
ประเภท Drama / Crime / Thriller
กำหนดฉาย 13 มิถุนายน 2013
บริษัทจัดจำหน่าย โมโนฟิล์ม
อำนวยการสร้าง หลี่ เก๊า สิง (จอมใจบัลลังก์เลือด , ต้นฉบับ ยิปมัน อาจารย์บรู๊ซ ลี)
กำกับ/เขียนบท อลัน มัค (สองคน สองคม , Initial D : ดริฟท์ติ้ง ซิ่งสายฟ้า)
ฟีลิกซ์ ฉ่อง (Overheard , Overheard2)
นำแสดง เหลียงเฉาเหว่ย (In The Mood For Love, สองคน สองคม)
โจว ซวิ่น (Perhaps Love , โปเยโปโลเย ศึกรักหน้ากากทอง)
รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และ เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ
เรื่องย่อ
ในปี 1950ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้นมาใหม่ กลุ่มปฏิวัติพร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ รัฐบาลจึงก่อตั้งหน่วยราชการลับ “701” ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และดำเนินการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางช่องโทรเลขและวิทยุ โดยเฉพาะกับพรรคก๊กมินตั๋งจากจีนไต้หวัน แต่อยู่มาวันหนึ่งช่องทางการติดต่อของทหารฝ่ายศัตรูกว่า 120 ช่องได้หายและปิดตัวลงไปอย่างไรร่องรอย เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับหน่วย “701” และประชาชนอาจตกอยู่ในภยันตรายในทันที ภายหลัง ฉางซื่อหนิง หญิงสาวที่ทำงานให้กับกลุ่ม “701” จึงจำเป็นที่ต้องไปตามหาบุคคลที่มาความสามารถทางโสตประสาทมากพอที่จะสามารถดักฟังคลื่นวิทยุให้กลับมาอีกครั้ง ฉางซื่อหนิง จึงได้พบกับ เหอปิง เขาเป็นนักซ่อมเปียโนที่มีทักษะการฟังเป็นเลิศ ด้วยความสามารถที่โดดเด่นของเขาจึงทำให้ฝ่ายศัตรูจำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์ใหม่และการต่อสู้ผ่านการดักฟังและเฉือนคมของทั้งของทั้งสองฝ่ายจึงเกิดขึ้น
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากนิยายชื่อดังที่ชื่อว่า “Plot Against” ประพันธ์โดย Mai Jia เรื่องนี้เป็นหนังสือยอดฮิตติดอันดับในปี 2005 เหตุผลที่ Alan Mak และ Felix Chong หันปลายปากกามาจับที่ตัวเรื่องนี้คงหนีไม่พ้นพลอตเรื่องที่ตื่นเต้นและน่าค้นหาของสิ่งที่ตัวเองต้องทำนั่นคือการลุ้นระทึก ของการสื่อสารผ่านทางรหัสมอสและโทรเลข ความสามารถในการเล่าเรื่องแนวนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คนแล้วในเรื่อง Infernal Affair ซึ่งผู้กำกับทั้งสองคนนี้เป็นหัวหอกหลักในการเขียนบทของเรื่องนั้นอีกด้วย ไม่เป็นเรื่องแปลกที่ ทั้งคู่อยากจะจับงานแนวเดิมที่สร้างชื่อให้ตนเองอีกครั้ง
เรื่องราวแม้จะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นแต่องค์ประกอบโดยรวมของประวัติศาสตร์ยังคงเหมือนเดิม สำหรับคนที่ติดตามประวัติศาสตร์ชาติจีน เรื่องนี้น่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองและประวัติศาสตร์ที่น่าติดตาม เพราะมีการกล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาลและการปฏิวัติของฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งของฝั่งไต้หวัน ความรุนแรง และความตรึงเครียดของประวัติศาสตร์ชาติจีนอาจจะทำให้คนที่ศึกษาในเรื่องนี้อยู่แล้วเกิดความสนใจและร่วมค้นหาไปกับเรื่องนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
