(ที่มา:มติชนรายวัน 4 ก.ค.2556)
ข่าวการจับกุมโรงสีที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวมีให้อ่านให้ฟังทุกวัน จนเป็นเรื่องปกติ
ทำให้นึกถึงนิทานเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาเล่าให้พวกเราฟังในงานสัมมนาวิชาการ
เมื่อปี 2515 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ได้จัดสัมมนาวิชาการที่สวนสามพราน
เป็นการสัมมนาร่วมกันของนักวิชาการหลายสาขาทางสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
สังคมวิทยาและนิติศาสตร์ เป็นต้น ผู้แสดงปาฐกถานำคือ ดร.โยฮัน เกาตุง นักวิชาการสังคมศาสตร์
ชื่อดังก้องโลก ชาวดัตช์ ดร.เกาตุง อารัมภบทในปาฐกถานำของท่านว่า
นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น นักฟิสิกส์ นักเคมี หรือนักชีววิทยา เปรียบเสมือนคนที่อยู่ในห้อง
เปิดไฟสว่าง แล้วโยนแมวให้ไล่จับ สักพักก็ชูแมวในมือว่าจับได้แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์เหมือนคนที่อยู่ในห้องมืดสนิทแล้วโยนแมวดำให้จับ ไล่จับอยู่ทั้งวันก็จับไม่ได้ยอมแพ้
รับว่าจับแมวไม่ได้ ถ้าจะจับให้ได้ต้องสมมุติว่าแมวเป็นสีขาวแล้วก็เชื่องด้วย ใช้เสียงเรียกก็เข้ามาหา
นักรัฐศาสตร์รวมทั้งนักการเมืองเหมือนคนที่ถูกปิดตาอยู่ในห้องมืด พยายามไล่จับแมวดำในห้องมืด
ไล่จับอยู่สักพักใหญ่ก็ร้องบอกว่า จับได้แล้ว คนอยู่นอกห้องร้องบอกสวนไปว่า ยังไม่ได้โยนแมวเข้าไปในห้องเลย
ส่วนนักกฎหมายก็เช่นเดียวกัน ให้ไล่จับแมวดำในห้องมืดสนิทอยู่สักพักก็ร้องบอกให้เปิดไฟ
นึกออกได้แล้วว่ามามัวไล่จับอยู่ทำไม เดี๋ยวจะออกกฎหมายให้แมวมามอบตัว
นิทานทั้ง 4 เรื่องนี้พวกเราเอามาเล่าล้อเลียนระหว่างเพื่อนฝูงที่ต่างวิชาชีพกันอยู่เสมอตลอด 40 ปี ที่ผ่านมา
เมื่ออ่านข่าวว่าโรงสีโกงรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าว รับจำนำมันสำปะหลัง และอื่นๆ ทำให้นึกถึงนิทานของ
ดร.โยฮัน เกาตุง ขึ้นมาทันที เพราะรัฐบาลกำลังบังคับใช้กฎหมายกับกลไกตลาด หรือกลไกเศรษฐกิจ
กลไกตลาดหรือพลังตลาดนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นพลังที่ขัดขืนได้ยาก เกิดจากความต้องการพื้นฐาน
ของมนุษย์ส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ คือความโลภ ถ้ามนุษย์ไม่มีความโลภ ไม่มีความอยากได้ ไม่ต้องการ
อยากรวยแล้ว วิชาเศรษฐศาสตร์ก็ไม่มีความจำเป็น
ความอยากได้เพื่อสนองกิเลสและความอยากร่ำรวย ทำให้เกิดการบริโภค จับจ่ายซื้อขาย การผลิต
และการเสนอขาย พลังทั้งสองมาพบกันก็ก่อให้เกิดการซื้อการขาย เกิดตลาด เกิดราคาซื้อราคาขาย
ราคาจะขึ้นจะลงตามสภาพของพลังซื้อและพลังขาย ในระยะยาวราคาจะเป็นกลไกที่ทำให้ความต้องการ
ซื้อและการใช้สอย ความต้องการขายและการผลิต มีปริมาณใกล้เคียงกัน จนไม่มีสินค้าคงเหลือในสต๊อก
เกินความจำเป็น กลไกตลาดทำหน้าที่อย่างนั้นบนพื้นฐานของการแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์
เป็นของธรรมดา เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่ความชั่วร้ายอะไร แต่เป็นตัวทำให้โลกมนุษย์มีความ
