สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ไหนๆ ก็เคยเขียนบทความเรื่องเจ้าปรสิตกลุ่มนี้มาเมื่อสัก 5-6 ปีก่อน เอาแบ่งให้อ่านเล่นๆ แล้วกันนะครับ
----------------------------------------------------
ปรสิตทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเจ้าบ้าน (host) ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้วงจรชีวิตสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย้ายจากเจ้าบ้านหนึ่งไปยังอีกเจ้าบ้านหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าตัวมันหรือลูกหลานของมันได้ไปยังสถานที่ที่เหมาะสมหรือเพิ่มการมีชีวิตรอดต่อไป หนึ่งในปรสิตที่โด่งดังหรือมีการศึกษากันมากในวงการปรสิตวิทยาก็คือ พยาธิขนม้า (horsehair worm) นั่นเองครับ
พยาธิขนม้ายังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gordian worm ชื่อทั้งสองมาจากลักษณะของมันที่มีลำตัวเล็กยาว และมักจะชอบขดม้วนเป็นเกลียวแน่น และลักษณะลำตัวที่ยาวนี้คล้ายกับพยาธิตัวกลม แต่ก็มีความแตกต่างอยู่หลายประการ นักวิทย์จึงจัดให้พวกมันอยู่ไฟลัมใหม่ว่า Nematomorpha หรือมีรูปร่างคล้ายกับเจ้าพวกพยาธิตัวกลมครับ นักวิทย์พบสมาชิกในไฟลัมนี้แล้วประมาณ 300 กว่าชนิดทั่วโลกครับ ชนิดที่มีการศึกษามากหน่อยก็คือ Spinochordodes tellinii ครับ
พยาธิขนม้า (Spinochordodes tellinii) นั้นมักจะเข้าไปสิงอยู่ในแมลงกลุ่มตั๊กแตน และจิ้งหรีด (Orthoptera) ครับ ขณะที่ยังเด็ก พวกมันยังต้องเข้าไปอาศัยภายในตัวของแมลงอยู่เฉยๆ (เนื่องจากอิทธิฤทธิ์ยังไม่มากพอ) กระทั่งเมื่อโตเต็มที่แล้ว มันก็เริ่มปีกกล้าขาแข็ง ไม่ยอมอยู่ในร่างใคร ออกมาล่องลอยหาอาหาร และผสมพันธุ์สืบทอดลูกหลานต่อไปในแหล่งน้ำเช่น แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงครับ
วงจรชีวิตของมันเริ่มจากไข่ที่วางไว้ตามวัชพืชข้างแหล่งน้ำ จากนั้นเจ้าบ้าน (host) ก็จะได้รับมันเข้าไป(ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมาก และขนาดของมันจะเพิ่มเป็นหนอนที่ยาวกว่าเจ้าบ้านถึง 3-4 เท่าเลยทีเดียว เมื่อมันโตเต็มที่แล้ว มันก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านที่แปลกออกไปนั่นคือการค้นหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดตู้มลงไป หลังจากเจ้าบ้านจมน้ำตายแล้ว พยาธิตัวเต็มวัยนี้ก็จะค่อยๆ ออกมาแล้วไปหาคู่ครอง และผสมพันธุ์ออกไข่กันต่อไปครับ
แล้วมันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเจ้าบ้านได้ยังไงกันล่ะ? คำตอบนี้นักวิทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดครับ การเกิดพฤติกรรมแปลกๆ ในตั๊กแตนจะเกิดขึ้นเมื่อพยาธิโตเต็มที่แล้วครับ การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนต่างๆ ในสมองของเจ้าบ้าน และปรสิต (parasitoproteomics) ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากพยาธิออกจากตัวเจ้าบ้านบ่งชี้ว่า พยาธิจะไปเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ของเจ้าบ้านโดยสร้างโปรตีนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Wnt ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิทย์เองก็ยังค้นพบโปรตีนที่ยังไม่รู้จักอีกหลายตัวทั้งในสมองของเจ้าบ้าน และปรสิต การศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของโปรตีนเหล่านี้ต่อไปอาจจะช่วยให้นักวิจัยทราบได้แน่ชัดว่าโปรตีนอะไรที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้
