“ความรู้มีเพียงแค่ชั้น ป.4 ผมสัญจรจากดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีดินแดนบ้านป่า นักร้องคนซื่อ ที่ชื่อสายัณห์ สัญญา เป็นเด็กบ้านนอกคอกนา เสี่ยงโชคชะตามากับเสียงเพลง...”
เป็นเนื้อร้องท่อนแรกของเพลง “นักเพลงคนจน” เพลงประจำของ วงดนตรีสายัณห์ สัญญา ในยุคแรก ๆ เมื่อร้องเพลง “ล้นเกล้าเผ่าไทย” ซึ่งเป็นเพลงเปิดวงจบแล้วก็จะต่อด้วยนักเพลงคนจน แต่ในยุคหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเพลง “ชีวิตสายัณห์” หลังจากนั้นจึงเป็นการกล่าวสวัสดีทักทายแฟนเพลง ด้วยน้ำเสียงออดอ้อน อ่อนหวาน ด้วยวลีที่คุ้นหูกันมานาน คือ ’รักสายัณห์น้อย ๆ แต่ขอให้รักนาน ๆ“
ทั้งหมดเป็นภาพบรรยากาศเก่า ๆ ที่คอเพลงลูกทุ่งอายุ 30 ปีปลาย ๆขึ้นไป ยังจำความยิ่งใหญ่อลังการของวงดนตรีลูกทุ่งสายัณห์ได้เป็นอย่างดี เพราะหลังจากหมดยุคของราชาเพลงลูกทุ่ง “สุรพล สมบัติเจริญ” ซึ่งถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็มีเพียง “พี่เป้า–สายัณห์ สัญญา” เจ้าของฉายาแหบ มหาเสน่ห์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะไม่เคยได้รับรางวัลทางการร้องเพลงใด ๆ แต่ก็เป็นนักร้องที่มีเสน่ห์ มีคำออดอ้อนแม่ยก แฟนเพลง ผู้สนับสนุนคล้าย ๆ พระเอกลิเก มีการไว้เคราเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
ทีมข่าวเดลินิวส์ มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ “สมบัติ เมืองอุบล” หนึ่งในทีมงาน 7 พลังหนุ่มของวงสายัณห์ เล่าว่าทีมงาน 7 พลังหนุ่มในยุคนั้น ประกอบด้วย คม ขวัญแก้ว, พนมวัลย์ บ้านบึง, สมพงศ์ คงศักดิ์, สกล อลงกรณ์, สมศักดิ์ ณ ลำประโดง, ณพนรรจ์ ขวัญประภา และสมบัติ เมืองอุบล ทุกคนเป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง ทำหน้าที่ร้องเพลงหน้าเวทีคนละ 2 เพลง ก่อนถึงเวลา 23.00 น. ซึ่งเป็นคิวของหัวหน้าวง “สุดยอดลูกทุ่งไทย ขวัญใจคนเดิม” ออกมาร้องขับกล่อมและพูดออดอ้อนแฟนเพลง เกือบ 20 เพลง ก่อนจบการแสดงสมบัติ เมืองอุบล เล่าเรื่องราวในอดีตต่อว่า “มาอยู่กับวงสายัณห์ตั้งแต่ปี 2518-2528 เป็นเวลา 10 ปีเต็ม ๆ ที่ได้กินอิ่มนอนหลับ เพราะมีงานตลอดทั้งปี ไม่ว่าหน้าร้อน หน้าฝน และแฟนเพลงเยอะ ถ้าเป็นวงอื่น ๆไปเปิดการแสดงที่ไหน แค่ฝนตั้งเค้า! ก็ผวากันทั้งวงแล้ว แต่วงสายัณห์จ่ายค่าตัวทุกวัน นักร้องวันละ 500 บาทต่อคน หางเครื่อง 100 บาท เป็นอัตราค่าจ้างเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีการทำงานอย่างมีระบบ ทุกอย่างต้องยิ่งใหญ่อลังการเพื่อแฟนเพลง ทั้งเครื่องเสียง เครื่องดนตรี ชุดหางเครื่อง”