ก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
สมัยหนึ่งคอมมิวนิสต์คิดว่าการปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินไปตามกลไกตลาดเป็นสิ่งชั่วร้าย
ทำให้คนรวยรวยยิ่งขึ้น คนจนยิ่งจนลง กลุ่มคนรวยก็เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ใช้กลไกทาง
กฎหมายกดขี่คนจน จึงยกเลิกกลไกตลาด ใช้กลไก "รัฐ" เข้าจัดการตลาด จัดการระบบเศรษฐกิจ
เสียเอง จัดการผลิตเอง ตั้งราคาสินค้าและบริการเสียเอง ในที่สุดก็ไปไม่รอด เกิดตลาดมืดไม่มีใคร
อยากทำงาน สินค้าขาดตลาดต้องปันส่วน เศรษฐกิจล้าหลังไม่เจริญก้าวหน้า ระบบคอมมิวนิสต์จึง
ล่มสลายหลังจากใช้มานานกว่า 70 ปี ในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ กลไกตลาดก็ยังทำงาน
แต่ทำงานอยู่ใต้ดิน อยู่ในที่มืด แม้จะใช้อำนาจรัฐเข้าบังคับจับกุมลงโทษ หรือล้างสมองทางอุดมการณ์
ก็ไม่สำเร็จ มนุษย์ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง
สำหรับสินค้าเกษตรแม้จะเป็นสินค้าเก่าแก่คู่โลกมานานกว่าสินค้าอื่นๆ ขณะเดียวกันก็เป็นสินค้า
การเมืองด้วย เพราะเกี่ยวกับคนจำนวนมากในฐานะผู้บริโภคและผู้ผลิตสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ที่ค่าแรงและความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ในระดับที่สูงจนไม่สามารถทำการเกษตรได้ เพราะราคา
ตลาดโลกต่ำเกินไป ผู้คนจึงออกจากตลาดเกษตรกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าปล่อยไปเช่นนั้นก็จะไม่
เหลือเกษตรกรเลย รัฐบาลจึงเข้ามาจัดการด้วยหลักการว่า ผลิตเท่าที่จะต้องบริโภคภายในประเทศ
เท่านั้น ถ้าจะส่งออกก็จำกัดจำนวน เพียงเพื่อให้คงจำนวนเกษตรกรเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ของ
แรงงานทั้งหมดเอาไว้ โดยจำกัดเนื้อที่และแบ่งโซนการผลิตสำหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิด แล้วรัฐบาล
ตั้งราคาให้สูงห้ามการนำเข้าหรือถ้าจะมีการนำเข้าก็มีโควต้าการนำเข้า ไม่สนับสนุนการค้าเสรีใน
องค์การการค้าโลก หรือในสัญญาเขตการค้าเสรี ตั้งงบประมาณชดเชยอย่างจำกัดแค่ให้ผู้บริโภคเป็น
ผู้รับภาระชดเชยเกษตรกร เกษตรกรซึ่งมีเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ ของกำลังแรงงานทั้งหมดจึงมีฐานะดี
กว่าคนในเมือง
แต่คนในเมืองจะเอาเงินไปซื้อที่ดิน ก็เพื่อที่จะสวมสิทธิเกษตรกรเก่าเท่านั้น ถ้าเขายอม แต่เขาคงจะไม่ยอม
เมื่อแก่เฒ่าก็จะยกที่ดินให้ลูกหลานมากกว่า ยกเว้นไม่มีลูกหลานก็จะขายสิทธิของตัวไป
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและกึ่งพัฒนาที่ยังมีประชากรภาคเกษตรในสัดส่วนที่สูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
ของประชากรทั้งหมด ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการยังไม่สามารถดึงคนออกจากภาคเกษตรได้เกือบ
หมดอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว การจะดึงเอาทรัพยากรการเงินจากภาคเหล่านี้ไปอุดหนุนเกษตรกรจำนวนมาก