นอกจากความโดดเด่นในด้านการสื่อสารที่ใช้รหัสมอสเป็นสื่อกลางที่แสดงถึงหนังที่เน้นความลุ้นระทึกแล้วยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรักอีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่สองนักเขียนที่เน้นหนังอย่างแก็งอันธพาลและมาเฟียจะมาจับเรื่องความรักสามเศร้าในเรื่องนี้ด้วย ในช่วงองค์ที่สองของหนัง Alan Mak เลือกที่จะจับเรื่องความรักควบคู่ไปกับความตื่นเต้นของหนัง ในเรื่อง ฉางเสว่หนิง และเหอปิงต่างฝ่ายต่างมีแอบมีใจให้กันแต่ด้วยความที่ทั้งคู่มีอาชีพการงานที่ต้องใกล้เคียงกัน ความรักของทั้งคู่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ นับว่าเป็นความกล้าที่ผู้กำกับหยิบยกเรื่องราวที่ตนไม่ถนัดมาเล่า แต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับทำให้ทั้งคู่เป็นที่จับตามองว่ามีความสามารถหลากหลายในการเขียนบทและกำกับ

รายละเอียดงานการสร้างและลักษณะตัวละคร
ด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมาในปี 1950 ทีมโปรดักชั่นดีไซน์จึงต้องทำการบ้านอย่างหนักในการศึกษาว่าคนในยุคนั้นการแต่งกายเป็นอย่างไร ซึ่งสิ่งที่พวกเขาค้นพบคือการแต่งตัวที่ดูเป็นหน่วยราชการที่รัฐบาลกำหนดขึ้น การแต่งตัวที่ต้องใส่สูทให้ดูเป็นทางการ แต่ต่างกันไปตามตัวละคร
ในภาพยนตร์เน้นไปที่สีเขียวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือการแต่งตัวของตัวละครหลักๆ ล้วนเน้นไปที่สีเขียว ซึ่งในประเทศจีนความหมายของสี มุ่งความหมายตรงไปสู่”ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” “ความเจริญงอกงาม ความรุ่งเรือง” อีกทั้งยังหมายความถึงสีที่แทนธรรมชาติเพื่อการบำบัดความเครียด ฝ่ายโปรดักชั่นเลือกที่ใช้สีนี้เป็นสื่อความหมายโดยนัย ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มุ่งหวังจะไปในทางที่ดีขึ้น ตรงกันกับเนื้อเรื่องที่ของต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับการฝ่ายตรงกันข้ามนั้นคือฝ่าย จีนไต้หวั่นของพรรคก๊กมินตั๋ง
องค์ประกอบของภาพยนตร์สิ่งที่ต้องไปควบคู่กันนอกจากเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม มุมกล้อง ภาพและการตัดต่อคือจุดเด่น แต่ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของเสียง ยิ่งภาพยนตร์เรื่อง The Silent War นั้นเป็นหนังที่มีเทคนิคการเล่าเรื่องโดยใช้เสียงเป็นหลัก จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ทีมงานที่เก่งเรื่องของการบันทึกเสียงและผสมเสียงที่เชี่ยวชาญแล้วก็เป็นความตั้งใจของทีมงานที่เลือกทีมงานที่มีประสบการณ์มาก และด้วยความบังเอิญนั้นทีมงานที่ว่านั้นเป็นคนไทยอีกด้วย คุณไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ และณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งหนังไทยและเทศ (ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ , แฝด, Soldier เป็นต้น) ความโดดเด่นส่งผลให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เมื่อ The silent war ได้รับรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยมจากเวที Asia-Pacific Film Festival
2013 Hong Kong Film Awards
เรื่อง The Silent War ได้เข้าชิง 8 รางวัลใน Hong Kong Film Awards
Best Screenplay - Alan Mak and Felix Chong
Best Actor - Tony Leung Chiu Wai (The Silent War)
Best Actress - Zhou Xun (The Silent War)
Best Supporting Actress - Mavis Fan (The Silent War)
Best Cinematography - Anthony Pun (The Silent War)
Best Art Direction - Man Lim Chung (The Silent War)
Best Costume Design and Make-Up - Man Lim Chung (The Silent War)
Best Original Film Score - Chan Kwong Wing (The Silent War)