โดยเฉพาะชุดหางเครื่องจะเปลี่ยนทุกปีเป็นสิบ ๆ ชุด ลงทุน 1-2 ล้านบาท ถือว่าเป็นวงดนตรีใหญ่ที่สุดในยุคนั้น เวลาไปเปิดการแสดงเหมือนกับคอนวอย เพราะต้องใช้รถบัสคันใหญ่ติดแอร์ 1 คัน รถบัสเล็ก 2 คัน รถตู้ 4 คัน รถสิบล้อ 1 คัน และรถหกล้อ 2 คัน เพื่อขนชาวคณะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแสดง ถือว่าเป็นวงแรกที่มีรถบัสติดแอร์ ช่วงหลังสายัณห์ ไปเล่นภาพยนตร์หลายเรื่อง ยิ่งทำให้วงได้รับความนิยมมากขึ้น
ด้าน “แสนรัก เมืองโคราช” โฆษกเสียงเซอร์ราวด์ของวงเล่าย้อนบรรยากาศในอดีตว่าเข้ามาอยู่ในวงสายัณห์ช่วงปี 2524-2531 ก่อนหน้านี้เคยอยู่มาแล้วหลายวง แต่เมื่อมาอยู่กับวงสายัณห์ ถือว่าที่นี่มีเสรีภาพ สนุกสนานเพราะแฟนเพลงเยอะ มีหน้าที่การงานมั่นคง สมัยนั้นเป็นโฆษกหน้าเวที ได้ค่าตัววันละ 700-1,000 บาท ถ้าเทียบกับราคาทองคำบาทละไม่ถึง 5,000 บาทถือว่ามีรายได้สูง คนไหนรู้จักใช้จ่ายก็มีเงินเก็บออกไปตั้งตัวได้ แต่บางคนก็หมดไปกับการพนัน
ถ้าช่วงฤดูฝน จะเปิดการแสดงในโรงภาพยนตร์ 2 รอบบ่าย-ค่ำ โดยเฉลี่ยมีรายได้ประมาณ 2-3 แสนบาททุกวัน โด่งดังมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 15 ปี มีเพลงดัง ๆ ออกมาทุกปี ไปแสดงบางงานช่วงเทศกาล เช่น ลอยกระทง และวันแรงงาน เคยเก็บค่าตั๋วได้กว่า 1 ล้านบาทถือว่ามหาศาล ราคาตั๋วสมัยนั้น 50-80-100 บาท ใครมาอยู่วงสายัณห์ถือว่าจบ “มหาวิทยาลัยลูกทุ่ง” ไปสมัครงานวงไหนเขาก็รับ
เท่าที่จำได้มีศิลปินตลกเคยอยู่กับวงสายัณห์มากมาย ไล่ตั้งแต่ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, ชูศรี เชิญยิ้ม, แอนนา ชวนชื่น, โหน่ง ชะชะช่า, นุ้ย เชิญยิ้ม, หยอง ลูกหยี ฯลฯ โดยโหน่งและนุ้ยมาอยู่ในช่วงท้าย ๆ ใกล้จะเลิกวงแล้ว หลังจากสายัณห์แต่งงานกับ “ซ้อปิ๋ม” (วรรณพร สัมฤทธิ์) เมื่อปี 30 ต่อมาปี 31 ก็ยุบวง ด้วยเหตุผลหลายประการ
“หัวหน้าวงของผมเป็นคนโผงผาง ดุดัน พูดจาขวานผ่าซาก ไม่อ้อมค้อม เพราะต้องดูแลลูกน้องเกือบ 200 คน แต่มีความจริงใจ ส่วนกรณียอดรัก สลักใจ ตามสไตล์สายัณห์ เมื่อได้ยินมาอย่างไรก็ถามแบบไม่อ้อมค้อมและเสียงดังไปหน่อยจึงมีคนแปลเจตนาผิดไป ทั้ง ๆ ที่เขารักกันมาก ครอบครัวก็สนิทกัน เห็นได้จากภรรยาและลูกของยอดรักก็มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล ถือว่าภาพความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันมันจบไปแล้ว” โฆษกเสียงเซอร์ราวด์ กล่าว
แม้สายัณห์จะยุบวงไปเมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หยุดรับงานร้องเพลงไปพักใหญ่ ๆ แต่บทเพลงลูกทุ่งที่เคยขับขานไว้ยังเป็นอมตะ จึงมีนักร้องรุ่นหลัง ๆ ยึดถือเป็น “ไอดอล” และนำบทเพลงลูกทุ่งอมตะที่สายัณห์เคยร้องไว้ มาร้องต่อกันหลายคน เช่น “ก๊อต” จักรพรรณ์ อาบครบุรี, ไชยา มิตรชัย, กุ้ง-สุธิราช วงศ์เทวัญ, หนู มิเตอร์, ไท ธนาวุฒิ ฯลฯ