แต่มีผลิตผลเพียง10-15เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ถ้าขืนทำไปก็
จะเป็นอันตรายต่อฐานะการคลัง ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรง ยิ่งเป็นผู้ส่งออกด้วยแล้วยิ่งทำ
ไม่ได้ใหญ่ เท่ากับไปชดเชยผู้นำเข้า
นอกจากนั้นผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งปศุสัตว์ เช่น ไก่ หมู หรือการประมง กุ้ง ปลา ขนาดตลาดภายใน
ก็ไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตได้ทั้งหมด ต้องอาศัยตลาดต่างประเทศ ซึ่งเราไม่ได้เป็นผู้ตั้งราคา ราคาใน
ตลาดต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและผลผลิตทั่วโลก ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับฝนฟ้าอากาศและนโยบาย
ของประเทศนำเข้ารายใหญ่รวมทั้งผลผลิตของสินค้าที่ทดแทนกันได้ ในตลาดใหญ่ๆ อย่างจีน อินเดีย ข้าวสาลี
กับข้าวทดแทนกันได้ เนื้อสุกรก็แทนเนื้อไก่ได้ ปลาก็คงจะแทนกุ้งได้ เป็นต้น ไม่มีประเทศใดจะกำหนดราคา
ตลาดโลกได้ แม้จะลดปริมาณการส่งออกของตนลง
เคยมีคนพยายามจัดตั้ง "มูลภัณฑ์กันชน" หรือ "buffer stock" โดยผู้ผลิตรวมหัวกันเก็บสต๊อก ลดปริมาณการส่ง
ออกเพื่อดึงราคาตลาดโลก อย่างเดียวกับที่โอเปคเคยทำโดยจำกัดโควต้าการผลิต เช่น มูลภัณฑ์กันชน ยางพารา
กาแฟ โกโก้ และข้าว ก็ไม่มีทางสำเร็จได้ เสียเวลาประชุมกันเปล่าๆ
ขณะเดียวกันผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าจะรวมตัวกันซื้อเพื่อกดราคาก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าตนไม่ซื้อก็จะมีคนอื่นซื้อ ถ้าห้าม
ซื้อขายเลยก็จะเกิดตลาดมืด ตลาดใต้ดิน
ยิ่งมีระบบราชการที่ไม่เข้มแข็ง ไม่มีประสิทธิภาพ เงินเดือนต่ำ ไม่ซื่อตรง มีเส้นทางชายแดนที่ไม่อาจจะตรวจตรา
ได้ทั่วถึง การลักลอบนำเข้าและส่งออกยิ่งควบคุมไม่ได้ ขนาดอเมริกายังควบคุมการลักลอบนำเข้าข้าวโพดจาก
เม็กซิโกไม่ได้ มาเลเซียควบคุมกองทัพมดลักลอบนำเข้าข้าวจากไทยไม่ได้ อินโดนีเซียก็ควบคุมเรือประมงขนาด
เล็กลักลอบนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทยไม่ได้ เราเองก็ควบคุมการค้าชายแดนไม่ได้
อำนาจรัฐสู้อำนาจกลไกตลาดไม่ได้ อย่าคิดทำเลย วุ่นวายอย่างเป็นข่าวเปล่าๆ ชาวไร่ ชาวนาได้ไม่คุ้มกับภาษี
อากรที่เสีย ไม่คุ้มกับความเสียหายของประเทศชาติ ในระยะยาวก็เป็นผลเสียหายต่อชาวไร่ชาวนาเอง
นโยบายการเมืองใช้กับเศรษฐกิจนานๆ ไม่ได้หรอก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372934704&grpid=01&catid=&subcatid=
บทความของ อ.จ. ดร.โกร่ง แบบนี้ กูรูเศรษฐกิจ ในห้องนั้แบบ คูณม้า คุณวอน ไม่เคยเข้ามาวิจารณ์
หรือแตะต้อง เพราะอาจจะไม่ถูกจริต และ และคุณม้า ก็อาจจะอาจจะคิดว่า ตู รู้ดีกว่า ก็ได้ ก็เอามาให้
อ่านกัน จำได้ว่า อ.จ.พี่โกร่ง เตือนเรื่องข้าว มาแล้ว ว่าจะพัง ...วันนี้ ก็เละไปแล้ว ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อ.จ. จะพ้นวาระการบอร์ด ธปท. เพราะอายุ 70 ปี แล้ว รัฐบาลจะเชิญมาช่วยงาน
ให้มากขึ้นไหม ...
