สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ก่อนอื่นขออนุโมทนากับจขกท.และคณะด้วยครับ
กับการจองเป็นเจ้าภาพกฐิน
ซึ่งถือเป็นบุญใหญ่ในสามบุญของชาวพุทธเรา
สิ่งที่ต้องเตรียมในการจัดงาน
ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็นสามระยะสามช่วงก่อนครับ
เพื่อจะได้เข้าใจ และหากมีตรงไหนสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
๑.ช่วงประสานงาน
หนึ่งคือประสานงานไปที่วัดที่จะทอดกฐิน โดยจองกับเจ้าอาวาสวัดๆนั้นอย่างชัดเจนว่า ขอจองทอดกฐินปีนี้
ถ้ากำหนดวันและเวลาได้ยิ่งดี เพราะบุญกฐินจำกัดเขตการทอดนับจากวันออกพรรษาไปหนึ่งเดือน
หมดเขตวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบสองวันลอยกระทง
ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ สามารถทอดได้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
และที่สำคัญ หากอยากได้บุญเต็มที่ ควรประสานเรื่องการต้อนรับให้ชัด
ไม่ต้องเอิกเริก ไม่มีมหรสพ ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (บางทีชาวบ้านเขาเตรียมเองโดยที่วัดไม่ทราบ)
ถ้าจะยิ่งขึ้น ห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่มาเลี้ยง ฯลฯ
สอง ประสานงานฝ่ายเรา กำหนดการวันเวลาเดินทาง/ ทอดกฐิน ต้องมีและชัด
ใครจะเป็นประธานในการทอด ใครเป็นรองประธาน และกรรมการ ต้องประสานให้เรียบร้อย
ใครจะร่วมบุญอะไรบ้าง เท่าไหร่ ใครจะเดินทางไปบ้าง ปัจจัยและของที่ได้มาจะเริ่มรับวันใด ใครจะรับผิดชอบ
สาม ประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ร่วมบุญที่อยู่ไกล จะบอกบุญยังไง ต้องพิมพ์ซองกฐินหรือไม่
๒.ช่วงเตรียมสิ่งของที่จะทอดกฐินและบริวารกฐิน
สิ่งของที่ต้องมีก็คือ ผ้ากฐินหรือผ้าไตรจีวรนั่นเอง ขาดไม่ได้ สำหรับถวายพระรูปที่รับกฐิน
ที่สำคัญต้องเป็นผ้าใหม่ คือไม่เคยมีใครใช้ผ้านั้นมาก่อน
ผ้ากฐินมีสองอย่างคือ ผ้าสำเร็จรูป สามารถไปซื้อเอาที่ร้านสังฆภัณฑ์ เลือกเอาผ้าเนื้อดีหน่อยราคาประมาณ ๒ พันบาทขึ้นไป
อย่างที่สองใช้ผ้าขาวสำหรับตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น นิยมทอดและทำกันกับพระสายปฏิบัติหรือวัดป่าสายธรรมยุติ
จขกท.ทอดวัดที่จ.สุรินทร์ ผมไม่ทราบวัดไหนลองบอกชื่อวัดมาดูครับ
จะได้รู้ว่า วัดนั้นท่านใช้ผ้าแบบไหน
ส่วนบริวารกฐินก็จะมี ผ้าไตรจีวรอีกอย่างน้อยสักสองชุด สำหรับถวายพระคู่สวด ๒ รูป
และสิ่งของต่าง ของใหญ่ เช่น ตู้ เตียง ของเล็กก็เช่น ผ้าห่ม บาตร อัฐบริขารต่างๆ ไม่จำกัดพระและวัดท่านสามารถใช้ประโยชน์ได้
เพียงแต่ห้ามของที่ผิดพระวินัย เช่น บางเจ้าภาพถวาย วัว ควาย
แต่ที่เห็นว่าดีก็คือ บางแห่งก็เตรียมของเช่น ผ้าห่ม ร่ม
ไปแจกเด็กหรือคนเฒ่าคนแก่ด้วย บางเจ้าภาพก็เตรียมอาหารไปด้วยก็มี
และสุดท้าย คือปัจจัยหรือเงินถวายวัด ก้พิจารณาตามสมควร
ปกติที่เคยทำ ผมจะเริ่มเปิดรับปัจจัยและของวันเข้าพรรษาเป็นต้นไป
เพราะจะได้เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ หากกระชั้นเกินไป บางคนก็เอาเงินไปทำอย่างอื่นหมด
ต้องหยิบยืมกัน ซึ่งดูไม่งาม
สุดท้าย ช่วงทอดกฐิน
เมื่อพร้อมก็ออกเดินทางควรบอกทางวัดด้วยว่า จะเดินทางถึงประมาณกี่โมง
ทำพิธีแห่ ตั้ง และทอดกฐิน ตามลำดับ
ที่สำคัญ ควรเตรียมคำกล่าวถวายผ้ากฐินให้ประธานท่านฝึกอ่านเสียแต่ก่อนเดินทาง
เพราะภาษาบาลีอ่านยาก เคยมีบางคนอ่านว่า หิตาย สุขาย อึ้งทั้งศาลามาแล้ว
ทั้งที่ความจริงอ่านว่า หิตายะ สุขายะ
ก่อนทอด สมควรโทรหรือติดต่อประสานงานกับทางวัดให้ท่านสบายใจ
บางที่เจ้าภาพบอกครั้งเดียว จบ
พระท่านก็ไม่แน่ใจว่าจะมาหรือไม่มาก็มี...