ปัจจุบันสายัณห์ กำลังล้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ระยะที่ 4 นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ท่ามกลางพี่น้องผองเพื่อนในวงการเพลง วงการตลก นักการเมือง และบรรดาแฟน ๆ เดินทางไปเยี่ยมกันอย่างไม่ขาดสาย ที่สำคัญเมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา นายมานิตย์ อังกินันทน์ ผู้จัดการส่วนตัวของสายัณห์ ยังได้จัดคอนเสิร์ต “วันอำลา ขวัญใจคนเดิม” ที่ตลาดพระประแดงอาเขต จ.สมุทรปราการ โดยมีบรรดามิตรรักแฟนเพลง และนักร้องจากหลายค่าย รวมทั้งศิลปินตลก และนักดนตรี มาให้กำลังใจกันล้นหลามแม้จะมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมาก็ไม่หนี
วันนี้นักร้องลูกทุ่ง เจ้าของฉายาแหบเสน่ห์ ยังคงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ท่ามกลางครอบครัวที่อบอุ่น อีกทั้งยังได้กำลังใจจากผู้คนในวงการลูกทุ่ง และแฟน ๆเพลงคอยส่งแรงใจให้ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บจนถึงที่สุด!!.
ชีวิตนักสู้ป.4
เรื่องราวชีวิตประวัติย่อ ๆ ของ สายัณห์ สัญญา มีชื่อจริงว่า นายสายัณห์ ดีเสมอ ชื่อเล่น เป้า เกิดเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2496 ที่ตำบลป่าสะแก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ในครอบครัวชาวนา เรียนจบเพียงชั้น ป.4 ด้วยความที่รักการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เด็ก จึงตระเวนประกวดร้องเพลงมามากมาย จนกระทั่งไปสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรี “ผ่องศรี วรนุช” ในฐานะหางเครื่อง โชว์ลีลาการเต้นจนได้รับรางวัลแชมป์หางเครื่อง ต่อมาย้ายมาอยู่กับวง “รวมพร” ของคุณเล็ก และคุณน้อยศรี อิงคะนันท์ เจ้าของปั๊มน้ำมันพรรุ่งโรจน์ ย่านบุคคโล จึงได้รับการสนับสนุนให้บันทึกเสียงเป็นครั้งแรก ในเพลง “รักเธอเท่าฟ้า” แต่แผ่นเสียงถูกดองเค็ม สุดท้ายจึงมาเป็นเด็กล้างรถอยู่ในปั๊มน้ำมันพรรุ่งโรจน์ กระทั่งโชคชะตาโคจรมาเจอกับ “ชลธี ธารทอง” ครูเพลงชื่อดัง ซึ่งตอนนั้นอนาคตของครูชลธียังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ได้แวะมาเข้าห้องน้ำที่ปั๊มแห่งนี้ แล้วได้ยินสายัณห์ ร้องเพลงของ “ศรคีรี ศรีประจวบ” ได้ถูกใจเห็นหน่วยก้านใช้ได้ จึงมอบเพลง “ลูกสาวผู้การ” และ “แหม่มปลาร้า” ให้ฟรี ๆ ถือเป็นการจุดประกายเส้นทางดนตรีลูกทุ่งให้สายัณห์นำไปร้องพอ เริ่มมีชื่อเสียง ตัดสินใจตั้งวงดนตรี วันที่ 31 ธ.ค. 2516 คือวันเปิดวงครั้งแรก แสดงที่บึงพลาญชัย อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ผู้คนแห่แหนมาดู ชนิดมืดฟ้ามัวดิน