เคยประกาศแล้วว่า เป็นคนชื่นชม ดร.โกร่งมาก เพราะเป็นติวเตอร์ ให้สมัยพี่โกร่งเรียน ปี 4 สาวเหลือน้อย
เรียนปี 2 ประทับใจกันแบบยกชั้น เพราะติวแค่ 2 ชม. ที่เรียนมาแบบมืดมนต์ทั้งเทอม กระจ่างแจ้งหมด...
อ้อ วิชานั้น อ.จ.พิเศษ มาจาก แบงค์ชาติ ค่ะ
เพื่อนๆ อ.จ.โกร่ง เล่าว่า ป๋า...น่ะ ใครอธิบาย ไม่ค่อยเข้าใจหรอก ต้องตาม "โกร่ง" มาถึงจะรู้เรื่อง
คนเล่า เธอเสียชีวิต ไปแล้วค่ะ
กฎหมายกับกลไกตลาด โดย วีรพงษ์ รามางกูร ...... มติชนออนไลน์
ข่าวการจับกุมโรงสีที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวมีให้อ่านให้ฟังทุกวัน จนเป็นเรื่องปกติ
ทำให้นึกถึงนิทานเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาเล่าให้พวกเราฟังในงานสัมมนาวิชาการ
เมื่อปี 2515 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ได้จัดสัมมนาวิชาการที่สวนสามพราน
เป็นการสัมมนาร่วมกันของนักวิชาการหลายสาขาทางสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
สังคมวิทยาและนิติศาสตร์ เป็นต้น ผู้แสดงปาฐกถานำคือ ดร.โยฮัน เกาตุง นักวิชาการสังคมศาสตร์
ชื่อดังก้องโลก ชาวดัตช์ ดร.เกาตุง อารัมภบทในปาฐกถานำของท่านว่า
นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น นักฟิสิกส์ นักเคมี หรือนักชีววิทยา เปรียบเสมือนคนที่อยู่ในห้อง
เปิดไฟสว่าง แล้วโยนแมวให้ไล่จับ สักพักก็ชูแมวในมือว่าจับได้แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์เหมือนคนที่อยู่ในห้องมืดสนิทแล้วโยนแมวดำให้จับ ไล่จับอยู่ทั้งวันก็จับไม่ได้ยอมแพ้
รับว่าจับแมวไม่ได้ ถ้าจะจับให้ได้ต้องสมมุติว่าแมวเป็นสีขาวแล้วก็เชื่องด้วย ใช้เสียงเรียกก็เข้ามาหา
นักรัฐศาสตร์รวมทั้งนักการเมืองเหมือนคนที่ถูกปิดตาอยู่ในห้องมืด พยายามไล่จับแมวดำในห้องมืด
ไล่จับอยู่สักพักใหญ่ก็ร้องบอกว่า จับได้แล้ว คนอยู่นอกห้องร้องบอกสวนไปว่า ยังไม่ได้โยนแมวเข้าไปในห้องเลย
ส่วนนักกฎหมายก็เช่นเดียวกัน ให้ไล่จับแมวดำในห้องมืดสนิทอยู่สักพักก็ร้องบอกให้เปิดไฟ
นึกออกได้แล้วว่ามามัวไล่จับอยู่ทำไม เดี๋ยวจะออกกฎหมายให้แมวมามอบตัว
นิทานทั้ง 4 เรื่องนี้พวกเราเอามาเล่าล้อเลียนระหว่างเพื่อนฝูงที่ต่างวิชาชีพกันอยู่เสมอตลอด 40 ปี ที่ผ่านมา
เมื่ออ่านข่าวว่าโรงสีโกงรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าว รับจำนำมันสำปะหลัง และอื่นๆ ทำให้นึกถึงนิทานของ
ดร.โยฮัน เกาตุง ขึ้นมาทันที เพราะรัฐบาลกำลังบังคับใช้กฎหมายกับกลไกตลาด หรือกลไกเศรษฐกิจ
กลไกตลาดหรือพลังตลาดนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นพลังที่ขัดขืนได้ยาก เกิดจากความต้องการพื้นฐาน
ของมนุษย์ส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ คือความโลภ ถ้ามนุษย์ไม่มีความโลภ ไม่มีความอยากได้ ไม่ต้องการ
อยากรวยแล้ว วิชาเศรษฐศาสตร์ก็ไม่มีความจำเป็น
ความอยากได้เพื่อสนองกิเลสและความอยากร่ำรวย ทำให้เกิดการบริโภค จับจ่ายซื้อขาย การผลิต
และการเสนอขาย พลังทั้งสองมาพบกันก็ก่อให้เกิดการซื้อการขาย เกิดตลาด เกิดราคาซื้อราคาขาย
ราคาจะขึ้นจะลงตามสภาพของพลังซื้อและพลังขาย ในระยะยาวราคาจะเป็นกลไกที่ทำให้ความต้องการ
ซื้อและการใช้สอย ความต้องการขายและการผลิต มีปริมาณใกล้เคียงกัน จนไม่มีสินค้าคงเหลือในสต๊อก
เกินความจำเป็น กลไกตลาดทำหน้าที่อย่างนั้นบนพื้นฐานของการแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์
เป็นของธรรมดา เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่ความชั่วร้ายอะไร แต่เป็นตัวทำให้โลกมนุษย์มีความ
ก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
สมัยหนึ่งคอมมิวนิสต์คิดว่าการปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินไปตามกลไกตลาดเป็นสิ่งชั่วร้าย
ทำให้คนรวยรวยยิ่งขึ้น คนจนยิ่งจนลง กลุ่มคนรวยก็เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ใช้กลไกทาง
กฎหมายกดขี่คนจน จึงยกเลิกกลไกตลาด ใช้กลไก "รัฐ" เข้าจัดการตลาด จัดการระบบเศรษฐกิจ
เสียเอง จัดการผลิตเอง ตั้งราคาสินค้าและบริการเสียเอง ในที่สุดก็ไปไม่รอด เกิดตลาดมืดไม่มีใคร
อยากทำงาน สินค้าขาดตลาดต้องปันส่วน เศรษฐกิจล้าหลังไม่เจริญก้าวหน้า ระบบคอมมิวนิสต์จึง
ล่มสลายหลังจากใช้มานานกว่า 70 ปี ในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ กลไกตลาดก็ยังทำงาน
แต่ทำงานอยู่ใต้ดิน อยู่ในที่มืด แม้จะใช้อำนาจรัฐเข้าบังคับจับกุมลงโทษ หรือล้างสมองทางอุดมการณ์
ก็ไม่สำเร็จ มนุษย์ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง
สำหรับสินค้าเกษตรแม้จะเป็นสินค้าเก่าแก่คู่โลกมานานกว่าสินค้าอื่นๆ ขณะเดียวกันก็เป็นสินค้า
การเมืองด้วย เพราะเกี่ยวกับคนจำนวนมากในฐานะผู้บริโภคและผู้ผลิตสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ที่ค่าแรงและความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ในระดับที่สูงจนไม่สามารถทำการเกษตรได้ เพราะราคา