[เรื่องย่อ] The Silent War 701 รหัสลับ คนคม กำกับโดย อลัน มัค นำแสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย และ โจวชวิ่น
ประเภท Drama / Crime / Thriller
กำหนดฉาย 13 มิถุนายน 2013
บริษัทจัดจำหน่าย โมโนฟิล์ม
อำนวยการสร้าง หลี่ เก๊า สิง (จอมใจบัลลังก์เลือด , ต้นฉบับ ยิปมัน อาจารย์บรู๊ซ ลี)
กำกับ/เขียนบท อลัน มัค (สองคน สองคม , Initial D : ดริฟท์ติ้ง ซิ่งสายฟ้า)
ฟีลิกซ์ ฉ่อง (Overheard , Overheard2)
นำแสดง เหลียงเฉาเหว่ย (In The Mood For Love, สองคน สองคม)
โจว ซวิ่น (Perhaps Love , โปเยโปโลเย ศึกรักหน้ากากทอง)
รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และ เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ
เรื่องย่อ
ในปี 1950ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้นมาใหม่ กลุ่มปฏิวัติพร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ รัฐบาลจึงก่อตั้งหน่วยราชการลับ “701” ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และดำเนินการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางช่องโทรเลขและวิทยุ โดยเฉพาะกับพรรคก๊กมินตั๋งจากจีนไต้หวัน แต่อยู่มาวันหนึ่งช่องทางการติดต่อของทหารฝ่ายศัตรูกว่า 120 ช่องได้หายและปิดตัวลงไปอย่างไรร่องรอย เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับหน่วย “701” และประชาชนอาจตกอยู่ในภยันตรายในทันที ภายหลัง ฉางซื่อหนิง หญิงสาวที่ทำงานให้กับกลุ่ม “701” จึงจำเป็นที่ต้องไปตามหาบุคคลที่มาความสามารถทางโสตประสาทมากพอที่จะสามารถดักฟังคลื่นวิทยุให้กลับมาอีกครั้ง ฉางซื่อหนิง จึงได้พบกับ เหอปิง เขาเป็นนักซ่อมเปียโนที่มีทักษะการฟังเป็นเลิศ ด้วยความสามารถที่โดดเด่นของเขาจึงทำให้ฝ่ายศัตรูจำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์ใหม่และการต่อสู้ผ่านการดักฟังและเฉือนคมของทั้งของทั้งสองฝ่ายจึงเกิดขึ้น
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากนิยายชื่อดังที่ชื่อว่า “Plot Against” ประพันธ์โดย Mai Jia เรื่องนี้เป็นหนังสือยอดฮิตติดอันดับในปี 2005 เหตุผลที่ Alan Mak และ Felix Chong หันปลายปากกามาจับที่ตัวเรื่องนี้คงหนีไม่พ้นพลอตเรื่องที่ตื่นเต้นและน่าค้นหาของสิ่งที่ตัวเองต้องทำนั่นคือการลุ้นระทึก ของการสื่อสารผ่านทางรหัสมอสและโทรเลข ความสามารถในการเล่าเรื่องแนวนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คนแล้วในเรื่อง Infernal Affair ซึ่งผู้กำกับทั้งสองคนนี้เป็นหัวหอกหลักในการเขียนบทของเรื่องนั้นอีกด้วย ไม่เป็นเรื่องแปลกที่ ทั้งคู่อยากจะจับงานแนวเดิมที่สร้างชื่อให้ตนเองอีกครั้ง
เรื่องราวแม้จะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นแต่องค์ประกอบโดยรวมของประวัติศาสตร์ยังคงเหมือนเดิม สำหรับคนที่ติดตามประวัติศาสตร์ชาติจีน เรื่องนี้น่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองและประวัติศาสตร์ที่น่าติดตาม เพราะมีการกล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาลและการปฏิวัติของฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งของฝั่งไต้หวัน ความรุนแรง และความตรึงเครียดของประวัติศาสตร์ชาติจีนอาจจะทำให้คนที่ศึกษาในเรื่องนี้อยู่แล้วเกิดความสนใจและร่วมค้นหาไปกับเรื่องนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