หลังจากนั้นออกตระเวนแสดงไปทั่วประเทศ มีผลงานนับพันเพลง มีเพลงดัง ๆมากมายนับไม่ถ้วน เช่น ลูกสาวผู้การ, กินอะไรถึงสวย, ความรักเหมือนยาขม, ไก่จ๋า, เกลียดห้องเบอร์ 5, ห้องนอนคนจน หลบเลียแผลใจ ฯลฯ นอกจากร้องเพลงแล้ว สายัณห์ ยังเป็นพระเอกภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น นักร้องนักเลง–นักร้องปืนโหด-แพแตก ต่อมาปี 2530 สายัณห์ ได้แต่งงานกับ “ปิ๋ม-วรรณพร สัมฤทธิ์” สาวงามระดับเทพีจากเมืองชลบุรี และมีพยานรักด้วยกัน 4 คน หลังจากนั้นยุคสมัยความนิยมในการฟังดนตรีเริ่มแปรเปลี่ยน มีแนวเพลงให้เลือกมากขึ้น
ต่อมาปี 2531 จึงประกาศยุบวงดนตรีเพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวหายเงียบไปจากวงการลูกทุ่ง แล้วหวนกลับมารับงานร้องเพลงอีกครั้งในช่วงที่ลูก ๆ โตแล้ว
จนกระทั่งเดือน ก.ค. 56 มีข่าวช็อกวงการเพลงลูกทุ่ง ว่าสายัณห์ ล้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ระยะที่ 4 จนต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า.
พิเชษฐ์ รื่นกลิ่น : รายงาน
http://www.dailynews.co.th/article/5832/222647
ตำนานยิ่งใหญ่‘สายัณห์ สัญญา’นักร้องลูกทุ่ง‘แหบ มหาเสน่ห์’
“ความรู้มีเพียงแค่ชั้น ป.4 ผมสัญจรจากดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีดินแดนบ้านป่า นักร้องคนซื่อ ที่ชื่อสายัณห์ สัญญา เป็นเด็กบ้านนอกคอกนา เสี่ยงโชคชะตามากับเสียงเพลง...”
เป็นเนื้อร้องท่อนแรกของเพลง “นักเพลงคนจน” เพลงประจำของ วงดนตรีสายัณห์ สัญญา ในยุคแรก ๆ เมื่อร้องเพลง “ล้นเกล้าเผ่าไทย” ซึ่งเป็นเพลงเปิดวงจบแล้วก็จะต่อด้วยนักเพลงคนจน แต่ในยุคหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเพลง “ชีวิตสายัณห์” หลังจากนั้นจึงเป็นการกล่าวสวัสดีทักทายแฟนเพลง ด้วยน้ำเสียงออดอ้อน อ่อนหวาน ด้วยวลีที่คุ้นหูกันมานาน คือ ’รักสายัณห์น้อย ๆ แต่ขอให้รักนาน ๆ“
ทั้งหมดเป็นภาพบรรยากาศเก่า ๆ ที่คอเพลงลูกทุ่งอายุ 30 ปีปลาย ๆขึ้นไป ยังจำความยิ่งใหญ่อลังการของวงดนตรีลูกทุ่งสายัณห์ได้เป็นอย่างดี เพราะหลังจากหมดยุคของราชาเพลงลูกทุ่ง “สุรพล สมบัติเจริญ” ซึ่งถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็มีเพียง “พี่เป้า–สายัณห์ สัญญา” เจ้าของฉายาแหบ มหาเสน่ห์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะไม่เคยได้รับรางวัลทางการร้องเพลงใด ๆ แต่ก็เป็นนักร้องที่มีเสน่ห์ มีคำออดอ้อนแม่ยก แฟนเพลง ผู้สนับสนุนคล้าย ๆ พระเอกลิเก มีการไว้เคราเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
