สวัสดีค่ะ เพื่อนสมาชิกพันทิป
ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ฝนตกบ่อย ลองสังเกตกันดูมั้ยคะว่าสิ่งหนึ่งที่มักจะเจอเยอะในช่วงหน้าฝน ก็คือเรื่องเห็บน้องหมา
ทำไมเห็บถึงเยอะ แล้วจะปราบเห็บกันยังไงให้หมด เป็นปัญหาโลกแตกของคนเลี้ยงน้องหมากันเลยทีเดียว
ในฐานะที่ จขกท เองก็เป็นสัตวแพทย์และก็เจอเจ้าของน้องหมาประสบปัญหาเรื่องเห็บกันมาก
ก็เลยอยากจะมาแชร์ความรู้ให้เพื่อนๆในพันทิปค่ะ
*****ขอออกตัวก่อนนะคะ ว่า จขกท เขียนบทความลงในเว็บนึงด้วย (ไม่บอกนะคะว่าที่ไหน เดี๋ยวจะเป็นการโฆษณาไป)
ซึ่งเนื้อหาที่เอามาลงในวันนี้ จะเอาเนื้อหาจากบทความเดิมมาปรับปรุง เลยอาจทำให้บางคนอาจจะดูคุ้นๆอยู่บ้าง
ไม่ต้องตกใจว่า จขกท ไปขโมยผลงานใครมาเขียนนะคะ ^^
ก่อนอื่นเลย เราควรจะมาทำความรู้จักหน้าตาและวงชีวิตของเห็บกันก่อน
ถามว่าทำไมต้องรู้ด้วย เพราะจากประสบการณ์ของ จขกท
เจ้าของน้องหมาหลายท่านแยกไม่ออกว่าหน้าตาแบบไหนคือเห็บ หรือหมัด
หรือบางทีน้องหมามีลูกเห็บตัวเล็กๆ เจ้าของก็ไม่รู้ว่านั่นแหละคือเห็บ นึกว่าเป็นขี้ฝุ่นดำๆติดตัวด้วยซ้ำไปค่ะ
เห็บที่เจอในน้องหมาทั่วโลกนั้นมีหลายสายพันธุ์นะคะ
แต่ในบ้านเราสายพันธุ์ที่มักพบก็คือ Rhipicephalus sanguineus
หรือทั่วๆไปเรียกว่า Brown dog tick เพราะว่าเห็บสายพันธุ์นี้มีสีน้ำตาลแดงค่ะ
เห็บพวกนี้เพศผู้และเพศเมียหน้าตาไม่เหมือนกันนะคะ
หลายคนเข้าใจผิดว่าเห็บตัวผู้เป็นหมัด และเห็บตัวเมียคือเห็บ ทั้งที่ความจริงเป็นเห็บทั้งคู่
ส่วนหมัดนี่หน้าตาและวงชีวิตจะคนละอย่างกับเห็บนะคะ

ที่มา :
http://www.entomology.cornell.edu/cals/entomology/extension/medent/tickbiofs.cfm
จากรูปที่นำมาให้ดูกันนี้ เป็นรูปเห็นที่ถ่ายกันมาแบบซูมๆให้เห็นกันชัดๆกันไปเลยค่ะ
เห็บตัวใหญ่สุดในรูป คือเห็บตัวเมียโตเต็มวัยที่ดูดเลือดจนอิ่มแล้ว มองเผินๆจะดูคล้ายเม็ดลูกเกด
ตัวด้านตรงกลางบนคือ เห็บตัวเมียโตเต็มวัยที่ยังไม่ดูดเลือด
ตรงกลางล่างคือ เห็บตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว เจ้าของส่วนใหญ่จะบอกว่าจะดูคล้ายๆแมงมุมตัวเล็กๆ
ด้านขวาบนที่ตัวเล็กๆ คือลูกเห็บที่ยังไม่โตเต็มวัย ตัวจะเล็กมาก ขนาดประมาณปลายปากกาจุด
เจ้าของหลายท่านบางคนไม่รู้ว่ามันคือเห็บ
จขกท ต้องแงะเอาไปส่องกล้องจุลทรรศน์ แล้วเรียกให้เจ้าของมาดู เจ้าของบางคนถึงกับกรีดร้องไปเลยก็มี ว่ามาชั้นมีเห็บ!
