คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
รธน.๒๕๕๐
มาตรา ๒๕๖
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ คนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่ง มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้อง คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสาม มาตรา ๒๐๖ มาตรา ๒๐๗ และมาตรา ๒๐๙ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๔๓
ให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
//////////////////////////////////
การสรรหากรรมการสิทธิ
คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จำนวนเจ็ดคน ด้วยมติที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้น ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากโดยวิธีลงคะแนนลับ
ที่มา - เวบไซค์สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จากบทบัญญัติข้างต้น เห็นได้ว่า คณะกรรมการสิทธิฯ มาจาก การแต่งตั้ง ทั้งสิ้น
ซึ่ง คณะกรรมการสรรหา ๗ คน เกินกว่าครึ่ง มาจากศาลต่างๆ ๕ คน ฝ่ายการเมือง ๒ คน (ประธานสภา-ผู้นำฝ่ายค้าน) แล้วให้คนเหล่านี้มาเลือกกรรมการสิทธิ ๗ คน
ปัญหาคือ ที่มาของคณะกรรมการสิทธิ น่าจะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือตัวแทนมากไปหน่อย กรรมการสรรหา น่าจะให้องค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยมากกว่าจะให้แต่ศาล เช่น อัยการ สภาทนาย กระทรวงยุติธรรม ผู้แทนราษฎร์จากฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ควรให้มีคณะสรรหาใหญ่กว่านั้น จะได้หลากหลายในความคิดเห็น ป้องกันการ"ล๊อคตัว"
การถอดถอนกรรมการสิทธิฯ เข้าใจว่า น่าจะถอดถอนผ่าน สว. ตามนัย รธน.ม.๒๗๐ (เพราะถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง) แต่ก็น่าจะยาก เพราะ สว.กว่าครึ่ง ก็ลากตั้งมา
ดังนั้น รัฐธรรมนูญ ถ้าจะแก้ไข ก็ควรต้องแก้ไขเรื่องที่มา ขององค์กรณ์อิสระนี้ด้วย ให้มีจุดเกี่ยวข้องกับประชาชน เพราะ คุณกินเงินภาษีประชาชนและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของประชาชน จึงต้องให้ประชาชนรับรอง จะในรูปแบบไหนก็อีกเรื่องที่ต้องช่วยกันคิดต่อไปครับ
และในส่วนขององค์กรอิสระอื่นๆ รวมไปถึง สว.ลากตั้ง ปัญหาก็คงคล้ายกันครับ
ในเมื่อที่มา-การถอดถอน ไม่มีจุดเกี่ยวข้องกับประชาชน แล้วประชาชนจะเชื่อมั่นได้อย่างไร ว่าการใช้อำนาจขององค์กร-สว.ลากตั้ง จะทำเพื่อประชาชน ละครับ
มาตรา ๒๕๖
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ คนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่ง มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้อง คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสาม มาตรา ๒๐๖ มาตรา ๒๐๗ และมาตรา ๒๐๙ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๔๓
ให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
//////////////////////////////////
การสรรหากรรมการสิทธิ
คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จำนวนเจ็ดคน ด้วยมติที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้น ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากโดยวิธีลงคะแนนลับ
ที่มา - เวบไซค์สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จากบทบัญญัติข้างต้น เห็นได้ว่า คณะกรรมการสิทธิฯ มาจาก การแต่งตั้ง ทั้งสิ้น
ซึ่ง คณะกรรมการสรรหา ๗ คน เกินกว่าครึ่ง มาจากศาลต่างๆ ๕ คน ฝ่ายการเมือง ๒ คน (ประธานสภา-ผู้นำฝ่ายค้าน) แล้วให้คนเหล่านี้มาเลือกกรรมการสิทธิ ๗ คน
ปัญหาคือ ที่มาของคณะกรรมการสิทธิ น่าจะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือตัวแทนมากไปหน่อย กรรมการสรรหา น่าจะให้องค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยมากกว่าจะให้แต่ศาล เช่น อัยการ สภาทนาย กระทรวงยุติธรรม ผู้แทนราษฎร์จากฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ควรให้มีคณะสรรหาใหญ่กว่านั้น จะได้หลากหลายในความคิดเห็น ป้องกันการ"ล๊อคตัว"
การถอดถอนกรรมการสิทธิฯ เข้าใจว่า น่าจะถอดถอนผ่าน สว. ตามนัย รธน.ม.๒๗๐ (เพราะถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง) แต่ก็น่าจะยาก เพราะ สว.กว่าครึ่ง ก็ลากตั้งมา
ดังนั้น รัฐธรรมนูญ ถ้าจะแก้ไข ก็ควรต้องแก้ไขเรื่องที่มา ขององค์กรณ์อิสระนี้ด้วย ให้มีจุดเกี่ยวข้องกับประชาชน เพราะ คุณกินเงินภาษีประชาชนและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของประชาชน จึงต้องให้ประชาชนรับรอง จะในรูปแบบไหนก็อีกเรื่องที่ต้องช่วยกันคิดต่อไปครับ
และในส่วนขององค์กรอิสระอื่นๆ รวมไปถึง สว.ลากตั้ง ปัญหาก็คงคล้ายกันครับ
ในเมื่อที่มา-การถอดถอน ไม่มีจุดเกี่ยวข้องกับประชาชน แล้วประชาชนจะเชื่อมั่นได้อย่างไร ว่าการใช้อำนาจขององค์กร-สว.ลากตั้ง จะทำเพื่อประชาชน ละครับ
แสดงความคิดเห็น
ท่านคิดอย่างไร?เกี่ยวกับความเป็นกลางทางเมืองของ "องค์กรสิทธิมนุษยชน"(กสม)