ทีมข่าวเดลินิวส์ มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ “สมบัติ เมืองอุบล” หนึ่งในทีมงาน 7 พลังหนุ่มของวงสายัณห์ เล่าว่าทีมงาน 7 พลังหนุ่มในยุคนั้น ประกอบด้วย คม ขวัญแก้ว, พนมวัลย์ บ้านบึง, สมพงศ์ คงศักดิ์, สกล อลงกรณ์, สมศักดิ์ ณ ลำประโดง, ณพนรรจ์ ขวัญประภา และสมบัติ เมืองอุบล ทุกคนเป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง ทำหน้าที่ร้องเพลงหน้าเวทีคนละ 2 เพลง ก่อนถึงเวลา 23.00 น. ซึ่งเป็นคิวของหัวหน้าวง “สุดยอดลูกทุ่งไทย ขวัญใจคนเดิม” ออกมาร้องขับกล่อมและพูดออดอ้อนแฟนเพลง เกือบ 20 เพลง ก่อนจบการแสดงสมบัติ เมืองอุบล เล่าเรื่องราวในอดีตต่อว่า “มาอยู่กับวงสายัณห์ตั้งแต่ปี 2518-2528 เป็นเวลา 10 ปีเต็ม ๆ ที่ได้กินอิ่มนอนหลับ เพราะมีงานตลอดทั้งปี ไม่ว่าหน้าร้อน หน้าฝน และแฟนเพลงเยอะ ถ้าเป็นวงอื่น ๆไปเปิดการแสดงที่ไหน แค่ฝนตั้งเค้า! ก็ผวากันทั้งวงแล้ว แต่วงสายัณห์จ่ายค่าตัวทุกวัน นักร้องวันละ 500 บาทต่อคน หางเครื่อง 100 บาท เป็นอัตราค่าจ้างเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีการทำงานอย่างมีระบบ ทุกอย่างต้องยิ่งใหญ่อลังการเพื่อแฟนเพลง ทั้งเครื่องเสียง เครื่องดนตรี ชุดหางเครื่อง”
โดยเฉพาะชุดหางเครื่องจะเปลี่ยนทุกปีเป็นสิบ ๆ ชุด ลงทุน 1-2 ล้านบาท ถือว่าเป็นวงดนตรีใหญ่ที่สุดในยุคนั้น เวลาไปเปิดการแสดงเหมือนกับคอนวอย เพราะต้องใช้รถบัสคันใหญ่ติดแอร์ 1 คัน รถบัสเล็ก 2 คัน รถตู้ 4 คัน รถสิบล้อ 1 คัน และรถหกล้อ 2 คัน เพื่อขนชาวคณะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแสดง ถือว่าเป็นวงแรกที่มีรถบัสติดแอร์ ช่วงหลังสายัณห์ ไปเล่นภาพยนตร์หลายเรื่อง ยิ่งทำให้วงได้รับความนิยมมากขึ้น
ด้าน “แสนรัก เมืองโคราช” โฆษกเสียงเซอร์ราวด์ของวงเล่าย้อนบรรยากาศในอดีตว่าเข้ามาอยู่ในวงสายัณห์ช่วงปี 2524-2531 ก่อนหน้านี้เคยอยู่มาแล้วหลายวง แต่เมื่อมาอยู่กับวงสายัณห์ ถือว่าที่นี่มีเสรีภาพ สนุกสนานเพราะแฟนเพลงเยอะ มีหน้าที่การงานมั่นคง สมัยนั้นเป็นโฆษกหน้าเวที ได้ค่าตัววันละ 700-1,000 บาท ถ้าเทียบกับราคาทองคำบาทละไม่ถึง 5,000 บาทถือว่ามีรายได้สูง คนไหนรู้จักใช้จ่ายก็มีเงินเก็บออกไปตั้งตัวได้ แต่บางคนก็หมดไปกับการพนัน
ถ้าช่วงฤดูฝน จะเปิดการแสดงในโรงภาพยนตร์ 2 รอบบ่าย-ค่ำ โดยเฉลี่ยมีรายได้ประมาณ 2-3 แสนบาททุกวัน โด่งดังมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 15 ปี มีเพลงดัง ๆ ออกมาทุกปี ไปแสดงบางงานช่วงเทศกาล เช่น ลอยกระทง และวันแรงงาน เคยเก็บค่าตั๋วได้กว่า 1 ล้านบาทถือว่ามหาศาล ราคาตั๋วสมัยนั้น 50-80-100 บาท ใครมาอยู่วงสายัณห์ถือว่าจบ “มหาวิทยาลัยลูกทุ่ง” ไปสมัครงานวงไหนเขาก็รับ
