ก่อนอ่านข่าว..ฝากนิดหนึ่ง..ที่ผ่านมาตลอดสัปดาห์ มีเรื่อง Kaรี่..เยอะแยะไปหมด
โดยส่วนตัวเลยอดไม่ได้ที่จะให้ภาพลักษณ์แก่พรรคการเมืองพรรคการเมืองหนึ่ง...คล้าย "Mangดa"
คล้ายยังไงฝากด้วยนะครับ....
ใน′น้ำลาย′ คอลัมน์สถานีคิดเลขที่12 โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร มติชน 12 พ.ค. 2556
หลังจาก "หลายๆ คน" สะอกสะใจ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปียกปอนและเหม็นคลุ้งด้วย "น้ำลาย" ที่ถูกถ่ม

ใส่
ฐานกระทำเลวร้ายกว่าโสเภณี ที่ไปปาฐกถาเรื่อง "ประชาธิปไตย" ในที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่มองโกเลีย เมื่อ 29 เมษายน เปรียบดั่งการ "การขายชาติ"
สะอกสะใจแล้ว
อยากให้ไปพิจารณา "แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์" ต่อกรณี "ปาฐกถามองโกเลีย" ด้วย
พิจารณาแล้ว จะกระทืบเท้า โห่ร้องยินดีกับความรักชาติ รักประชาธิปไตย ของประชาธิปัตย์ ก็ไม่ว่ากัน
หรืออยากกลับไป "เช็ด" น้ำลายที่ถ่ม

ไปก่อนหน้า "เพราะมันเป็นสิ่งปฏิกูล" ก็ไม่ว่าอีกเช่นกัน
นั่งอ่าน "แถลงการณ์" ประชาธิปัตย์ ตอนแรกนึกว่ารู้สึกไปคนเดียว
แต่เมื่อมาดูปฏิกิริยาคนอื่นๆ ในตอนหลัง รู้สึกตรงกันในประเด็น "จุดยืน" ของพรรคเก่าแก่นี้
เป็นจุดยืนที่แสดงผ่านแถลงการณ์ที่นำเสนอในเว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละ
โดยเฉพาะเรื่อง "ปฏิวัติรัฐประหาร"
เลยขอร่วมวงถกด้วยคน
เมื่อกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ประชาธิปัตย์ พูดเต็มปากเต็มคำ
"...เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่าครอบครัวนายกรัฐมนตรี และโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้นร่ำรวยขึ้นมาจากการได้รับสัมปทานการสื่อสารในอดีตจากรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มของทหารจากเหตุการณ์ปฏิวัติในปี พ.ศ.2534"
แต่พอ ในปี 2549
พรรคประชาธิปัตย์ ใช้คำพูดอย่างนี้
"...วิธีการบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ถ่วงดุล รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม และการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง นำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจนการประท้วงลุกลามออกสู่ท้องถนน และรัฐบาลในขณะนั้นกลับสนับสนุนให้มีสถานการณ์การเผชิญหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภาและในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2549 และแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว ต่อมาก็มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.2550 ในการลงประชามติซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย การเลือกตั้งทั่วไปจึงได้เกิดขึ้น..."
ไม่มีคำว่า ปฏิวัติ-รัฐประหาร-ยึดอำนาจ
แต่เลือกใช้คำว่า "ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2549"
เบาหวิว ดูมีความชอบธรรม
แถมยังขยายความในเชิงบวกถึงการตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว, สภาร่างรัฐธรรมนูญ, การลงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย และรวมถึงเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่เห็นชอบ
ทั้งที่หลังการปฏิวัติ 2549 มีปัญหาที่เป็นผลพวงมากมายมหาศาล แต่ประชาธิปัตย์จงใจมองไม่เห็น
และเมื่อแถลงการณ์ประชาธิปัตย์ระบุถึงการขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ระบุว่า
"...ในการเเลือกนายกฯคนต่อมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชน ตัดสินใจลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯคนที่ 27 ของประเทศไทย"
คราวนี้ไม่พูดถึง "การแทรกแซงของใคร" อีกแล้ว
โยนไปเป็นเรื่องของ ส.ส. "งูเห่า" ซะอย่างนั้น
ทั้งที่การตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เป็นที่รับรู้กันทั่งบ้างทั้งเมือง
ยังมีประเด็นแบบนี้ยุบยั่บไปหมดในแถลงการณ์
จึงอยากชวนให้อ่าน
อ่านแล้ว ไม่ได้ต้องการให้เกิดความรู้สึก อยากไปถ่มน้ำลายใส่ใคร
แค่เอาใจช่วย "อลงกรณ์ พลบุตร" ปฏิรูปประชาธิปัตย์ให้ได้ก็พอแล้ว
อย่าไปถ่มน้ำลายใส่ใคร แค่เอาใจช่วย "อลงกรณ์"ก็พอแล้ว !!!
