คนญี่ปุ่นก็ดีนะครับ แต่รู้สึกแปลกๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเอื้อเฟื้อให้ผู้อ่อนแอกว่านั่ง

ผมไปญี่ปุ่นมา 10 วัน อาจจะไม่ได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของคนที่นี่ดีนัก แต่ก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ สิ่งที่ผมเห็นแล้วชื่นชมจริงๆคือคนที่นี่ตั้งใจทำงานดีมาก งานจะเล็กจะใหญ่ก็ตั้งใจทำงานเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้แล้ว แล้วไม่ได้ทำแบบขอไปทีด้วย ถึงแม้จะรู้ว่าเค้ากำลังทำงาน แต่ผมกลับรู้สึกว่าเค้าไม่ได้ทำให้เจ้านายเห็นนะ แต่ทำเพราะมันเป็นคุณค่าของมนุษย์ที่ต้องตั้งใจทำงานจริงๆ ผมประทับใจกับเด็กเสริ์ฟ ยาม เจ้าหน้าที่สวนสนุกและเกือบทุกคนที่ทำในสิ่งที่ผมเห็นว่าเป้นงานที่เค้าต้องทำทั้งวัน ทุกวัน พวกเค้าทำให้ผมแอบรู้สึกไปเองว่า "บางทีเค้าอาจจะมาทำงานวันแรกก็ได้ คงยังเห่องานใหม่กันอยู่มั๊ง" ยิ้ม ซึ่งจริงมันคงไม่ใช่หรอกครับ เค้าทำงานแบบนั้นจริงๆ ทุกวัน!



อีกเรื่องนึงที่ชื่นชมคือการเคารพกกหมายบ้านเมือง ที่นี่ถนนที่เล็กๆแบบก้าวยาวๆ 3 ก้าวถึง คนก็เคารพกฏมาก ไม่มีการข้ามโดยไม่รอสัญญาณไฟ แม้จะไม่มีรถเลยสักคันก็จะรอจนกว่าจะมีสัญญาณไฟให้ข้ามถนนได้ โจรขโมยก็น่าจะน้อย เพราะสังเกตว่าร้านขายของเอาของมาวางหน้าร้านไม่มีคนเฝ้าเลย ถ้าจะขโมยนี่ง่ายมากๆ ถ้ากล้าวางแบบนั้นทุกร้านแสดงว่าขโมยคงจะน้อยมากจริงๆ