ส่วนเม็ดสีขาวด้านล่างคือเมล็ดงาที่เอามาวางเปรียบเทียบขนาดกับตัวเห็บค่ะ
หลายคนมักจะถามว่าเห็บน้องหมานี่ขึ้นมาดูดเลือดเฉพาะตัวหมา หรือว่าดูดเลือดคนหรือสัตว์ชนิดอื่นด้วยหรือเปล่า
คำตอบคือ เจ้า Brown dog tick นี้ปกติจะเลือกขึ้นมาเกาะดูดเลือดน้องหมาเป็นหลัก
แต่บางครั้งก็ขึ้นมาดูดเลือดคนหรือสัตวืชนิดอื่นได้บ้างค่ะ
เนื่องจากบางครั้งเห็บเหล่านี้หาน้องหมาไม่เจอก็เลยเลือกที่จะหาสิ่งมีชีวิตอื่นๆมาเป็นเหยื่อแทน ซึ่งก็คือ เจ้าของน้องหมานั่นเอง
ตรงจุดนี้เพื่อนๆสมาชิกอย่าเพิ่งกังวลมากไปนะคะ
เพราะเหตุการณ์ที่เห็บจากน้องหมาจะขึ้นมาเกาะดูดเลือดคนนั้น นานๆจะเกิดขึ้นทีนึงค่ะ
แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าเห็บน้องหมาจะมาวางไข่บนตัวคนค่ะ
เห็บน้องหมาชนิดนี้ไม่วางไข่บนตัวน้องหมา หรือคน แต่จะลงไปวางไข่ในสิ่งแวดล้อม
ยิ่งไม่นานนี้ที่มีข่าวออกมาว่าเห็บวางไข่ในหู หรือวางไข่ในตัวคน (ซึ่งสุดท้ายก็ไม่เป็นความจริงค่ะ)
ทำเอา จขกท รับโทรศัพท์ตอบคำถามกันไม่หวาดไม่ไหว เพราะเจ้าของน้องหมาโทรมาถามกันด้วยความกังวล
ทีนี้เราก็มาดูกันถึงวงชีวิตของเห็บน้องหมากันค่ะ
เห็บ Brown dog tick นั้นจัดเป็นเห็บที่เรียกว่า 3-host tick
ซึ่งก็คือ เห็บชนิดนี้จะทำการดูดเลือดบนตัวน้องหมา
และลงไปลอกคราบที่สิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนระยะจากตัวอ่อนจนโตเต็มวัยทั้งหมด 3 รอบ
โดยเห็บอาจจะลอกคราบแล้วกลับขึ้นมาอยู่บนตัวน้องหมาตัวเดิม หรือว่าจะย้ายไปอยู่บนน้องหมาตัวอื่นก็ได้
วงชีวิตของเห็บจะเริ่มจาก เมื่อความชื้นในอากาศเหมาะสม
ไข่เห็บที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมก็จะฟักตัวขึ้นมาเป็นตัวอ่อนระยะแรก (Larvae)
แล้วเริ่มไต่ขึ้นมาดูดเลือดบนตัวน้องหมา เมื่อดูดเลือดจนอิ่มก็จะลงมาจากตัวน้องหมา
เพื่อลอกคราบกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง (Nymphs)
ซึ่งตัวอ่อนระยะนี้อาจจะขึ้นไปดูดเลือดน้องหมาตัวเดิมหรือไปขึ้นน้องหมาตัวใหม่ก็ได้อีกเช่นกัน
เมื่อตัวอ่อนระยะที่ 2 นี้ดูดเลือดจนอิ่มก็จะลงมาลอกคราบอีกครั้ง
กลายเป็นตัวเต็มวัยในที่สุด และกลับขึ้นไปดูดเลือดน้องหมา
เมื่อดูดเลือดจนพอแล้ว เห็บตัวเมียก็จะลงมาวางไข่ในสิ่งแวดล้อมค่ะ
ระยะเวลารวมของวงชีวิตเห็บ นับจากฟักจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัยนั้นยาวประมาณ 2 เดือน
แต่บางกรณีอาจยาวนานได้มากกว่านั้น เพราะบางทีเห็บไม่สามารถหาเหยื่อเพื่อดูดเลือดได้
เห็บก็จะสามารถอยู่รอดต่อในสิ่งแวดล้อม โดยที่ไม่ได้ดูดเลือดน้องหมานานประมาณ 3-5 เดือนเลยทีเดียวเลยค่ะ
เห็บตัวเมียที่ดูดเลือดจนอิ่มนั้น ก็จะลงมาจากตัวน้องหมาเพื่อหาสถานที่วางไข่
ก่อนที่จะวางไข่ แม่เห็บจะผลิตสารเคลือบไข่เพื่อให้ไข่อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมได้ ในขั้นตอนนี้แม่เห็บจะใช้เวลาราวๆ 5-7 วัน
สถานที่ที่เห็บชอบไปวางไข่ ได้แก่ สนามหญ้า ขอบบ้านหรือซอกมุมตึกที่มีรอยแตกร้าว โรงรถ
โดยแม่เห็บตัวหนึ่งจะสามารถวางไข่ได้มากถึงคราวละ 1000-3000 ฟอง!