นอกจากความโดดเด่นในด้านการสื่อสารที่ใช้รหัสมอสเป็นสื่อกลางที่แสดงถึงหนังที่เน้นความลุ้นระทึกแล้วยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรักอีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่สองนักเขียนที่เน้นหนังอย่างแก็งอันธพาลและมาเฟียจะมาจับเรื่องความรักสามเศร้าในเรื่องนี้ด้วย ในช่วงองค์ที่สองของหนัง Alan Mak เลือกที่จะจับเรื่องความรักควบคู่ไปกับความตื่นเต้นของหนัง ในเรื่อง ฉางเสว่หนิง และเหอปิงต่างฝ่ายต่างมีแอบมีใจให้กันแต่ด้วยความที่ทั้งคู่มีอาชีพการงานที่ต้องใกล้เคียงกัน ความรักของทั้งคู่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ นับว่าเป็นความกล้าที่ผู้กำกับหยิบยกเรื่องราวที่ตนไม่ถนัดมาเล่า แต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับทำให้ทั้งคู่เป็นที่จับตามองว่ามีความสามารถหลากหลายในการเขียนบทและกำกับ
รายละเอียดงานการสร้างและลักษณะตัวละคร
ด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมาในปี 1950 ทีมโปรดักชั่นดีไซน์จึงต้องทำการบ้านอย่างหนักในการศึกษาว่าคนในยุคนั้นการแต่งกายเป็นอย่างไร ซึ่งสิ่งที่พวกเขาค้นพบคือการแต่งตัวที่ดูเป็นหน่วยราชการที่รัฐบาลกำหนดขึ้น การแต่งตัวที่ต้องใส่สูทให้ดูเป็นทางการ แต่ต่างกันไปตามตัวละคร
ในภาพยนตร์เน้นไปที่สีเขียวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือการแต่งตัวของตัวละครหลักๆ ล้วนเน้นไปที่สีเขียว ซึ่งในประเทศจีนความหมายของสี มุ่งความหมายตรงไปสู่”ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” “ความเจริญงอกงาม ความรุ่งเรือง” อีกทั้งยังหมายความถึงสีที่แทนธรรมชาติเพื่อการบำบัดความเครียด ฝ่ายโปรดักชั่นเลือกที่ใช้สีนี้เป็นสื่อความหมายโดยนัย ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มุ่งหวังจะไปในทางที่ดีขึ้น ตรงกันกับเนื้อเรื่องที่ของต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับการฝ่ายตรงกันข้ามนั้นคือฝ่าย จีนไต้หวั่นของพรรคก๊กมินตั๋ง
องค์ประกอบของภาพยนตร์สิ่งที่ต้องไปควบคู่กันนอกจากเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม มุมกล้อง ภาพและการตัดต่อคือจุดเด่น แต่ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของเสียง ยิ่งภาพยนตร์เรื่อง The Silent War นั้นเป็นหนังที่มีเทคนิคการเล่าเรื่องโดยใช้เสียงเป็นหลัก จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ทีมงานที่เก่งเรื่องของการบันทึกเสียงและผสมเสียงที่เชี่ยวชาญแล้วก็เป็นความตั้งใจของทีมงานที่เลือกทีมงานที่มีประสบการณ์มาก และด้วยความบังเอิญนั้นทีมงานที่ว่านั้นเป็นคนไทยอีกด้วย คุณไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ และณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งหนังไทยและเทศ (ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ , แฝด, Soldier เป็นต้น) ความโดดเด่นส่งผลให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เมื่อ The silent war ได้รับรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยมจากเวที Asia-Pacific Film Festival
2013 Hong Kong Film Awards
เรื่อง The Silent War ได้เข้าชิง 8 รางวัลใน Hong Kong Film Awards
Best Screenplay - Alan Mak and Felix Chong
Best Actor - Tony Leung Chiu Wai (The Silent War)
Best Actress - Zhou Xun (The Silent War)
Best Supporting Actress - Mavis Fan (The Silent War)
Best Cinematography - Anthony Pun (The Silent War)
Best Art Direction - Man Lim Chung (The Silent War)
Best Costume Design and Make-Up - Man Lim Chung (The Silent War)
Best Original Film Score - Chan Kwong Wing (The Silent War)