โดยส่วนตัวเลยอดไม่ได้ที่จะให้ภาพลักษณ์แก่พรรคการเมืองพรรคการเมืองหนึ่ง...คล้าย "Mangดa"
คล้ายยังไงฝากด้วยนะครับ....
ใน′น้ำลาย′ คอลัมน์สถานีคิดเลขที่12 โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร มติชน 12 พ.ค. 2556
หลังจาก "หลายๆ คน" สะอกสะใจ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปียกปอนและเหม็นคลุ้งด้วย "น้ำลาย" ที่ถูกถ่ม
ฐานกระทำเลวร้ายกว่าโสเภณี ที่ไปปาฐกถาเรื่อง "ประชาธิปไตย" ในที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่มองโกเลีย เมื่อ 29 เมษายน เปรียบดั่งการ "การขายชาติ"
สะอกสะใจแล้ว
อยากให้ไปพิจารณา "แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์" ต่อกรณี "ปาฐกถามองโกเลีย" ด้วย
พิจารณาแล้ว จะกระทืบเท้า โห่ร้องยินดีกับความรักชาติ รักประชาธิปไตย ของประชาธิปัตย์ ก็ไม่ว่ากัน
หรืออยากกลับไป "เช็ด" น้ำลายที่ถ่ม
นั่งอ่าน "แถลงการณ์" ประชาธิปัตย์ ตอนแรกนึกว่ารู้สึกไปคนเดียว
แต่เมื่อมาดูปฏิกิริยาคนอื่นๆ ในตอนหลัง รู้สึกตรงกันในประเด็น "จุดยืน" ของพรรคเก่าแก่นี้
เป็นจุดยืนที่แสดงผ่านแถลงการณ์ที่นำเสนอในเว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละ
โดยเฉพาะเรื่อง "ปฏิวัติรัฐประหาร"
เลยขอร่วมวงถกด้วยคน
เมื่อกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ประชาธิปัตย์ พูดเต็มปากเต็มคำ
"...เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่าครอบครัวนายกรัฐมนตรี และโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้นร่ำรวยขึ้นมาจากการได้รับสัมปทานการสื่อสารในอดีตจากรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มของทหารจากเหตุการณ์ปฏิวัติในปี พ.ศ.2534"
แต่พอ ในปี 2549
พรรคประชาธิปัตย์ ใช้คำพูดอย่างนี้
"...วิธีการบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ถ่วงดุล รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม และการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง นำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจนการประท้วงลุกลามออกสู่ท้องถนน และรัฐบาลในขณะนั้นกลับสนับสนุนให้มีสถานการณ์การเผชิญหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภาและในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2549 และแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว ต่อมาก็มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.2550 ในการลงประชามติซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย การเลือกตั้งทั่วไปจึงได้เกิดขึ้น..."
ไม่มีคำว่า ปฏิวัติ-รัฐประหาร-ยึดอำนาจ
แต่เลือกใช้คำว่า "ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2549"
เบาหวิว ดูมีความชอบธรรม
แถมยังขยายความในเชิงบวกถึงการตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว, สภาร่างรัฐธรรมนูญ, การลงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย และรวมถึงเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่เห็นชอบ
ทั้งที่หลังการปฏิวัติ 2549 มีปัญหาที่เป็นผลพวงมากมายมหาศาล แต่ประชาธิปัตย์จงใจมองไม่เห็น
และเมื่อแถลงการณ์ประชาธิปัตย์ระบุถึงการขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ระบุว่า
"...ในการเเลือกนายกฯคนต่อมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชน ตัดสินใจลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯคนที่ 27 ของประเทศไทย"
คราวนี้ไม่พูดถึง "การแทรกแซงของใคร" อีกแล้ว
โยนไปเป็นเรื่องของ ส.ส. "งูเห่า" ซะอย่างนั้น
ทั้งที่การตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เป็นที่รับรู้กันทั่งบ้างทั้งเมือง
ยังมีประเด็นแบบนี้ยุบยั่บไปหมดในแถลงการณ์
จึงอยากชวนให้อ่าน
อ่านแล้ว ไม่ได้ต้องการให้เกิดความรู้สึก อยากไปถ่มน้ำลายใส่ใคร
แค่เอาใจช่วย "อลงกรณ์ พลบุตร" ปฏิรูปประชาธิปัตย์ให้ได้ก็พอแล้ว