(ลองคิดดูว่ามีแม่เห็บลงไปวางไข่ได้ซักสิบตัว ก็เตรียมเจอลูกเห็บนับหมื่นหลงจากนั้นได้เลยค่ะ)
เมื่อแม่เห็บวางไข่เสร็จ แม่เห็บก็จะตายไป
ส่วนไข่เห็บในสิ่งแวดล้อมนั้นก็จะใช้ในการเจริญเติบโตเวลาประมาณ 2-5 สัปดาห์ จึงฟักออกมาเป็นตัว
สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้ไข่เห็บฟักได้ดี คือ สภาพอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง
เราจึงมักจะพบว่าหน้าฝนหรือช่วงที่มีฝนตก มักจะพบว่าน้องหมามีเห็บเยอะกว่าช่วงที่ไม่มีฝน
เพราะช่วงที่ฝนตกจะมีความชื้นในอากาศสูงนั่นเอง
แต่ถ้าความชื้นในอากาศและอุณหภูมิไม่เหมาะสม ไข่เห็บก็สามารถอยู่รอดได้นานนับปี โดยที่ยังไม่ฟักเป็นตัวค่ะ
จากวงชีวิตของเห็บ เพื่อนๆสมาชิกจะเห็นได้ว่า เห็บหนึ่งตัวจะมีช่วงเวลาทั้งที่อยู่บนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อม
การกำจัดเห็บที่ได้ผลนั้น จึงควรทำทั้งในสิ่งแวดล้อมและที่บนตัวน้องหมา
การใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บบนตัวน้องหมาเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่มีเห็บมาก
[กระทู้สาระ] มาทำความเข้าใจเรื่องเห็บ และวิธีปราบเห็บน้องหมากันดีกว่า
ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ฝนตกบ่อย ลองสังเกตกันดูมั้ยคะว่าสิ่งหนึ่งที่มักจะเจอเยอะในช่วงหน้าฝน ก็คือเรื่องเห็บน้องหมา
ทำไมเห็บถึงเยอะ แล้วจะปราบเห็บกันยังไงให้หมด เป็นปัญหาโลกแตกของคนเลี้ยงน้องหมากันเลยทีเดียว
ในฐานะที่ จขกท เองก็เป็นสัตวแพทย์และก็เจอเจ้าของน้องหมาประสบปัญหาเรื่องเห็บกันมาก
ก็เลยอยากจะมาแชร์ความรู้ให้เพื่อนๆในพันทิปค่ะ
*****ขอออกตัวก่อนนะคะ ว่า จขกท เขียนบทความลงในเว็บนึงด้วย (ไม่บอกนะคะว่าที่ไหน เดี๋ยวจะเป็นการโฆษณาไป)
ซึ่งเนื้อหาที่เอามาลงในวันนี้ จะเอาเนื้อหาจากบทความเดิมมาปรับปรุง เลยอาจทำให้บางคนอาจจะดูคุ้นๆอยู่บ้าง
ไม่ต้องตกใจว่า จขกท ไปขโมยผลงานใครมาเขียนนะคะ ^^
ก่อนอื่นเลย เราควรจะมาทำความรู้จักหน้าตาและวงชีวิตของเห็บกันก่อน
ถามว่าทำไมต้องรู้ด้วย เพราะจากประสบการณ์ของ จขกท
เจ้าของน้องหมาหลายท่านแยกไม่ออกว่าหน้าตาแบบไหนคือเห็บ หรือหมัด
หรือบางทีน้องหมามีลูกเห็บตัวเล็กๆ เจ้าของก็ไม่รู้ว่านั่นแหละคือเห็บ นึกว่าเป็นขี้ฝุ่นดำๆติดตัวด้วยซ้ำไปค่ะ
เห็บที่เจอในน้องหมาทั่วโลกนั้นมีหลายสายพันธุ์นะคะ
แต่ในบ้านเราสายพันธุ์ที่มักพบก็คือ Rhipicephalus sanguineus
หรือทั่วๆไปเรียกว่า Brown dog tick เพราะว่าเห็บสายพันธุ์นี้มีสีน้ำตาลแดงค่ะ
เห็บพวกนี้เพศผู้และเพศเมียหน้าตาไม่เหมือนกันนะคะ