ด้านบวกว่ากันไปแล้วมาถึงด้านลบที่ยังไม่เข้าใจคือ ผมเดินทางด้วยรถไฟเป็นหลักรถบัสนิดหน่อย สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือประเทศนี้ไม่มีการลุกให้นั่ง แม้กระทั่งที่นั่ง priority seats ที่ขอความร่วมมือเอื้อเฟื้อให้คนแก่ คนเจ็บ คนท้อง และคนที่มีลูกเล็กนั่ง ผมเห็นภาพคนนั่งปล่อยให้คนยืน ที่อาจเป็นผู้หญิง (ไม่อยู่ใน 4 ประเภทที่รณรงค์) ถือกระเป๋าหลายใบยืนหลับ คนแก่คราวอาม่า แม้กระทั่งผู้หญิงอุ้มลูก 3 ขวบก็ยังต้องยืน โดยที่ผู้ชายที่นั่งเบื้องหน้าก็ยังคงนั่งต่อไป ด้วยความที่ผมมาจากประเทศที่ไม่ได้บังคับให้สละที่ให้คนอื่นนั่ง แต่หากพอจะมีแรง ไม่ง่วงเกินไป ไม่เมื่อยเกินไปก็สมควรจะลุกให้คนที่ต้องการเก้าอี้มากกว่าเรานั่ง ผมก็เลยได้มีโอกาสลุกให้คนอื่นอื่นนั่งบ้าง ซึ่งการตอบรับที่ได้คือ เค้าค่อนข้างงง ต้องอธิบายด้วยภาษามือถึงจะยอมนั่ง แล้วพอนั่งก็ขอบคุณหลายครั้ง พอออกจากรถไฟก็ขอบคุณอีก เหมือนกับว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆอย่างนั้นเลย ครั้งที่ผมได้รับการขอบคุณหนักหน่วงก็คือตอนที่นั่งรถไฟยาวจาก Odawara มาลง Shinjuku ที่นั่งยาว 90 นาที  ผมจำได้ว่าตื่นขึ้นมาตอนนั่งไปไม่ถึง ชม. คนแน่นรถ ข้างๆผมเป็นคนแก่ (อาม่าในภาพด้านล่าง) และข้างหน้าผมมองแหวกผู้คนไปก็เห็นว่ามีเด็กสัก 2 ขวบ หน้าตาเป็นเด็กฝรั่งกับแม่คนญี่ปุ่นยืนอุ้มเด็กอยู่ ผมก็ง่วงๆ มึนๆ มองไปที่อาม่าก็สงสารแก แกตัวเตี้ยมากครับ โหนรถไฟลำบากมาก แต่แม่ที่อุ้มลูกที่กำลังร้องดูน่าจะเดือดร้อนกว่า เพราะเป็นรถไฟยาวที่คนส่วนมากไปลงที่ชินจุกุ หรือถ้าลงก่อนก็ไม่นาน ผมเลยเอื้อมมือแหวกคนไปสะกิดให้เค้านั่ง พอเค้านั่งก็หลบๆตา งงๆ แต่ก็มีพนักหน้าเหมือนขอบคุณ ผมก็ไม่ได้มองอะไรมาก แต่อาม่ากับผู้หญิงอายุสัก 50 ข้างๆนี่สิ ขอบคุณผมใหญ่เลย ด้วยความที่ผมพูดญี่ปุ่นไม่ได้ก็เลยพงกหัวรับๆไปตอนนั้นผมตื่นดีแล้ว เลยเห็นว่าอาม่านี่แกแก่จริงๆ แล้วก็เห็นแกถือกระเป๋า 2 ใบก็สงสารแก พี่สาวก็ถามว่าอาม่ากระเป๋าหนักมั้ย ผมก็เลยเอื้อมมือไปดึงกระเป๋าแกจะได้เช็คน้ำหนัก แกตอบผมด้วยภาษาญี่ปุ่น ผมโง่อีกตามเคยแต่เดาว่าแกคงพูดว่า "ไม่เป็นไรอาม่าโอเค" น้องชายผมก็เลยลุกให้อาม่านั่ง อาม่าหันไปเกี่ยงกะอาเจ้ 50 ข้างๆ อาเจ้ทำมือบอกว่าอาม่านั่งเหอะ แกก็นั่งลงไปแล้วก็ อาริงาโตะอีก 3 ที พอลงรถไฟ พวกเราทั้งหมดลงปลายทางที่ชินจุกุเหมือนกัน แกก็อาริงาโต๊ะ พร้อมกับเจ้ 50 ข้างๆอีก ไม่รู้กี่ที ด้วยความที่ผมเจอ อาริงาโต๊ะคอมโบ้เลยไปไม่ถูก ได้แต่ยกมือไหว้สวนกลับไปแทนแล้วก็แยกกัน ความรู้สึกผมตอนเดินออกมาคือ ถ้าอาม่ากับอาเจ้ขอบคุณซะขนาดนั้น อาจเป็นเพราะปกติแกก็ต้องยืนตลอดแน่ๆเลย ยืนเหมือนที่ผมเห็นมาตลอด 10 วันว่าใครได้ที่ก่อนก็นั่งก่อน จะเด็ก จะแก่ก็สิทธิเท่าเทียมกัน



จริงๆทริปนี้เป็นทริปวัฒนธรรมการกินจริงๆ เพราะกินเยอะมาก กางแผนที่กินเป็นหลักเลย แต่เนื่องจากเขียนรีวิวไม่เป็นก็เล่าเฉพาะสิ่งที่พบเจอนะครับ ทั้งนี้เรื่องร้ายๆที่เล่าก็ไม่ได้อยากจะให้ตัดสินใคร เพราะผมไปมา 10 วันเอง ไม่ได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดเค้าทั้งหมด ผมเองก็ไม่ได้เสียสละในทุกๆครั้งเหมือนกัน แค่รู้สึกว่าได้พบเจออะไรก็มาเล่าให้ฟังกันเฉยๆหนะครับ เผื่อสาวๆคนไหนจะแต่งงานไปอยู่ญี่ปุ่นจะได้รู้แนวหนุ่มประเทศนี้ไว้บ้าง 55 ส่วนผมเองนั้นตั้งใจจะเป็นแบบไทยๆ นี่หละ แต่ก็จะพยายามเลียนแบบวัฒนธรรมตั้งใจทำงานของเค้า อันนี้ถูกใจจริงๆครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่