เท่าที่จำได้มีศิลปินตลกเคยอยู่กับวงสายัณห์มากมาย ไล่ตั้งแต่ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, ชูศรี เชิญยิ้ม, แอนนา ชวนชื่น, โหน่ง ชะชะช่า, นุ้ย เชิญยิ้ม, หยอง ลูกหยี ฯลฯ โดยโหน่งและนุ้ยมาอยู่ในช่วงท้าย ๆ ใกล้จะเลิกวงแล้ว หลังจากสายัณห์แต่งงานกับ “ซ้อปิ๋ม” (วรรณพร สัมฤทธิ์) เมื่อปี 30 ต่อมาปี 31 ก็ยุบวง ด้วยเหตุผลหลายประการ
“หัวหน้าวงของผมเป็นคนโผงผาง ดุดัน พูดจาขวานผ่าซาก ไม่อ้อมค้อม เพราะต้องดูแลลูกน้องเกือบ 200 คน แต่มีความจริงใจ ส่วนกรณียอดรัก สลักใจ ตามสไตล์สายัณห์ เมื่อได้ยินมาอย่างไรก็ถามแบบไม่อ้อมค้อมและเสียงดังไปหน่อยจึงมีคนแปลเจตนาผิดไป ทั้ง ๆ ที่เขารักกันมาก ครอบครัวก็สนิทกัน เห็นได้จากภรรยาและลูกของยอดรักก็มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล ถือว่าภาพความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันมันจบไปแล้ว” โฆษกเสียงเซอร์ราวด์ กล่าว
แม้สายัณห์จะยุบวงไปเมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หยุดรับงานร้องเพลงไปพักใหญ่ ๆ แต่บทเพลงลูกทุ่งที่เคยขับขานไว้ยังเป็นอมตะ จึงมีนักร้องรุ่นหลัง ๆ ยึดถือเป็น “ไอดอล” และนำบทเพลงลูกทุ่งอมตะที่สายัณห์เคยร้องไว้ มาร้องต่อกันหลายคน เช่น “ก๊อต” จักรพรรณ์ อาบครบุรี, ไชยา มิตรชัย, กุ้ง-สุธิราช วงศ์เทวัญ, หนู มิเตอร์, ไท ธนาวุฒิ ฯลฯ
ปัจจุบันสายัณห์ กำลังล้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ระยะที่ 4 นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ท่ามกลางพี่น้องผองเพื่อนในวงการเพลง วงการตลก นักการเมือง และบรรดาแฟน ๆ เดินทางไปเยี่ยมกันอย่างไม่ขาดสาย ที่สำคัญเมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา นายมานิตย์ อังกินันทน์ ผู้จัดการส่วนตัวของสายัณห์ ยังได้จัดคอนเสิร์ต “วันอำลา ขวัญใจคนเดิม” ที่ตลาดพระประแดงอาเขต จ.สมุทรปราการ โดยมีบรรดามิตรรักแฟนเพลง และนักร้องจากหลายค่าย รวมทั้งศิลปินตลก และนักดนตรี มาให้กำลังใจกันล้นหลามแม้จะมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมาก็ไม่หนี
วันนี้นักร้องลูกทุ่ง เจ้าของฉายาแหบเสน่ห์ ยังคงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ท่ามกลางครอบครัวที่อบอุ่น อีกทั้งยังได้กำลังใจจากผู้คนในวงการลูกทุ่ง และแฟน ๆเพลงคอยส่งแรงใจให้ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บจนถึงที่สุด!!.