หลายคนเข้าใจผิดว่าเห็บตัวผู้เป็นหมัด และเห็บตัวเมียคือเห็บ ทั้งที่ความจริงเป็นเห็บทั้งคู่
ส่วนหมัดนี่หน้าตาและวงชีวิตจะคนละอย่างกับเห็บนะคะ
ที่มา : http://www.entomology.cornell.edu/cals/entomology/extension/medent/tickbiofs.cfm
จากรูปที่นำมาให้ดูกันนี้ เป็นรูปเห็นที่ถ่ายกันมาแบบซูมๆให้เห็นกันชัดๆกันไปเลยค่ะ
เห็บตัวใหญ่สุดในรูป คือเห็บตัวเมียโตเต็มวัยที่ดูดเลือดจนอิ่มแล้ว มองเผินๆจะดูคล้ายเม็ดลูกเกด
ตัวด้านตรงกลางบนคือ เห็บตัวเมียโตเต็มวัยที่ยังไม่ดูดเลือด
ตรงกลางล่างคือ เห็บตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว เจ้าของส่วนใหญ่จะบอกว่าจะดูคล้ายๆแมงมุมตัวเล็กๆ
ด้านขวาบนที่ตัวเล็กๆ คือลูกเห็บที่ยังไม่โตเต็มวัย ตัวจะเล็กมาก ขนาดประมาณปลายปากกาจุด
เจ้าของหลายท่านบางคนไม่รู้ว่ามันคือเห็บ
จขกท ต้องแงะเอาไปส่องกล้องจุลทรรศน์ แล้วเรียกให้เจ้าของมาดู เจ้าของบางคนถึงกับกรีดร้องไปเลยก็มี ว่ามาชั้นมีเห็บ!
ส่วนเม็ดสีขาวด้านล่างคือเมล็ดงาที่เอามาวางเปรียบเทียบขนาดกับตัวเห็บค่ะ
หลายคนมักจะถามว่าเห็บน้องหมานี่ขึ้นมาดูดเลือดเฉพาะตัวหมา หรือว่าดูดเลือดคนหรือสัตว์ชนิดอื่นด้วยหรือเปล่า
คำตอบคือ เจ้า Brown dog tick นี้ปกติจะเลือกขึ้นมาเกาะดูดเลือดน้องหมาเป็นหลัก
แต่บางครั้งก็ขึ้นมาดูดเลือดคนหรือสัตวืชนิดอื่นได้บ้างค่ะ
เนื่องจากบางครั้งเห็บเหล่านี้หาน้องหมาไม่เจอก็เลยเลือกที่จะหาสิ่งมีชีวิตอื่นๆมาเป็นเหยื่อแทน ซึ่งก็คือ เจ้าของน้องหมานั่นเอง
ตรงจุดนี้เพื่อนๆสมาชิกอย่าเพิ่งกังวลมากไปนะคะ
เพราะเหตุการณ์ที่เห็บจากน้องหมาจะขึ้นมาเกาะดูดเลือดคนนั้น นานๆจะเกิดขึ้นทีนึงค่ะ
แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าเห็บน้องหมาจะมาวางไข่บนตัวคนค่ะ
เห็บน้องหมาชนิดนี้ไม่วางไข่บนตัวน้องหมา หรือคน แต่จะลงไปวางไข่ในสิ่งแวดล้อม
ยิ่งไม่นานนี้ที่มีข่าวออกมาว่าเห็บวางไข่ในหู หรือวางไข่ในตัวคน (ซึ่งสุดท้ายก็ไม่เป็นความจริงค่ะ)
ทำเอา จขกท รับโทรศัพท์ตอบคำถามกันไม่หวาดไม่ไหว เพราะเจ้าของน้องหมาโทรมาถามกันด้วยความกังวล
ทีนี้เราก็มาดูกันถึงวงชีวิตของเห็บน้องหมากันค่ะ
เห็บ Brown dog tick นั้นจัดเป็นเห็บที่เรียกว่า 3-host tick
ซึ่งก็คือ เห็บชนิดนี้จะทำการดูดเลือดบนตัวน้องหมา
และลงไปลอกคราบที่สิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนระยะจากตัวอ่อนจนโตเต็มวัยทั้งหมด 3 รอบ
โดยเห็บอาจจะลอกคราบแล้วกลับขึ้นมาอยู่บนตัวน้องหมาตัวเดิม หรือว่าจะย้ายไปอยู่บนน้องหมาตัวอื่นก็ได้
วงชีวิตของเห็บจะเริ่มจาก เมื่อความชื้นในอากาศเหมาะสม