ตลาดโลกต่ำเกินไป ผู้คนจึงออกจากตลาดเกษตรกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าปล่อยไปเช่นนั้นก็จะไม่
เหลือเกษตรกรเลย รัฐบาลจึงเข้ามาจัดการด้วยหลักการว่า ผลิตเท่าที่จะต้องบริโภคภายในประเทศ
เท่านั้น ถ้าจะส่งออกก็จำกัดจำนวน เพียงเพื่อให้คงจำนวนเกษตรกรเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ของ
แรงงานทั้งหมดเอาไว้ โดยจำกัดเนื้อที่และแบ่งโซนการผลิตสำหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิด แล้วรัฐบาล
ตั้งราคาให้สูงห้ามการนำเข้าหรือถ้าจะมีการนำเข้าก็มีโควต้าการนำเข้า ไม่สนับสนุนการค้าเสรีใน
องค์การการค้าโลก หรือในสัญญาเขตการค้าเสรี ตั้งงบประมาณชดเชยอย่างจำกัดแค่ให้ผู้บริโภคเป็น
ผู้รับภาระชดเชยเกษตรกร เกษตรกรซึ่งมีเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ ของกำลังแรงงานทั้งหมดจึงมีฐานะดี
กว่าคนในเมือง
แต่คนในเมืองจะเอาเงินไปซื้อที่ดิน ก็เพื่อที่จะสวมสิทธิเกษตรกรเก่าเท่านั้น ถ้าเขายอม แต่เขาคงจะไม่ยอม
เมื่อแก่เฒ่าก็จะยกที่ดินให้ลูกหลานมากกว่า ยกเว้นไม่มีลูกหลานก็จะขายสิทธิของตัวไป
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและกึ่งพัฒนาที่ยังมีประชากรภาคเกษตรในสัดส่วนที่สูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
ของประชากรทั้งหมด ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการยังไม่สามารถดึงคนออกจากภาคเกษตรได้เกือบ
หมดอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว การจะดึงเอาทรัพยากรการเงินจากภาคเหล่านี้ไปอุดหนุนเกษตรกรจำนวนมาก
แต่มีผลิตผลเพียง10-15เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ถ้าขืนทำไปก็
จะเป็นอันตรายต่อฐานะการคลัง ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรง ยิ่งเป็นผู้ส่งออกด้วยแล้วยิ่งทำ
ไม่ได้ใหญ่ เท่ากับไปชดเชยผู้นำเข้า
นอกจากนั้นผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งปศุสัตว์ เช่น ไก่ หมู หรือการประมง กุ้ง ปลา ขนาดตลาดภายใน
ก็ไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตได้ทั้งหมด ต้องอาศัยตลาดต่างประเทศ ซึ่งเราไม่ได้เป็นผู้ตั้งราคา ราคาใน
ตลาดต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและผลผลิตทั่วโลก ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับฝนฟ้าอากาศและนโยบาย
ของประเทศนำเข้ารายใหญ่รวมทั้งผลผลิตของสินค้าที่ทดแทนกันได้ ในตลาดใหญ่ๆ อย่างจีน อินเดีย ข้าวสาลี
กับข้าวทดแทนกันได้ เนื้อสุกรก็แทนเนื้อไก่ได้ ปลาก็คงจะแทนกุ้งได้ เป็นต้น ไม่มีประเทศใดจะกำหนดราคา