เมื่อเจ้าบ้านถูกกิน เจ้าปรสิตก็มีทางออก
ปรสิตส่วนใหญ่นั้นไม่มีสัตว์นักล่าเป็นของตัวเอง แต่การถูกกินก็มาจากสัตว์นักล่าของเจ้าบ้านที่มันอยู่ครับ หลังจากเจ้าพยาธิขนม้าชักนำให้เจ้าบ้านอย่างตั๊กแตนหรือจิ้งหรีดเสาะหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดตู้มลงไปแล้วนั้น ในช่วงการออกจากเจ้าบ้าน และไปหาเนื้อคู่นั้นเป็นช่วงที่อันตรายช่วงหนึ่งของมันครับ ในแหล่งน้ำล้วนเต็มไปด้วยสัตว์นักล่าได้แก่กบ และปลา นักวิทย์ค้นพบว่า ถ้าเจ้าบ้านลงน้ำแล้วถูกกินปุ๊บ เจ้าปรสิตตัวยาวนี้สามารถที่จะหนีอย่างรวดเร็วออกจากเจ้าบ้านหรือลำไส้ของสัตว์นักล่าได้โดยมันจะออกไปทางปาก เหงือก และจมูกของสัตว์นักล่าแล้วไปหาคู่เพื่อสืบทอดสายพันธุ์ของมันได้อย่างสบายครับ นักวิทย์เองไม่เชื่อว่าสัตว์นักล่าจะไปชักนำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นหรือเอ็นไซม์ภายในกระเพาะของสัตว์นักล่า (เนื่องจากผนังตัวของพยาธินั้นมีความทนทานต่อเอ็นไซม์) Sanchez (2008) ได้ตั้งสมมติฐานว่าการที่มันรีบออกมาจากตัวเจ้าบ้านนั้นเป็นเพราะมันแยกแยะไม่ออกว่าการจู่โจมของเจ้าบ้านมีอันตรายหรือไม่ แต่มันเป็นหนทางที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด และได้ประโยชน์มากที่สุดที่จะรีบออกจากตัวเจ้าบ้านให้เร็วที่สุดครับ
----------------------------------------------------
ปรสิตทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเจ้าบ้าน (host) ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้วงจรชีวิตสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย้ายจากเจ้าบ้านหนึ่งไปยังอีกเจ้าบ้านหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าตัวมันหรือลูกหลานของมันได้ไปยังสถานที่ที่เหมาะสมหรือเพิ่มการมีชีวิตรอดต่อไป หนึ่งในปรสิตที่โด่งดังหรือมีการศึกษากันมากในวงการปรสิตวิทยาก็คือ พยาธิขนม้า (horsehair worm) นั่นเองครับ
พยาธิขนม้ายังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gordian worm ชื่อทั้งสองมาจากลักษณะของมันที่มีลำตัวเล็กยาว และมักจะชอบขดม้วนเป็นเกลียวแน่น และลักษณะลำตัวที่ยาวนี้คล้ายกับพยาธิตัวกลม แต่ก็มีความแตกต่างอยู่หลายประการ นักวิทย์จึงจัดให้พวกมันอยู่ไฟลัมใหม่ว่า Nematomorpha หรือมีรูปร่างคล้ายกับเจ้าพวกพยาธิตัวกลมครับ นักวิทย์พบสมาชิกในไฟลัมนี้แล้วประมาณ 300 กว่าชนิดทั่วโลกครับ ชนิดที่มีการศึกษามากหน่อยก็คือ Spinochordodes tellinii ครับ
พยาธิขนม้า (Spinochordodes tellinii) นั้นมักจะเข้าไปสิงอยู่ในแมลงกลุ่มตั๊กแตน และจิ้งหรีด (Orthoptera) ครับ ขณะที่ยังเด็ก พวกมันยังต้องเข้าไปอาศัยภายในตัวของแมลงอยู่เฉยๆ (เนื่องจากอิทธิฤทธิ์ยังไม่มากพอ) กระทั่งเมื่อโตเต็มที่แล้ว มันก็เริ่มปีกกล้าขาแข็ง ไม่ยอมอยู่ในร่างใคร ออกมาล่องลอยหาอาหาร และผสมพันธุ์สืบทอดลูกหลานต่อไปในแหล่งน้ำเช่น แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงครับ
วงจรชีวิตของมันเริ่มจากไข่ที่วางไว้ตามวัชพืชข้างแหล่งน้ำ จากนั้นเจ้าบ้าน (host) ก็จะได้รับมันเข้าไป(ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมาก และขนาดของมันจะเพิ่มเป็นหนอนที่ยาวกว่าเจ้าบ้านถึง 3-4 เท่าเลยทีเดียว เมื่อมันโตเต็มที่แล้ว มันก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านที่แปลกออกไปนั่นคือการค้นหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดตู้มลงไป หลังจากเจ้าบ้านจมน้ำตายแล้ว พยาธิตัวเต็มวัยนี้ก็จะค่อยๆ ออกมาแล้วไปหาคู่ครอง และผสมพันธุ์ออกไข่กันต่อไปครับ
แล้วมันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเจ้าบ้านได้ยังไงกันล่ะ? คำตอบนี้นักวิทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดครับ การเกิดพฤติกรรมแปลกๆ ในตั๊กแตนจะเกิดขึ้นเมื่อพยาธิโตเต็มที่แล้วครับ การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนต่างๆ ในสมองของเจ้าบ้าน และปรสิต (parasitoproteomics) ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากพยาธิออกจากตัวเจ้าบ้านบ่งชี้ว่า พยาธิจะไปเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ของเจ้าบ้านโดยสร้างโปรตีนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Wnt ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิทย์เองก็ยังค้นพบโปรตีนที่ยังไม่รู้จักอีกหลายตัวทั้งในสมองของเจ้าบ้าน และปรสิต การศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของโปรตีนเหล่านี้ต่อไปอาจจะช่วยให้นักวิจัยทราบได้แน่ชัดว่าโปรตีนอะไรที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้
เมื่อเจ้าบ้านถูกกิน เจ้าปรสิตก็มีทางออก
ปรสิตส่วนใหญ่นั้นไม่มีสัตว์นักล่าเป็นของตัวเอง แต่การถูกกินก็มาจากสัตว์นักล่าของเจ้าบ้านที่มันอยู่ครับ หลังจากเจ้าพยาธิขนม้าชักนำให้เจ้าบ้านอย่างตั๊กแตนหรือจิ้งหรีดเสาะหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดตู้มลงไปแล้วนั้น ในช่วงการออกจากเจ้าบ้าน และไปหาเนื้อคู่นั้นเป็นช่วงที่อันตรายช่วงหนึ่งของมันครับ ในแหล่งน้ำล้วนเต็มไปด้วยสัตว์นักล่าได้แก่กบ และปลา นักวิทย์ค้นพบว่า ถ้าเจ้าบ้านลงน้ำแล้วถูกกินปุ๊บ เจ้าปรสิตตัวยาวนี้สามารถที่จะหนีอย่างรวดเร็วออกจากเจ้าบ้านหรือลำไส้ของสัตว์นักล่าได้โดยมันจะออกไปทางปาก เหงือก และจมูกของสัตว์นักล่าแล้วไปหาคู่เพื่อสืบทอดสายพันธุ์ของมันได้อย่างสบายครับ นักวิทย์เองไม่เชื่อว่าสัตว์นักล่าจะไปชักนำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นหรือเอ็นไซม์ภายในกระเพาะของสัตว์นักล่า (เนื่องจากผนังตัวของพยาธินั้นมีความทนทานต่อเอ็นไซม์) Sanchez (2008) ได้ตั้งสมมติฐานว่าการที่มันรีบออกมาจากตัวเจ้าบ้านนั้นเป็นเพราะมันแยกแยะไม่ออกว่าการจู่โจมของเจ้าบ้านมีอันตรายหรือไม่ แต่มันเป็นหนทางที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด และได้ประโยชน์มากที่สุดที่จะรีบออกจากตัวเจ้าบ้านให้เร็วที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
นี่มันตัวอะไรกันเนี่ยยยยยยย!!
ใครพอจะทราบไหมครับไปเจอมาแล้ว สงสัยมากว่านี่มันตัวอะไรกัน ปรสิตในแมลงเหรอครับ??