กับการจองเป็นเจ้าภาพกฐิน
ซึ่งถือเป็นบุญใหญ่ในสามบุญของชาวพุทธเรา
สิ่งที่ต้องเตรียมในการจัดงาน
ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็นสามระยะสามช่วงก่อนครับ
เพื่อจะได้เข้าใจ และหากมีตรงไหนสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
๑.ช่วงประสานงาน
หนึ่งคือประสานงานไปที่วัดที่จะทอดกฐิน โดยจองกับเจ้าอาวาสวัดๆนั้นอย่างชัดเจนว่า ขอจองทอดกฐินปีนี้
ถ้ากำหนดวันและเวลาได้ยิ่งดี เพราะบุญกฐินจำกัดเขตการทอดนับจากวันออกพรรษาไปหนึ่งเดือน
หมดเขตวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบสองวันลอยกระทง
ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ สามารถทอดได้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
และที่สำคัญ หากอยากได้บุญเต็มที่ ควรประสานเรื่องการต้อนรับให้ชัด
ไม่ต้องเอิกเริก ไม่มีมหรสพ ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (บางทีชาวบ้านเขาเตรียมเองโดยที่วัดไม่ทราบ)
ถ้าจะยิ่งขึ้น ห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่มาเลี้ยง ฯลฯ
สอง ประสานงานฝ่ายเรา กำหนดการวันเวลาเดินทาง/ ทอดกฐิน ต้องมีและชัด
ใครจะเป็นประธานในการทอด ใครเป็นรองประธาน และกรรมการ ต้องประสานให้เรียบร้อย
ใครจะร่วมบุญอะไรบ้าง เท่าไหร่ ใครจะเดินทางไปบ้าง ปัจจัยและของที่ได้มาจะเริ่มรับวันใด ใครจะรับผิดชอบ
สาม ประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ร่วมบุญที่อยู่ไกล จะบอกบุญยังไง ต้องพิมพ์ซองกฐินหรือไม่
๒.ช่วงเตรียมสิ่งของที่จะทอดกฐินและบริวารกฐิน
สิ่งของที่ต้องมีก็คือ ผ้ากฐินหรือผ้าไตรจีวรนั่นเอง ขาดไม่ได้ สำหรับถวายพระรูปที่รับกฐิน
ที่สำคัญต้องเป็นผ้าใหม่ คือไม่เคยมีใครใช้ผ้านั้นมาก่อน
ผ้ากฐินมีสองอย่างคือ ผ้าสำเร็จรูป สามารถไปซื้อเอาที่ร้านสังฆภัณฑ์ เลือกเอาผ้าเนื้อดีหน่อยราคาประมาณ ๒ พันบาทขึ้นไป
อย่างที่สองใช้ผ้าขาวสำหรับตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น นิยมทอดและทำกันกับพระสายปฏิบัติหรือวัดป่าสายธรรมยุติ
จขกท.ทอดวัดที่จ.สุรินทร์ ผมไม่ทราบวัดไหนลองบอกชื่อวัดมาดูครับ
จะได้รู้ว่า วัดนั้นท่านใช้ผ้าแบบไหน
ส่วนบริวารกฐินก็จะมี ผ้าไตรจีวรอีกอย่างน้อยสักสองชุด สำหรับถวายพระคู่สวด ๒ รูป
และสิ่งของต่าง ของใหญ่ เช่น ตู้ เตียง ของเล็กก็เช่น ผ้าห่ม บาตร อัฐบริขารต่างๆ ไม่จำกัดพระและวัดท่านสามารถใช้ประโยชน์ได้
เพียงแต่ห้ามของที่ผิดพระวินัย เช่น บางเจ้าภาพถวาย วัว ควาย
แต่ที่เห็นว่าดีก็คือ บางแห่งก็เตรียมของเช่น ผ้าห่ม ร่ม
ไปแจกเด็กหรือคนเฒ่าคนแก่ด้วย บางเจ้าภาพก็เตรียมอาหารไปด้วยก็มี
และสุดท้าย คือปัจจัยหรือเงินถวายวัด ก้พิจารณาตามสมควร
ปกติที่เคยทำ ผมจะเริ่มเปิดรับปัจจัยและของวันเข้าพรรษาเป็นต้นไป
เพราะจะได้เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ หากกระชั้นเกินไป บางคนก็เอาเงินไปทำอย่างอื่นหมด
ต้องหยิบยืมกัน ซึ่งดูไม่งาม
สุดท้าย ช่วงทอดกฐิน
เมื่อพร้อมก็ออกเดินทางควรบอกทางวัดด้วยว่า จะเดินทางถึงประมาณกี่โมง
ทำพิธีแห่ ตั้ง และทอดกฐิน ตามลำดับ
ที่สำคัญ ควรเตรียมคำกล่าวถวายผ้ากฐินให้ประธานท่านฝึกอ่านเสียแต่ก่อนเดินทาง
เพราะภาษาบาลีอ่านยาก เคยมีบางคนอ่านว่า หิตาย สุขาย อึ้งทั้งศาลามาแล้ว
ทั้งที่ความจริงอ่านว่า หิตายะ สุขายะ
ก่อนทอด สมควรโทรหรือติดต่อประสานงานกับทางวัดให้ท่านสบายใจ
บางที่เจ้าภาพบอกครั้งเดียว จบ
พระท่านก็ไม่แน่ใจว่าจะมาหรือไม่มาก็มี...
แสดงความคิดเห็น
จองกฐินเรียบร้อยแล้ว ต้องจัดเตรียมอะไรต่อ
เป็นการทำบุญกฐิน จองกฐินครั้งแรก
ไม่มีใครมีประสบการณ์ในการทำกฐินเลยซักคน
รบกวนผู้รู้แนะนำทีค่ะ
เราต้องทำอะไรต่อบ้างคะ
ถ้าโดยละเอียด จะเป็นพระคุณมากค่ะ
ถือว่าทำบุญด้วยกันนะคะ