ตลาดโลกได้ แม้จะลดปริมาณการส่งออกของตนลง
เคยมีคนพยายามจัดตั้ง "มูลภัณฑ์กันชน" หรือ "buffer stock" โดยผู้ผลิตรวมหัวกันเก็บสต๊อก ลดปริมาณการส่ง
ออกเพื่อดึงราคาตลาดโลก อย่างเดียวกับที่โอเปคเคยทำโดยจำกัดโควต้าการผลิต เช่น มูลภัณฑ์กันชน ยางพารา
กาแฟ โกโก้ และข้าว ก็ไม่มีทางสำเร็จได้ เสียเวลาประชุมกันเปล่าๆ
ขณะเดียวกันผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าจะรวมตัวกันซื้อเพื่อกดราคาก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าตนไม่ซื้อก็จะมีคนอื่นซื้อ ถ้าห้าม
ซื้อขายเลยก็จะเกิดตลาดมืด ตลาดใต้ดิน
ยิ่งมีระบบราชการที่ไม่เข้มแข็ง ไม่มีประสิทธิภาพ เงินเดือนต่ำ ไม่ซื่อตรง มีเส้นทางชายแดนที่ไม่อาจจะตรวจตรา
ได้ทั่วถึง การลักลอบนำเข้าและส่งออกยิ่งควบคุมไม่ได้ ขนาดอเมริกายังควบคุมการลักลอบนำเข้าข้าวโพดจาก
เม็กซิโกไม่ได้ มาเลเซียควบคุมกองทัพมดลักลอบนำเข้าข้าวจากไทยไม่ได้ อินโดนีเซียก็ควบคุมเรือประมงขนาด
เล็กลักลอบนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทยไม่ได้ เราเองก็ควบคุมการค้าชายแดนไม่ได้
อำนาจรัฐสู้อำนาจกลไกตลาดไม่ได้ อย่าคิดทำเลย วุ่นวายอย่างเป็นข่าวเปล่าๆ ชาวไร่ ชาวนาได้ไม่คุ้มกับภาษี
อากรที่เสีย ไม่คุ้มกับความเสียหายของประเทศชาติ ในระยะยาวก็เป็นผลเสียหายต่อชาวไร่ชาวนาเอง
นโยบายการเมืองใช้กับเศรษฐกิจนานๆ ไม่ได้หรอก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372934704&grpid=01&catid=&subcatid=
บทความของ อ.จ. ดร.โกร่ง แบบนี้ กูรูเศรษฐกิจ ในห้องนั้แบบ คูณม้า คุณวอน ไม่เคยเข้ามาวิจารณ์
หรือแตะต้อง เพราะอาจจะไม่ถูกจริต และ และคุณม้า ก็อาจจะอาจจะคิดว่า ตู รู้ดีกว่า ก็ได้ ก็เอามาให้
อ่านกัน จำได้ว่า อ.จ.พี่โกร่ง เตือนเรื่องข้าว มาแล้ว ว่าจะพัง ...วันนี้ ก็เละไปแล้ว ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อ.จ. จะพ้นวาระการบอร์ด ธปท. เพราะอายุ 70 ปี แล้ว รัฐบาลจะเชิญมาช่วยงาน
ให้มากขึ้นไหม ...
เคยประกาศแล้วว่า เป็นคนชื่นชม ดร.โกร่งมาก เพราะเป็นติวเตอร์ ให้สมัยพี่โกร่งเรียน ปี 4 สาวเหลือน้อย
เรียนปี 2 ประทับใจกันแบบยกชั้น เพราะติวแค่ 2 ชม. ที่เรียนมาแบบมืดมนต์ทั้งเทอม กระจ่างแจ้งหมด...
อ้อ วิชานั้น อ.จ.พิเศษ มาจาก แบงค์ชาติ ค่ะ
เพื่อนๆ อ.จ.โกร่ง เล่าว่า ป๋า...น่ะ ใครอธิบาย ไม่ค่อยเข้าใจหรอก ต้องตาม "โกร่ง" มาถึงจะรู้เรื่อง
คนเล่า เธอเสียชีวิต ไปแล้วค่ะ