คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ในหนังสือ เลาะวัง ของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ เล่าถึงประวัติของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล)ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “วิก”นี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)นั้น “...เป็นคนโปรดในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่5”
“...เป็นคนแรกที่คิดตั้งโรงละคร เล่นละครเก็บเงินคนดู ละครในสมัยนั้นก็คือ ละครนอก ว่ากันว่าเรื่องที่ชอบเล่นคือ ดาหลัง หรือ อิเหนาใหญ่ แต่ต่อมาเล่นทั้งละครนอก ละครใน ทว่าดัดแปลงท่ารำให้ยักเยื้องต่างไปจากแบบหลวง”
“...โรงละครของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง แต่แรกก็เป็นเพียงโรงกั้นรั้ว กำหนดเวลาเดือนหงายถึงจะเล่น เดือนเพียงละสัปดาห์เดียว ก่อนหน้านี้ยังไม่บัญญัติศัพท์คำว่า “สัปดาห์” จึงเรียกว่า “วิก”ต่อมาเล่นเดือนละ 2 วิก
ละคร “วิก” ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ทำให้ละครอื่นตลอดจนลิเกพากันเอาอย่าง โดยเล่นมีกำหนดเวลา และเก็บเงินแบบเดียวกัน เป็นเหตุให้คำว่า “วิก” แพร่หลาย กลายเป็นละครวิกนั้น ลิเกวิกนี้
ความหมายของ “วิก” จึงเลือนไป ไปหมายถึงโรงนั้น โรงนี้...สมัยหนึ่งหมายถึงเฉพาะ ลิเก เช่น ลิเกวิกบางลำพู วิกสามย่าน วิกเมรุปูน...”
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล) นั้นยังมีความเกี่ยวกับ เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือลาวดวงเดือน ที่พวกเราคุ้นเคยกันดีอีกด้วย กล่าวคือ
“...ธิดาคนที่ 3 คือ เจ้าจอมมารดามรกต ท่านเดียวที่ได้เป็นเจ้าจอมมารดา ในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงจุฑารัตนราชกุมารี และ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม”
ซึ่งเชื้อพระวงศ์ท่านนี้คือผู้นิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน ที่มีเนื้อร้องว่า “โอ้ละหนอ ดวงเดือยเอย...” เราจึงพากันเรียกชื่อเพลงนี้ว่า “ลาวดวงเดือน”ตามเนื้อเพลง ซึ่งมีความไพเราะ และความคงเป็นอมตะเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้
เครดิตคุณคีตา พญาไท ผจก.ออนไลน์
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)นั้น “...เป็นคนโปรดในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่5”
“...เป็นคนแรกที่คิดตั้งโรงละคร เล่นละครเก็บเงินคนดู ละครในสมัยนั้นก็คือ ละครนอก ว่ากันว่าเรื่องที่ชอบเล่นคือ ดาหลัง หรือ อิเหนาใหญ่ แต่ต่อมาเล่นทั้งละครนอก ละครใน ทว่าดัดแปลงท่ารำให้ยักเยื้องต่างไปจากแบบหลวง”
“...โรงละครของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง แต่แรกก็เป็นเพียงโรงกั้นรั้ว กำหนดเวลาเดือนหงายถึงจะเล่น เดือนเพียงละสัปดาห์เดียว ก่อนหน้านี้ยังไม่บัญญัติศัพท์คำว่า “สัปดาห์” จึงเรียกว่า “วิก”ต่อมาเล่นเดือนละ 2 วิก
ละคร “วิก” ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ทำให้ละครอื่นตลอดจนลิเกพากันเอาอย่าง โดยเล่นมีกำหนดเวลา และเก็บเงินแบบเดียวกัน เป็นเหตุให้คำว่า “วิก” แพร่หลาย กลายเป็นละครวิกนั้น ลิเกวิกนี้
ความหมายของ “วิก” จึงเลือนไป ไปหมายถึงโรงนั้น โรงนี้...สมัยหนึ่งหมายถึงเฉพาะ ลิเก เช่น ลิเกวิกบางลำพู วิกสามย่าน วิกเมรุปูน...”
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล) นั้นยังมีความเกี่ยวกับ เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือลาวดวงเดือน ที่พวกเราคุ้นเคยกันดีอีกด้วย กล่าวคือ
“...ธิดาคนที่ 3 คือ เจ้าจอมมารดามรกต ท่านเดียวที่ได้เป็นเจ้าจอมมารดา ในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงจุฑารัตนราชกุมารี และ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม”
ซึ่งเชื้อพระวงศ์ท่านนี้คือผู้นิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน ที่มีเนื้อร้องว่า “โอ้ละหนอ ดวงเดือยเอย...” เราจึงพากันเรียกชื่อเพลงนี้ว่า “ลาวดวงเดือน”ตามเนื้อเพลง ซึ่งมีความไพเราะ และความคงเป็นอมตะเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้
เครดิตคุณคีตา พญาไท ผจก.ออนไลน์
แสดงความคิดเห็น
วิกหมอชิต วิกสาม คำว่า "วิก" ความหมายคืออะไรเหรอคะ
ช่วงหลังๆ มานี้เข้าสิงอยู่ห้องนี้บ่อย ก็เลยอยากถามค่ะ
แฟนๆ สถานีโทรศัพท์ช่วยบอกด้วยนะคะ "วิก" นี่มีความหมายว่าอะไรคะ?