จึงถูกไล่ล่า ฆ่า ทำทารุณกรรม
อาจารย์ธรรมศาสตร์ในยุคนั้น เลยให้นักศึกษาไม่ต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียน
แต่พอเหตุการณ์สงบ จะให้กลับมาใส่ชุดนักศึกษาใหม่ คราวนี้ก็ไม่ยอมกันสึคะ 55
เพราะเป็นยุคเสรีภาพเบ่งบาน จิตวิญญาณขบถกำลังโชติช่วง
ธรรมศาสตร์หลังยุคนั้น ก็เลยไม่เคร่งครัด ไม่บังคับเรื่องชุดนักศึกษามาโดยตลอด
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงปี 2540 "เสรีภาพ" ในรั้วเหลืองแดง ดูจะถูกใช้มากเกินไป
ถึงขนาดที่ มีนักศึกษา ใส่ชุดนอนมาเรียน หรือใส่เสื้อผ้าสกปรกมีกลิ่นเหม็นที่ใช้ใส่อยู่กับหอซ้ำๆ มาเรียน
เพราะอยู่หอใน (หอพักภายในมหาวิทยาลัย) ถ้าตื่นสาย อาบน้ำไม่ทัน พอตื่นปุ๊บก็วิ่งเข้าห้องเรียนเลย
ที่ฮิตที่สุดในยุคนั้น ก็น่าจะเป็นการใส่กางเกงเล กับเสื้อยืดมาเรียน ซึ่งทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยสุภาพของนักศึกษา
เวลาไปติดต่อหน่วยงานบริษัทห้างร้านภายนอก เด็ก มธ. ก็เริ่มถูกบ่นเรื่องการแต่งตัวไม่เหมาะสมกันหนาหูขึ้น
เพราะแต่งตัวตามสบายเข้าว่า มาตรการเรื่องเครื่องแบบ จึงถูกนำมาใช้ เพื่อการควบคุมดูแลภาพลักษณ์ของนักศึกษา
พร้อมๆ กับการจัดอบรมเรื่อง มารยาท ในการแต่งกาย ไปสัมภาษณ์งาน ไปติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงา่นต่างๆ
มารยาทการรับประทานอาหาร และมารยาทในการเข้าสังคมอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยอื่น เขามีสอนกันมานาน
เป็นหลักสูตรทิ้งทวนก่อนจบการศึกษา แต่ธรรมศาสตร์ในขณะนั้น เราไม่มี
นี่คิอที่มา คือจุดเริ่มต้นของการขอความร่วมมือให้นักศึกษา ใส่ชุดนักศึกษา
โดยเริ่มมาจากคณะพาณิชย์ แล้วจึงขยายผลไปยังคณะอื่นๆ
เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มมีหลา่ยคณะ หลายวิชามากขึ้น ที่ออกกฏให้ผู้เข้าเรียนต้องใส่ชุดนักศึกษา
แต่ ณ ขณะนี้ ตอนที่มีคนประท้วงกันอยู่นี้ ก็มีอีกหลายคณะ หลายวิชา ที่อาจารย์ไม่ได้กำหนด
ไม่ได้บังคับเลยว่า ต้องใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อรู้ที่มาที่ไป และแนวคิดเบื้องหลังของฝั่งที่อยากให้ใสุ่ชุดนักศึกษาแล้ว ลองมาดูเหตุผลของคนที่ค้านกันบ้างเป็นไร
จากกรณีที่มีน้องนักศึกษา ปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ชื่อ อั้ม เนโกะ ออกมาประท้วงทวงเสรีภาพทุกตารางนิ้วของนักศึกษา มธ.
ด้วยการต่อต้านระเบียบเรื่องชุดนักศึกษา โดยทำโปสเตอร์ที่ดูอนาจาีรออกมาเผยแพร่
จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์นั้น
เธอทำไปเพื่ออะไร ? ทำไมถึงทำ
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้บังคับให้ทุกคนใส่ชุดนักศึกษา
แต่เนื่องจากวิชา TU130 หรือวิชาสหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาหลักของมหาวิทยาลัย ที่นักศึกษาปี 1 ทุกคนต้องเรียน ได้ออกกฏมาว่า ถ้านักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษามาเรียนทุกครั้ง
จะไม่ให้ทำข้อสอบย่อย ผู้ที่ประท้วง เลยประท้วงว่า กฏของวิชานี้ ขัดกับระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้บังคับให้ใส่ชุดนักศึกษา
จากนั้นก็ลามไปพาดพิงถึง BBA หรือหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษของคณะพาณิชย์ฯ
ที่เจ้าหน้าที่ของ BBA จะไม่ให้บริการกับผู้ที่ไม่ได้แต่งชุดนักศึกษา ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ขัดกับคำว่า "ธรรมศาสตร์ เสรีภาพทุกตารางนิ้ว"
สิ่งที่น้อง อั้ม เนโกะ คนนี้ประท้วง โดยเนื้อแท้แล้ว ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับสิ่งที่อาจารย์ท่านหนึ่ง
เคยตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในตัวนักศึกษา
นั่นคิอ "การถามหาเสรีภาพ" ในสภาวะที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระเบียบข้อบังคับ
แต่ทำไม อาจารย์คนนั้น พูดแล้วไม่มีปัญหา ?
(ทั้งๆ ที่คณะบดีก็รู้ว่าอาจารย์คนไหนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของนโยบายคณะเรื่องนี้
เพราะคณะก็เปิดกว้างให้อาจารย์แต่ละท่านแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีการลงโทษอะไร)
แต่น้อง อั้ม เนโกะ ทำแล้วคนด่าทั้งเมือง และเกิดผลกระทบตามมามากมาย
ก็เพราะ อั้ม เนโกะ เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่ เอาแรงเข้าว่า ตามประสาคนซ่า ท้ามฤตยู
เพราะขนาดรูปปั้นอาจารย์ปรีดี เธอยังถ่ายรูปแบบเอาอวัยวะบางส่วนไปถูไถกับรูปปั้น จนเกิดเรื่องดราม่ามาแล้ว
นับประสาอะไรกับการใส่บิกินี่มาร่วมงานของคณะ แล้วถ่ายรูปกลางโรงอาหาร
รวมทั้งการนุ่งชุดนักศึกษาหญิง ที่ทั้งรัดทั้งสั้น (เธอไม่ใช่ผู้หญิงโดยกำเนิดค่ะ)
ถ่ายโปสเตอร์ประท้วงเรื่องชุดนักศึกษา โดยชูประเด็นเรื่องเพศนำ มีรูปอนาจาร
และสื่อความประมาณว่า ใส่ชุดนักศึกษา แล้วจะทำให้ sex มีอรรถรสมากขึ้นหรืออย่างไร
ซึ่งแตกต่างจากการจุดประกาย ยั่วให้คิด แต่ไม่ตัดสินว่าคนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ผิด หรือไม่ผิด
ของอาจารย์ท่านที่ไม่เห็นด้วยกับระเบียบของคณะพาณิชย์ฯ เมื่อปี 2540 ท่านนั้นโดยสิ้นเชิง
อั้ม เนโกะ มีความแรงในตัว ความมั่นใจ และจิตวิญญาณขบถในการขับเคลื่อน
แต่วิธีการในการเรียกร้องของเธอ ให้ข้อมูลแค่ไหน ? ตรงประเด็นแค่ไหน ?
มันดีจริงไหม ถ้าเราต่อต้านเรื่องหนึ่ง ไปพร้อมๆ กับการเปิดศึก เปิดประเด็น
ให้คนมาต่อต้านเราในอีกเรื่องหนึ่ง