ไข่เห็บที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมก็จะฟักตัวขึ้นมาเป็นตัวอ่อนระยะแรก (Larvae)
แล้วเริ่มไต่ขึ้นมาดูดเลือดบนตัวน้องหมา เมื่อดูดเลือดจนอิ่มก็จะลงมาจากตัวน้องหมา
เพื่อลอกคราบกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง (Nymphs)
ซึ่งตัวอ่อนระยะนี้อาจจะขึ้นไปดูดเลือดน้องหมาตัวเดิมหรือไปขึ้นน้องหมาตัวใหม่ก็ได้อีกเช่นกัน
เมื่อตัวอ่อนระยะที่ 2 นี้ดูดเลือดจนอิ่มก็จะลงมาลอกคราบอีกครั้ง
กลายเป็นตัวเต็มวัยในที่สุด และกลับขึ้นไปดูดเลือดน้องหมา
เมื่อดูดเลือดจนพอแล้ว เห็บตัวเมียก็จะลงมาวางไข่ในสิ่งแวดล้อมค่ะ
ระยะเวลารวมของวงชีวิตเห็บ นับจากฟักจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัยนั้นยาวประมาณ 2 เดือน
แต่บางกรณีอาจยาวนานได้มากกว่านั้น เพราะบางทีเห็บไม่สามารถหาเหยื่อเพื่อดูดเลือดได้
เห็บก็จะสามารถอยู่รอดต่อในสิ่งแวดล้อม โดยที่ไม่ได้ดูดเลือดน้องหมานานประมาณ 3-5 เดือนเลยทีเดียวเลยค่ะ
เห็บตัวเมียที่ดูดเลือดจนอิ่มนั้น ก็จะลงมาจากตัวน้องหมาเพื่อหาสถานที่วางไข่
ก่อนที่จะวางไข่ แม่เห็บจะผลิตสารเคลือบไข่เพื่อให้ไข่อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมได้ ในขั้นตอนนี้แม่เห็บจะใช้เวลาราวๆ 5-7 วัน
สถานที่ที่เห็บชอบไปวางไข่ ได้แก่ สนามหญ้า ขอบบ้านหรือซอกมุมตึกที่มีรอยแตกร้าว โรงรถ
โดยแม่เห็บตัวหนึ่งจะสามารถวางไข่ได้มากถึงคราวละ 1000-3000 ฟอง!
(ลองคิดดูว่ามีแม่เห็บลงไปวางไข่ได้ซักสิบตัว ก็เตรียมเจอลูกเห็บนับหมื่นหลงจากนั้นได้เลยค่ะ)
เมื่อแม่เห็บวางไข่เสร็จ แม่เห็บก็จะตายไป
ส่วนไข่เห็บในสิ่งแวดล้อมนั้นก็จะใช้ในการเจริญเติบโตเวลาประมาณ 2-5 สัปดาห์ จึงฟักออกมาเป็นตัว
สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้ไข่เห็บฟักได้ดี คือ สภาพอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง
เราจึงมักจะพบว่าหน้าฝนหรือช่วงที่มีฝนตก มักจะพบว่าน้องหมามีเห็บเยอะกว่าช่วงที่ไม่มีฝน
เพราะช่วงที่ฝนตกจะมีความชื้นในอากาศสูงนั่นเอง
แต่ถ้าความชื้นในอากาศและอุณหภูมิไม่เหมาะสม ไข่เห็บก็สามารถอยู่รอดได้นานนับปี โดยที่ยังไม่ฟักเป็นตัวค่ะ
จากวงชีวิตของเห็บ เพื่อนๆสมาชิกจะเห็นได้ว่า เห็บหนึ่งตัวจะมีช่วงเวลาทั้งที่อยู่บนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อม
การกำจัดเห็บที่ได้ผลนั้น จึงควรทำทั้งในสิ่งแวดล้อมและที่บนตัวน้องหมา
การใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บบนตัวน้องหมาเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่มีเห็บมาก