ชีวิตนักสู้ป.4
เรื่องราวชีวิตประวัติย่อ ๆ ของ สายัณห์ สัญญา มีชื่อจริงว่า นายสายัณห์ ดีเสมอ ชื่อเล่น เป้า เกิดเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2496 ที่ตำบลป่าสะแก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ในครอบครัวชาวนา เรียนจบเพียงชั้น ป.4 ด้วยความที่รักการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เด็ก จึงตระเวนประกวดร้องเพลงมามากมาย จนกระทั่งไปสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรี “ผ่องศรี วรนุช” ในฐานะหางเครื่อง โชว์ลีลาการเต้นจนได้รับรางวัลแชมป์หางเครื่อง ต่อมาย้ายมาอยู่กับวง “รวมพร” ของคุณเล็ก และคุณน้อยศรี อิงคะนันท์ เจ้าของปั๊มน้ำมันพรรุ่งโรจน์ ย่านบุคคโล จึงได้รับการสนับสนุนให้บันทึกเสียงเป็นครั้งแรก ในเพลง “รักเธอเท่าฟ้า” แต่แผ่นเสียงถูกดองเค็ม สุดท้ายจึงมาเป็นเด็กล้างรถอยู่ในปั๊มน้ำมันพรรุ่งโรจน์ กระทั่งโชคชะตาโคจรมาเจอกับ “ชลธี ธารทอง” ครูเพลงชื่อดัง ซึ่งตอนนั้นอนาคตของครูชลธียังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ได้แวะมาเข้าห้องน้ำที่ปั๊มแห่งนี้ แล้วได้ยินสายัณห์ ร้องเพลงของ “ศรคีรี ศรีประจวบ” ได้ถูกใจเห็นหน่วยก้านใช้ได้ จึงมอบเพลง “ลูกสาวผู้การ” และ “แหม่มปลาร้า” ให้ฟรี ๆ ถือเป็นการจุดประกายเส้นทางดนตรีลูกทุ่งให้สายัณห์นำไปร้องพอ เริ่มมีชื่อเสียง ตัดสินใจตั้งวงดนตรี วันที่ 31 ธ.ค. 2516 คือวันเปิดวงครั้งแรก แสดงที่บึงพลาญชัย อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ผู้คนแห่แหนมาดู ชนิดมืดฟ้ามัวดิน
หลังจากนั้นออกตระเวนแสดงไปทั่วประเทศ มีผลงานนับพันเพลง มีเพลงดัง ๆมากมายนับไม่ถ้วน เช่น ลูกสาวผู้การ, กินอะไรถึงสวย, ความรักเหมือนยาขม, ไก่จ๋า, เกลียดห้องเบอร์ 5, ห้องนอนคนจน หลบเลียแผลใจ ฯลฯ นอกจากร้องเพลงแล้ว สายัณห์ ยังเป็นพระเอกภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น นักร้องนักเลง–นักร้องปืนโหด-แพแตก ต่อมาปี 2530 สายัณห์ ได้แต่งงานกับ “ปิ๋ม-วรรณพร สัมฤทธิ์” สาวงามระดับเทพีจากเมืองชลบุรี และมีพยานรักด้วยกัน 4 คน หลังจากนั้นยุคสมัยความนิยมในการฟังดนตรีเริ่มแปรเปลี่ยน มีแนวเพลงให้เลือกมากขึ้น
ต่อมาปี 2531 จึงประกาศยุบวงดนตรีเพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวหายเงียบไปจากวงการลูกทุ่ง แล้วหวนกลับมารับงานร้องเพลงอีกครั้งในช่วงที่ลูก ๆ โตแล้ว
จนกระทั่งเดือน ก.ค. 56 มีข่าวช็อกวงการเพลงลูกทุ่ง ว่าสายัณห์ ล้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ระยะที่ 4 จนต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า.
พิเชษฐ์ รื่นกลิ่น : รายงาน
http://www.dailynews.co.th/article/5832/222647